Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

3 posters

Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:42 pm


1. กล่าวนำ
ปัญหาการวางระเบิดในที่ต่างๆ ปัญหาการคุกคามนายกรัฐมนตรีและตุลาการ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจะมีความรุนแรงอื่นๆ เกิดขึ้นตามมาในอีกหลายๆ บริเวณ ทำให้สามารถกล่าวได้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันถ้าได้มีโอกาสติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นของประเทศ นั้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ก็คงมีความคิดที่คลายๆ กันคือ ความกังวลในสถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรง ยากที่จะควบคุม และที่สำคัญคือ ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจริงๆ เมื่อสถานการณ์เหล่านั้นมาถึง ทำให้ปัจจุบันมีผู้พยายามที่จะวาดภาพสถานการณ์ที่คาดว่า หรือ อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้สังคมไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งมวลได้เห็นภาพ ตระหนัก และเตรียมการณ์ที่จะเผชิญกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งก็คงไม่ต่างกันที่บทความนี้จะนำเสนอภาพหรือที่เรียกว่า ฉากทัศน์ (Scenario) ที่สามารถกล่าวได้ว่าน่าจะสถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่ประเทศไทยมีโอกาสประสบ หากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้เตรียมการไว้และเมื่อสถานการณ์นั้นมาถึงจริงๆ คงเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา และจะร่วมกันควบคุมและยุติเหตุดังกล่าวได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้คงเป็นสิ่งที่ฝากสังคมไว้ให้ช่วยกันพิจารณาและร่วมกันหาแนวทางป้องกันแก้ไข

2. สถานการณ์โดยรวม
ความต่อเนื่องของสถานการณ์ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหา เป็นสิ่งที่ก่อตัวมาระยะหนึ่งและสะสมสลับซับซ้อนยากที่จะสามารถตอบได้ว่ารากของปัญหาจริงๆ จะเกิดขึ้นมาจากเหตุใดเหตุหนึ่งเหตุเดียว ทำให้การหาแนวทางแก้ไขเป็นเรื่องยากที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง ความจริงแล้วการมองปัญหาต่างๆ ที่เกิดนั้นหากเข้าใจธรรมชาติของปัญหาแล้วจะพบว่า ความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดมาจากปัญหาของชนชั้นนำที่มีความขัดแย้งกันเองจนนำไปสู่การระดมมวลชนเพื่อสนับสนุนกลุ่มผลประโยชน์ของตนเอง

2.1 รากของปัญหา ความจริงแล้วปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาของชนชั้นนำในสังคม เพราะหากพิจารณาแล้วจะพบว่าปัญหาภาพรวมของประเทศนั้นโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับ ปัญหาทางการเมือง ปัญหาตัวเลข GDP ปัญหาในตลาดทุน การลงทุนจากบรรษัทใหญ่ข้ามชาติ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ตนเอง และ อื่นๆ อีกหลายประการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้กลับกลายเป็น ชนชั้นนำในสังคมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในขณะที่ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่เหลือของประเทศจะกลายเป็น ปัญหาปากท้อง ปัญหาความไม่เท่าเทียมต่างๆ ปัญหาคุณภาพชีวิต ปัญหาเรียกร้อง

สิทธิต่างๆ และ ปัญหาอื่นๆ กลับได้รับการดูแลให้ความสนใจในระดับที่ต่ำหรือน้อยมาก ซึ่งหากจะใช้กฏของพาเรโต หรือ กฏ 80/20 มาอธิบายแล้ว จะสามารถกล่าวได้ว่า ชนชั้นนำในสังคมมีประมาณร้อยละ 20 หรือน้อยกว่า โดยชนชั้นนำนี้จะประกอบไปด้วย กลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มก้าวหน้า และที่เหลือจะเป็นประชาชนส่วนใหญที่ประกอบไปด้วย ชนชั้นกลางและชนชั้นระดับรากแก้ว ที่มีประมาณร้อยละ 80 หรือมากกว่า ดังนั้นสัดส่วนของประชากรกับผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงมีลักษณะที่ตรงข้ามกัน ชนชั้นนำมีสัดส่วนร้อยละ 20 แต่ก่อให้เกิดผลกระทบ ร้อยละ 80 ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของประเทศกลับก่อให้เกิดผลกระทบแค่ ร้อยละ 20 ดังแสดงในภาพที่ 1 ฉะนั้นเมื่อชนชั้นนำขัดแย้งกันเอง แย่งชิงอำนาจกัน การจะชนะอีกฝ่ายได้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำประชาชนส่วนใหญ่ที่เหลือเข้ามาร่วมในความขัดแย้งด้วย ปัญหาทั้งหมดจึงได้ทวีความรุนแรงและยากที่จะยุติ
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:44 pm

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง 0000001

ภาพที่ 1 ประชากรกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแต่ละกลุ่ม


2.2 แนวคิดในการดำเนินการ ในช่วงที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากสงครามเย็นยุติลง พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของกระแสโลกาภิวัตน์ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย และที่สำคัญกองทัพไทยที่ได้ลดบทบาทที่สัมพันธ์ทางการเมืองลง กลับไปเป็นทหารอาชีพกันมาก จนกระทั้งการรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 ที่ผ่านมาทิศทางของกองทัพก็เริ่มกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกครั้ง และทวีบทบาทมากขึ้นหลังจากได้มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องจัดการกระบวนการทางการบริหาร และที่สำคัญการกลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองของทหารในครั้งนี้ถึงแม้จะช่วยสร้างเสถียรภาพของประเทศให้มีได้ระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาสลับซับซ้อนที่มีอยู่ ทำให้ยังคงเกิดการเคลื่อนไหวต่างๆ ประกอบกับนวัตกรรมทางการสื่อสารและเทคโนยีสารสนเทศ ทำให้ความสามารถในการสื่อสารโดยตรงระหว่างประชาชนเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีรูปแบบที่หลากหลาย กลุ่มชนชั้นนำที่เสียประโยชน์จึงได้ใช้ช่องทางการสื่อสารนี้เองในการทำการสื่อสารทางการเมืองกับประชาชน และนำไปสู่ความขัดแย้งที่ต่อเนื่องยาวนาน


ปัจจุบันหากจะวิเคราะห์ถึงแนวทางในการดำเนินการของกลุ่มแต่ละกลุ่มสามารถอธิบายได้โดยตารางที่ 1 และภาพที่ 2 ที่แสดงให้เห็นถึง เป้าหมาย เครื่องมือ และวิธีการ โดยทั้งสองกลุ่มทุน (ชนชั้นนำ – อนุรักษ์นิยม และ ก้าวหน้า) แต่ละฝ่ายต่างต้องการที่จะเข้าสู่การมีอำนาจทางการปกครองของฝ่ายบริหารของประเทศ นั่นคือการเป็นรัฐบาล เพราะเมื่อเป็นรัฐบาลแล้วจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการอนุมัตินโยบายสาธารณะ โครงการ และ กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งทำการแบ่งปันจัดสรรงบประมาณแผ่นดินต่างๆ ตามลงไปกับนโยบายสาธารณะ โครงการ และ กิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งแต่ละฝ่ายจะใช้วิธีการในการดำเนินการและเครื่องมือที่ตนมี เป็นแนวทางในการดำเนินการไปสู่อำนาจ และเมื่อมีอำนาจตามที่ต้องการแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้จะใช้อำนาจในการจัดสรร จัดการ แจกจ่าย ผลประโยชน์กัน โดยอาศัยอำนาจเป็นสิ่งคุ้มครองและความชอบธรรมที่คอยป้องกันให้กลุ่มของตนให้ได้รับประโยชน์ตามที่ต้องการ

ตารางที่ 1 แสดงถึงความขัดแย้งของกลุ่มทุนในชนชั้นนำ

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง 000000t
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:45 pm

สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันความขัดแย้งจะยังคงอยู่ในสถานะที่ ชนชั้นกลุ่มทุนเก่า (อนุรักษ์นิยม) เป็นฝ่ายที่ครองอำนาจรัฐ และกลุ่มทุนใหม่ (ก้าวหน้า) เป็นฝ่ายที่เข้ามาท้าทายและพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้อำนาจคืนหลังจากที่เสียไปในครั้งก่อน โดยการรัฐประหารของฝ่ายทหาร ดังนั้นกลุ่มทุนเก่าซึ่งมีอำนาจทางการบริหาร ก็จะใช้อำนาจที่ตนมีสั่งผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับรัฐบาล โดยใช้ชุดความคิดเรื่องของ รัฐชาติ (Nation State) ที่มีสถาบันหลักของชาติเป็นจุดศูนย์กลางของชุดความคิดนี้ โดยใช้งานผ่านสื่อกระแสหลักซึ่งเป็นสื่อของรัฐ และมีการผสมผสานสื่อใหม่ๆ อย่างเช่น อินเตอร์เน็ตด้วยในบางครั้ง

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง 0000002

ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดในการดำเนินการของกลุ่มทุนเก่าและใหม่

ในขณะที่กลุ่มทุนใหม่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร ทำให้การได้มาซึ่งอำนาจสามารถกระทำได้ 2 แนวทางคือ 1) การลงแข่งขันเลือกตั้ง และ 2) การล้มล้างรัฐบาลโดยการก่อความไม่สงบ แต่การที่จะรอให้ถึงการเลือกตั้งใหม่อาจจะเป็นสิ่งที่กลุ่มทุนใหม่เตรียมความความพร้อมไว้ แต่ไม่รอและเร่งให้เกิดแนวทางที่ 2 เพื่อเป็นเพราะถ้ารอนานวันอาจมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายตรงข้ามคือกลุ่มทุนเก่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มทุนใหม่ได้รับความนิยมน้อยลง ที่สำคัญนโยบายประชานิยมถูกหยิบยกมากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะกันทั้งสองฝ่าย การใช้เงินในการดำเนินการมีแนวโน้มที่จะใช้ปริมาณเงินที่สูงขึ้น ประกอบกับการเลือกแนวทางที่ 2 หากกระทำสำเร็จจะเป็นโอกาสที่กลุ่มทุนใหม่จะถือโอกาสดำเนินการต่อกลุ่มทุนเก่าอย่างได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้นหากกลุ่มทุนใหม่เลือกแนวทางที่ 2 การเร่งให้เกิดความรุนแรงเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการเคลื่อนย้ายประชาชน จะเป็นสิ่งที่กลุ่มทุนใหม่ต้องอาศัย เงื่อนไขตามตารางเวลาต่างๆ เช่น กรณีการยึดทรัพย์อดีตนายกฯ หรือ การยุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น

ดังนั้นกลุ่มทุนใหม่จึงขับเคลื่อนโดยการใช้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นฐานอำนาจในการขับเคลื่อน แต่การที่จะขับเคลื่อนไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ทำให้ต้องใช้ชุดความคิดที่เป็นศูนย์กลางในการย้ายข้างประชาชน คือการย้ายชุดความคิดจากมุมองทางรัฐชาติ (Nation State) ที่มีสถาบันหลักของชาติเป็นจุดศูนย์กลางของชุดความคิดกลุ่มทุนเก่า เปลี่ยนมาเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างประชาธิปไตยเพราะมีความสอดคล้องกับกระแส โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนวิธีการที่ใช้เนื่องจากเป็นกลุ่มทุนที่มีความก้าวหน้า ทำให้กระบวนการในการยอมรับเทคโนโลยีไม่มีอุปสรรค สื่อใหม่ๆ อย่างเช่นแนวคิดในเรื่องของ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Online) ที่ใช้ Twitter, Facebook, Webboard, และเวบไซต์ต่าง ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดชุดความคิดเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างผสมผสานกับสื่อกระแสหลัก อย่างโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ และที่สำคัญประชาชนได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการเคลื่อนไหวต่างๆ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขต่างๆ จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจาณาเพื่อใช้เป็นการกำหนดตารางเวลาในการขับเคลื่อนมวลชนในอนาคต
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:47 pm

3. การวาดภาพฉากทัศน์
การสร้างภาพฉากทัศน์เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการประเมิน ประมวลสถานการณ์และบริบทต่างๆ ประกอบกันและต้องผ่านการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การประมาณสถานการณ์และคาดการณ์ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอนาคต ประโยชน์ของการวาดภาพฉากทัศน์จะมีส่วนช่วยเหลือในการหาทางออกให้กับสังคมไทยในกรณีของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถ้าเหตุการณ์จริงไปถึงสถานการณ์ที่ได้วาดภาพฉากทัศน์ไว้ก่อนล่วงหน้า

3.1 กำหนดสมมุติฐานร่วม ข้อตกลงบื้องต้นของการวาดภาพฉากทัศน์นี้ สามารถกำหนดได้ดังนี้
3.1.1 ฉากทัศน์ที่วาดขึ้นเป็นเหตุการณ์สมมุติไม่ใช่เหตุการณ์จริง
3.1.2 ทำเนียบรัฐบาลถือเป็นจุดศูนย์กลางหลักของอำนาจ มีศาลากลางจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นตัวแทนของศูนย์กลางหลักของอำนาจที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่
3.1.4 ไม่มีการแทรกแซงจากภายนอกโดยเฉพาะรัฐชาติอื่นๆ (ไม่นับบุคคลไทยที่อยู่นอกประเทศ)
3.1.5 ไม่มีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในฉับพลันต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อแนวคิดในปัจจุบัน เช่น การยอมรับเงื่อนไขเจรจาจากทุกฝ่ายเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

3.2 ลำดับขั้นของฉากทัศน์ การวาดภาพฉากทัศน์ในบทความนี้ เป็นการวาดภาพในมุมมองที่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แบ่งสถานการณ์ออกเป็น 7 ขั้น ดังภาพที่ 3 รายละเอียดดังต่อไปนี้

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง 0000003

ภาพที่ 3 ฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุดของประเทศไทย
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:47 pm

3.2.1 สถานการณ์ขั้นที่ 1 เปิดฉากด้วยการลวง : การเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งปรากฏ แต่เป็นสิ่งที่ก่อตัวและเกิดขึ้นมานานหากแต่ยังไม่มีข้อยุติ การขับเคลื่อนเพื่อให้ได้ชัยชนะของกลุ่มทุนใหม่นั้นมีกรอบเวลาเหลือไม่มากนัก เพราะฉะนั้นการขับเคลื่อนในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักหากจะเปิดสถานการณ์ด้วยความรุนแรง อาจจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสังคม ดังนั้นการสื่อสารกับสังคมให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนใหม่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง แสดงให้เห็นว่าแตกแยกกันเองแต่มีปรากฏว่าบุคคลที่แตกแยกกันขึ้นเวทีปราศัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังสร้างความเคยชินในการเคลื่อนย้ายมวลชนที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง เช่น การเคลื่อนย้ายมวลชนไปรวมกันหน้าหน่วยงานของกองทัพและส่วนราชการหลายแห่ง พอรวบรวมมวลชนแล้วแสดงพลังเสร็จเรียบร้อยแล้วยุติการชุมนุม การดำเนินการดังกล่าวจะไม่ได้รับการต่อต้านจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ถูกสร้างให้เป็นความเคยชิน ทำให้ไม่ได้รับความใส่ใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากนัก

3.2.2 สถานการณ์ขั้นที่ 2 ขับเคลื่อนด้วยเงื่อนไข : การขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวมวลชนจากกลุ่มทุนใหม่ นั้นจะขับเคลื่อนโดยการใช้เงื่อนไขที่สำคัญๆ ดังนี้ 1) การยึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรี 2) การยุบพรรคประชาธิปัตย์ และ 3) การมีหลายมาตรฐานที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะถูกใช้เป็นประเด็นในสื่อสารระหว่างชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง และชนชั้นรากแก้ว และยังสามารถใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเงื่อนไขในการกำหนด วัน ว.เวลา น. (ศัพท์ทางทหารหมายถึง วันและเวลาที่ใช้เริ่มปฏิบัติการทางทหาร) ในการเคลื่อนย้ายมวลชนให้สอดคล้องระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งคาดว่าจะมีมวลชน 2 ระลอก ได้แก่ 1) มวลชนระลอกแรกที่เคลื่อนออกมาก่อน และ 2) มวลชนสมทบที่ตามออกมาหลังจากระลอกแรกประสบความสำเร็จในขั้นที่ 3 คือยั่วยุด้วยความรุนแรง

3.2.3 สถานการณ์ขั้นที่ 3 จุดชนวนด้วยความรุนแรง : สถานการณ์ขั้นนี้จะเกิดขึ้นหลังจากใช้เงื่อนไขต่างๆ ในการกำหนดวันเวลาในการเคลื่อนย้ายแล้ว กลุ่มทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ซึ่งหากการยั่วยุประสบความสำเร็จจะส่งผลให้สถานการณ์เคลื่อนไปในขั้นที่ 4 ต่อไป โดยการยั่วยุที่ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นนั้นมีความเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะคือ 1) การเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าที่ของรัฐที่ออกมารักษาความสงบเรียบร้อยกับมวลชนระลอกแรก ในความเป็นไปได้นี้จะสัมฤทธิ์ผลโดยเร็วหากเจ้าหน้าที่ที่ออกมารักษาความสงบเรียบร้อยถูกสั่งให้ออกมาพร้อมกับอาวุธปืน ในลักษณะเดียวกันกับเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิตเมื่อ 13 เม.ย.52 ที่ผ่านมา เพราะจะมีผู้สร้างสถานการณ์กับมวลชนระลอกแรกโดยกลุ่มที่นิยมความรุนแรงทำการการยิงเข้าสู่มวลชน ซึ่งหาเกิดลักษณะนี้จริงจะส่งผลให้การขับเคลื่อนมวลชนระลอก 2 ออกมาสมทบได้โดยง่าย ส่วนความเป็นไปได้ในแนวทางที่ 2) สถานการณ์ก่อนเคลื่อนย้ายมวลชนหรือระหว่างเคลื่อนย้ายมวลชนมีทิศทางจะเกิดความรุนแรงขึ้น กองทัพได้ตัดสินใจทำการปฏิวัติก่อนเพื่อควบคุมสถานการณ์ หากเป็นไปตามความเป็นไปได้นี้จะส่งผลให้เกิดการระดมมวลชนออกมาสมทบระลอกแรกอย่างง่ายดาย เพราะเหตุการณ์มีบริบทไม่เหมือนกับการทำรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 ซึ่งความเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทางจะส่งผลให้เกิด สถานการณ์ในขั้นที่ 4 คือ ขยายผลแห่งความสำเร็จด้วยมวลชน

3.2.4 สถานการณ์ขั้นที่ 4 ขยายผลแห่งความสำเร็จด้วยมวลชน : เมื่อความรุนแรงได้เกิดขึ้นตามสถานการณ์ขั้นที่ 3 คือยั่วยุด้วยความรุนแรงประสบความสำเร็จ สถานการณ์ต่อมาคือ การขยายผลแห่งความสำเร็จด้วยมวลชน ความเป็นไปได้ในสถานการณ์นี้คือ การระดมมวลชนในระลอกสมทบ ซึ่งกลุ่มที่นิยมความรุนแรงจะแฝงตัวเข้ามากับมวลชนระลอกสมทบ เพื่อทำหน้าที่เป็นส่วนเจาะหรือเริ่มเปิดสถานการณ์เมื่อสถานการณ์ไปถึงในระดับที่จะแตกหัก โดยเป้าหมายของการระดมมวลชนนั้นจะเคลื่อนเข้าปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เช่น ทำเนียบรัฐบาล ศาลากลางจังหวัด และ สถานที่ที่เป็นสัญญาลักษณ์ของศูนย์กลางอำนาจ สถานการณ์ในขั้นนี้จะประสบความสำเร็จถ้าสามารถระดมมวลชนระลอกสมทบมาได้จำนวนมาก แล้วเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการรักษาความสงบเคลื่อนเข้ารักษาพื้นที่สำคัญ

3.2.5 สถานการณ์ขั้นที่ 5 เปลี่ยนแปลงด้วยการเปลี่ยนขั้ว : สถานการณ์ในขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญอีกขั้นหนึ่ง เพราะมีความเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1) เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยปฏิบัติตามคำสั่งของกลุ่มทุนเก่าอย่างเคร่งครัดทำให้มีความเสี่ยงที่จะปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฯ กับ มวลชน ซึ่งการปะทะกันครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย แน่นอนเพียงแต่จะสูญเสียมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับคำสั่งผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับ และจำนวนมวลชนในระลอกสมทบ และถ้ามีมวลชนระลอกสมทบจำนวนมากเข้าร่วมและผสมผสานกับกลุ่มนิยมความรุนแรงที่อาจะมีการติดอาวุธจึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเข้าปลดอาวุธเจ้าที่ฯ สถานการณ์ก็จะขยับเข้าสู่ขั้นต่อไป ส่วนความเป็นไปได้ของแนวทางที่ 2 คือ 2) เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ฯ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เปิดทางให้มวลชนระลอกสมทบเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปยึดสถานที่สำคัญ ในแนวทางนี้มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ฯ อาจจะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมกับมวลชน ก็ได้แต่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมสถานการณ์จะขยับเข้าสู่ขั้นต่อไป เพราะขั้วอำนาจหนึ่ง (กองทัพในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย) เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ เปิดทางให้มวลชน หรือ เข้าร่วมมวลชล หรือ พ่ายแพ้มวลชน

3.2.6 สถานการณ์ขั้นที่ 6 สิ้นสุดด้วยการยอมจำนน : สถานการณ์ในขั้นนี้มีความเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1) รัฐบาลลาออก ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์ขยับไปสู่สถานการณ์ขั้นต่อไปทันที สำหรับแนวทางที่ 2 คือ 2) รัฐบาลไม่ลาออก ในสถานการณ์ลักษณะนี้รัฐบาลและกลุ่มอำนาจสามารถเลือกได้ 2 แนวทางคือ ยุบสภา แล้วเป็นรัฐบาลรักษาการต่อ หรือไม่ยุบสภาตัดสินใจใช้อำนาจตามกฏหมาย แต่ทั้งสองแนวทางจะนำไปสู่ความพยายามที่จะรวบรวมกำลังทั้งในส่วนทหารในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความสงบที่ยังปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาล และระดมมวลชนเข้าปะทะกับมวลชนอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการตีโต้ตอบ เพราะมีความเชื่อว่ามีกำลังเพียงพอที่จะเอาชนะได้ สถานการณ์ในขั้นนี้เป็นขั้นที่เกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง หรือ เข้าสู่สถานการณ์สงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ แต่ไม่ว่าผลจะเป็นลักษณะไหน กลุ่มทุนไหนจะประสบชัยชนะ ผู้สูญเสียคือ ประชาชน เจ้าหน้าที่รักษาความสงบ และประเทศจะเสียหายเสี่ยงอยู่ในสภาวะรัฐล้มละลาย และง่ายต่อการแทรกแซงจากต่างชาติ สถานการณ์ก็จะขยับไปสู่สถานการณ์ขั้นสุดท้าย

3.2.7 สถานการณ์ขั้นที่ 7 สุดท้ายด้วยสูญญากาศ : สถานการณ์ในขั้นนี้มีความเป็นไปได้ 2 แนวทางคือ 1) สามารถสถาปนาอำนาจรัฐได้ ในแนวทางนี้มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่มหันหน้าเข้าเจรจากัน มีความเป็นไปได้ว่าทุกกลุ่มจะยอมรวมกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แต่การดำเนินในลักษณะดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดต่อรัฐธรรมนูญ คงมีความเป็นไปได้ที่ต้องที่การล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะไม่พ้นต้องให้ทหารดำเนินการรัฐประหาร ซึ่งทุกฝ่ายจะเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนแนวทางที่ 2 คือ 2) ไม่สามารถสถาปนาอำนาจรัฐได้ สถานการณ์ขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถตกลงร่วมกันได้แต่ละฝ่ายต่างเลือกที่จะยังคงเผชิญหน้ากันอยู่ ที่เลวร้ายที่สุดคือการแตกแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ เช่น กลุ่มล้านนา กลุ่มล้านช้าง กลุ่มอิสาน กลุ่มภาคใต้ กลุ่มภาคกลาง กลุ่มกรุงเทพ เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดเพราะจะแตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า สิ่งเหล่านี้คือสภาพสูญญากาศทางอำนาจที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  Neo Wed Mar 17, 2010 4:48 pm

4. ข้อเสนอแนะตามฉากทัศน์
ข้อเขียนที่ปรากฏในบทความนี้เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงและคงไม่มีบุลคลใดที่ปราถนาให้เกิดขึ้นจริง และจะเป็นไปได้หากทุกฝ่ายไม่ยอมละฐิถิและลดความเป็นอัตตาที่มีอยู่ สังคมไทยเคยอยู่กันด้วยความสงบสุขกันมาช้านาน ข้อเสนอแนะต่อไปนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะได้มีผู้เสนอแนวเหล่านี้มาเป็นจำนวนมากแต่ไม่สัมฤทธิ์ผล ยังไงก็ตามบทความนี้ขอนำมาตอกย้ำให้กับสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง

4.1 บทบาทของกองทัพ กองทัพจะเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่งในสถานการณ์เหล่านี้ เพราะหากกองทัพมีบทบาทในทางที่เหมาะสมแล้ว สถานการณ์โดยรวมจะคลี่คลายมากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้กองทัพเป็นสถาบันที่ควรจะเป็นคือ การเป็นสถาบันหลักแห่งหนึ่งของชาติที่มีความเป็นทหารอาชีพ หากกองทัพยึดมั่นในความเป็นทหารอาชีพแล้ว ย่อมจะส่งผลดีในภาพรวม ซึ่งเป็นสิ่งที่กองทัพได้รับความชื่นชมหลังจากเหตุการณ์ใน พ.ค.35 เพราะกองทัพกลับไปยืนอยู่ในจุดที่ควรจะเป็นคือไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ถ้ากองทัพมีความเป็นทหารอาชีพอย่างเพียงพอแล้ว ไม่ไปเกี่ยวข้องกับการเมือง พร้อมทั้งท่าทีที่เหมาะสม การเมืองก็คงไม่ก้าวเข้ามาวุ่นวายในกองทัพ และจะทำให้ได้รับความเชื่อถือจากทุกฝ่าย และเป็นสถาบันที่ทุกฝ่ายให้ความเกรงใจ การจะแสดงท่าทีต่างๆ ของกองทัพจะทำให้ทุกฝ่ายรับฟัง เพราะฉะนั้นความเป็นทหารอาชีพคือ เกราะป้องกันตัวที่ดีที่สุดที่จะไม่ทำให้กองทัพตกต่ำ และสถานการณ์โดยรวมดีขึ้น อีกประการหนึ่งการเข้าปะทะโดยตรงกับมวลชนเป็นบทเรียนที่มีมาตั้งแต่ในอดีตว่าเป็นสถานการณ์ที่นำพาไปสู่ความตกต่ำ เพราะกองทัพเป็นสัญญาลักษณ์ของความรุนแรง ประชาชนไม่มีทางที่จะสู้ได้ การวางตัวที่เหมาะสมคือบทบาทของกองทัพที่พึงกระทำ

4.2 กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มการเมือง และ ผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด : วันนี้สังคมไทยนั้นหลายกลุ่มหลายพวก ขาดจิตสำนึกสาธารณะ เพราะทุกคนคิดแต่ประโยชน์ส่วนตนและกลุ่มของตนจนลืมมองไปว่าสังคมส่วนรวมเราจะอยู่กันอย่างไร สังคมจะล่มสลายหรือไม่คนหลายคนไม่เคยคิด เพราะไม่สามารถมองเห็น หากทุกฝ่ายมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งแล้ว ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ว่าสังคมไทยจะดีขึ้นกว่านี้ หากเราคนไทยทุกคนหันไปมองรอบตัวสักนิดจะพบว่าประเทศรอบๆ บ้านกำลังจะเป็นเพื่อนเราที่ก้าวไปข้างหน้าพ้นเราไป ต่างชาติทั้ง รัฐ และบรรษัทข้ามชาติกำลังเล็งที่จะเข้าแทรกแซงและตักตวงผลประโยชน์ภายหลังเสถียรภาพภายในประเทศสั่นคลอน เพราะฉะนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดควรที่จะพยายามหันหน้าเข้าหา เปิดประตูการเจรจา สร้างการยอมรับร่วมจากทุกฝ่าย น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

4.3 ประชาชนทุกหมู่เหล่า : ประชาชนคนไทยถือได้ว่ามีเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด เพราะจะถูกใช้เป็นเครื่องมือจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทางออกที่ดีที่สุด ณ วันนี้ของประชาชนคือ หนักแน่น มีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่ออะไรง่ายๆ ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรที่จะทำอย่างไร การศึกษาอาจจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้พิจารณาอย่างรอบคอบขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเชื่อในคุณงามความดีมากว่าเชื่อในวัตถุ การมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดี เอื้ออาทรต่อกัน สังคมไทยคงสงบสุขและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

5. บทสรุป
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะแข่งขันกับนานาประเทศทั้งในภูมิภาคนี้และภูมิภาคอื่นได้อย่างไม่ด้อยไปกว่าประเทศไหน แต่ปัญหาเสถียรภาพของประเทศในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะไม่เพียงแต่ลดขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนความเชื่อมั่นที่นานาประเทศมีให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก วันนี้สถานการณ์ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ท่ามกลางความเบื่อหน่าย ความเหนื่อยกับคนไทยจำนวนมาก คำถามที่มักจะปรากฏขึ้นในใจกับคนส่วนใหญ่ว่า เมื่อไหร่เรื่องเหล่านี้จะยุติ เมื่อไหร่หลายๆ คนไทยจะมีโอกาสได้ทำมาหากินกันตามปกติ สิ่งเหล่านี้ยังคงไม่มีคำตอบ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของใคร ชนชั้นนำคือกลุ่มทุน (อนุรักษ์นิยม) และกลุ่มทุน (ก้าวหน้า) ที่ครอบครองผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศ หรือเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ของประเทศ คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่เราคนไทยทุกคนต้องหาคำตอบกันเอง สำหรับฉากทัศน์ที่ได้วาดภาพขึ้นในบทความนี้ ถือได้ว่าเป็นเพียงภาพที่ถูกเขียนมาจากการฝันร้าย ถ้าตื่นขึ้นมาทุกอย่างยังคงเป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้นเอง ขอให้ประเทศไทยสงบสุขสถาพร
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  สุมาอี้ Wed Mar 17, 2010 10:31 pm

3. การวาดภาพฉากทัศน์
การสร้างภาพฉากทัศน์เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการประเมิน ประมวลสถานการณ์และบริบทต่างๆ ประกอบกันและต้องผ่านการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การประมาณสถานการณ์และคาดการณ์ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอนาคต ประโยชน์ของการวาดภาพฉากทัศน์จะมีส่วนช่วยเหลือในการหาทางออกให้กับสังคมไทยในกรณีของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถ้าเหตุการณ์จริงไปถึงสถานการณ์ที่ได้วาดภาพฉากทัศน์ไว้ก่อนล่วงหน้า

3.1 กำหนดสมมุติฐานร่วม ข้อตกลงบื้องต้นของการวาดภาพฉากทัศน์นี้ สามารถกำหนดได้ดังนี้
3.1.1 ฉากทัศน์ที่วาดขึ้นเป็นเหตุการณ์สมมุติไม่ใช่เหตุการณ์จริง
3.1.2 ทำเนียบรัฐบาลถือเป็นจุดศูนย์กลางหลักของอำนาจ มีศาลากลางจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นตัวแทนของศูนย์กลางหลักของอำนาจที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่
3.1.4 ไม่มีการแทรกแซงจากภายนอกโดยเฉพาะรัฐชาติอื่นๆ (ไม่นับบุคคลไทยที่อยู่นอกประเทศ)
3.1.5 ไม่มีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในฉับพลันต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อแนวคิดในปัจจุบัน เช่น การยอมรับเงื่อนไขเจรจาจากทุกฝ่ายเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
นับเป็นการวาดภาพหรือที่เรียกว่า ฉากทัศน์ (Scenario) ได้ใกล้เคียกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ค่อนข้างมาก แต่มีส่วนที่เห็นต่างตรงการตั้งสมมติฐานข้อ 3.1.4 ที่ว่า ไม่มีการแทรกแซงจากภายนอกโดยเฉพาะรัฐชาติอื่นๆ (ไม่นับบุคคลไทยที่อยู่นอกประเทศ)

จึงส่งผลให้การนำเสนอการวาดภาพหรือที่เรียกว่า ฉากทัศน์ (Scenario) นี้ จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลุ่มทุนเก่า (อนุรักษ์นิยม) เป็นฝ่ายที่ครองอำนาจรัฐ และกลุ่มทุนใหม่ (ก้าวหน้า) เพียงเท่นั้น (เป็นการนำเสนอเพียงสิ่งที่เห็น)

(สิ่งที่เป็น) คือ ปัจจัยภายนอกเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าว โดยสนับสนุนสปายท้องถิ่นที่อยู่ในทุกเสื่อสี และทุกสถาบัน คอยดำเนินการตามที่ ซีไอเอ กำหนด เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองเดิม ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบการปกครองใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อมหาอำนาจดังกล่าวอย่างมั่นคงมากขึ้น และป้องกันไม่ให้ประเทศไทยตัดสินใจเอนเอียงไปเข้าอยู่ภายใต้ระบบพึ่งพาของทางประเทศจีน

เพื่ออาศัยความวุ่นวายเข้ามาแทรกแซงจัดระเบียบประเทศไทยให้อยู่ภายใต้การควบคุมแบบเบ๋ดเสร็จจากอเมริกา (ไม่สามารถดำเนินการทางยุทธศาสตร์ด้วยตนเองได้อีกต่อไป ?
สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Icon_evil

สุมาอี้

จำนวนข้อความ : 75
Registration date : 24/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  สุมาอี้ Wed Mar 17, 2010 11:54 pm

เรื่อง สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง ..

ถึงไม่อยากให้ไปถึง ? แต่ปัจจัยภายนอกจะทำให้ไปถึงปัจจัยภายในต้องหาทางยุติปัญหาร่วมกัน

สุมาอี้

จำนวนข้อความ : 75
Registration date : 24/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง Empty Re: สงครามกลางเมือง - ความแตกแยกของคนในชาติ – ฉากทัศน์แห่งความรุนแรงที่ไม่อยากให้ไปถึง

ตั้งหัวข้อ  แฟนคลับ Sat May 22, 2010 7:45 pm

ไม่อยาก แต่วันนี้ก็เลี่ยงไม่ได้แล้ว

แฟนคลับ

จำนวนข้อความ : 96
Registration date : 10/05/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ