Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

2 posters

Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 10:39 am

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/walailuk_r/dramatic-art/p01.html

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Nav_11_p01_bhb

การจัดการแสดงวิพิธทัศนา

วิพิธ แปลว่า หลายๆอย่าง ทัศนา แปลว่า ดู หมายถึง การแสดงหลายๆอย่าง

วัตถุประสงค์ของการจัดวิพิธทัศนา
เป็นการแสดงจัดการแสดงชุดสั้นๆ ที่ต่อเนื่องกัน เื่พื่อวัตถุประสงค์ ด ังนี้

1. เพื่อให้มีการแสดงหลายๆชุดที่เหมาะกับเวลา
2. เกิดความเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ
3.เพื่อให้ผู้ดู ดูชุดการแสดงของนาฏศิลป์ไทยหลายๆชุด เช่น ก่อนจะมีการแสดงโขน
เราอาจจะมีชุดรำอวยพรบ้าง ชุดหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉาบ้างและมีโขนต่อเลย

จัดทำโดย คุณครูวลัยลักษณ์ รูปสม โรงเรียนบ้านนางามมิตรภาพที่ 131
อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

COPYright ( c ) 2006
Ms.Walailuk Roopsom
. All rights reserved.

วิพิธทัศนา ความรู้ ความหมายของ วิพิธทัศนา จากสนุก! กูรู

แปลภาษา ไทย-อังกฤษ

วิพิธทัศนา (วิพิดทัดสะนา)

คำแปล
n. a revue

วิพิธทัศนา


วิพิธทัศนา
ความหมาย

[วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่องในสถานที่แสดงเดียวกัน.
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

วิพิธทัศนาคำแปล

[วิ-พิด-ทัด-สะ-นา] น. การแสดงการเล่นต่างๆ ติดต่อกันในคราวเดียวกัน.

http://www.finearts.go.th/th/indexOriginal.php

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน P1040441-480

http://news.sanook.com/social/social_223920.php

หนังสือเล่มโปรด-ปาริชาติ ช้วนรักธรรม หนังสือวิพิธทัศนา

โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 02:01 น.

เพราะเป็นคนที่ชื่นชอบทางด้านนาฏศิลป์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่แปลกที่ ปลา ปาริชาติ ช้วนรักธรรม
นักศึกษาชั้นปีที่4 คณะบริหารธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
หนึ่งในตัวแทนนักศึกษาที่ได้ร่วมเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในงานครัวไทยสู่ครัวโลก
ณ ประเทศเยอรมนี ครั้งล่าสุด จะมีหนังสือเล่มโปรด คือ หนังสือวิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน
ปลา เล่าว่า ที่ชอบอ่านหนังสือประเภทนี้ เพราะเป็นคนที่มีใจรักและชื่นชอบทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรมไทยประเภทนาฏศิลป์ ประกอบกับทางบ้านส่งเสริมให้ลูกๆ หลานๆ
ได้เรียนรู้นาฏศิลป์และดนตรีไทย ทำให้ชื่นชอบการฟ้อนรำมาตั้งแต่เด็กๆ
เลยต้องหมั่นศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงรำไทยประเภทต่างๆ
หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆ
เอาไว้มากมาย เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ทำให้ตัวเองได้รับความรู้ต่างๆ มากมาย เช่น
ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการแสดงฟ้อนรำแต่ละชุด และหนังสือยังอธิบายถึง
ความหมายของเนื้อเพลงในการแสดงแต่ละชุด เมื่อเวลาแสดงทำให้เข้าใจท่ารำของ
การแสดงแต่ละชุดมากยิ่งขึ้น

http://www.lks.ac.th/thaidance/WATANA08.htm

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Watana_kone_019

http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/library/topic/K2721998/K2721998.html

หนังสือวิพิธทัศนา ของกรมศิลปากร หาซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ
รบกวนถามเพื่อนๆ ว่าหนังสือชื่อวิพิธทัศนา(พร้อมคำอธิบายชุดการแสดงและภาพประกอบ)
ของกรมศิลปากร หาซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ หาในเมืองไทยไม่ได้เลย คงเพราะตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2542
เมื่อวานบังเอิญ search เจอทางเน็ตเวบไซต์หนึ่งของอเมริกาค่ะ www.paragonbook.com
เขายังมีขายทางเวบอยู่ แต่จะสั่งหนังสือไทยผ่านเวบต่างประเทศมันคงดูแปลกๆ เนอะ
ทั้งๆที่ตีพิมพ์ในเมืองไทย

รบกวนบอกแหล่งซื้อหน่อยนะค่ะ อยากได้มากค่ะ แต่ถ้าไม่ได้จริงก็คงต้องสั่งผ่านเวบนี้ล่ะค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

จากคุณ : ดารา- [19 มี.ค. 47 11:34:25 A:203.152.20.98 X:]

http://view.gprocurement.go.th/01_procure/view_online_notice.php?id=78042&display_status=A

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Copy

ประกาศ กรมศิลปากร
เรื่อง สอบราคาจ้าง จ้างพิมพ์หนังสือ “การแสดงนาฎศิลป์ไทย : กรณีศึกษา
หนังสือวิพิธทัศนาชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒ ” จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม
และจัดทำดีวีดี E-book ต้นฉบับ จำนวน ๓ ชุด

กรมศิลปากร มีความประสงค์จะสอบราคาจ้าง จ้างพิมพ์หนังสือ “การแสดงนาฎศิลป์ไทย
: กรณีศึกษา หนังสือวิพิธทัศนาชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม ๒ ” จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม
และจัดทำดีวีดี E-book ต้นฉบับ จำนวน ๓ ชุด เพื่อใช้ในราชการสำนักการสังคีต
โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาจ้างดังกล่าว
2. ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย
เว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่
กรมศิลปากร ณ วันประกาศสอบราคาจ้างหรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวาง
การแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาจ้างครั้งนี้

กำหนดยื่นซองสอบราคาตั้งแต่วันที่
7 กันยายน 2549 ถึง 21 กันยายน 2549 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ กลุ่มคลังและพัสดุ ฝ่ายพัสดุ
และคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานส่วนที่ 1
ในวันที่ 22 กันยายน 2549 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม 2 กรมศิลปากร และกำหนดเปิดซอง
ใบเสนอราคาในวันที่ 26 กันยายน 2549 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุม 2 กรมศิลปากร

ผู้สนใจติดต่อขอซื้อเอกสารสอบราคาในราคาชุดละ 100.-บาท ( หนึ่งร้อยบาทถ้วน)
ได้ที่กรมศิลปากร กลุ่มคลังและพัสดุ ฝ่ายพัสดุ ระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2549 ถึง
วันที่ 20 กันยายน 2549 หรือสอบถามทางโทรศัพท์ หมายเลข 02 - 221 -4443 ,
02 -225- 4534 ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. ในวันและเวลาราชการ
หรือทางเว็บไซด์ของศูนย์จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ www.gprocurement.go.th
และทางเว็บไซด์ของกรมศิลปากร www.finearts.go.th
อนึ่ง กรมศิลปากรขอสงวนสิทธิที่จะยกเลิกการสอบราคา โดยไม่จัดซื้อก็ได้
หากไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณทั้งรายการและ / หรือบางส่วน หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใด


ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549







( นายอารักษ์ สังหิตกุล )


ตำแหน่ง


อธิบดีกรมศิลปากร


สำเนาถูกต้อง


( นายวรวัฒน์ ใจผ่อง )

ตำแหน่ง
นักวิชาการพัสดุ

ถูกสร้างเมื่อ 2006-09-05 โดยบัญชีของ นายวิเชียร เรื่องแววมณี (เจ้าพนักงานพ

http://view.gprocurement.go.th/01_procure/view_online_notice.php?id=138782&display_status=A

http://www.artscultural.psu.ac.th/title.php?title_id=3

http://forum.mthai.com/view_topic.php?mode=quote&comment=1&index=0&table_id=1&cate_id=34&post_id=32301

การแสดงพื้นบ้าน4ภาคที่กำลังหายไป

http://www.human.nu.ac.th/culture/files/c11.pdf
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 10:46 am

Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 10:56 am

ระบำกฤดาภินิหาร

http://video.yahoo.com/watch/951702/3703605



http://www.thaidances.com/poster/index.asp

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน T1_5

คำร้อง: สุดา บุษปฤกษ์

ปราโมทย์แสนดังอัปสรอมรแมนแดนสวรรค์
ยินกฤดาภินิหารมหัศจรรย์เกียรติไทยลือลั่นเรืองรูจี
ต่างเต็มตื้นชื่นชมโสมนัสโอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี
แจ้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดีดนตรีรี่เรื่อยประโคมประโลมลาน
แล้วลีลาศเริงรำระบำร่ายกรกรีดกรายโปรยมาลีสีประสาน
พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธารจักรวาลฉ่ำชื่นรื่นรมย์ครัน

เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่นำมาจากละครเรื่อง "เกียรติศักดิ์ทหารไทย"
บทร้องกล่าวถึงเทพบุตร นางฟ้า เมื่อทราบถึงกฤดาภินิหารของชาติไทย
จึงเกิดความชื่นชมโสมนัส ชวนกันจัดระบำโปรยปรายดอกไม้อวยพรให้เมืองไทย
การแสดงชุดนี้จะมีท่ารำที่เป็นแบบแผนในลีลานาฏศิลป์แบบดั้งเดิม แต่จะมีคำร้อง
และการเอื้อนทำนองเพลงที่เป็นแบบสมัยใหม่ คือ จะไม่ร้องเอื้อนมาก
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 11:13 am

ระบำดาวดึงส์

http://video.yahoo.com/watch/951854/3703987



http://www.thaidances.com/poster/index.asp

คำร้อง: สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอันสารพันอุดมสมใจปอง
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยงงามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละอองงามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎทรงวชิราวุธธนูศิลป์
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณอสุรินทร์อรีไม่บีฑา
อันอินทรปราสาททั้งสามทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตาใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉี่อยชดบราลีที่ลดมุขกระสัน
มุขเด็ดทองคาดกนกพันบุษบกสุวรรณชามพูนุท
ราชยานเวชยันต์รถแก้วเพริศแพร้วกำกงอลงกต
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชดเครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยันสุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
ดุมพราววาววับประดับพลอยแปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
เทียมด้วยสินธพเทพบุตรทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง
ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา

เป็น ระบำที่ใช้ประกอบการแสดงในละครดึกดำบรรพ์เรื่อง "สังข์ทอง" ตอนตีคลี
บทร้องพรรณาถึงความสวยงามของเทพบุตร เทพธิดา ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และทิพยสมบัติ
อันมโหฬารตระการตาขององค์อมรินทร์ ทรงพระนิพนธ์คำร้องและทำนองโดย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ผู้แสดงจะมีจำนวนตั้งแต่ 2 คู่ขึ้นไป ท่ารำในระบำชุดนี้เป็นท่ารำที่ปรับปรุงจากท่ารำของแขกเจ้าเซ็น
ซึ่งได้ประดิษฐ์ปรับปรุงขึ้นไว้เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 นาฏศิลป์ชุดนี้เป็นศิลปะที่มีความสวยงาม
เป็นแบบแผนได้อีกชุดหนึ่ง
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 11:34 am

ระบำเทพบันเทิง

http://video.yahoo.com/watch/952171/3705319



http://www.thaidances.com/poster/index.asp


คำร้อง: นายมนตรี ตราโมท

เหล่าข้าพระบาท ขอวโรกาสเทวฤทธิ์อดิศร
ขอฟ้อนกราย รำร่ายถวายกร
บำเรอปิ่นอมร ปะตาระกาหลา
ผู้ทรงพระคุณ ยิ่งบุญบารมี
เพื่อเทวบดี สุขสมรมยา
เถลิงเทพสิมา พิมานสำราญฤทัย
สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย
ถวายอินทรีย์ ต่างมาลีบูชา
ถวายดวงตา ต่างประทีปจำรัสไข
ถ้อยคำอำไพ ต่างธูปหอมจุณจันทน์
ถวายดวงจิต อัญชลิตวรคุณ
ที่ทรงการุณย์ ผองข้ามาแต่บรรพ์
ถวายชีวัน รองบาทจนบรรลัย
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)
ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่
เวียนไป ได้จังหวะกัน
อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา
ฝ่ายฝูงเทวา ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)
ผูกพันสุดเกษม ปลื้มเปรมปรีดา


เป็น ระบำเทพบุตร และนางฟ้า ฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหลาในละครเรื่องอิเหนา
ตอน ลมหอบ เพลงที่ใช้ในระบำเทพบันเทิง คือ เพลงแขกเชิญเจ้ากับเพลงยะวาเร็ว
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ของกรมศิลปากร เป็นผู้แต่งบทร้อง
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 11:46 am

ระบำพรหมาสตร์

http://video.yahoo.com/watch/952363/3705018



http://www.student.chula.ac.th/~46850741/thai_doc/rabammatrathan.htm

ระบำหน้าช้าง หรือ ระบำพรหมาสตร

เป็น เพลงระบำซึ่งแทรกอยู่ในบทคอนเสิต เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนอินทรชิตแผลงศรพรหมาศ
(ตัวสะกดตามหนังสือชุมนุมบทละคอนและบทคอนเสิต, 2506) นิพนธ์โดย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เดิมใช้เป็นเพลงขับร้องใน
บทคอนเสิต ยังมิได้มีการบรรจุท่ารำประกอบ ใช้ขับร้องด้วยเพลงสร้อยสน บทร้อง
มีความคล้ายคลึงกับบทระบำใหญ่หรือระบำสี่บท ต่อมาเมื่อบทคอนเสิตนี้ได้รับความนิยมมากเข้า
จึงได้นำมาทำเป็น การแสดงโขน โดยยึดเอาเพลงที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศฯ
ทรงนิพนธ์ไว้เป็นแกน แล้วแทรกหน้าพาทย์ กับทั้งคำพากย์เข้าไว้ เรียกชื่อโขนตอนนี้ว่า
"ศึกพรหมาสตร์" ที่เรียกว่าระบำหน้าช้างนั้น เพราะแต่เดิมไม่มีชื่อระบำนี้ เป็นระบำของ
เหล่าเทพบุตรนางฟ้าแปลงที่รำนำขบวนของอินทรชิดที่แปลงเป็นพระอินทร์มาลวง
พระลักษมณ์ให้ทำศึก เทพบุตรนางฟ้านี้ ต้องรำนำหน้าช้างทรงของพระอินทร์ จึงเป็นเหตุให้
มีชื่อเรียกกันติดปากต่อมาว่า "ระบำหน้าช้าง"
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 11:57 am

ระบำย่องหงิด

http://video.yahoo.com/watch/952455/3705238



http://www.anurakthai.com/encyclopaedia/default.asp?rid=1&pageno=4

ระบำย่องหงิด

ระบำย่องหงิด เป็นระบำที่อยู่ในละครในเรื่องอุณรุท ตอนศุภลักษณ์วาดรูป
ซึ่งมีเนื้อเรื่องกล่าวถึงนางศุภลักษณ์พี่เลี้ยงของนางอุษา ได้ขออาสาขึ้นไปวาดรูป
เทพบุตรบนสวรรค์ ขณะที่นางศุภลักษณ์ขึ้นไปบนสวรรค์นั้น ได้พบกับเหล่าเทพบุตร
เทพธิดาจับระบำกันด้วยความรื่นเริง บันเทิงใจ
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 12:10 pm

ระบำวีรชัยยักษ์

http://video.yahoo.com/watch/952519/3705503



http://www.anurakthai.com/encyclopaedia/default.asp?rid=1&pageno=3

ระบำวีรชัยยักษ์

ระบำวีรชัยยักษ์ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ใช้ในการรำตรวจพลของกองทัพยักษ์
ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อครั้งที่นายธนิต อยู่โพธิ์ ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต
มอบให้ นายอร่าม อินทรนัฏ นาฏศิลปินเอกของกรมศิลปากร เป็นการประดิษฐ์ท่ารำ
ซึ่งแสดงถึงลีลาท่าเต้นที่สง่างามน่าเกรงขาม จัดเป็นการแสดงที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 12:20 pm

ระบำวีรชัยลิง

http://video.yahoo.com/watch/952584/3705732



http://www.anurakthai.com/encyclopaedia/default.asp?rid=1&pageno=3

ระบำวีรชัยลิง

ระบำวีรชัยลิง เป็นระบำชุดหนึ่งที่กรมศิลปากรมอบให้ นายกรี วรศะริน
ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์โขนและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
เป็นระบำในการยกทัพตรวจพลของตัวลิง ตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
ก่อนที่จะยกทัพออกสู่สนามรบ การแสดงชุดนี้ได้สอดแทรกลีลาท่าทางอันพลิกแพลง
โลดโผนต่าง ๆ ของพลลิงทั้งหลาย ที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 1:47 pm

ระบำทวารวดี

http://video.yahoo.com/watch/952636/3705871



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DMYEP8qn

http://www.banramthai.com/html/tawarawadee.html

http://www.culture.go.th/knowledge/dance/rabam14.htm

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Image002ระบำทวารวดี

ทวารวดี


เป็นยุคที่นักวิชาการทางโบราณคดีประมาณว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๑–๑๖
ระบำทวารวดีนี้เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีซึ่งมีทั้งหมดด้วยกันรวม ๕ ชุด
นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้ริเริ่มขึ้นโดยทำการสอบสวนค้นคว้าจาก
หลักฐานภาพปั้นและภาพจำหลักที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานสมัยทวารวดี เช่นที่ คูบัว อู่ทอง นครปฐม
โคกไม้เดนและจันเสน หลังจากนั้น นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
และศิลปินแห่งชาติ ได้สร้างสรรค์ทำนองเพลง และมอบหมายให้นายสนิท ดิษฐ์พันธ์ เป็นผู้ออกแบบ
เครื่องแต่งกาย นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช
ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์
ลีลาท่ารำตามทำนองเพลงที่นายมนตรี ตราโมท ได้สร้างสรรค์ขึ้น นักปราชญ์ทางโบราณคดี
ได้วินิจฉัยไว้ตามหลักฐานที่พบว่าประชาชนชาวทวารวดีเป็นมอญหรือเผ่าชนที่พูดจาภาษามอญ
เพราะฉะนั้น ดนตรีและลีลาท่ารำในระบำชุดนี้จึงมีสำเนียงและท่ารำเป็นแบบมอญ ระบำชุดนี้
ได้จัดแสดงถวายทอดพระเนตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ในงานเปิด
อาคารสร้างใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

เครื่องดนตรี


ที่ใช้ประกอบการแสดงระบำชุดนี้ ประกอบด้วย พิณ ๕ สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัด
ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบ และกรับคู่ การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๕ นาที
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 1:59 pm

ระบำศรีวิชัย

http://video.yahoo.com/watch/952682/3705977



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Srivichai

http://www.banramthai.com/html/srivichai.html

http://www.culture.go.th/knowledge/dance/rabam14.htm

ระบำศรีวิชัยวิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Image004

ระบำศรีวิชัย

เป็นระบำชุดที่ ๒ ของระบำโบราณคดีซึ่งมีทั้งหมดด้วยกันรวม ๕ ชุด
โดยความคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐
มีนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร
และนางเฉลย ศุขะวนิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร
และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยอาศัยท่าทางของนาฏศิลป์ชวามาผสมผสานเข้าด้วยกัน
และมีนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ
เป็นผู้ประดิษฐ์ทำนองเพลงจากหลักฐาน ซึ่งนักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า
สมัยศรีวิชัยอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๘ มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศไทย
ลงไปจรดดินแดนมาเลเซียและอินโดนีเซียบางส่วนในปัจจุบัน การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้
อาศัยการสอบหลักฐานจากศิลปกรรมภาพจำหลักที่พระสถูปโรพุทโธในเกาะชวา ซึ่งเชื่อว่า
อยู่ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร รวมกับศิลปะวัตถุสมัยศรีวิชัยและศิลปกรรมอื่น ๆ ประกอบกัน
ส่วนทำนองเพลงก็แต่งให้ใกล้ไปทางสำเนียงชวา


เครื่องดนตรี

ซึ่งใช้บรรเลงเพลงชุดศรีวิชัย ประกอบด้วย กระจับปี่ ๓ ตัว ซอสามสาย ขลุ่ยเพียงออ
ตะโพน กลองแขก ฉิ่ง ฉาบเล็ก และกรับ นายสนิท ดิษฐ์พันธ์ เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย
ตามหลักฐานศิลปกรรมภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 2:14 pm

ระบำลพบุรี

http://video.yahoo.com/watch/952758/3706204



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Lopburi

http://www.banramthai.com/html/lopburi.html

http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=259

วังนารายณ์... ทานตะวัน... ระบำลพบุรี


วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_palace100 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Sunflower100 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Bell_dance_pray
น้องเบลล์ (แชมป์ขิม 5 สมัย) ขอชวนเชิญทุกคนไปเที่ยว “พระราชวัง นารายณ์ราชนิเวศน์”
จังหวัดลพบุรี โดยใช้ เสียงขิม บรรเลงเพลง “ระบำลพบุรี” เพราะ “ชื่อเพลงก็มีความเกี่ยวเนื่องกับ
สถานที่ และเป็นเพลงที่ใช้ประกอบ การระบำลพบุรี ซึ่งเป็นเพลงประจำสมัยลพบุรี ฟังแล้วทำให้นึกถึง
วังนารายณ์ นึกถึงประวัติศาสตร์ สมัยลพบุรี” น้องเบลล์กล่าว


พระราชวัง นารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่น้องเบลล์ ประทับใจ
เพราะคุณพ่อเป็นคนชอบประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ที่น้องเบลล์เคยไปคือ
อุทยานประวัติศาสตร์ ตามจังหวัดต่าง ๆ ส่งผลให้ หลงใหลใน ประวัติศาสตร์ไทยไปด้วย
น้องเบลล์บอกว่า “คุณพ่อชอบพาไป แล้วเบลล์ก็ชอบ เพราะทำให้ รู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์
ของไทยมากขึ้น”

ลองฟังเพลงประกอบไปด้วย อาจจะช่วยให้ผู้อ่าน อยากไปเที่ยวชม ที่แห่งนี้กันมากขึ้น
คลิกฟังที่นี่ (wav-mp3 file 329 KB)



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Bell_8วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_1

“พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์”

ตั้งอยู่ที่ ถ. สรศักดิ์ อ. เมือง จ. ลพบุรี เป็นที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ. ลพบุรี
เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองแห่งนี้ พระราชวังมีรูปแบบผสมผสานระหว่าง
ศิลปะไทยและตะวันตกในอดีตมีความยิ่งใหญ่ทันสมัยและงดงามมาก จนชาวต่างชาติยกย่อง
ให้เป็น “แวร์ซายแห่งลพบุรี” แม้ปัจจุบันจะเหลือเพียงซากปรักหักพังก็ยังคงมีเค้าของความงามอยู่

ปัจจุบัน พระที่นั่งบางองค์ใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
จัดแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบในลพบุรี เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมเข้าใจประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรี
ได้กระจ่างขึ้น

ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีสถานที่น่าสนใจ อาทิ หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง
ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ตึกพระเจ้าเหา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ
ฯลฯ


วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_4 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_3

นอกจาก “พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์” ที่น้องเบลล์แนะนำให้ไปเที่ยวกันแล้ว
“ลพบุรี” ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีก อาทิ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
และเดือนพฤศจิกายน ก็จะเป็นเทศกาลดอกทานตะวันบาน
ใครที่เคยขับรถผ่านจังหวัดนี้ไป หากคุณลองแวะเข้าไปสักนิด ก็จะรู้ว่า “ลพบุรี”
ยังมีอะไรที่คุณไม่รู้อีกมากมาย


วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_10 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Narai_11

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Bell_sawasdee3s
น้องเบลล์
มีชื่อจริงว่า ปิยธิดา เค้ามูลคดี เป็นลูกสาวคนเดียวของคุณกษมล และคุณดุษฎี เค้ามูลคดี
ซึ่งเป็นน้องชายของคุณรอง เค้ามูลคดี

ด้วยความที่คุณพ่อเป็นคนชอบขิม จึงให้น้องเบลล์หัดตีขิมตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
ควบคู่ไปกับการเรียนรำไทย ในระดับชั้นประถมนั้น น้องเบลล์เรียนที่โรงเรียนประถมทวีธาภิเษก
และเคยได้รับรางวัลจากการประกวดขิม ต่อมาย้ายมาเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์จนจบระดับมัธยมต้น
ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาขาศิลป์ - ภาษา (ฝรั่งเศส) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

นอกจากการตีขิมและรำไทยแล้ว ความสามารถพิเศษของน้องเบลล์อีกอย่างคือ การสีซออู้
ซึ่งเพิ่งมาฝึกเล่นในระยะหลังนี้เอง ระหว่างขิมกับรำไทยนั้นเธอบอกว่า “คิดว่ารำไทยได้ดีกว่า
เพราะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทิ้งขิมไป แต่พอไปออกรายการ คุณพระช่วย ก็ต้องซ้อมหนักกว่าเดิม
เพราะจะได้พัฒนาฝีมือตัวเองขึ้นไปเรื่อยๆ สรุปแล้วเดี๋ยวนี้ก็ซ้อมขิมตกวันละ 6-7 ชม
แต่ก็ดีนะคะ เพราะถ้าไม่ซ้อมเนี่ย มือจะแข็ง”

เพลงที่ชอบที่สุดตั้งแต่ตีขิมมา คือ “ชอบตอนที่ไปออกช่วง คุณพระโชว์ ที่มีการนำ
วงดนตรีไทยซึ่งเป็นแชมป์ในแต่ละประเภทและวงดนตรีสากลของกองทัพบก
มาบรรเลงร่วมกันเพลง รากไทย ซึ่งเป็นเพลงที่เพราะมาก เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก
เพราะได้ร่วมเล่นกับวงดนตรีขนาดใหญ่”

ความใฝ่ฝันของเด็กคนนี้อยากเรียนต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องเบลล์บอกว่า “อยากเป็นผู้กำกับ อยากทำงานเบื้องหลังเหมือนคุณพ่อ
ส่วนการเล่นขิมนั้นคงจะทำเป็นงานอดิเรก อย่างเปิดโรงเรียนสอนดนตรีไทย”
ข้อมูลเพิ่มเติม เพลงระบำลพบุรี
เป็นเพลงประกอบระบำชุดหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยการค้นคว้าจากภาพจำหลักปูนและศิลปะขอม
ซึ่งมีอยู่ทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย โดยเฉพาะพระปรางค์สามยอด จ. ลพบุรี
ปราสาทหินพิมาย จ. นครราชสีมา ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ ฯลฯ เนื่องจาก
ศิลปะแบบลพบุรีเป็นศิลปะแบบขอม ดังนั้นลีล่าท่ารำ ทำนองเพลงและเครื่องแต่งกาย
จึงมีลักษณะแบบเขมร

พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์
- เปิดเวลา 07.00-17.30 น.
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เปิดวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
- ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท
- โทร. 0-3641-1458
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว จากย่านการค้าปรางค์แขก ตรงไปทางธนาคารไทยพาณิชย์ตาม ถ. สรศักดิ์
จะเห็นกำแพงอิฐใหญ่อยู่ขวา
รถประจำทาง นั่งรถที่เข้าเมืองได้ทุกสาย

ทุ่งทานตะวัน
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จ. สระบุรี
เมื่อถึงแยกพุแคแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ประมาณ 20 กม.
จะถึงสี่แยกที่ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3017 ถ้าไปทางขวาจะไปทาง อ. พัฒนานิคม
และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ให้เลี้ยวซ้ายไปทางอ่างเก็บน้ำซับเหล็กและวัดเวฬุวัน
หรือจะเดิน ทางโดยทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน อ. พระพุทธบาท
เมื่อถึงสามแยกบริเวณสามแยกนิคมให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3017 ไปอีก
10 กม. ก็ถึงอ่างเก็บน้ำซับเหล็กได้เช่นกัน
รถประจำทาง ถ้า ไปชมทุ่งทานตะวันบริเวณอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก นั่งรถสายท่าโพธิ์-บ้านหนองถ้ำ
แต่ถ้าจะไปทุ่งทานตะวันริมทางหลวงหมายเลข 21 ให้นั่งรถสายลพบุรี-ลำนารายณ์

ข้อแนะนำ
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การชมทุ่งทานตะวันคือ ช่วงเช้าตรู่ไปจน 10 โมงเช้า
เพราะอากาศไม่ร้อนจนเกินไป และดอกทานตะวันจะหันไปทางทิศตะวันออก
ทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหาดอกสว่างสดใส เห็นทุ่งทานตะวันเป็นสีเหลืองอร่าม
แหล่งข้อมูล
หนังสือเที่ยวทั่วไทยไปกับ "นายรอบรู้" ลพบุรี
หนังสืออ้างอิง
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2542
ขอขอบคุณ
- น.ส. ปิยธิดา เค้ามูลคดี (น้องเบลล์)
- รายการ "คุณพระช่วย"
- ผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน
เรื่อง : ทีมงาน "นายรอบรู้" (น้อย)
ภาพ : ทีมงาน "นายรอบรู้" (น้อย) และสำนักพิมพ์สารดค
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 2:41 pm

ระบำเชียงแสน

http://video.yahoo.com/watch/953850/3709381



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน TynaEUmR

http://www.banramthai.com/html/chiangsan.html

http://www.cdare.bpi.ac.th/Various%20Dancing/chiangsaen%20dancing.html

ระบำเชียงแสน


ระบำชุดนี้สร้างขึ้นตามศิลปโบราณสมัยเชียงแสน ซึ่งมีเมืองหลวงตั้งอยู่บนฝังขวาของแม่น้ำโขง
ทางตอนเหนือของประเทศไทย ในท้องถิ่นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นักปราชญ์ทางโบราณคดี
กำหนดศิลปโบราณสถานสมัยเชียงแสนไว้ระหว่างพุทธสตวรรษที่ ๒๐ – ๒๕ ศิลปแบบเชียงแสน
ได้แพร่หลายไปทั่วดินแดงภาคเหนือของไทย และต่อมาได้แพร่หลายในแถบลุ่มแม่น้ำโขง

เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ได้แก่ ปี่จุม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ และฆ้องหุ่ย ท่วงทำนองเพลง
ระบำเชียงแสน มีสำเนียงแบบภาคเหนือ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลสมผสานกัน

เครื่องแต่งกาย

  1. เสื้อสีเหลือง แขนสั้นเหนือศอก ตัวยาวคลุมสะโพก ชายเสื้อด้านหน้ามนคอแหลม
  2. ผ้านุ่งยาวกรอมเท้า สีเขียวและสีชมพูแก่อย่างละแถวแต่งด้วยขลิบทองลายขวาง
  3. เข็มขัด มีเกลียวไหมระบายรอบเอว และพ่ห้อยที่เอวด้านหน้า
  4. เครื่องประดับ มีสร้อยคอ กำไลข้อมือ ต่างหู ข้อเท้า
  5. ผมด้านหน้าเกล้าเป็นกระบัง มีขดเงินรูปหยักแหลมประดับ ด้านหลังมุ่นมวยสูงประดับดอกไม้ข้างซ้าย

ดังนั้นท่ารำและดนตรี ตลอดจนเครื่องแต่งกายของระบำชุดนี้ จึงมีลักษณะและ
ลีลาเป็นแบบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระคนกัน


อธิบายท่ารำ

ท่าที่ ๑ ท่าออก

ก้าวเท้าขวา อ่อนขวา เบี่ยงไหล่ขวา จีบ ๒ มือ มือซ้ายจีบหงายที่ชายพก มือขวาจีบหลัง
แล้วก้าวเทท้าซ้าย อ่อนซ้าย ปล่อยจีบมาตั้งข้างหน้า มือขวาตั้งวงสูงกว่ามือซ้าย เบี่ยงไหล่ซ้าย
แล้วเปลี่ยนก้าวเท้าซ้าย อ่อนซ้าย เบี่ยงไหล่ว้าย จีบ ๒ มือ ( หันด้านซ้าย ) ต่อจากนั้นก้าวเท้าขวา
อ่อนขวา ปล่อยจีบมาตั้งวงข้างหน้า มือซ้ายตั้งวงสูงกว่ามือขวา เบี่ยงไหล่ขวา ปฏิบัติสลับขวา ซ้าย
๘ ครั้ง ตั้งแถวปากพนัง

ท่าที่ ๒ สอดสูง จีบหลัง สลับกับตั้งวง และจีบหงายมือตึงแขน แถวขวา ก้าวเท้าซ้าย อ่อนซ้าย
จีบมือซ้ายสอดสูง ปล่อยจีบ มือขวาจีบหลังแล้วก้าวเท้าขวาไขว้ ต่อจากนั้นขยับไล่ เปลี่ยนมือซ้าย
ตั้งวงมือขวาจีบหงาย ตึงแขนระดับไหล่พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายอ่อนซ้ายเดินสวนแถวไป ๖ ครั้ง
กลับ ๖ ครั้ง แถวซ้ายซ้อนหน้าแถวขวาในจังหวะที่ ๓ แถวซ้าย ปฏิบัติตรงกันข้ามแถวขวา

ท่าที่ ๓ ๒ มือจีบหลัง สลับตั้งวงข้างหน้า ย่ำเท้าตามจังหวะ พร้อมกับ ๒ มือจีบหลัง ปล่อยมือจีบ
ตั้งวงข้างหน้าจังหวะที่ ๔ แล้วเปลี่ยนมือจีบหลังในจังหวะที่ ๔ ปฏิบัติสลับกันดังนี้ ๓ ครั้ง (๑๒ จังหวะ )
ระหว่างปฏิบัติท่านี้ คู่ที่ ๑ จะแยกออก เดินย่ำเท้าถอยหลังลงมา คู่ที่ ๒-๓ เดินตาม คู่ที่ ๑ ขึ้นไป
แล้วแยกออกเดินถอยหลังลงมาไปอยู่ที่เดิม

ท่าที่ ๔ จีบ ๒ มือ ปล่อยตั้งวงระดับไหล่ ( ท่ามยุเรศ ) หันหน้าเข้าหากันเป็นกลมใหญ่ ก้าวเท้าขวา
ปล่อยมือจีบตั้งวงระดับไหล่อ่อนว้ายแล้วก้าวเท้าซ้าย จีบหงายมือในจังหวะที่ ๒ เดินเวียนไปทางขวามือ
ปฏิบัติมือสลับกัน ๔ ครั้งต่อจากนั้นจึงเวียนกลับมาทางซ้ายมือ ปฏิบัติมือเช่นเดิม

ท่าที่ ๕ บัวชูฝัก แถวขวา วิ่งถอยมารวมกลุ่ม ๓ แถวว้ายวิ่งไปรวมกลุ่มข้างหน้าอยู่ในลักษณะเยื้องกัน
ก้าวเทาว้าย จีบมือว้ายสอดสูงปล่อยจีบ มือขวาจีบคว่ำอยู่ใต้ข้อศอกซ้าย อ่อนซ้ายก้าวเท้าเดิน
ตามจังหวะ ๒ ครั้ง แล้วปล่อยมือจีบตั้งมือแตะปลายนิ้วใต้ศอก มือซ้ายพลิกกลับตั้งวง นับเป็น ๑ จังหวะ
แล้วเปลี่ยนพลิกมือซ้ายอบหงาย มือขวาจีบคว่ำใต้ศอกในจังหวะที่ ๒ ปฏิบัติสลับกันกับจังหวะที่ ๑
จนครบ ๔ ครั้ง แล้วหมุนตัวทางซ้ายหันก้าวเท้าขวา จีบมือขวาสอดสูงปล่อยจีบ มือซ้ายจีบคว่ำใต้ศอกขวา
อ่อนขวาปฏิบัติวิธีเดียวกันท่าที่กล่าวข้างต้น

ท่าที่ ๖ ตั้งวงหน้าต่ำระดับเอว ก้าวเท้าซ้าย อ่อนขวา ทอดแขนทั้ง ๒ มือซ้ายตั้งวงข้างหน้า
มือขวาเยื้องต่ำกว่ามือซ้าย ก้าวเท้าตามจังหวะ ๔ ครั้ง เปลี่ยนมือ และอ่อนซ้าย ปฏิบัติวิธีเดียวกัน
ทำสลับกัน ๓ ครั้ง คนที่ ๑ ของแถวขวา จะเดินขึ้นไปตั้งแถวเฉียงด้านใน คนที่ ๑ ของแถวซ้าย
จะเดินลงมาตั้งแถวเฉียงด้านนอก เมื่อเปลี่ยวมือปฏิบัติครบ ๓ ครั้ง ทุกคนเดินมาแปรแถวเฉียงคู่กัน

ท่าที่ ๗ จีบมือสลับตั้งวงตั้งแถวเฉียงคู่ แถวขวาหันหน้าออกหน้าเวที แถวซ้ายหน้าเข้า ก้าวเท้าขวา
มือทั้ง ๒ จีบคว่ำ ทอดแขนขวาข้างลำตัว มือซ้ายระดับหัวเข็มขัด อ่อน โยนตัวแบบฟ้อนแล้วคืนตัว
อ่อนขวา ก้าวเท้าว้ายพร้อมกับเปลี่ยนมือขวาจีบหงาย ต่อจากนั้นเดินควงคู่ ย่ำเท้าขวา ซ้ายสลับกัน
ทุกครั้งที่ก้าวเท้าซ้าย มือขวาจะเปลี่ยนเป็นตั้งวงสลับกับจีบหงายจนครบ ๔ ครั้ง จังหวะที่ ๒ ทั้งสองแถว
จะเดินแปรแถวมาซ้อนกันเป็นแถวเฉียงเดียว แล้วแยกไปอยู่แทนที่กันในครั้งสุดท้าย ต่อหมุนตัวด้านขวา
ก้าวเท้าซ้าย ทอดแขนว้ายปฏิบัติวิธีเดียวกันกับข้างต้นกลับไปตั้งแถวเฉียงอย่างเดิม

ท่าที่ ๘ สวนแถนสลับฟันปลา ในท่ารำยั่ว คนที่ ๑ ของแถวขวา และคนสุดท้าย ( คนที่ ๑ ) ของแถวซ้าย
หมุนตัวก้าวเท้าขวาหันหน้าสวนแถวกับคู่ที่ ๒ มือขวาตั้งมือตะแคงไปข้างหน้า (ท่ารำยั่ว ) จีบซ้ายข้างหลัง
อ่อนขวา เดินสวนสลับฟันปลา เปลี่ยนมือขวาในท่ารำยั่ว ๕ครั้ง (เปลี่ยนมือย่ำเท้าครบ ๔ จังหวะและ
ให้พอดีกับคู่ ) คนที่ ๑ เดินย่ำมาตั้งแถวตรง

ท่าที่ ๙ สอดสร้อยแปลงและจีบนั่ง ท่าสอดสร้อยแปลงมือขวา มือซ้ายจีบชายพก ปฏิบัติสลับกันมือซ้าย
ย่ำเท้าครบ ๔ จังหวะจึงเปลี่ยนมือครั้งหนึ่ง คู่ที่ ๑ ย่ำเท้าอยู่กับที่ คู่ที่ ๒ และ ๓ ตั้งแถวหน้ากระดาน
โดยคู่ที่ ๒ ทอดแขนว้ายมือทั้งสองจีบหงายแล้วม้วนมือตั้งวงหน้าระดับเอว อ่อนซ้าย เบี่ยงตัวด้านขวา
กระทบจังหวะขึ้นเปลี่ยนเข่าว้ายสูงหันตัวมาด้านซ้าย แล้วอ่อนขวา ทอดแขนขวา และปฏิบัติมือวิธีเดียวกับ
ท่าที่กล่าวข้างต้น สลับกัน ๓ ครั้งแล้วลุกขึ้นยืน เปลี่ยนมือสอดสร้อยแปลงเดินย่ำเท้าถอยหลังไปอยู่
ริมนอกแถวหน้ากระดาน ระหว่างคู่ที่ ๑ ปฏิบัติท่าจีบนั่ง คู่ที่ ๒ – ๓ ทำท่าสอดสร้อยแปลงย่ำเท้าอยู่กับที่
และ๕ที่ ๒ จะเดินมาอยู่ตรงกลางแทนที่คู่ที่ ๑ เมื่อคู่ที่ ๑ เดินถอยไปอยู่ริมนอก แล้วปฏิบัติวิธีเดียวกันกับ
ที่กล่าวมาข้างต้น ต่อจากนั้นคู่ที่ ๓ จะเดินขึ้นมาแทนที่คู่ที่ ๒ เดินถอยไปอยู่ริมนอกตามแผนผัง
และปฏิบัติวิธีเดียวกันกับเดินไปถอยเรียงกระดาน

ท่าที่ ๑๐ สวนเรียงหน้ายกระดาน ทำท่าสอดสูงจีบหลัง แถวขวา ก้าวเท้าขวา มือซ้ายสอดสูง มือขวาจีบหลัง
อ่อนว้ายตะแคงตัวก้าวเดินตามจังหวะคนที่ ๑ ของแถวซ้ายและแถวขวาเดินนำสวนแถว แถวซ้ายซ้อนหน้าขวา
ขากลับแถวขวาซ้อนหน้าแถวซ้ายเดินไปและกลับ รวม ๑๔ จังหวะใหญ่ แถวซ้าย ก้าวเท้าซ้าย มือขวาสอดสูง
อ่อนขวา มือซ้ายจีบหลัง

ท่าที่ ๑๑ แถวตอนเรียงเดี่ยว ในท่ามยุเรศ มือทั้ง ๒ จีบหงายระดับหัวเข็มขัด ย่ำเท้าตามจังหวะ ๔ ครั้ง
ม้วนมือตั้งวงในท่ามยุเรศแล้วก้าวเดินมาตั้งแถวตอนเรียงเดี่ยว แถวซ้ายตั้งแถวซ้อนหน้าแถวขวา
สลับกันแต่ละคนใน ๘ จังหวะ ท่าที่ ๑๒ ท่าจีบโบก เดินถอยหลังเข้า

ปฏิบัติต่อเนื่องมาจากท่าที่ ๑๑ เดินถอยหลังเป็นแถวเฉียง ปลายแถวเฉียงไปทางขวาของเวที มือทั้ง ๒
จีบหงายระดับอก แล้วม้วนมือซ้ายตั้งวง ทอดแขนตรงหน้า มือขวาจีบหลัง อ่อนซ้าย เบี่ยงไหล่ขวา
เปลี่ยนมือปฏิบัติสลับกันทุก ๔ จังหวะ

เมือจบจังหวะสุดท้ายของท่อนเพลง ผู้ที่อยู่ปลายแถวเปลี่ยนก้าวเท้าขวาไขว้ แล้วก้าวเท้าซ้ายไขว้
พร้อมกับมือซ้ายจีบหงายทอดแขนระดับเอว มือขวาตั้งวงระดับหัวเข็มขัดอ่อนซ้าย
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 3:09 pm

ระบำสุโขทัย

http://video.yahoo.com/watch/954037/3709810



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Z3DLHCfK

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Hiatt11

http://www.banramthai.com/html/sukotai.html

http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/wdsukhotai.htm

ระบำสุโขทัย

ระบำโบราณคดีชุดนี้เกิดจากแนวคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์
อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดให้มีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เป็นผู้คิดท่ารำ อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งทำนองขึ้นใหม่
ให้มีความไพเราะเพราะพริ้ง

เครื่องแต่งกายชุดระบำสุโขทัยนั้นได้อาศัยการศึกษาภาพลายเส้นรอบพระพุทธบาท
สัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ส่วนทรงผมดูแนวจากภาพลายเส้นจิตรกรรมที่วัดศรีชุม
การแต่งกายแบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้
ศีรษะ
ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง
ต่างหู
เป็นดอกกลม
เสื้อในนาง
สีชมพูอ่อน
กรองคอ
สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม
ต้นแขน
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
กำไลข้อมือ
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
ข้อเท้า
ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง
ผ้ารัดเอว
ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง
ผ้านุ่ง
เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ
ทรงผม
เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม
จำนวนผู้เล่น
ผู้หญิงจำนวน 7 คน (มากกว่านั้นก็ได้แต่ผู้แสดงต้องเป็นเลขคี่)
เครื่องดนตรี
ประกอบด้วย ปี่ใน กระจับปี่ ฆ้องวงใหญ่ ซอสามสาย ตะโพน ฉิ่งและกรับ
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 3:35 pm

ระบำอยุธยา

http://video.yahoo.com/watch/955545/3713763



http://culture.rmutsb.ac.th/50-10_Clip.html

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Ram-sangkhitsala

http://www.banramthai.com/html/ayudhya.html

http://www.isangate.com/entertain/dance_072.html

http://www.bbacademy.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538844930&Ntype=7

ระบำอยุธยา

ระบำอยุธยา เป็นระบำชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จากความคิดริเริ่ม ของ
อาจารย์เสรี หวังในธรรม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสังคีตศิลป์และศิลปินแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์
ที่จะจัดเป็นระบำโบราณคดีอีกชุดหนึ่ง อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย
และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ลีลาท่ารำ อาจารย์ จรัส อาจณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้แต่งทำนองเพลงอยุธยา ระบำชุดนี้จัดแสดงเป็นครั้งแรก
ในงานศิลปหัตถกรรม ประจำปี ๒๕๒๙
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  Unknown Mon Mar 01, 2010 3:50 pm

ระบำศรีชยสิงห์

http://video.yahoo.com/watch/954563/3710461



วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Piya52-6

http://www.banramthai.com/html/srichaising.html

http://www.anurakthai.com/encyclopaedia/default.asp?rid=1&pageno=3

ระบำศรีชยสิงห์

ระบำศรีชยสิงห์ เป็นระบำที่นางเฉลย ศุขะวนิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย
และศิลปินแห่งชาติ ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นจากศิลปกรรมภาพจำหลักท่ารำของนางอัปสรบายน
ในสมัยขอมบายน โดยจินตนการให้เป็นหมู่ระบำนางอัปสร ฟ้อนรำด้วยลีลาท่าทาง
อันอ่อนช้อยงดงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย ให้กลมกลืนกับท่วงทำนองและจังหวะเพลง
ขอมชมจันทร์และเขมรเร็ว เพื่อเป็นการรำถวายพระ นางปรัชญาปารมิตา
ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


http://art.culture.go.th/index.php?case=theaterDetail&side=dnc_art_th&art_id=28&dnc_art_id=88&file_dnc_art_id=129

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน CJeJspba
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Tue Jun 01, 2010 11:25 pm

http://www.banramthai.com/html/ramwong.html
รำวงมาตรฐาน

เพลงงามแสงเดือนเพลงดอกไม้ของชาติ
เพลงชาวไทยเพลงหญิงไทยใจงาม
เพลงรำซิมารำเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
เพลงคืนเดือนหงายเพลงยอดชายใจหาญ
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญเพลงบูชานักรบ

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย
ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำ
ไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรม
ของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่

ท่ารำ
คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต ได้ร่วมกัน
ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่
เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ
และเพลงบูชานักรบ

คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง
คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

ทำนอง
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ
เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
เพลงดอกไม้ของชาติ ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง
คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

เครื่องดนตรี
เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น
จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง

การแต่งกาย
มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง
เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทย
สมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ
นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว
ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท ผูกเนคไทก็ได้




http://www.vcharkarn.com/vcafe/126605/3

เพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 10


วันนี้น้า (เราชื่อมิว) จะมาแบ่งบันความรู้กะเพื่อนๆกานน้า เรารักการรำวงม๊ากมาก
โตขึ้นกะทำรำวงด้วยแหละ เจ๋วดีว่ามั้ย55+ มาหุ้นกันได้นะ และอย่าลืมเราชื่อ มิว!

ประวัติ
รำวงมาตรฐาน ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงามซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า
"มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง"เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง
ที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะ
ในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ โดยจังหวะ
การฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกกันว่า "รำโทน"
ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและ
สัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด ตามลักษณะของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะออกมาใน
ลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่ การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อของหนุ่มสาว การเชิญชวน
ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น
ในเรื่องของเครื่องแต่งกายในสมัยก่อนก็ไม่เน้นถึงความพิถีพิถันมากนัก
เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุความนิยม
เป็นอย่างมากนี้เองจึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก
แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม ส่วนเนื้อร้องใดที่นิยมก็จะร้องกันอยู่ได้นาน
เพลงใดเนื้อร้องไม่เป็นที่นิยมก็จะไม่นำมาร้องเท่าใดนักและก็จะเป็นที่ลืม
เลือนไปในที่สุด จากนั้นก็จะมีเนื้อเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนที่

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่
ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพ
ในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล
เพื่อใช้ในการต่อสู้ กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี
จอม พล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามา
ตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่า หากปฏิเสธ คงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เอง
ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของ ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตี
ฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย
ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิต
และทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจน
จึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัว
เป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเคลียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้าน
ที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ "การเล่นรำโทน" คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย
ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่
เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ควรที่จะเชิดชู
ให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย เพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า
ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มี ความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่
แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุง
และพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น
ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเครื่องแต่งกาย

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ 4 บทคือ " เพลงงามแสงเดือน"
"เพลงชาวไทย" "เพลงรำซิมารำ" "เพลงคืนเดือนหงาย" ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 บท คือ " เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ" "เพลงดอกไม้ของชาติ"
"เพลงหญิงไทยใจงาม" "เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า" "เพลงยอดชายในหาญ" "เพลงบูชานักรบ"

ในด้านทำนองนั้นรับผิดชอบโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนท่ารำนั้นนาฏศิลปิน
อาวุโสของกรมศิลปากร คือ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) และนางลมุล ยมะคุปต์
ร่วมกันคิดท่ารำขึ้นประกอบการรำโดยนำท่ารำมาจากการรำ "แม่บท" และต่อมาได้มีการ
เปลี่ยนชื่อเรียกการ "รำโทน" เป็น "รำวง" ตามลักษณะของการเล่น ซึ่งวิธีการเล่นนั้นจะเล่น
รวมกันเป็นวงและเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวง สืบมาจนถึงปัจจุบันและชาวต่างชาติ
ก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่าง ๆ จนกระทั้งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกัน
ที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ
Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก "รำวง" เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น "รำบอง"
(Rombong) ( อมรา กล่ำเจริญ , 2531 : 111)

แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลง
ก็เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเรียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย
ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป
ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียก "รำวง" ที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐาน ว่า "รำวงมาตรฐาน"
สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

เพลงรำวงมาตรฐาน
1.เพลงงามแสงเดือน-ท่าสอดสร้อยมาลา
2.เพลงชาวไทย-ท่าชักแป้งผักหน้า
3.เพลงรำมาซิมารำ-ท่ารำส่าย
4.เพลงคืนเดือนหงาย-ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
5.เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ-ท่าแขกเต้าเข้ารัง-ท่าผาลาเพียงไหล่
6.เพลงดอกไม้ของชาติ-ท่ารำยั่ว
7.เพลงหญิงไทยใจงาม-ท่าพรหมสี่หน้า-ท่ายูงฟ้อนหาง
8.เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า-ท่าช้างประสานงา-ท่าจันทร์ทรงกลด
9.เพลงยอดชายใจหาญ-ท่าชะนีร่ายไม้-ท่าจ่อเพลิงกาฬ
10.เพลงบูชานักรบ-ท่าขัดจางนาง-ท่าจันทร์ทรงกลด


เพลงงามแสงเดือน
คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร
(
ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย


ความหมาย ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ดูสวยงาม ผู้คนที่มาเล่นรำวง
ยามที่แสงจันทร์ส่อง ก็มีความงดงามด้วย
การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน
มีความสามัคคีกัน
และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป

เพลงชาวไทย
คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร
(
ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเรา เอย


ความหมาย หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ
อย่าได้ละเลยไปเสีย
ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศก
ทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช
ประชาชนมีเสรีในการคิดจะทำสิ่งใดๆ
ดังนั้น
เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่งๆ ขึ้น
ของไทยเราตลอดไป


เพลงรำซิมารำ
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร
(
ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขลุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย


ความหมาย ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้จะได้คลายทุกข์
ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริงๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และการรำก็จะรำอย่างมี
ระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดูงดงามยิ่ง

เพลงคืนเดือนหงาย
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร
(
ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร) ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย


ความหมาย เวลา กลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจ
เท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่ว
ทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา
ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช
มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย
งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วนยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ขวัญใจชาติเอย


ความหมาย พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดูสวยงาม เพราะเป็น
พระจันทร์ทรงกลด
คือมีแสงเลื่อมกระจายออกรอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไร
ก็ยังไม่เท่าความงามของดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล
อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน
กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ
สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือดอกไม้

เพลงดอกไม้ของชาติ

(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ (ซ้ำ)
เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม
(
สร้อย)
งานทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย
ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ


แก้ไขล่าสุดโดย hacksecret เมื่อ Thu Jun 03, 2010 2:35 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Tue Jun 01, 2010 11:31 pm



เพลงหญิงไทยใจงาม
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจ หญิงไทยส่งศรีชาติ
รูปงามวิลาส ใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคาม
หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว


ความหมาย ดวง จันทร์ที่ส่องแสงอยู่บนท้องฟ้ามีความงดงามมาก และยิ่งได้แสง
อันระยิบระยับของดวงดาวด้วยแล้ว
ยิ่งทำให้ดวงจันทร์นั้นงามเด่นยิ่งขึ้น
เปรียบเหมือนกับดวงหน้าของหญิงสาวที่มีความงดงามอยู่แล้ว
ถ้ามีคุณความดีด้วย
ก็จะทำให้หญิงนั้นงามเป็นเลิศ ผู้หญิงไทยนี้เป็นขวัญใจของชาติ
เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ รูปร่างก็งดงาม จิตใจก็กล้าหาญ ดังที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ทั่วไป

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่
จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ
ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย
ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย


ความหมาย ในเวลาค่ำคืนท้องฟ้ามีดวงจันทร์ประจำอยู่ ในใจของชายก็มีหญิง
อันเป็นสุดที่รักประจำอยู่เช่นกัน
สิ่งที่เทิดทูนยกย่องไว้ก็คือชาติไทยที่เป็นเอกราช
มีอิสระแก่ตนไม่ขึ้นกับใคร
และสิ่งที่แนบสนิทอยู่ในใจของชายก็คือหญิงอันเป็นสุดที่รัก

เพลงยอดชายใจหาญ
คำร้อง
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี
น้องขอร่วมชีวี กอบกรณีย์กิจชาติ
แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม
น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ


ความหมาย ขอผูกมิตรไมตรีกับชายผู้กล้าหาญ และจะขอมีส่วนในการทำประโยชน์
ทำหน้าที่ของชาวไทย แม้จะลำบากยากแค้น
ก็จะขอช่วยเหลือจนเต็มความสามารถ

เพลงบูชานักรบ
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักรักบูชาพี่

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/art04/15/htmls/index17.html
เพลงบูชานักรบ

เนื้อเพลงบูชานักรบ

น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดื์ชาตินักรบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ.


ท่าหญิง "ขัดจางนาง" ท่าชาย "จันทร์ทรงกลด"
อธิบายท่ารำ
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DSC00658%20copy เที่ยวที่ ๑ท่าหญิง"ขัดจางนาง"ท่าชาย"จันทร์ทรงกลด"
(หญิง)มือทั้งสองจีบคว่ำ
(ชาย)มือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DSC00659%20copy (หญิง)พลิกข้อมือเป็นจีบหงายไขว้กันมือขวาทับซ้ายอยู่ระดับ
วงล่างเอียงล่าง
(ชาย)พลิกข้อมือเป็นจีบหงายระดับวงกลางงอแขนเล็กน้อย
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DSC00660%20copy (หญิง)สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตก
(ชาย)สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตกระดับวงกลาง
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DSC00661%20copy (หญิง)พลิกมือขึ้นตั้งวงล่าง มือยังไขว้กันอยู่เอียงซ้ายเป็นท่า
"ขัดจางนาง"
(ชาย)พลิกมือขึ้นตั้งวงกลางเป็นท่า"จันทร์ทรงกลด"
การก้าวเท้าเท้าขวาก้าวข้างก้าวเท้าซ้ายไขว้ก้าวเท้าขวา
แล้วจรดจมูกเท้าซ้ายย่อเข่าลงจากนั้นเท้าซ้ายก้าวข้างเท้าขวา
ก้าวไขว้เท้าขวาจรดจมูกเท้าแล้วย่อเข่าทำเช่นนี้สลับกันตาม
จังหวะจนจบหนึ่งรอบ
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DSC00662%20copy
เที่ยวที่ ๒ ท่าหญิง"ล่อแก้ว"ท่าชาย"ขอแก้ว"
(หญิง)จังหวะที่๑มือซ้ายเลื่อนขึ้นไปตั้งวงบนมือขวาจีบล่อ
แก้วคว่ำแล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้วหงายหักข้อมือเข้าลำแขน
แขนตึงต่ำกว่าไหล่เล็กน้อยการก้าวเท้าเหมือนกันโดยเท้าขวา
หนักหลังก่อนเริ่มก้าวเท้าซ้าย ก้าวเท้าขวา เท้าซ้ายวางหลัง
(หญิง)จังหวะที่๒ปล่อยจีบล่อแก้วลงเป็นแบมือหงาย
ปลายนิ้วตกแล้วยกขึ้นตั้งวงบนมือซ้ายจีบล่อแก้วคว่ำ
ระดับวงบนแล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้วหงาย
(ชาย)มือขวาเปลี่ยนไปเป็นตั้งวงบนมือซ้ายแบมือยื่นออก
ไปรับแก้วของหญิงและดำเนินการรำไปเช่นนี้จนจบเพลง
การก้าวเท้า เท้าซ้ายหนักหลังก่อนแล้วก้าวเท้าขวา

ก้าวเท้าซ้ายเท้าขวาวางหลัง

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Thu Jun 03, 2010 4:50 pm



รำแม่บท

รำแม่บท เป็นรำมาตรฐาน ผู้แสดงจะรำตามบทขับร้องอีกทั้งต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับท่วงทำนอง จังหวะของเพลงใช้เป็น
การปฏิบัติฝึกหัดเบื้องต้นการเรียนวิชานาฏศิลป์ละคร ที่โบราณจารย์ด้านนาฏศิลป์ไทย
ได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับบทร้องที่กำหนด การเรียกชื่อท่ารำต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน

ท่าส่วนใหญ่จะเลียนแบบท่าธรรมชาติของมนุษย์ หากแต่นำมาปรับปรุงให้สวยงามอ่อนช้อย
ตามแบบนาฏศิลป์ไทย ส่วนบทขับร้องนั้น มีทั้งอย่างเต็มและอย่างย่อที่เรียกกันว่า แม่บทใหญ่
และแม่บทเล็ก สำหรับแม่บทเล็กนั้น จะเป็นบทร้องอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตอนนารายณ์ปราบนนนทุก นิยมนำมาใช้ใน
การแสดงชุดวิพิธทัศนา

http://www.fabeta.finearts.go.th/node/349

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DanceMaeBot

ชื่อรำแม่บท
ประเภทการแสดงรำ (รำคู่)
ประวัติที่มารำแม่บท ในการวิจับครั้งนี้จะศึกษารำแม่บทเล็กหรืออีกชื่อหนึ่ง
ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า แม่บทนางนารายณ์ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรง ชุดนารายณ์ปราบนนทุกและมีการสืบทอด
ต่อกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในกลอนบทละคร
ความพิสดารเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรง
พระราชนิพนธ์บทเบิกโรงละครหลวงไว้เป็นตำนานว่า


“เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก

เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา
เบิกโรงงานการเล่นเต้นรำ
สำหรับโรงนางฟ้อนละครใน
มีทีท่าต่าง ๆ อย่างนารายณ์
มีชื่อเรียกท่าไว้ให้ศิษย์จำ
บัดนี้เราได้รำทำบท
เบิกโรงละครก่อนเล่นงาน
ในต้นไตรดายุคโบราณว่า
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเอามาใช้
ที่เริ่มมีพิธีทำเป็นการใหญ่
แสดงให้เห็นครูผู้สอนรำ
เยื้องกรายโดยนิยมคมขำ
จะได้ทำให้ต้องแก่คลองการ
ให้ปรากฏโดยแสดงแถลงสาร
พวกเราท่านจงเป็นสุขทุกคน เอย”

รำแม่บทถือได้ว่าเป็นแม่แบบของกระบวนท่าในรูปแบบการแสดงของนาฏศิลป์ไทย
ที่มีหลักฐานว่ามีการสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ แต่ในกระบวนการสืบทอดทาง
การปฏิบัตินั้นไม่ปรากฏผู้สืบทอดกระบวนท่ารำที่ชัดเจน ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๘
เมื่อกรมศิลปากรเรียนเชิญท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ด้านนาฏศิลป์ไทย ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทในการประดิษฐ์กระบวนท่ารำ
สำหรับการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรำแม่บทนั้น ท่านได้เรียบเรียง
และประดิษฐ์กระบวนท่ารำประกอบบทขับร้องได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม
แต่ยังคงท่ารำตามรูปแบบมาตรฐานที่สวยงามไว้

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
รำแม่บท เป็นการรวบรวมท่ารำในเพลงช้า เพลงเร็ว ซึ่งเป็นแม่แบบของ
การฝึกหัดมาเรียงร้อยให้เป็นกระบวน โดยการตั้งชื่อท่ารำและผูกเป็นบทกลอน
นับเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการเรียนเพลงช้า เพลงเร็ว เพื่อให้ผู้เขียนมีความคล่องแคล่ว
ชำนิชำนาญ นอกจากใช้เป็นแบบฝึกหัดแล้ว เขามักจัดให้ละครตัวเอก เช่น
ตัวนายโรง และตัวนาง คือ พระหนึ่ง นางหนึ่ง ของคณะละครโรงนั้น ๆ
ออกมารำอวดให้ดูเป็นแบบฉบับ เพื่อดูว่าศิลปินคนใดในคณะใดจะแสดงท่ารำนั้น ๆ
ได้ถูกต้องสวยงาม และถูกต้องตามแบบแผน ตลอดจนความสามารถเชื่อมท่า
จากท่าหนึ่งไปสู่ทาหนึ่งได้อย่างละเมียดละไมกลมกล่อม ตัวละครผู้ใดรำแม่บทนี้ได้ดี
ก็ยกย่องกันว่าเป็นศิลปินผู้มีฝีมือเอก ท่ารำแม่บทนี้มีบทร้องอยู่ ๒ อย่าง

บทร้องที่ใช้รำดูกันโดยทั่วไปอย่างย่อนั้นมีอยู่ ๑๘ ท่าด้วยกัน ดังนี้

๑. เทพนม
๑๐. แขกเต้า
๒. ปฐม
๑๑. ผาลาเพียงไหล่
๓. พรหม ๔ หน้า
๑๒. เมขลาล่อแก้ว
๔. สอดสร้อยมาลา
๑๓. มยุเรศฟ้อน
๕. กวางเดินดง
๑๔. ลมพัดยอดตอง
๖. หงส์บิน
๑๕. พรหมนิมิต
๗. กินรินเลียบถ้ำ
๑๖. พิสมัยเรียงหมอน
๘. ช้านางนอน
๑๗. มัจฉาชมสาคร
๙. ภมรเคล้า
๑๘. พระสี่กรขว้างจักร
ในการรำแม่บทนี้ เมื่อผู้แสดงรำตามบทร้องจนจบแล้ว ดนตรีจะบรรเลงเพลง
หน้าพาทย์อื่น ๆ ต่อไปโดยไม่จำกัด เช่น ต่อท้ายบทร้อง เพลงรัว เพลงเร็ว
สีนวล เชิดฉิ่งหรือเชิดจีน เป็นต้น “แม่บทนางนารายณ์ เมื่อพิจารณาในวรรคต้น
ของกลอน ที่ว่า “เทพนม ปฐม พรหมสี่หน้า “ ซึ่งอาจตีความได้ว่า
เทพน้อมไหว้คารวะเป็นเบื้องต้นแด่พระพรหม ซึ่งอาจเป็นแนวทางการวิเคราะห์
ที่มาของท่ารำแม่ท่ารำ นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนรำ
จากอินเดีย โดยพวกพราหมณ์ที่นับถือพระพรหมเป็นใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก
และสร้างนาฏยเวท และมีบัญชาให้พระภรตมุนีจดจำบันทึกท่ารำสร้างตำรา
นาฏยศาสตร์ มาสอนศิษย์ และมวลมนุษย์

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงรัว เพลงชมตลาด
และเพลงเร็ว – ลา
เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนยาว ศิราภรณ์ชฎายอดชัย
นางศิราภรณ์รัดเกล้ายอด หรือสวมมงกุฎกษัตรีย์
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Mea1 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Mea2
บทร้องรำแม่บท

- ปี่พาทย์ทำเพลงรัว –
- ร้องเพลงชมตลาด –

เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า

ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน
สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
กินรินเลียบถ้ำอำไพ
- ปี่พาทย์รับ –

อีกช้านางนอนภมรเคล้า
เมขลาโยนแก้วแววไว
แขกเต้าผาลาเพียงไหล่
มยุเรศฟ้อนในอำพร
- ปี่พาย์รับ -

ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร
อีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน
พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
-ปี่พาทย์รับเพลงชมตลาด-
-ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว-ลา-

โอกาสที่ใช้แสดง
เผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่ให้ประชาชนชม

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Thu Jun 03, 2010 11:10 pm



http://www.fabeta.finearts.go.th/en/node/343

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DanceFont

ชื่อฟ้อนเงี้ยว
ประเภทการแสดงฟ้อน
ประวัติที่มา ฟ้อนเงี้ยว เป็นชุดการแสดงที่สนุกสนานของชาวไทยใหญ่หรือเงี้ยว
ในแคว้นฉาน สหภาพพม่า ซึ่งมีถิ่นฐานติดกับดินแดนภาคเหนือ
ของประเทศไทย โดยเหตุที่ชาวไทยในแคว้นฉาน และชาวไทย
ในดินแดนภาคเหนือ มีภาษาพูดอย่างเดียวกัน มีความเป็นอยู่
คล้ายคลึงกันและมีการติดต่อไปมาหาสู่กันอยู่เป็นปกติ
จึงเกิดการแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมขึ้น ฟ้อนเงี้ยว ได้แพร่หลาย
เข้ามาในคุ้มเจ้าหลวง เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยพระราชชายา
เจ้าดารารัศมี โปรดให้นางหลง บุญจูหลง นำรูปแบบการแสดง
ชุดฟ้อนเงี้ยวของเดิมมาปรับปรุงใหม่ เรียกว่า เงี้ยวปนเมือง
และได้ฝึกซ้อมจดจำสืบมา ต่อมานางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญ
การสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีโอกาส
ไปเป็นครูอยู่ในคุ้มเจ้าหลวง ครั้นกลับมาสอนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์
จึงนำมาถ่ายทอดให้เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากร
โดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการอวยพรให้แก่ผู้ชม
ปัจจุบันชุดฟ้อนเงี้ยว มีรูปแบบการแสดงอีกรูปแบบหนึ่ง คือ
ผู้แสดงแต่งกายเป็นแบบไทยใหญ่ นุ่งโสร่ง ใส่เสื้อป้าย โพกศีรษะ กระบวนท่ารำ
และเพลงร้องเป็นสำเนียงไทยใหญ่ ซึ่งวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้รับการถ่ายทอดไว้

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนระหว่างผู้แสดงฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ออกมาท่ารำ
ประกอบบทร้อง เป็นการรำตีบท หรือรำใช้บท และในช่วยทำนองเพลงรับ
ผู้แสดงก็จะทำท่ารับ ความงดงามของการรำฟ้อนเงี้ยวจะอยู่ที่กระบวนท่ารำ
ในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหมายในการอวยชัยให้พร และกระบวนท่า
ในทำนองเพลงรับ อาทิ ท่าตบมือ ท่าส่ายสะโพก ซึ่งมีความรวดเร็ว กระฉับกระเฉง
ทำให้การแสดงเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รวมทั้งมีการแปรแถว
ในลักษณะต่าง ๆ












การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้


  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลง


  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตีบทตามความหมายของบทร้อง


  • ขั้นตอนที่ ๓
รำตามทำนองเพลงจนจบกระบวนท่า แล้วรำเข้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีปี่พาทย์ไม้นวม เพิ่มฉาบใหญ่ และโหม่ง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ได้แก่ เพลงเงี้ยว (ฟ้อนเงี้ยว)

เครื่องแต่งกาย



  • ชาย
นุ่งกางเกงขายาวสีดำ
สวมเสื้อแขนยาวคอกลมป้ายหน้าติดกระดุมจีน
สีดำขลิบแดง ผ้าโพกศีรษะ
เครื่องประดับสร้อยคอ ต่างหู เป็นโลหะสีเงิน


  • หญิง
ผ้านุ่งซิ่นป้ายสีดำยาวกรอมเท้า
สวมเสื้อแขนยาว ผ้าโพกศีรษะ
เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู เป็นโลหะสีเงิน
อุปกรณ์ประกอบการแสดง คือ กิ่งไม้

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Ngaw1 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Ngaw2
บทร้องฟ้อนเงี้ยว

- ปี่พทาย์ทำเพลงเงี้ยว –
- ร้องเพลงเงี้ยว –


ขออวยชัยพุทธิไกรช่วยค้ำ

จงได้รับ
ขอเทวาช่วยฮักสาเทอญ
โดยธรรมานุภาพเจ้า
สังฆานุภาพเจ้า
มงคลเทพดาทุกแห่งหน
ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
สรรพมิ่งมงคล นาท่านนา
ขอหื้ออยู่สุขา
เทพดาช่วยเฮาถือเป็นมิ่งมงคล
ช่วยแนะนำผล สรรพมิ่งทั่วไปเนอ
ขอบันดลช่วยค้ำจิม
โอกาสที่ใช้แสดง
เผยแพร่ให้ประชาชนชม

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Thu Jun 03, 2010 11:26 pm



http://www.fabeta.finearts.go.th/en/node/344

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DancePan

ชื่อฟ้อนแพน
ประเภทการแสดงฟ้อน
ประวัติที่มา “ลาวแพน” เป็นชื่อเพลงดนตรีไทยจำพวกเพลงเดี่ยว ซึ่งนักดนตรี
ใช้เป็นเพลงสำหรับอวดฝีมือ โดยมีเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับ
ทำนองเพลงในการเดี่ยวอยู่เพียง ๒ อย่าง คือ จะเข้ และปี่เท่านั้น
ครั้นนำเพลงลาวแพนมาใช้ประกอบการแสดงจึงเรียกชุดการแสดงนี้
ว่า “ฟ้อนแพนหรือฟ้อนลาวแพน” ฟ้อนแพน สันนิษฐานว่าเกิดขึ้น
จากการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ บทประนิพนธ์ของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรง
ในแม่น้ำกาหลง ซึ่งท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการนำลีลาท่าฟ้อน
ทางภาคเหนือมาผสมผสานกับท่ารำไทย และดัดแปลงให้เหมาะสม
กับท่วงทำนองเพลง

แต่เดิมการฟ้อนแพนในเรื่องพระลอนั้น เป็นการรำคนเดียว คือ
ฟ้อนเดี่ยว ต่อมานางลมุล ยมะคุปต์ ได้นำมาใช้ในการฟ้อนหมู่
โดยเพิ่มเติมลีลาการฟ้อนให้มากขึ้น มีทั้งผู้แสดงหญิงล้วน
และผู้แสดงชาย – หญิง โดยมีบทร้องประกอบ ซึ่งประพันธ์โดย
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงครั้งแรกเมื่อครั้งที่โรงเรียนศิลปากร
แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลป) นำไปเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ ญี่ปุ่น บทร้อง มี ๒ แบบ คือ แบบเต็ม
และแบบตัด แต่ในปัจจุบันแสดงแบบไม่มีบทร้องประกอบ
บทร้องฟ้อนลาวแพน (ชาย – หญิง ) แบบเต็ม

- ปี่พาทย์ทำเพลงลาวสมเด็จ –
- ร้องเพลงลาวแพนใหญ่ –

ศศิธรส่องสว่างกระจ่างฟ้า

จะมองไหนงามสิ้นทั้งดินแดน
โอ้พวกเราเอย
ดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง
ขอเชิญพวกเราพี่น้อง
มาชมแสงจันทร์แจ่มฟ้า
จันทร์สว่างเวหา
เราขอชื่นขอชม
พวกของเราจะเล่น
ให้ความทุกข์ร้อนเสื่อมหาย
เพื่อนเกลอพี่น้อง
ชาวประชาเริงรื่นชื่นใจแสน
เหมือนเมืองแมนแดนสวรรค์ชั้นวิมาน
ใครได้เคยเห็นบ้าง
แลสว่างเวหา
มารำมาร้องกันเถิดหนา
ให้ชื่นอุราเริงใจ
อย่าเพิ่งหลบหน้าหนีหาย
เราขอรื่นรมย์ให้สมใจ
พวกของเราจะฟ้อน
มาสุขสบายกันเถิดเหนอ
สูเพื่อนเอ๋ย ร้องรำเอย
- จะเข้ทำเพลง (ซุ้ม) ลาวแพน –

บทร้องฟ้อนลาวแพน (ชาย – หญิง ) แบบตัด

- ปี่พาทย์ทำเพลงลาวสมเด็จ –
- ร้องเพลงลาวแพนใหญ่ –

ศศิธรส่องสว่างกระจ่างฟ้า

จะมองไหนงามสิ้นทั้งดินแดน
โอ้พวกเราเอย
ดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง
ขอเชิญพวกเราพี่น้อง
มาชมแสงจันทร์แจ่มฟ้า
พวกของเราจะเล่น
ให้ความทุกข์ร้อนเสื่อมหาย
เพื่อนเกลอพี่น้อง
ชาวประชาเริงรื่นชื่นใจแสน
เหมือนเมืองแมนแดนสวรรค์ชั้นวิมาน
ใครได้เคยเห็นบ้าง
แลสว่างเวหา
มารำมาร้องกันเถิดหนา
ให้ชื่นอุราเริงใจ
พวกของเราจะฟ้อน
มาสุขสบายกันเถิดเหนอ
สูเพื่อนเอ๋ย ร้องรำเอย
- จะเข้ทำเพลง (ซุ้ม) ลาวแพน –

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
รำตามทำนองเพลงในจังหวะช้า และเร็วในเพลงซุ้มลาวแพน ความงดงามของ
การรำฟ้อนแพนจะอยู่ที่กระบวนท่ารำที่แสดงความรักระหว่างชายและหญิง
รวมทั้งความสวยงามของการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่ายกายให้มีความกลมกลืนกัน
ท่ารำ อาทิ การตีไหล่ การโย้ตัว สำหรับท่ารำในทำนองเพลงซุ้มลาวแพน
ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการแสดง จะเป็นท่ารำที่มีความรวดเร็ว กระฉับกระเฉง
ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีการแปรแถวในลักษณะต่าง ๆ




การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้



  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลง <


  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตามกระบวนท่าฟ้อนจนจบกระบวนเพลง


  • ขั้นตอนที่ ๓
รำจับคู่ในทำนองเพลงซุ้มลาวแพนจนจบกระบวนท่าแล้วรำเข้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
บรรเลงเดี่ยวจะเข้ เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงลาวแพน
ซึ่งประกอบด้วยเพลง ลาวแพนใหญ่ เพลงลาวสมเด็จ เพลงลาวแพนน้อย
เพลงลาวลอดค่าย และออกซุ้มลาวแพน

เครื่องแต่งกาย



  • ชาย
นุ่งผ้ายกแบบจีบโจงหางปรก (ยืนเครื่องน้อย)
สวมเสื้อแขนสั้น (แบบยืนเครื่องพระ)
ผ้าโพกศีรษะ
ผ้าคาดเอว ผ้าพาดไหล่
เครื่องประดับ ข้อเท้า เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหูใส่ข้างซ้าย


  • หญิง
นุ่งซิ่นไหมป้ายข้าง ยาวกรอบเท้ามีเชิงปักดิ้นเงิน
ใส่เสื้อรัดอก ทับด้วยเสื้อแขนสั้น ชายเสื้อติดกรุยเงิน
ผ้าคล้องคอ
เครื่องประดับ เข็มขัด สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู ผมเกล้ามวย
ติดดอกไม้ และห้อยอุบะ
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Pan1 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Pan2
โอกาสที่ใช้แสดง
เผยแพร่ให้ประชาชนชม

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Thu Jun 03, 2010 11:40 pm



http://www.fabeta.finearts.go.th/en/node/345

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DanceLeb

ชื่อฟ้อนเล็บ
ประเภทการแสดงฟ้อน
ประวัติที่มา ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะ
รูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมืองและ
แบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงาม
เช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน
สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดง
ที่จะสวมเล็บยาวสีทอง ทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

ฟ้อนเล็บของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวง
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง
ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวต
คชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย
วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวง
ในรัชกาลที่ ๗ และถ่ายทอดให้เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากร
โดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดงเพื่อเป็นการบวงสรวงหรือ
ฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนด้วยท่ารำประกอบทำนองเพลง และรำตามบทร้อง
เป็นการรำตีบท หรือรำใช้บท และในช่วงทำนองเพลงรับ ผู้แสดงก็จะทำท่ารับ
ความงดงามของการรำฟ้อนเล็บจะอยู่ที่กระบวนท่ารำในลักษณะต่าง ๆ
ที่มีความหมายแสดงถึงการบวงสรวงหรือการเชื้อเชิญ ต้อนรับแขกผู้มาเยือน
เพื่อให้เกิดความประทับใจ นอกจากนี้ในการฟ้อนจะมีการแปรแถวในลักษณะต่าง ๆ




การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้


  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลง


  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตีบทตามความหมายของบทร้อง


  • ขั้นตอนที่ ๓
รำตามทำนองเพลงจนจบกระบวนท่าแล้วรำเข้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่
เพลงในจังหวะฟ้อน เพลงต้นผีมดและเพลงผีมด

เครื่องแต่งกาย
ผ้านุ่งซิ่นป้ายยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกปล่อยชายอยู่ด้านนอก
ห่มสไบกรองสีทอง เครื่องประดับ สร้อยคอต่างหู ผมเกล้ามวยติดดอกไม้
และห้อยอุบะ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย
วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
ในคุ้มเจ้าหลวง ผู้แสดงทุกคนจะสวมกำไลเท้าด้วย

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Lep1 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Lep2
บทร้องฟ้อนเล็บ

- ปี่พาทย์ทำเพลงมอญดูดาว -
- ร้องเพลงมอญดูดาว -

ตี้ปาโม่ปา ฮา.........

มะลันโซมโหฬา
ป๊านป่านโต้เวเฮ
คินแต่โซ โลลั่นเปียว
ซางไซยาโอมองโล๊ะ แลเปี้ยว
ลามะแจ้ตี๊ปาตะแน
เต๊เตโล้ทา ฮา....เต้....เต้โล่ทา
เอโส เอต่างโม่ลา
โอกาสที่ใช้แสดง
แสดงครั้งแรกในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก
ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ และเผยแพร่ให้ประชาชนชม

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Empty Re: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Thu Jun 03, 2010 11:51 pm



http://www.fabeta.finearts.go.th/en/node/346

วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน DanceGirl

ชื่อฟ้อนสาวไหม
ประเภทการแสดงฟ้อน
ประวัติที่มาฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนของทางภาคเหนือ เกิดขึ้นที่
จังหวัดเชียงรายโดยพ่อกุย สุภาวสิทธิ์ ได้แนวความคิดจาก
วิธีการปลูกต้นหม่อน เก็บฝ้ายสาวไหม และทอผ้าของชาวบ้าน
ในเวลานั้น ท่ารำใช้ท่าฟ้อนดาบ และฟ้อนเจิง มาปรับปรุง
และประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่ เรียกว่า ฟ้อนสาวไหม ใช้ฆ้อง กลอง
และฉาบเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ต่อมาพ่อกุยได้ถ่ายทอด
ท่าฟ้อนสาวไหมให้แก่บุตรสาว คือนาวบัวเรียว รัตนมณีพรณ์(สุภาวสิทธิ์)
ครุฟ้อนประจำวัดศรีทรายมูล จังหวัดเชียงราย นางพลอยศรี สรรพศรี
ครูนาฏศิลป์ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ช่างฟ้อนเก่าในคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ
เห็นการแสดงฟ้อนสาวไหนก็เกิดการสนใจ เมื่อมีโอกาสมาพบกันก็ได้
ปรับท่าฟ้อนกับนางบัวเรียว โดยได้แทรกลีลาท่ารำนาฏศิลป์ไทยเข้าไป
ปีพ.ศ.๒๕๑๔ กรมศิลปากรได้เปิดโรงเรียนนาฏศิลป ส่วนภูมิภาคแห่งแรก
ขึ้นที่จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่) มีนโยบาย
ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ธำรงรักษาศิลปะพื้นเมือง และเสาะแสวงหารวบรวม
ศิลปะพื้นเมืองที่กำลังจะสูญหายไป ฟ้อนสาวไหมจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ
อย่างหนึ่งที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ พยายามสืบเสาะหาเพื่อนำมาผดุงรักษาไว้
ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้เชิญนางพลอยศรี สรรพศรี มาถ่ายทอดท่าฟ้อนสาวไหม
ให้แก่คุณครูนาฏศิลป์ละคร ๓ คน คือ นางสาวฉวีวรรณ สบฤกษ์ (นุชนวล)
นางสาวอัจฉรา สุภาไชยกิจ และนางสามปอยดง เครือนันตา
ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เชิญนางคำ กาไวย์ มาสอนการตีกลองสะบัดชัย
นายคำเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถสืบเสาะหาวิธีฟ้อนสาวไหมได้ทั้งชาย
และหญิงดังนั้นทางวิทยาลัยจึงได้ปรับปรุงท่าของนางพลอยศรี และท่าของ
นายคำเข้าด้วยกัน ให้มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม โดยอยู่ในความควบคุมของ
นางสาวประนอม ทองสมบุญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลันนาฏศิลปเชียงใหม่
นิยมแสดงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้ผู้หญิงแสดงล้วน

รูปแบบ และลักษณะการแสดง
ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนด้วยท่ารำตามทำนองเพลงในจังหวะช้าความงดงามของ
การรำฟ้อนสาวไหมจะอยู่ที่กระบวนท่ารำในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหมายถึง
กรรมวิธีการทอผ้าไหม รวมทั้งความสวยงามของการใช้อวัยวะทุกส่วน
ของร่างกายให้มีความกลมกลืนกับท่ารำ อาทิ การตีไหล่ การโย้ตัวและ
มีการแปรแถวในลักษณะต่าง ๆ




การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้




  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลง


  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตามกระบวนท่าฟ้อนจนจบกระบวนท่าแล้วรำเข้า
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ วงสะล้อ ซอ ซึง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ได้แก่ เพลงสาวไหม และเพลงล่องแม่ปิง

เครื่องแต่งกาย
ผ้าผ้านุ่งซิ่นป้ายยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกปล่อยชายอยู่ด้านนอก
ห่มสไบ เครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยตัว ต่างหู ผมเกล้ามวยติดดอกไม้
วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Sawmai1 วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน Sawmai2
โอกาสที่ใช้แสดง
จัดแสดงครั้งแรกที่สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง ๙ กรุงเทพมหานคร
ปีพ.ศ. ๒๕๑๙ และเผยแพร่ให้ประชาชนชม

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ