Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

Go down

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ Empty ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ  sunny Tue Jan 12, 2010 9:49 pm

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ..

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“องค์การอิสระ” หมายความว่า องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

“องค์การ เอกชน” หมายความว่า กลุ่ม คณะบุคคล องค์กร หรือองค์การที่มีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจกรรม ด้านการอนุรักษ์ การจัดการ การบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมหรือความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการคุ้มครอง ส่งเสริม การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกัน สร้างเสริมหรือคุ้มครองสุขภาพ สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิต ซึ่งมีผลงานดังกล่าวอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน

“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาทั้งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนที่จัดการการศึกษาระดับปริญญา ด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ

“สิ่งแวดล้อม” หมายความว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น

“คุณภาพสิ่งแวดล้อม” หมายความว่า ดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและความสมบูรณ์สืบไป ของมนุษยชาติ

“โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง” หมายความว่า โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ โดยอาจมีผลกระทบด้านใดด้านหนึ่ง

“การศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” หมายความว่า การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผล กระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ


หมวด ๑ องค์การอิสระ

มาตรา ๖ ให้มีองค์การอิสระขึ้นหนึ่งองค์การ ประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ โดยให้มีคณะกรรมการองค์การอิสระขึ้นคณะหนึ่งจำนวนสิบสามคน ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสิบสองคน ซึ่งมาจากบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกจากองค์การเอกชนจำนวนหกคน โดยมาจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละสองคน และจากบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหกคน โดยมาจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละสองคน

การเลือกประธานคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรา ๙ (๗)


แก้ไขล่าสุดโดย sunny เมื่อ Sun Jan 17, 2010 9:55 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ Empty Re: ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ  sunny Tue Jan 12, 2010 9:54 pm

มาตรา ๗ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย


(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๖๕ ปีในวันที่ได้รับการเสนอชื่อ และมีประสบการณ์ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านสุขภาพ เป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยกว่าสิบปี

(๓) ไม่เป็นผู้ศึกษาหรือจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ อย่างน้อยสามปีก่อนได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ รวมทั้งไม่เคยถูกลงโทษเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อมหรือสุขภาพ หรือกระทำการใดๆ อันขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ สุขภาพ

(๔) ไม่ดำรงตำแหน่งใด หรือไม่ถือหุ้นโดยตรงไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นถือหุ้นแทนในห้าง หุ้นส่วน หรือบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ รวมทั้งการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ


(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย


(๖) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ


(๗) ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ


(๘) ไม่เป็นบุคคลที่ต้องโทษตามความพิพากษาให้จำคุก ไม่ว่าจะรอการลงอาญาหรือรอการลงโทษก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี หรือในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(๙) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การอิสระ องค์กรอื่นๆ หรือหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

(๑๐) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(๑๑) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพรรคการเมือง

ทั้งนี้ กรรมการต้องสามารถเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติหน้าที่ให้กับ องค์การอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้กรรมการแจ้งหรือรายงานคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามทุกรอบหกเดือน

มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการจัดการการคัดเลือก จำนวนสิบสี่คน ประกอบด้วย

(๑) ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งเลือกกันเองให้ได้จำนวนสามคน จากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน


(๒) ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเลือกกันเองให้ได้จำนวนสามคน จากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน


(๓) ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนหนึ่งคน

(๔) ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวนหนึ่งคน

(๕) ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวนหนึ่งคน


(๖) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข จำนวนหนึ่งคน

(๗) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย จำนวนหนึ่งคน

(๘) ผู้แทนกระทรวงพลังงาน จำนวนหนึ่งคน

(๙) ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวนหนึ่งคน

(๑๐) ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวนหนึ่งคน

กรรมการจัดการการคัดเลือกต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเป็นกรรมการในบริษัท รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่มีการดำเนินงานตามรายการประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง

ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือก เลือกประธานคณะกรรมการจัดการการคัดเลือก


ใน การเลือกกรรมการตาม (๑) และ (๒) ให้สำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระจัดให้มีการสมัครและการประชุมเพื่อเลือก กันเอง หรือจัดให้มีการสมัครและให้ลงคะแนนเลือกกันเองทางไปรษณีย์หรือวิธีอื่นก็ได้

มาตรา ๙ การเลือกกรรมการองค์การอิสระ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือก กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรับสมัครและการตรวจสอบคุณสมบัติองค์การเอกชน และบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์การเอกชน คุณสมบัติสถาบันอุดมศึกษา และบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งวิธีการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกกรรมการองค์การอิสระ

ทั้งนี้ องค์การเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีสิทธิสมัครและเสนอชื่อบุคคล ต้องมีระยะเวลาการดำเนินงานมาไม่น้อยกว่า ๓ ปีในวันที่สมัคร

ใน การกำหนดวิธีการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกกรรมการองค์การอิสระ ให้คำนึงถึงสัดส่วนขององค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาจากภูมิภาคและส่วนกลาง รวมทั้งความเท่าเทียมทางเพศ

(๒) ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือก ประกาศรับสมัครการเสนอชื่อองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณสมบัติตาม (๑) พร้อมทั้งรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากองค์การเอกชนและสถาบันอุดม ศึกษาตามข้อ (๓) และข้อ (๔) เป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน


(๓) ให้องค์การเอกชนที่มีคุณสมบัติตาม (๑) เสนอรายชื่อบุคคลในนามขององค์การ ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ต่อคณะกรรมการจัดการการคัดเลือก ประกอบด้วยรายชื่อบุคคลไม่เกินสามชื่อต่อองค์การ โดยมาจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน เพื่อมาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นกรรมการองค์การอิสระในแต่ละด้าน และร่วมปฏิบัติงานในองค์การอิสระ

(๔) ให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณสมบัติตาม (๑) เสนอรายชื่อบุคคลในนามของสถาบัน จากบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานของสถาบันอุดมศึกษา หรือปฏิบัติหน้าที่หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ ต่อคณะกรรมการจัดการการคัดเลือก ประกอบด้วยรายชื่อบุคคลไม่เกินสามชื่อต่อสถาบันอุดมศึกษา โดยมาจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน เพื่อมาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นกรรมการองค์การอิสระในแต่ละด้าน และร่วมปฏิบัติงานในองค์การอิสระ

๕) ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือก ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติองค์การเอกชนและสถาบันอุดมศึกษา พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ (๓) และข้อ (๔) ให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนดรับสมัคร

(๖) ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือก ดำเนินการให้บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว มาประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกหนังสือเชิญ เพื่อมาคัดเลือกกันเองให้ได้ผู้ที่เหมาะสมเป็นกรรมการองค์การอิสระให้ครบตาม จำนวนที่กำหนดในแต่ละด้าน โดยให้บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมีสิทธิเลือกบุคคลที่อยู่ด้านเดียวกันกับตน เองได้คนละหนึ่งชื่อ

ให้ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดจำนวนสองคนแรกจากแต่ละด้านของผู้ได้รับการเสนอชื่อจาก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ ทั้งจากองค์การเอกชนและจากสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งหมดสิบสองคนเป็นกรรมการ องค์การอิสระ ทั้งนี้ให้บุคคลผู้ได้รับคะแนนลำดับรองลงไปจำนวนห้าคนแรกหรือเท่าที่มีของ แต่ละด้านเป็นผู้ได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อสำรองของแต่ละด้านนั้น

(๗) ให้ผู้ได้รับเลือกตามข้อ (๖) มาประชุมภายในสิบห้าวันโดยใช้องค์ประชุมตามมาตรา ๑๒ โดยอนุโลม เพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ เมื่อได้ประธานกรรมการแล้ว ให้บุคคลในบัญชีรายชื่อสำรองของด้านเดียวกันกับประธานกรรมการนั้นตามข้อ (๖) ซึ่งได้รับคะแนนในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นกรรมการแทน

(๘) ให้ประธานคณะกรรมการจัดการการคัดเลือก เสนอรายชื่อกรรมการองค์การอิสระต่อนายกรัฐมนตรีภายในเจ็ดวันภายหลังเสร็จ สิ้นการดำเนินงานตามข้อ (๗) เพื่อการแต่งตั้งและประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ Empty Re: ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ  sunny Tue Jan 12, 2010 9:59 pm

มาตรา ๑๐ กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเป็นอิสระ โปร่งใสและต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและประเทศชาติ

มาตรา ๑๑ ให้ประธานกรรมการและกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการที่มีอยู่ และเป็นกรรมการจากผู้แทนองค์การเอกชนและกรรมการจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาจาก ทั้งสองฝ่ายจึงเป็นองค์ประชุม

ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

ในกรณีต้องมีการออกเสียง ให้ถือเสียงข้างมากโดยประธานไม่ลงคะแนนเสียง ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด

หาก เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นประกอบขององค์การอิสระต่อโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ให้บันทึกความเห็นของกรรมการเสียงข้างน้อยในรายงานการให้ความเห็นขององค์การ อิสระด้วย

ในการประชุม ถ้ามีการพิจารณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุมและลงคะแนนเสียง

มาตรา ๑๓ กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา และให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗

(๔) การจับสลากออกตามมาตรา ๓๗

มาตรา ๑๕ ก่อนที่กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓ เป็นเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้คณะกรรมการจัดการการคัดเลือกตามมาตรา ๘ เริ่มดำเนินการคัดเลือกกรรมการชุดใหม่ตามมาตรา ๙

ใน กรณีกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระตามมาตรา ๑๔ ให้บุคคลในบัญชีรายชื่อสำรองของด้านเดียวกันนั้นตามมาตรา ๙ (๖) เลื่อนขึ้นมาเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลใน บัญชีรายชื่อสำรองและสอบถามความสมัครใจอีกครั้ง และหากไม่มีบุคคลใดในบัญชีรายชื่อสำรองด้านนั้นอีกแล้ว ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการที่มาจากด้านเดียวกัน ตามมาตรา ๙ โดยอนุโลม แต่ถ้าเวลาการดำรงตำแหน่งเหลือน้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันไม่ต้องดำเนินการ เพื่อหากรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง

ให้กรรมการที่ได้รับเลือกเข้ามาแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน

มาตรา ๑๖ คณะกรรมการองค์การอิสระ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องนำความคิดเห็นขององค์การต่างๆ ตามมาตรา ๑๘ มาประกอบการพิจารณาให้ความเห็นด้วย

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และองค์การต่างๆ ตามมาตรา ๑๘ ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการให้ความเห็นขององค์การอิสระต่อโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ

(๓) ส่งเสริมให้มีการศึกษาด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่จำเป็นกับการให้ความเห็นขององค์การอิสระ

(๔) เสนอแนะต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปรับแก้ไขประเภทโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ

(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

มาตรา ๑๗ คณะกรรมการองค์การอิสระมีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่ประกอบด้วยกรรมการ บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อตามมาตรา ๙ (๓) และ (๔) ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ หรือบุคคลใดที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ทั้งในจังหวัดหรือระดับภาค หรือเป็นรายสาขา หรือประเภทโครงการหรือกิจกรรม หรืออื่นๆ เพื่อ ทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบต่อโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรง หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการองค์การอิสระมอบหมายตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด

มาตรา ๑๘ ให้คณะกรรมการองค์การอิสระประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ วิธีการรับรองสถานภาพและคุณสมบัติขององค์การเอกชน สถาบันอุดมศึกษา และนิติบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งมีผู้แทนองค์การเอกชนและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ร่วมดำเนินการอยู่ในนิติบุคคลหรือคณะบุคคลนั้น เพื่อการให้ความเห็นประกอบต่อโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ชุมชนอย่างรุนแรง

การให้ความเห็นประกอบตามวรรคหนึ่ง อาจ เป็นการให้ความเห็นจากองค์การเอกชนแต่ละองค์การ หรือจากสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน หรือจากนิติบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งมีผู้แทนองค์การเอกชนและผู้แทนสถาบันอุดม ศึกษาร่วมดำเนินการอยู่ในนิติบุคคลหรือคณะบุคคลนั้น ที่ได้รับการรับรองสถานภาพและคุณสมบัติจากคณะกรรมการองค์การอิสระแล้วก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด


มาตรา ๑๙ คณะกรรมการองค์การอิสระ อนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่คณะกรรมการองค์การอิสระแต่งตั้ง อาจเชิญข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระหรือองค์กรอื่น หรือบุคคลอื่นใด มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือขอให้จัดส่งเอกสาร ข้อมูลหลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่คณะกรรมการ องค์การอิสระเห็นสมควร

หมวด ๒ การให้ความเห็นประกอบขององค์การอิสระ

มาตรา ๒๐ เมื่อรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่ง ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดส่งรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการและความเห็นของคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการ ให้คณะกรรมการองค์การอิสระให้ความเห็นต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการ พิจารณา ก่อนการอนุมัติหรืออนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าว

ในกรณีที่โครงการหรือกิจกรรมตามวรรคหนึ่งเป็นโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการองค์การอิสระจัดส่งความเห็นให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการเสนอความเห็นประกอบการ พิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

เมื่อคณะกรรมการองค์การอิสระได้รับเรื่องตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการองค์การอิสระพิจารณาให้ความเห็นภายในหกสิบวัน และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการองค์การอิสระยังมิได้จัดส่งความเห็น ให้หน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติหรืออนุญาตโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวดำเนิน การในขั้นตอนต่อไปตามที่เห็นสมควร


มาตรา ๒๑ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรา ๒๐ เป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ คณะกรรมการองค์การอิสระ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการองค์การอิสระแต่งตั้งอาจเข้าร่วมสังเกตการณ์ หรือเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น หรือให้ข้อสังเกตในขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และในขั้นตอนการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพได้ รวมทั้งอาจให้ข้อเสนอแนะต่อเจ้าของโครงการ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานผู้อนุมัติหรืออนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนดังกล่าวตามที่เห็นสมควร
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ Empty Re: ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ  sunny Tue Jan 12, 2010 10:02 pm

หมวด ๓ สำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระ

มาตรา ๒๒ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็น ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
ให้สำนักงานมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการองค์การอิสระ โดยมีประธานกรรมการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

กิจการ ของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่ กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าว

มาตรา ๒๓ ในการกำกับดูแลสำนักงาน ให้คณะกรรมการองค์การอิสระมีอำนาจออกคำสั่ง ระเบียบ หรือประกาศเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การคลัง การพัสดุ และการดำเนินการอื่นในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑)การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว

(๒) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน

(๓) การกำหนดคุณสมบัติ การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม สมรรถภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษ สำหรับเลขาธิการ รองเลขาธิการและพนักงานของสำนักงาน รวมทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้างของสำนักงาน

(๔) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน

เพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้คณะกรรมการองค์การอิสระเป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน และให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือในการบริหารงานบุคคลได้ โดยในการแต่งตั้งให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงานในสำนักงานและผู้ทรง คุณวุฒิภายนอก

มาตรา ๒๔ สำนักงานคณะกรรมการองค์การอิสระมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการองค์การอิสระ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการองค์การอิสระ

(๒) สำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) ดำเนินการจัดหรือสนับสนุนให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย องค์การต่างๆ ตามมาตรา ๑๘ เพื่อประกอบการดำเนินงานของคณะกรรมการองค์การอิสระ

(๔) ดำเนินการส่งเสริมให้มีการศึกษาด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่จำเป็นกับการให้ความเห็นของคณะกรรมการองค์การอิสระ

(๕) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงาน อุปสรรคในการดำเนินงาน และรายงานการเงินขององค์การอิสระ

(๖) จัดให้มีทะเบียนองค์การต่างๆตามมาตรา ๑๘ หรือองค์กรหรือหน่วยงานใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย และทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพ

(๗) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์การอิสระ หรือองค์กรอื่นๆ

(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือที่คณะกรรมการองค์การอิสระมอบหมาย

มาตรา ๒๕ รายได้และทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงาน ประกอบด้วย

(๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี

(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้

(๓) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของสำนักงาน

(๔) รายได้จากการดำเนินกิจการของสำนักงาน
(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

ให้ สำนักงานเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การ อิสระต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนสำนักงานและองค์การอิสระไว้ในร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี

มาตรา ๒๖ บรรดารายได้ของสำนักงานตามมาตรา ๒๕ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและ กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้สำนักงานในเรื่อง ทรัพย์สินของสำนักงานมิได้

บรรดา อสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือ แลกเปลี่ยนจากรายได้ตามมาตรา ๒๕ (๒) (๓) (๔) และ (๕) ของสำนักงาน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงาน

ให้สำนักงานมีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของสำนักงาน

บรรดา อสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มาโดยใช้เงินรายได้ตามมาตรา ๒๕ (๑) ให้ตกเป็นที่ราชพัสดุ แต่สำนักงานมีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์ได้

มาตรา ๒๗ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสำนักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด

การ บัญชีของสำนักงาน ให้จัดทำตามหลักสากลตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของสำนักงาน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการองค์การอิสระทราบอย่างน้อยปีละครั้ง

ให้ สำนักงานจัดทำงบการเงินซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยงบดุลและบัญชี ทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

ใน ทุกรอบปีให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการ องค์การอิสระแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงาน โดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุ ประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการองค์การอิสระ

ภาย ในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี ให้สำนักงานทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อทราบ โดยแสดงงบการเงินและบัญชีทำการที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว รายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งแสดงผลงานของสำนักงานในปีที่ล่วงมาด้วย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ Empty Re: ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ

ตั้งหัวข้อ  sunny Tue Jan 12, 2010 10:04 pm

มาตรา ๒๘ ให้มีเลขาธิการสำนักงานคนหนึ่งซึ่งประธานกรรมการองค์การอิสระแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การอิสระ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงาน ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการ โดยให้มีรองเลขาธิการตามจำนวนที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานตามที่เลขาธิการมอบหมาย

คุณสมบัติของเลขาธิการและรองเลขาธิการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด

เลขาธิการมีอำนาจแต่งตั้งรองเลขาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การอิสระ

ให้เลขาธิการทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการองค์การอิสระ

มาตรา ๒๙ ให้เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้

เมื่อ ตำแหน่งเลขาธิการว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งเลขาธิการคนใหม่ ให้คณะกรรมการองค์การอิสระแต่งตั้งรองเลขาธิการหรือกรรมการองค์การอิสระคน หนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน

ใน กรณีที่เลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองเลขาธิการที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนดเป็นผู้รักษาการแทน แต่ถ้าไม่มีรองเลขาธิการหรือรองเลขาธิการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการองค์การอิสระแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ หน้าที่แทน

มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ถูกจำคุก

(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง

(๕) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ผ่านการประเมิน ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด

(๖) คณะกรรมการองค์การอิสระมีมติให้พ้นจากตำแหน่งโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองใน สามของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ

มาตรา ๓๑ เลขาธิการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย มติ ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการองค์การอิสระ

(๒) จัดทำแผนงานหลัก แผนการดำเนินงาน แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงานเสนอคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่ออนุมัติ

(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การเงิน การงบประมาณ การพัสดุ และการบริหารด้านอื่นของสำนักงาน ตามระเบียบที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนด

(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย นโยบาย มติ ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการองค์การอิสระ

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการองค์การอิสระมอบหมาย

มาตรา ๓๒ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการ หรือรองเลขาธิการ ให้คณะกรรมการองค์การอิสระดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๓๓ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการของสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลภายนอก เพื่อการนี้เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบ ที่คณะกรรมการองค์การอิสระกำหนดก็ได้

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๓๔ ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระ ในโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง พ.ศ. ๒๕๕๓ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการจัดการการคัดเลือกเพื่อให้ได้กรรมการองค์การอิสระ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๓๕ บรรดาการดำเนินการใดๆ ซึ่งองค์การอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ ประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระในโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กระทำไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้

การให้ความเห็นต่อโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรงที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ส่งรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมายังองค์การอิสระที่จัดตั้งขึ้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนมีการจัดตั้งองค์การอิสระตามพระราชบัญญัตินี้ ให้องค์การอิสระดังกล่าวดำเนินการไปจนสิ้นสุดกระบวนการให้ความเห็น

เมื่อมีการจัดตั้งองค์การอิสระตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงมายังองค์การอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามพระราช บัญญัตินี้เพื่อดำเนินการให้ความเห็นประกอบตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป

มาตรา ๓๖ ในวาระเริ่มแรก ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การ อิสระ จนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานองค์การอิสระและมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเพียงพอ

มาตรา ๓๗ เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการองค์การอิสระเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบเวลาหนึ่งปีหกเดือนของการดำรงตำแหน่งกรรมการองค์การอิสระชุดแรกนับ ตั้งแต่ได้รับการประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา ให้มีการจับสลากเพื่อให้กรรมการจำนวนหกคนยกเว้นประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อครบเวลาสองปีของการดำรงตำแหน่ง โดยเป็นกรรมการจากผู้แทนองค์การเอกชนจำนวนสามคน จากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน และเป็นกรรมการจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาจำนวนสามคน จากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน

ก่อนที่กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบ วัน ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการตามมาตรา ๙ เพื่อทดแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง

กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อจากองค์การเอกชนหรือ สถาบันอุดมศึกษาเพื่อมาคัดเลือกเป็นกรรมการองค์การองค์การอิสระได้อีก แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกันโดยนับรวมวาระเดิม
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ