Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

อุปราคาในปี 2553

2 posters

Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:05 pm

หากไม่นับจันทรุปราคาบางส่วนที่เกิดในช่วงก่อนเช้ามืดของวันที่ 1 มกราคม ปีนี้มีสุริยุปราคา 2 ครั้ง และจันทรุปราคา 2 ครั้ง รวมเป็นอุปราคาทั้งหมด 4 ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคากับสุริยุปราคาอย่างละครั้ง

1. สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคาครั้งแรกเกิดขึ้นในบ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 ตามเวลาในประเทศไทย ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากจึงเกิดเป็น สุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า บังกลาเทศ และจีน สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. ทางตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย
เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย 4 องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 52 วินาที
กึ่งกลางคราสซึ่งเห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทร นาน 11 นาที 8 วินาที เกิดขึ้นเวลา 14:07 น. นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3 เงาคราสวงแหวนพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที จากนั้นถึงทางใต้ของอินเดียและตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้เส้นกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที 9 วินาที
เงาคราสมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ผ่านพม่า ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออก มัณฑะเลย์เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 37 วินาที จากนั้นเข้าสู่ประเทศจีน ฉงชิ่งเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 50 วินาที เจิ้งโจว 4 นาที 40 วินาที คราสวงแหวนสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงในเวลา 15:59 น. จากนั้นปรากฏการณ์สิ้นสุดเมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น.
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งเงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านครอบคลุม ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้ได้ทั่วทุกภาคโดยภาคเหนือ ตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ (ดูรายละเอียดในสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553)
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 23 ใน 70 ครั้งของชุดซารอสที่ 141 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1613 สิ้นสุดในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2857 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 7 ครั้ง วงแหวน 41 ครั้ง และบางส่วน 22 ครั้ง ตามลำดับ คราสในซารอสนี้เริ่มต้นบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือแล้วไปสิ้นสุดใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 12 นาที 9 วินาที เกิดขึ้นเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1955
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:06 pm

2. จันทรุปราคาบางส่วน 26 มิถุนายน 2553

จันทรุปราคาครั้งนี้เห็นได้ในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงพลบค่ำของคืนวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553 ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 17:17 น. แต่ประเทศไทยยังไม่เห็นเนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น เงามืดของโลกจะบังดวงจันทร์ลึกที่สุดเวลา 18:38 น. ด้วยขนาดความลึก 54% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ทางทฤษฎีที่กรุงเทพฯ เริ่มเห็นขอบบนของดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้าในเวลา 18:47 น. แต่ในความเป็นจริงอาจเริ่มเห็นดวงจันทร์ได้หลังจากนั้นเพราะขอบฟ้ามีหมอก ควันบดบัง เมื่อขึ้นมาแล้วจะเห็นดวงจันทร์แหว่งทางซ้ายมือด้านบนและเป็นเวลาที่ท้องฟ้า ยังไม่มืด
จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดในเวลา 20:00 น. ซึ่งดวงจันทร์จะกลับมาเต็มดวง ขณะนั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงยเพียง 15 องศา จึงมีเวลาสังเกตจันทรุปราคาบางส่วนได้นานประมาณ 1 ชั่วโมง ภูมิภาคที่มีโอกาสเห็นได้นานกว่านี้คือด้านตะวันออกของภาคอีสานและภาคตะวัน ออกซึ่งจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นเร็วกว่านี้และขณะสิ้นสุดคราสนั้นดวงจันทร์ก็ อยู่สูงกว่าที่เห็นในกรุงเทพฯ เล็กน้อย พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ยกเว้นด้านตะวันออก)
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 มิถุนายน 2553

  1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 15:57:21 น.
  2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 17:16:57 น.
  3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 18:38:27 น.
  4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 19:59:50 น.
  5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 21:19:33 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 57 ใน 83 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 120 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1000 - 2479 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยจันทรุปราคาเงามัว 21 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง เต็มดวง 25 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 23 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อกลางคริสต์ ศตวรรษที่ 18 นาน 1 ชั่วโมง 44.9 นาที
จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาในชุดซารอสเดียวกับที่เกิดขึ้นเมื่อ คืนวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1685 (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 11 ธันวาคม) ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรที่บริเวณระเบียงด้านทิศตะวันตกของ ตำหนักทะเลชุบศร เมืองละโว้ (พระที่นั่งไกรสรสีหราช จ.ลพบุรี) พร้อมกับบาทหลวงนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้นำภาพแกะสลักไม้ที่แสดงถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเป็น ตราสัญลักษณ์สมาคมฯ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:07 pm

3. สุริยุปราคาเต็มดวง 11/12 กรกฎาคม 2553

เส้นทางคราสเต็มดวงครั้งนี้เกือบทั้งแนวอยู่ในทะเลโดยเริ่มต้นทางตอนกลาง ค่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านเกาะเล็ก ๆ ในแปซิฟิกใต้ รวมทั้งเกาะอีสเตอร์ แล้วไปสิ้นสุดทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้
สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 00:10 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มขึ้นเมื่อเงามืดเริ่มแตะผิวโลกในเวลา 01:15 น. ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดนั้นอยู่ห่างจากแหลมตะวันออกของนิวซีแลนด์ประมาณ 1,500-1,600 กม. หรือจากตองกาประมาณ 800 กม. เงามืดเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเกาะแมนไกอา (Mangaia) ในหมู่เกาะคุก และอะทอลล์ในกลุ่มเกาะตูอาโมตู (Tuamotu) ของเฟรนช์โปลีนีเซีย แล้วเบนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในทะเล นาน 5 นาที 20 วินาที เกิดขึ้นเวลา 02:34 น.
ด้านตะวันออกของเกาะอีสเตอร์อยู่ใกล้เส้นกึ่งกลางคราสเต็มดวงมากที่สุด เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 4 นาที 47 วินาที เงามืดเคลื่อนไปถึงชายฝั่งทางใต้ของประเทศชิลีซึ่งมีภูมิประเทศขรุขระเต็มไป ด้วยกลุ่มเกาะจำนวนมาก จากนั้นพาดผ่านเทือกเขาแอนดีส เข้าสู่ตอนล่างของมณฑลซานตาครูซบนที่ราบสูงปาตาโกเนียในอาร์เจนตินา ผ่านอุทยานแห่งชาติลอสกลาเซียเรส (Los Glaciares National Park) ซึ่งมีธารน้ำแข็งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว เมืองเอลคาลาฟาเต (El Calafate) อยู่ใกล้แนวกลางคราสมากที่สุด เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 2 นาที 47 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงยไม่ถึง 2 องศา เงามืดหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 03:52 น. ตรงจุดที่ห่างไปทางตะวันออกของเอลคาลาฟาเตราว 100 กม. หลังจากนั้นเงามัวจะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 04:57 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งเงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านครอบคลุม พื้นที่กว้างใหญ่ในแปซิฟิกใต้กับตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้
สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 27 ใน 76 ครั้งของชุดซารอสที่ 146 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1541 สิ้นสุดในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2893 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 22 ครั้ง เต็มดวง 14 ครั้ง ผสม 3 ครั้ง วงแหวน 24 ครั้ง และบางส่วน 13 ครั้ง ตามลำดับ คราสในซารอสนี้เริ่มต้นบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้แล้วไปสิ้นสุดใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 5 นาที 21 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1992 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 3 นาที 2 วินาที จะเกิดในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2461
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:07 pm

4. จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553

อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง สังเกตเห็นได้ในหลายพื้นที่ ได้แก่ ทางตะวันออกของเอเชียกับออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ทางตะวันตกของยุโรปกับแอฟริกา ประเทศไทยไม่เห็นปรากฏการณ์ในวันนี้

  1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 12:29:18 น.
  2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 13:32:37 น.
  3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:40:46 น.
  4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 15:16:57 น.
  5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:53:09 น.
  6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 17:01:20 น.
  7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 18:04:31 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 48 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 125 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1163 - 2443 ชุดซารอสนี้เริ่มด้วยจันทรุปราคาเงามัว 17 ครั้ง บางส่วน 13 ครั้ง เต็มดวง 26 ครั้ง บางส่วน 9 ครั้ง และเงามัว 7 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1812 นาน 1 ชั่วโมง 40.4 นาที
จันทรุปราคาครั้งถัดไปของชุดซารอสนี้เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ สามารถเห็นได้เหนือท้องฟ้าประเทศไทย มีความพิเศษตรงที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2571 และเป็นช่วงเวลาที่กำลังก้าวเข้าสู่ปีใหม่
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:09 pm

อุปราคาในปี 2553 2010solecl
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:09 pm

อุปราคาในปี 2553 L20100626D
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:10 pm

sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:22 pm

อุปราคาในปี 2553 201001ase


เวลาเกิดสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 ในประเทศไทย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jan 02, 2010 4:24 pm

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลาม.ย.มุมเงยเวลาม.ย.มุมเงยมุมทิศขนาดพื้นที่เวลาม.ย.มุมเงย
กระบี่13:522235515:29265382350.57045.7%16:4932121
กรุงเทพฯ14:002174815:37269322340.67357.3%16:5833215
กาญจนบุรี13:582184915:37270332330.69659.9%16:5833416
กาฬสินธุ์14:102134315:43269272350.68758.8%17:0133511
กำแพงเพชร13:592164715:39272312320.75466.6%17:0134014
ขอนแก่น14:082144415:42270272350.69860.1%17:0133611
จันทบุรี14:052164815:38267312360.61951.1%16:5632714
ฉะเชิงเทรา14:022174815:38268312350.66356.0%16:5833115
ชลบุรี14:022174815:38268322350.65755.4%16:5833115
ชัยนาท14:002174715:38270312330.71361.9%17:0033614
ชัยภูมิ14:062154515:41270292350.69659.9%17:0133512
ชุมพร13:552215315:32267362340.62151.4%16:5332619
เชียงราย14:032134315:42275282320.82875.1%17:0434812
เชียงใหม่14:002154515:40275292310.81673.8%17:0334613
ตรัง13:552225515:29264382360.54643.0%16:4831921
ตราด14:062164815:38266312360.60549.5%16:5632614
ตาก13:592164715:39273312320.76968.4%17:0134114
นครนายก14:032164715:39269312340.67257.1%16:5933214
นครปฐม13:592184915:37269322340.68358.4%16:5833315
นครพนม14:132124115:45270252360.69059.1%17:023369
นครราชสีมา14:062154615:40269292350.67557.5%17:0033313
นครศรีธรรมราช13:562215415:31264372360.56044.5%16:5032020
นครสวรรค์14:012164715:39271312330.72563.3%17:0033714
สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลาม.ย.มุมเงยเวลาม.ย.มุมเงยมุมทิศขนาดพื้นที่เวลาม.ย.มุมเงย
นนทบุรี14:002174815:38269322340.67657.6%16:5833215
นราธิวาส14:022205315:31261362380.48236.0%16:4631320
น่าน14:042134415:42273282330.78670.4%17:0334411
บุรีรัมย์14:082144515:42268282360.65955.7%17:0033212
ปทุมธานี14:012174815:38269322340.67958.0%16:5833315
ประจวบคีรีขันธ์13:572195115:35268342340.64153.6%16:5532917
ปราจีนบุรี14:032164715:39269312350.66656.4%16:5833214
ปัตตานี14:002205315:31262362370.50138.2%16:4731520
พระนครศรีอยุธยา14:012174815:38269312340.68758.8%16:5933415
พะเยา14:022144415:41274282320.80973.0%17:0334612
พังงา13:512235515:29266382350.58647.4%16:5032321
พัทลุง13:562215415:30264372360.53942.3%16:4831820
พิจิตร14:022154615:40271302330.73864.8%17:0133913
พิษณุโลก14:022154615:40272302330.75066.1%17:0234013
เพชรบุรี13:582184915:36269332340.66856.7%16:5733116
เพชรบูรณ์14:042154515:41271292340.72563.3%17:0133813
แพร่14:022144515:41273292320.78269.9%17:0334312
ภูเก็ต13:512245615:28265392350.57546.2%16:4932121
มหาสารคาม14:092134415:43269272350.68458.5%17:0133511
มุกดาหาร14:132134215:44269262360.67056.9%17:0133410
แม่ฮ่องสอน13:572154515:39276302300.84477.0%17:0334914
ยโสธร14:112134315:43268272360.66255.9%17:0033311
ยะลา14:002215415:30262372380.49437.3%16:4631420
ร้อยเอ็ด14:102134315:43269272360.67557.5%17:0133411
ระนอง13:522225415:31267372340.61951.1%16:5332620
สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลาม.ย.มุมเงยเวลาม.ย.มุมเงยมุมทิศขนาดพื้นที่เวลาม.ย.มุมเงย
ระยอง14:022174915:37267322350.63552.9%16:5732915
ราชบุรี13:582184915:36269332340.68058.1%16:5833316
ลพบุรี14:012164715:39270312340.69659.9%16:5933514
ลำปาง14:012154515:40274292320.79671.5%17:0334413
ลำพูน14:002154515:40274302310.81173.2%17:0334613
เลย14:062144415:42271282340.74165.1%17:0234011
ศรีสะเกษ14:122144315:43268272360.64353.7%17:0033111
สกลนคร14:122124215:44270262360.69459.7%17:0233610
สงขลา13:582215415:30263372370.52140.2%16:4731720
สตูล13:562225515:29263382370.51739.8%16:4631621
สมุทรปราการ14:012174815:37269322340.66856.7%16:5833215
สมุทรสงคราม13:592184915:37269332340.67457.4%16:5833216
สมุทรสาคร14:002184915:37269322340.67257.2%16:5833215
สระแก้ว14:052164715:39268302350.64954.5%16:5833014
สระบุรี14:022164715:39269312340.68558.6%16:5933414
สิงห์บุรี14:012164715:38270312340.70160.5%17:0033514
สุโขทัย14:012154615:40272302320.76167.4%17:0234113
สุพรรณบุรี14:002174815:38270322340.69760.0%16:5933415
สุราษฎร์ธานี13:542225415:31265372350.58847.6%16:5132320
สุรินทร์14:092144515:42268282360.65154.7%16:5933112
หนองคาย14:092134315:43271272340.73364.2%17:0333910
หนองบัวลำภู14:072134415:43271272340.72262.9%17:0233811
อ่างทอง14:012174815:38270312340.69459.6%16:5933415
อำนาจเจริญ14:132134315:44268262360.65555.2%17:0033210
อุดรธานี14:082134315:43271272350.72262.8%17:0233811
อุตรดิตถ์14:022154515:40273292320.77168.5%17:0234213
อุทัยธานี14:002164715:38271312330.71962.5%17:0033714
อุบลราชธานี14:132134315:44268262370.63753.1%17:0033010
หมายเหตุ :

  1. ม.ย. ย่อจาก มุมจุดยอด (vertex angle : V.A.) คือ มุมที่วัดจากด้านบนสุดของดวงอาทิตย์ กวาดทวนเข็มนาฬิกาไปทางซ้ายมือที่ 90° ด้านล่างที่ 180° และขวามือที่ 270° ใช้บอกตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์แหว่งโดยเทียบกับทิศทางไปยังจุดเหนือศีรษะของผู้ สังเกต
  2. มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า
  3. มุมทิศ คือ มุมที่วัดจากทิศเหนือ กวาดไปทางขวามือจนถึงตำแหน่งดวงอาทิตย์
  4. ขนาด คือ ขนาดความลึกของสุริยุปราคา แสดงสัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์โดยวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวง อาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
  5. พื้นที่ คือ พื้นที่วงกลมของดวงอาทิตย์ในส่วนที่ถูกดวงจันทร์บัง

ที่มา http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/201001ase-thailand.html
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  Unknown Fri Jan 15, 2010 4:43 pm

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000006072

อินเดีย-ศรีลังกา ชม “สุริยุปราคา” รับปีใหม่ ก่อนใครเพื่อน
15 มกราคม 2553 15:39 น.

ประชาชนในหลายประเทศเฝ้าดูปรากฏการณ์ “สุริยุปราคา” รับปีใหม่ในวันที่ 15 ม.ค.53
กันอย่างใจจดใจจ่อ รวมทั้งในประเทศไทย โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์
จะพาท่านผู้อ่านเกาะติดภาพเหตุการณ์สุริยุปราคา และบรรยากาศการชมปรากฏการณ์ในประเทศต่างๆ


อุปราคาในปี 2553 553000000643401
ที่เมืองไฮเดอราบัด รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย เริ่มเห็นเงาดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนบดบังดวงอาทิตย์
ตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และในภาพเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาเมื่อเวลาประมาณ 14:11 น.
เหนือท้องฟ้าเมืองไฮเดอราบัด

อุปราคาในปี 2553 553000000643402
สุริยุปราคาเหนือท้องฟ้าเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมื่อเวลาประมาณ 14.12 น. ตามเวลาท้องถิ่น

อุปราคาในปี 2553 553000000643404
ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าบดบังดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ ในภาพเป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตได้จากกรุงโคลอมโบ
ประเทศศรีลังกา เมื่อเวลาประมาณ 14.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น

อุปราคาในปี 2553 553000000643406
สุริยุปราคาเหนือฟ้ากรุงโคลอมโบ ศรีลังกา เมื่อเวลา 14.37 น. เห็นเงาดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไปแล้วประมาณ 30%

อุปราคาในปี 2553 553000000643407
สุริยุปราคาเหนือฟ้ากรุงโคลอมโบ ศรีลังกา เมื่อเวลา 14.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ไปแล้วกว่า 70%

อุปราคาในปี 2553 553000000643408
ดวงจันทร์ค่อยๆ เคลื่อนที่เข้าบดบังดวงอาทิตย์มากขึ้นทุกขณะ โดยเมื่อเวลา 15.16 น. ของกรุงโคลอมโบ
ศรีลังกา เห็นดวงอาทิตย์เป็นเสี้ยวบางและเกือบจะกลายเป็นวงแหวนแล้ว
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  Unknown Sat Jan 16, 2010 1:07 am

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1263559266&grpid=02&catid=

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:21:49 น.
มติชนออนไลน์

ประมวลภาพทั่วโลก - สุริยคราสวงแหวนครั้งยาวนานที่สุดของสหัสวรรษ 11 นาที 8 วินาที

รายงานข่าวแจ้งว่าสุริยคราสวงแหวนครั้งยาวนานที่สุดของสหัสวรรษ
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม โดยนักดาราศาสตร์ระบุว่ามัลดีฟส์เป็นทำเลที่ดีที่สุดในโลก
สำหรับการรับชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งนี้

องค์การบริหารการบินและอวกาศ (นาซา) ของสหรัฐระบุไว้บนเว็บไซต์ว่า สุริยคราสครั้งนี้เป็นรูปวงแหวน
ซึ่งหมายถึงดวงจันทร์จะบดบังส่วนใจกลางของดวงอาทิตย์เกือบทั้งหมดเหลือเพียง ส่วนขอบเท่านั้นส่งผลให้
จะเห็นเป็นรูปทรงเหมือนวงแหวน โดยดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์อยู่นาน 11 นาที 8 วินาที ซึ่งเป็นระยะเวลา
ที่นาซาระบุว่ายาวนานที่สุดและสถิตินี้จะไม่ถูกทำลายจนกว่า จะถึงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.3586

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560753l

นาซาระบุว่าประเทศในแถบทวีปแอฟริกาตอนกลาง มัลดีฟส์ตอนใต้ของอินเดีย ตอนเหนือของศรีลังกา
บางส่วนในพม่าและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะสามารถมองเห็นเป็นรูปวงแหวนได้ ขณะที่ในทวีปแอฟริกาที่เหลือ
แถบตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออกจะเห็นเป็นสุริยคราสบางส่วน
[/size]

อุปราคาในปี 2553 12635592661263559462l

นักดาราศาสตร์ระบุว่า เกาะมาเลของประเทศมัลดีฟส์ซึ่งอยู่ใน มหาสมุทรอินเดียเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในโลก
สำหรับชมสุริยคราสครั้งนี้ซึ่ง จะเห็นได้ยาวนานกว่า 10 นาที

สุริยคราสครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นในเวลา 05.14 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (จีเอ็มที) หรือตรงกับ 12.14 น.
ตามเวลาในประเทศไทย โดยสาธารณรัฐแอฟริกากลางเป็นประเทศแรกในโลกที่จะเห็น และจะบดบังดวงอาทิตย์
มากที่สุดในช่วงเวลาประมาณ ประมาณ 07.00 น.ตามเวลาจีเอ็มที หรือ 14.00 น. ในไทยและจะสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์
ในเวลา 10.07 น.ของเวลาจีเอ็มที หรือ 17.07 น. ในไทย

ข่าวระบุว่าสุริยคราสวงแหวนครั้งสุดท้ายก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2552
และครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 2555

นาวาเอกฐากูร เกิดแก้ว หัวหน้าโครงการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA)
เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้ สามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุดและนานที่สุด ในช่วงเวลา
ตั้งแต่ 14.00 น. -17.00 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2553 โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมชมปรากฏการณ์เป็นจำนวนมาก
สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน เกิดขึ้นยาวนานที่สุดในรอบสหัสวรรษที่ 3
หรือระหว่างปี ค.ศ.2000-2999 (พ.ศ.2543-3542) มีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว่า 300 กิโลเมตร
ใช้เวลาในการคราสประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที เริ่มต้นที่แอฟริกา ผ่านคิงโก ยูกันดา เคนยา และโซมาเลีย
จากนั้นจึงเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ทวีปเอเชีย บังคลาเทศ อินเดีย พม่า และประเทศจีน

สำหรับประเทศไทยจะสังเกตุเห็นสุริยุปราคาแบบบางส่วน ได้จากทั่วทุกภูมิภาค ในเวลาที่แตกต่างกัน
โดยดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดถึง 77% สังเกตุได้ชัดเจนบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ขณที่ช่วงเวลาที่มองเห็นชัดที่สุด
15.30 น.ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเฝ้าชมปรากฏการสุริยุปราคา
หน้าลานพระบรมรูปสองรัชกาล โดยตั้งกล้องโทรทรรศน์ พร้อมแผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์
ให้บริการสำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมชมสุริยุปราคาร่วมกัน

ที่ลานร่ม สวนเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
(องค์กรมหาชน) หรือ สดร. ได้จัดงาน "สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553" มีการติดตั้งกล่องจุลทรรศน์ส่องดวงอาทิตย์
10 จุด พร้อมแจกแว่นดูดวงอาทิตย์ และอุปกรณ์ดูดวงอาทิตย์แก่ผู้สนใจ ก่อนส่งสัญญาณถ่ายทอดผ่านดาวเทียม
ไปประเทศจีน โดยพบปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนแบบเต็มดวง ก่อนจีนส่งสัญญาณกลับไทยเพื่อร่วมชมพร้อมกัน
ท่ามกลางนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวและประชาชนร่วมชม 1,000 คน ทั้งนี้
ปรากฏการณ์เริ่มตั้งแต่เวลา 13.59 น. และสิ้นสุดเวลา 17.03 น.

นายบุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร. กล่าวว่า สุริยุปราคาแบบวงแหวน มีเส้นทางแนวคราสวงแหวน
กว้างกว่า 300กิโลเมตร ตลอดเส้นทางแนวคราสใช้เวลา 3 ชั่วโมง 45 นาที แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา
เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จากนั้นจะผ่านทวีปเอเชีย สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้
เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเซียและอินโดนีเซีย

"ชาวเชียงใหม่โชคดีสามารถสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังร้อยละ 73.6 ของพื้นที่อาทิตย์
ซึ่งเป็นอันดับ 3 ของภาคเหนือ รองจากแม่ฮ่องสอน ที่ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังร้อยละ 77 และเกิดสุริยุปราคา
นานที่สุดในภาคเหนือ คือ 3 ชั่วโมง 6 นาที ตามด้วยเชียงราย ร้อยละ 75.3 คิดเป็น 3 ชั่วโมง 2 นาที" นายบุญรักษา กล่าว

วันเดียวกัน ที่บริเวณลานวิดยาดินแดง หลังภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ภาควิชาฟิสิกส์ ได้จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเฝ้าสังเกตการณ์สุริยุปราคา มีผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมชมประมาณ 100 คน ทั้งนี้
พื้นที่จังหวัดสงขลาสามารถมองเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาได้ตั้งแต่เวลา ประมาณ 13.58 น. – 16.47 น.
จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้มากที่สุด 40% ในเวลาประมาณ 15.30 น. โดยที่สุริยุปราคาครั้งต่อไป
จะเกิดขึ้นในเช้าวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 แต่จะสามารถมองเห็นได้เพียงเล็กน้อย จากนั้นต้องรอนานถึง 4 ปี
จะเกิดสุริยุปราคาในประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 9 มีนาคม 2559

นายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ประธานกรรมการบริหารโปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา กล่าวว่า ปรากฎการณ์สุริยุปราคาวงแหวน
ที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นสุริยุปราคาแบบบางส่วน โดยเริ่มเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งในเวลา 14.00น.
จนถึง 16.58 น. แม้จะเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่ในภาคใต้จะมองเห็นการบดบังในอัตราน้อยที่สุด
ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งอยู่ในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างจะยิ่งเห็นปรากฏการณ์ได้น้อยลง จึงเหมือน
ไม่ได้มองเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาจึงไม่จัดกิจกรรมชมสุริยปราคาในจังหวัดสงขลา
แต่ได้ไปร่วมรอชมปรากฏการณ์ที่จังหวัดทางภาคใต้ตอนบนแทน

อุปราคาในปี 2553 12635592661263559537l
ศรีลังกา

อุปราคาในปี 2553 12635592661263559594l
เมืองZhengzhou ประเทศจีน

อุปราคาในปี 2553 12635592661263559651l
จังหวัดHenan ประเทศจีน

อุปราคาในปี 2553 12635592661263559699l
เมืองKaifeng ประเทศจีน

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560753l
ถ่ายที่เมืองSuining ประเทศจีน

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560784l
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560819l
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560844l
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560886l
ตอนใต้ของประเทศอินเดีย

อุปราคาในปี 2553 12635592661263560926l
กรุงเซอูล ประเทศเกาหลีใต้

อุปราคาในปี 2553 12635592661263561244lเมือง New Delhi ประเทศอินเดีย

อุปราคาในปี 2553 12635592661263561286l
เมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

อุปราคาในปี 2553 12635592661263561352l
เมืองRawalpindi ปากีสถาน

อุปราคาในปี 2553 1263561642
แม่น้ำ Tamsui ไต้หวัน

อุปราคาในปี 2553 1263561428
เมืองAmman ประเทศจอร์แดน

อุปราคาในปี 2553 1263561469
เมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

อุปราคาในปี 2553 1263561491
เมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน


อุปราคาในปี 2553 1263561533
เมืองไทเป ไต้หวัน
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed Jan 27, 2010 12:43 pm

อุปราคาในปี 2553 Mars

"ดาวอังคารใกล้โลก"28ม.ค. (ข่าวสด)


นายบุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในค่ำคืนวันที่ 28 ม.ค. นี้ จะมีปรากฏการณ์ ดาวอังคารจะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุด ซึ่งในคืนวันนั้น ดาวอังคารที่ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า จะสุกสว่างสดใสเป็นพิเศษ มองเห็นเป็นสีส้มแดง หากต้องการจะดูดาวอังคารในวันนั้น ก็มองขึ้นไปบนท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะมองเห็นดาวอังคารได้ โดยจะเป็นดาวที่มีสีแดงส้ม ไม่กะพริบเหมือนดาวดวงอื่น ๆ ซึ่งจะนับว่า เป็นเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกเหตุการณ์หนึ่ง

"การโคจรเข้ามาใกล้โลกครั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้โลกขึ้นอีก 99 ล้านกิโลเมตร จะทำให้เราสามารถมองเห็นดาวอังคารได้สว่างกว่าที่เคยเห็น ถึงแม้ว่าครั้งนี้จะไม่ได้เข้ามาใกล้เหมือนครั้งก่อน แต่ก็จะทำให้เรามองเห็นดาวอังคารได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งหลังจากเหตุการณ์วันที่ 28 ม.ค.แล้ว ตลอดปีนี้ คงยังไม่มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นอะไรมากนัก นอกเสียจากว่าจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดอะไรเกิดขึ้น ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนทุกคนร่วมดูปรากฏการณ์ทั้งสองอย่างนี้ด้วยกัน" นายบุญรักษากล่าว

สำหรับ เวลาที่เหมาะในการดูดาวอังคารคือ 01.44 น. และให้สังเกตบริเวณกลุ่มดาวปู ปรากฏการณ์ครั้งนี้ เหมาะแก่การศึกษาสภาพพื้นผิวและชั้นบรรยากาศ รวมทั้งดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวอังคารเป็นอย่างมาก ควรใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กในการสังเกตการณ์ เพื่อให้ได้อรรถรสในการชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ดียิ่งขึ้น

kapook
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

อุปราคาในปี 2553 Empty Re: อุปราคาในปี 2553

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed Jan 27, 2010 12:47 pm

ในทางโหราศาสตร์ ๓ ดาวอังคาร

หากตีความในด้านของความหมาย นั่นคือ กองทัพ ความเข้มแข็ง การเอาชนะ การทำลาย

หากเปรียบเป็นตัวบุคคล คือ ผู้ถือกฎหมาย ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ

ทิศ คือ ตะวันออกเฉียงใต้

เปรียบในเรื่องของธาตุ คือ น้ำกรด หากเป็นด้านจริต คือ โทสะจริต

อุปราคาในปี 2553 Icon_wink
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ