Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

2 posters

Go down

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Empty จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

ตั้งหัวข้อ  att Tue Dec 29, 2009 11:49 am

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000159343

28 ธันวาคม 2552 13:19 น.

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี


จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189501
ภาพถ่าย/กราฟิกแสดงสุสาน ภาพวาดของ วุ่ยอู่หวัง หรือ โจโฉ (เฉาเชา)
และหลักฐานชิ้นฟันธงระบุตัวเจ้าของสุสาน คือ ป้ายหินแกะสลักชื่อ วุ่ยอู่หวัง (ภาพล่างมุมขวา)


จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189502จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
ป้ายหินแกะสลักที่มีค่าที่สุด ในสุสานโจโฉ จารึกอักษรเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญในการระบุตัวเจ้าของสุสาน
และเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์โดยตรงที่สุด


จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189503จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
ป้ายหินแกะสลักอักษร “อาวุธที่ วุ่ยหวัง (โจโฉ) ใช้ประจำ” ( 魏武王常所用格虎大戟)

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189504จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
หมอนหินที่วุ่ยอ๋อง (โจโฉ)ใช้เป็นประจำ จารึกอักษร “魏武王常所用慰项石”

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189505จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
โบราณวัตถุที่พบในสุสานโจโฉ

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189506จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
สภาพภายในสุสานโจโฉ

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189507จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
สภาพด้านนอกสุสานโจโฉ

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี 552000017189509จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Image
กราฟฟิกแสดงประวัติชีวิต เฉาเชา (โจโฉ) และที่ตั้งของสุสานในอันหยาง (Anyang) มณฑลเหอหนัน

เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์--กลุ่มนักโบราณคดีจีน พบสุสานของโจโฉ แม่ทัพใหญ่ผู้ฉลาดปราดเปรื่อง
แห่งยุคสามก๊กระหว่างการขุดค้นทางโบราณดคีในมณฑลเหอหนัน โดยป้ายหินแกะสลักตัวอักษร
และหมอนหินที่ขุดค้นพบภายในสุสาน จารึกชื่อ “วุ่ยอู่หวัง” ( คือ โจโฉ)
นักโบราณคดีจึงปักธงได้ว่าเจ้าของสุสานคือ โจโฉ

สืบเนื่องจากการขุดค้นสุสานยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก(ค.ศ.25-220)ที่หมู่บ้านซีกาวเสียว์ ตำบลอันเฟิง อำเภออันหยาง
มณฑลเหอหนัน นักโบราณคดีจีนก็ได้ค้นพบทางโบราณคดีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ที่ยุติการถกเถียงและข้อสงสัยนับพันปี
เกี่ยวกับที่ตั้งหลุมฝังศพแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่โจโฉ แห่งยุคสามก๊ก จากป้ายแกะสลักชื่อ วุ่ยอู่หวัง หรือวุ่ยอู่อ๋อง (魏武王)
ซึ่งก็คือ พระนามของพระเจ้าโจโฉ นักโบราณคดีจีนจึงสามารถระบุชัดเจนแล้วว่า หลุมฝังศพของแม่ทัพโจโฉอยู่
ณ หมู่บ้านซีกาวเสียว์ แห่งนี้

โจโฉ หรือ ในภาษาจีนกลางเรียก เฉาเชา(曹操) (ค.ศ.155-220) เป็นขุนศึก และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคนสุดท้าย
ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ต่อมา โจโฉได้สร้างนครรัฐที่รุ่งเรืองและแข็งแกร่งที่สุดในยุคสมัยสามก๊ก (ค.ศ.208-280)
คือ แคว้นวุ่ย หรือวุ่ยก๊ก ตำนานชีวิตโจโฉเป็นที่เลื่องลือและติดตรึงใจผู้คนทั่วโลกมาถึงปัจจุบันจากวรรณกรรมคลาสิก
“สามก๊ก” ในความเป็นผู้ปกครองที่โด่ดเด่นด้านความสามารถและนักการทหารที่ทรงสติปัญญาเฉลียวฉลาด

นอกจากนี้ โจโฉยังได้รับการยกย่องเป็นกวี อันสะท้อนถึงบุคคลิกพิเศษและแข็งแกร่งของแม่ทัพโจโฉ
กระทรวงศึกษาจีนยังได้บรรจุบทกวีของโจโฉไว้ในตำราเรียนระดับชั้นมัธยม

นักโบราณคดีเผยรายละเอียดการขุดค้นครั้งนี้ ว่าเป็นสุสานขนาดใหญ่มีโครงสร้างซับซ้อนมาก ประกอบด้วย
ห้องด้านหน้าและด้านหลัง และห้องอีกสี่ห้องอยู่ในภายใน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ราว 740 ตารางเมตร
อันเป็นขนาดและโครงสร้างตามประเพณีจีนโบราณในการกษัตริย์ หรือเจ้าครองนครรัฐ จากการเปิดเผยของ
นายหลิว ชิงจู ผู้อำนวยคณะกรรมการสถาบันบัณฑิตสถานด้านสังคมศาสตร์ เผยแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันอาทิตย์(27 ธ.ค.)

นักโบราณคดียังพบโบราณวัตถุมากกว่า 250 ชิ้น ที่ทำจากทองคำ เงิน ทองสำริด หยก หิน ดินเผา ฯลฯ
อีกทั้งหินแกะสลักชื่อ 59 ชิ้น และจารึกหลายชิ้นภายในหลุมฝังศพ โดยมีหินแกะสลักแปดชิ้นที่มีค่ามากที่สุด
ซึ่งจารึกเกี่ยวกับอาวุธต่างๆที่วุ่ยอ๋อง หรือโจโฉ ใช้ตัวอักษรที่จารึกบนหินเหล่านี้ ได้แก่
魏武王常所用格虎大戟,“魏武王常所用格虎大刀”เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหมอนหินที่วุ่ยอ๋องใช้เป็นประจำ
จารึก “魏武王常所用慰项石”จารึกอักษรเหล่านี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการระบุตัวเจ้าของสุสาน
และเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์โดยตรงที่สุด

ภายในสุสานยังมีภาพเขียนบนหินจำนวนมาก ที่ละเอียดประณีต

ในการขุดค้นสุสานฯ นักโบราณคดียังได้พบซากกระดูกส่วนศีรษะและแขนขาของมนุษย์ในห้องฝังศพสองห้อง
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ระบุในเบื้องต้นว่าเป็น ซากกระดูกของผู้ชายหนึ่งคนและผู้หญิงอีกสองคน
โดยผู้ชายเป็นเจ้าของหลุมฝังศพ อายุราว 60 ปี

ห่าว เปิ่นซิง หัวหน้าสถาบันโบราณคดีแห่งมณฑลเหอหนัน เผยว่า โจโฉได้จารึกเจตจำนงของเขาว่า
ให้สร้างสถานที่ฝังศพของเขาอย่างเรียบง่าย ซึ่งก็สอดคล้องกับสุสานที่นักโบราณขุดค้นคือ
กำแพงสุสานไม่มีภาพเขียนและมีสมบัติไม่กี่ชิ้น ตำแหน่งของสุสาน สอดคล้องกับบันทึกประวัติศาสตร์
และบันทึกโบราณในยุคของโจโฉ รัฐบาลมณฑลเหอหนัน และอันหยางมีแผนที่จะเปิดสุสานให้สาธารชนเข้าชม

เจ้าหน้าที่เผยว่า ก่อนหน้ามีการปล้นขโมยโบราณวัตถุในสุสานโจโฉหลายครั้ง จนนักโบราณคดีได้รายงาน
สำนักงานโบราณคดีแห่งชาติเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2551 หน่วยวิจัยโบราณคดีจึงได้เข้าทำการขุดค้นเพื่อ
การคุ้มครองสมบัติโบราณคดีของชาติ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้ติดตามโบราณวัตถุหลายชิ้นที่ถูกขโมยไป.

ถกบุคลิกโจโฉ
พระเจ้าโจโฉ (จีนตัวเต็ม: 曹操; จีนตัวย่อ: 曹操; พินอิน: Cáo Cāo; เวด-ไจลส์: Ts'ao² Ts'ao¹) หรือ
สมเด็จพระจักรพรรดิวุ่ยอู่หวัง (魏武王) มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 155 - ค.ศ. 220 เป็นขุนศึกและผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
คนสุดท้ายในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน ในภายหลังโจโฉได้ก่อตั้งวุยก๊ก
ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก

ในวรรณคดีเรื่องสามก๊กบางสำนวน โจโฉได้รับการบรรยายให้เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยมและทะเยอทยาน
แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว โจโฉเป็นผู้ปกครองที่สามารถ นักการทหารที่ชาญฉลาด และยังเป็นกวีอีกด้วย
ในสามก๊ก โจโฉแม้จะเป็นคนโหดเหี้ยม เจ้าเล่ห์ แต่ก็หาใช่ว่าเป็นคนไร้เหตุผล ตรงกันข้ามยังเป็นคนผูกใจคนเก่ง
ชอบใช้คนมีความสามารถ รู้จักใช้คน บริหารจัดการเก่ง มีความเป็นผู้นำสูง และออกอุบายวางแผนได้ด้วยตนเอง
ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวว่า "ยิ่งอ่าน ยิ่งรักน้ำใจโจโฉ" และเป็นที่ของหนังสือที่ชื่อ
โจโฉ นายกฯตลอดกาล ที่ว่าด้วยการมองโจโฉในอีกแง่ และให้ฝ่ายจ๊กก๊ก ของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เป็นตัวร้ายแทน


แก้ไขล่าสุดโดย att เมื่อ Sat Feb 20, 2010 12:12 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Empty Re: จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

ตั้งหัวข้อ  att Tue Dec 29, 2009 11:50 am

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (คริสต์ศักราช 25 – 220)

เมื่อราชวงศ์ซินสิ้นสุดอำนาจ หลิวซิ่ว ซึ่งเป็นราชนิกุลในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและเป็นผู้นำกองทัพชงหลิง
โค่นล้มราชวงศ์ซินเริ่มฟื้นฟูราชวงศ์ใหม่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองลั่วหยัง แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮั่นกวงอู่
นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลาปกครองนี้ว่า อาณาจักรฮั่นตะวันออก ช่วงต้นราชวงศ์มีการฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจ
ความเป็นอยู่ของราษฎรผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของบ้านเมือง เชิดชูหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อซึ่งเน้นคุณธรรม
อันส่งผลให้เกิดกระแสที่ปัญญาชนกล้าวิจารณ์ราชสำนักเพิ่มขึ้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสามารถครองแผ่นดินจีน
ต่อเนื่องกันนาน 200 ปี ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมและ การแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์และขันทีอย่างดุเดือด

ศึกชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที


หลายครั้งที่จักรพรรดิสิ้นพระชนม์กะทันหันรัชทายาทผู้เยาว์วัยต้องขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย
จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งอาจเป็นพระราชชนนีหรือพระญาติวงศ์ การบริหารงานแทนจักรพรรดิ
ทำให้บุคคลเหล่านี้ถือโอกาสกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายตน เพื่อเสริมสร่างอำนาจให้เข้มแข็งขึ้น
ครั้นจักรพรรดิน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่กลับไม่ยินดีจะคืนพระราชอำนาจ พระองค์จึงต้องวางแผนชิงอำนาจคืนมา
โดยอาศัยพวกขันทีสังหารพระญาติผู้เป็นต้นเหตุ ความช่วยเหลือของฝ่ายขันทีสร้างอำนาจครอบงำจักรพรรดิ
และราชสำนักแทนกลุ่มเดิมในท้ายที่สุด
การแย่งชิงอำนาจและชัยชนะของฝ่ายใดก็ตามส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ตามปกติของข้าราชการ
บ้านเมืองตกอยู่ในบรรยากาศของความหวาดระแวงกันและระส่ำระสายหนักขึ้นอันกลายเป็นสาเหตุหนึ่ง
ในการล่มสลายของราชวงศ์นี้

การต่อต้านของพวกปัญญาชน

ช่วงกลางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกซึ่งขันทีครองอำนาจในแผ่นดินและครอบงำจักรพรรดิไว้ บรรดาปัญญาชน
ซึ่งถือเป็นบัณฑิตผู้รู้หนังสือต่างวิจารณ์อิทธิพลของเหล่าขันทีซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน
บ้านเมืองปั่นป่วน
บัณฑิตบางคนร่วมมือกับขุนนางในราชสำนักก่อกบฏ ดังเช่น หลี่อิงและเฉินฝาน
บัณฑิตสมัยพระเจ้าฮั่นหวนตี้ หรือ โต้วอู่ พระญาติวงศ์ซึ่งไม่พอใจพวกขันทีในสมัยพระเจ้าฮั่นหลิงเต้ เป็นต้น

[แก้] ยุคมืดช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

บรรดาขันทีสามารถสยบกลุ่มต่อต้านได้ จึงเหิมเกริมและผยองใจมากขึ้น การกุมอำนาจในราชสำนัก
การเชื่อฟังของจักรพรรดิ สร้างความระส่ำระสายในสังคม ราษฎรไม่พอใจการบริหารตามอำเภอใจของเหล่าขันที

แรงบีบคั้นต่างๆ กระตุ้นให้ประชาชนลุกขึ้นต่อต้านผู้ปกครอง กลายเป็นกบฏประชาชน ราชสำนักจึงเพิ่มอำนาจให้
ขุนนางท้องถิ่นเพื่อรับมือกับกบฏ ทำให้พวกขุนนางเหล่านั้นมีกำลังทหารเป็นของตนเอง จึงฉวยโอกาสนี้สร้างอำนาจ
และเพิ่มกำลังคนจนกลายเป็นขุนศึกแล้วแบ่งแยกดินแดนออกเป็นเอกเทศ
ต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) ถือเป็นขุนศึกรุ่นแรก
ที่มีบทบาทโดดเด่นของยุคนี้

[แก้] การกวาดล้างพวกขันทีและการสิ้นสุดของราชวงศ์อันยิ่งใหญ่

เมื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน
อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยาง
และปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้
หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน)
ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง)
แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและ
ใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี ค.ศ. 220 เฉาเชาเสียชีวิตลง
บุตรชายของเขา คือ เฉาพี (โจผี) ขึ้นสืบทอดตำแหน่งแทน แล้วถอดถอนพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้
สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจึงล่มสลายอย่างสมบูรณ์
ดูเพิ่ม


att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Empty Re: จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

ตั้งหัวข้อ  eye in the sky Sat Feb 20, 2010 12:18 am

http://www.aecthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=383027

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก : พระญาติวงศ์และขันทีครองเมือง
จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Historychina
1. ภูมิหลังการครองอำนาจของพระญาติวงศ์และขันที

  • สถานการณ์การเมืองต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    • พระเจ้าฮั่นกวงอู่ลดหย่อนภาษี
      ปรับปรุงการทำงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา
      ทำให้ประเทศฟื้นตัวและพัฒนาขึ้น
      ในสมัยพระเจ้าฮั่นจังตี้ให้ยกเลิกบทบัญญัติโทษที่ทารุณโหดร้าย
      เชิดชูปรัชญาความรู้ของขงจื้อ
      นับว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรฮั่นตะวันออก



  • ภูมิหลังการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที

    • ต้นสมัยการก่อตั้งราชวงศ์
      ได้ก่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างพระญาติวงศ์กับหมู่ขันที
      เนื่องจากจักรพรรดิทรงพระเยาว์
      และพระชนนีไว้พระทัยในพระญาติให้บริหารบ้านเมือง
      ครั้นจักรพรรดิเติบใหญ่ได้อาศัยขันทีในการแย่งอำนาจบริหารกลับคืน



2. สถานการณ์การเมืองช่วงพระญาติวงศ์และขันทีเรืองอำนาจ

  • สภาพการแย่งชิงอำนาจระหว่างพระญาติวงศ์กับขันที

    • นับแต่สมัยพระเจ้าฮั่นเหอตี้
      พระญาติวงศ์กับขันทีได้ผลัดเปลี่ยนกันยึดอำนาจบริหารราชสำนักเป็นเวลากว่า
      100 ปี เกิดความแหลกเหลวทางการเมือง
      จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกล่มสลาย



  • ความวิบัติของแนวร่วมปัญญาชน

    • เหล่าปัญญาชนและข้าราชการต่างไม่พอใจกับการปกครองแบบ
      เผด็จการของขันที
      ได้ทำการวิจารณ์การบริหารของราชสำนักจึงถูกตอบโต้และกวาดล้าง
      เป็นเหตุให้เกิดการทำลายล้างแนวร่วมปัญญาชนถึง 2 ครั้ง
      ผลคือคนของแนวร่วมถูกจับกุมและสังหาร ขันทียังคงเรืองอำนาจ



  • กบฏโพกผ้าเหลือง

    • จังเจี่ยวก่อตั้งนิกายไท่ผิงเต้า
      ปลุกระดมมวลชนก่อจลาจล ถึงแม้จะไม่สำเร็จ
      แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสั่นคลอนทรุด
      ลงไปมาก



  • การยึดครองเขตปกครองของเหล่าขุนศึก

    • ขุนนางที่ปกครองโจวและจวิ้น
      นับวันก็ยิ่งมีอำนาจแข็งแกร่งจนเกิดการต่อสู้แย่งชิงดินแดนกัน
      ต่งจัวสนับสนุนให้พระเจ้า ฮั่นเซี่ยนตี้เป็นจักรพรรดิ
      ต่อมาต่งจัวถูกสังหาร
      เฉาเชาบังคับพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ลี้ภัยไปยังเมืองสี่ว์ชาง
      และรวบอำนาจบริหารบ้านเมืองไว้เสียเอง บุตรชายของเฉาเชาคือเฉาพี
      ชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้
      ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจึงถึงกาลล่มสลาย


eye in the sky
eye in the sky

จำนวนข้อความ : 141
Registration date : 18/02/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Empty Re: จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

ตั้งหัวข้อ  eye in the sky Sat Feb 20, 2010 12:28 am

http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter14/chapter140105.htm

ราชวงศ์ฮั่น
จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี C
中国国际广播电台
 

ช่วงเวลาตั้งแต่ปี206ก่อนค.ศ.จนถึงปีค.ศ.8เป็นสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
จักรพรรดิฮั่งเกาจู่ชื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ฮั่นและตั้งเมืองหลวง
ที่กรุงฉางอัน(เมืองซีอันในปัจจุบัน)


ในช่วงเวลา7ปีที่จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ครองราชย์ ได้เสริมสร้างการปกครอง
รวมศูนย์อำนาจรัฐ กำหนดนโยบายทางการเมืองที่”ผ่อนภาระหน้าที่ ประชาชน
”จำนวนหนึ่งเพื่อเสริมสร้างการปกครองของตนให้มั่นคง ในปี159ก่อนค.ศ.
จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ถึงแก่สวรรคต จักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อ
แต่ขณะนั้น อำนาจตกอยู่ในมือของพระนางลวี่จื้อพระมเหสีของ
จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ พระมเหสีลวี่จื้อได้ครองอำนาจอยู่นาน16ปี นับเป็น
ผู้ปกครองหญิงในประวัติศาสตร์จีนที่มีเพียงไม่กี่คน ในปี183ก่อนค.ศ.
จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อมา จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้
และจักรพรรดิฮั่งจิ่งตี้(ปี156-143ก่อนค.ศ.)ผู้เป็นโอรสยังคงดำเนินนโยบาย
“ผ่อนภาระหน้าที่ประชาชน”ต่อไป ลดภาษีอากรของประชาชนให้น้อยลง
ทำให้เศรษฐกิจของราชวงศ์ฮั่นเจริญเติบโตขึ้น นักประวัติศาสตร์
เรียกช่วงเวลานี้ว่าเป็น”ช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเหวิน-จิ่ง”


หลังจาก”ช่วงเจริญรุ่งเรืองยุคเหวิน-จิ่ง” แล้วราชวงศ์ฮั่นมีกำลังที่เข้มแข็ง
เกรียงไกรขึ้นเรื่อยๆ ในปี141ก่อนค.ศ. จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้รับช่วง
ตำแหน่งจักรพรรดิ ฮั่นอู่ตี้ได้ส่งนายพลเว่ยชิงและนายพลฮั่วชวี่ปิ้งพาทหาร
ไปโจมตีพวก ซงหนูจนแตกพ่าย ได้ขยายขอบเขตการปกครองของ
ฮั่นตะวันตกให้กว้างขวางขึ้น เป็นหลักประกันแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและ
วัฒนธรรมทางภาคเหนือของฮั่นตะวันตก หลังจากนั้น จักรพรรดิฮั่นเจาตี้
ส่งเสริมให้พัฒนาเศรษฐกิจต่อไปจนทำให้ฮั่นตะวันตกพัฒนาไปถึงช่วง
ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด


หลังจาการปฎิบัติตามนโยบาย”ผ่อนภาระหน้าที่ ประชาชน ”เป็นเวลานาน
ถึง38ปีในรัชกาลฮั่นเจาตี้และฮั่นซวนตี้ กำลังประเทศของฮั่นตะวันตก
มีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน อิทธิพลท้องถิ่นก็พัฒนาเข้มแข็ง
ขึ้นเรื่อยๆเช่นกันซึ่งคุกคามการปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกอย่างรุนแรง
เมื่อปีค.ศ.8 หวางหมางได้ช่วงชิงตำแหน่งจักรพรรดิและเปลี่ยนชื่อเป็น
ราชวงศ์ซิน สิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก


ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเป็นราชวงศ์ที่ค่อนข้างเข้มแข็งเกรียงไกร
ในประวัติศาสตร์จีน ทุกรัชกาลปฎิบัติตามนโยบายที่
“ผ่อนภาระหน้าที่ประชาชน ”มาโดยตลอด ประชาชนกินดีอยู่ดี
อยู่เย็นเป็นสุข การปกครองของ ฮั่นตะวันตกจึงมีความมั่นคงตลอดมา
จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ได้ปฎิบัติตามข้อเสนอที่ ”ให้ยกเลิกความคิดอื่นๆ
ส่งเสริมยกย่อง แต่สำนักขงจื๊ออย่างเดียว”
ที่ต่งจงซูเสนอ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ลัทธิขงจื๊อและสำนักปรัชญาขงจื๊อ
กลายเป็นความคิดที่ราชวงศ์ต่างๆ สมัยหลังราชวงศฮั่น
ได้ยึดถือปฎิบัติตามตลอดมา


เนื่องจากการเมืองและเศรษฐกิจมีความมั่นคง หัตถกรรม การพาณิชย์
ศิลปะตลอดจนวิทยาศาสตร์ต่างพัฒนาไปอย่างมาก เมื่อวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีพัฒนาสูงขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตทางหัตถกรรมสมัย
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกการถลุงโลหะและการผลิตสิ่งทอก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
การพัฒนาหัตถกรรมได้ส่งเสริมให้การพาณิชย์คึกคักขึ้นเรื่อยๆ และได้บุกเบิก
การแลกเปลี่ยนซื้อขายในด้านต่างๆเช่นการติดต่อกับต่างประเทศ และการค้า
กับประเทศเอเซียตะวันตกต่างๆด้วยเส้นทางสายไหม


ช่วงเวลาตั้งแต่ค.ศ.25 จนถึงค.ศ.220เป็นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
จักรพรรดิฮั่นกวางอู่ตี้พระนามหลิวซิ่วสถาปนาขึ้นใน


ปีค.ศ.25 นายหลิวซิ่วได้โจมตีจักรพรรดิหวางหมางจนแตกพ่าย
ด้วยการสนับสนุนจากกองทหารลู่หลินซึ่งเป็นกองทหารชาวนา และ
ช่วงชิงตำแหน่งจักรพรรดิกลับคืน เปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นฮั่นอีกครั้ง
แต่ตั้งเมืองหลวงที่กรุงลั่วหยาง ในปีที่สองรัชกาลเจี้ยนอู่ จักรพรรดิกวางอู่ตี้
มีคำสั่งให้ปฎิรูปนโยบายเก่าของจักรพรรดิหวางหมาง ปรับปรุงระบอบ
การเมือง จัดตั้งตำแหน่งซั่งซู6คนแบ่งกันรับผิดชอบบริหารกิจการการเมือง
เพื่อลดอำนาจของเสนาบดีชั้นสูงสุดสามตำแหน่งได้แก่ไทเว่ย ซือถูและ
ซือ คงให้น้อยลง ยกเลิก” ทาสหลวง ” ตรวจและจัดสรรที่ดินจนทำให้
ประชาชน อยู่อย่างมีเสถียรภาพ จนถึงกลางศตวรรษที่1 หลังจาก
การปกครองประเทศของสามรัชกาลได้แก่ฮั่นกวงอู่ตี้ ฮั่นหมิงตี้และฮั่นจางตี้
ตามลำดับ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกก็ได้ฟื้นฟูความเข้มแข็งเกรียงไกรของ
ฮั่นตะวันตกในอดีตขึ้นเรื่อยๆ ช่วงนี้คนยุคหลังเรียกว่า”ช่วงเจริญรุ่งเรือน
ยุคกวงอู่”


ในช่วงต้นของฮั่นตะวันออก รัฐบาลกลางได้เสริมสร้างการผสมผสานกับ
อิทธิพลท้องถิ่น จึงทำให้ประเทศมีความมั่นคง ในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฮั่นตะวันออกล้วนได้พัฒนาจนมีระดับเหนือกว่า
ฮั่นตะวันตกอย่างรอบด้าน ในปีค.ศ.105 ไช่หลุนได้ปรับปรุงเทคนิค
การผลิตกระดาษ ทำให้วิธีการบันทึกตัวหนังสือของจีนพ้นจากสมัยใช้ไม้ไผ่
และวิธีการผลิตกระดาษในฐานะที่เป็นหนึ่งในผลงานประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่
4อย่างในสมัยโบราณของจีนได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในด้านวิทยาศาสตร์
วงการนักวิชาการมีนายจังเหิงเป็นตัวแทนประสบความสำเร็จในผลงาน ยิ่งใหญ่

จังเหิงได้สร้างเครื่อง”หุนเทียนอี๋”ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดดาราศาสตร์และ
เครื่อง”ตี้ต้งอี๋”เครื่องพยากรณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ หัวถัว แพทย์
ผู้มีชื่อเสียงในสมัยปลายฮั่นตะวันออกเป็นศัลยแพทย์ คนแรกที่ใช้ยาชา
ในการผ่าตัดผู้ป่วย
eye in the sky
eye in the sky

จำนวนข้อความ : 141
Registration date : 18/02/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Empty Re: จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี

ตั้งหัวข้อ  eye in the sky Sat Feb 20, 2010 12:38 am

http://www.thaisamkok.com/china-dynasty-10.shtml

http://www.oknation.net/blog/ZhouYu/2007/05/13/entry-1

กล่าวถึงเหตุการณ์ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (东汉) ภาคแรก

Posted byZhouYu

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี First-Easten-Han


พระเจ้าฮั่นกองบู้ ปฐมกษัตริย์แห่งฮั่นตะวันออก

เมื่อ "พระเจ้าฮั่นกองบู๊" โค่นล้มหวังหมิ่น (วางมาง) ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาใหม่
โดยเรียกว่า
“ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก” ซึ่งมีราชธานี ณ เมืองลั่วหยาง ล่วงเลยมาถึงรัชสมัยของ
พระเจ้าฮั่นเต้ซึ่งพระเจ้าฮั่นเต้พระองค์นี้ไร้ซึ่งราชบุตรสืบสายโลหิต จึงได้ไปขอ “เลนเต้”
ไม่ทราบว่าเป็นบุตรของใคร แต่ทราบว่ามารดาชื่อ “นางตังไทฮอ”
จึงได้ขอมาเป็นรัชทายาท
ได้รับการสถาปนาเป็น “พระเจ้าเลนเต้”

พระเจ้าเลนเต้พระองค์นี้ มิได้ตั้งองค์ในทศพิธราชธรรม ใส่ใจอยู่กับเหล่าขันทีและนางสนมกำนัล
มากกว่าการออกว่าราชการจึงเปิดช่องให้ขุนนางทำการฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงราษฎร
เบียดเบียนที่ดินของราษฎรเป็นของตน เมื่อราษฎรทนการกดขี่ไม่ไหว จึงลุกขึ้นต่อต้าน
ในนาม
ของ “โจรโพกผ้าเหลือง” โดยมี “เตียวก๊ก” เป็นแกนนำ กองทัพโจรโพกผ้าเหลืองนั้น
แบ่งเป็น ๓๖ ฟาง (๑ ฟางเท่ากับ ๑ เขต) ได้ชาวบ้านแลทหารเป็นกำลังหลายสิบหมื่น
ทำให้เกิดการจลาจลไปทั่วประเทศ ร้อนถึงราชสำนักฮั่นต้องส่งกำลังเข้าปราบปราม
โดยการระดมเรียกอาสาสมัคร ชาวนา ชาวบ้าน ให้จับอาวุธต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลือง
ซึ่งก็เป็นชาวบ้านด้วยกันผลสุดท้ายโจรโพกผ้าเหลืองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้


กล่าวถึงพระเจ้าเลนเต้กันต่อ พระเจ้าเลนเต้ทรงมีราชบุตรสองพระองค์คือ หองจูเปียน”
ซึ่งประสูติกับพระนางโฮเฮา อัครมเหสี และ “หองจูเหียบ” ซึ่ง ประสูติจากนางอองบีหยิน มเหสีรอง
เมื่อพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนม์ได้ ๓๔ พรรษา พระนางโฮเฮาและโฮจิ๋น พี่ชาย
ได้ชิงสถาปนา หองจูเปียน เป็น “พระเจ้าเซ่าเต้” ซึ่งทำให้พระนางตังไทฮอ พระมารดาพระเจ้าเลนเต้
ไม่พอใจอย่างมาก ๑๐ ขันทีคนสนิทแนะนำให้ ตั้ง หองจูเปียน เป็น“ตันหลิวอ๋อง” เพื่อคานอำนาจ
ซึ่งพระนางตังไทฮอ ก็เห็นด้วย ซึ่งต่อมาโฮจิ๋นก็ชิงกำจัดพระนางตังไทฮอเสียก่อน
เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม


ฝ่าย ๑๐ ขันทีเห็นเจ้านายของตนถูกกำจัดก็ร้อนตัว จึงแสร้งอ่อนน้อมกับโฮจิ๋น และคิดกำจัดโฮจิ๋นเสีย
ด้านโฮจิ๋นก็ทราบ จึงใช้แผนการเขลาเบาปัญญา เรียกตั๋งโต๊ะแห่งเสเหลียงเข้าเมืองหลวง
เพื่อกำจัด ๑๐ ขันที ทั้งที่ขุนนางอย่างอ้วนเสี้ยวและโจโฉ คัดค้านก็มิฟัง ดึงดันจะให้กองทัพตั๋งโต๊ะ
เข้าเมืองหลวงให้ได้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะของราชวงศ์ฮั่นอย่างแท้จริง

http://www.oknation.net/blog/ZhouYu/2007/05/14/entry-1

กล่าวถึงเหตุการณ์ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (东汉) ภาคจบ

Posted byZhouYu

จีนฟันธงแล้ว “ที่ตั้งสุสานโจโฉ” ยุติปริศนาร่วมสองพันปี Samkok_pic1


พระเจ้าเหี้ยนเต้ ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของฮั่นตะวันออก
"โฮจิ๋น" เมื่อทำการเรียกตั๋งโต๊ะเข้าเมืองหลวงเพื่อกำจัด ๑๐ ขันทีแล้ว ยังไม่ทันลงมือกำจัด
กลับถูก ๑๐ ขันทีชิงกำจัดเสียก่อน เปิดช่องให้ตั๋งโต๊ะทำการเข้ายึดอำนาจในพระนคร
สั่งปลดพระเจ้าเซ่าเต้ ตั้ง หองจูเหียบ เป็น
“พระเจ้าเหี้ยนเต้” และแต่งตั้งตนเป็น “เซียงก๊ก”
เทียบเท่ามหาราชครู และดำรงตำแหน่ง “บิดาบุญธรรมของพระเจ้าเหี้ยนเต้” อีกด้วย
เมื่อพระเจ้าเซ่าเต้และพระนางโฮเฮาหมดอำนาจลง จึงถูกกำจัดเสีย


เมื่อ ตั๋งโต๊ะยึดลั่วหยางแล้ว ได้ลิโป้มาเป็นบุตรบุญธรรมและขุนพลคู่ใจ จึงได้จัดการปล้น ฆ่า ข่มขืน
อนาจารทั้งชาววังแลชาวบ้านอย่างบ้าคลั่ง จนทำให้เกิด "กองทัพสิบแปดหัวเมืองปราบตั๋งโต๊ะ" ขึ้น
โดยมี อ้วนเสี้ยว เป็นประธาน และโจโฉ เป็นเลขาฯ ซึ่งสองคนนี้เป็นเด็กเก่าของโฮจิ๋น
กองทัพนี้สามารถทำให้ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวงกลับไปยัง ฉางอาน เมืองหลวงเก่าสมัยฮั่นตะวันตก
แต่ก่อนไปได้กวาดต้อนราษฎรและทำการเผาเมืองลั่วหยางซะพินาศสิ้น กองทัพสิบแปดหัวเมือง
ได้เพียงแค่เมืองร้างเท่านั้น สุดท้ายกองทัพนี้ก็สลายไป เนื่องจากเห็นว่าไม่มีผลประโยชน์ให้เก็บเกี่ยวแล้ว

ตั๋งโต๊ะ ได้ไปตั้งหลัก ณ เมืองฉางอาน ได้เกิดผิดใจกับลิโป้ ในเรื่องของผู้หญิงแลผลประโยชน์
ทำให้อ้องอุ๋น รักษาการณ์ในตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ซึ่งหมั่นไส้ตั๋งโต๊ะเป็นทุนอยู่แล้ว
ยุยงให้กำจัดตั๋งโต๊ะเสีย ลิโป้เลยสนอง เชือดตั๋งโต๊ะซะ พอตั๋งโต๊ะตาย ลิโป้คิดว่าอำนาจการดูแล
ย่อมตกอยู่ในมือของตน แต่ช้าไป ถูกสมุนซ้ายขวาของตั๋งโต๊ะ นามว่า
“ลิฉุย กุยกี” ชิงยึดอำนาจซะก่อน
ทำให้ลิโป้ต้องเผ่นหนีออกจากฉางอาน
แต่คนที่ช้ำที่สุดคือ พระเจ้าเหี้ยนเต้ หลังจากสิ้นตั๋งโต๊ะแล้ว
ก็ยังมีลิฉุย กุยกี ซึ่งกระทำการไม่ต่างจากตั๋งโต๊ะ นายของมันเลยแม้แต่น้อย
“ตังสิน” ขุนนางเก่า
แนะนำให้หนีไปพึ่งโจโฉ ซึ่งกำลังขยายฐานอำนาจอยู่ภาคกลาง (ตงง้วน) พระเจ้าเหี้ยนเต้
จึงไปตายเอาดาบหน้า หนีไปพึ่งโจโฉ
ฝ่ายโจโฉได้ปรึกษาขุนนางแล้ว เห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะ
อุปถัมถ์พระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงอ้าแขนรับไว้ พร้อมกับกำจัดพรรคพวกของ ลิฉุย กุยกี และย้ายเมืองหลวง
มายังเมืองฮูโต๋ เริ่มใช้ศักราช
“เจี้ยนอัน” ซึ่งแปลว่า สร้างสันติสุข
พระเจ้าเหี้ยนเต้ใช้ศักราชเจี้ยนอานถึง ๒๕ ปีภายใต้การดูแลของโจโฉ จนกระทั่ง “โจผี” บุตรโจโฉ
ยึดอำนาจเป็นฮ่องเต้แทน ใน ค.ศ.๒๒๐
นัก ประวัติศาสตร์จีนเริ่มนับยุคสามก๊กตั้งแต่ปีนี้ (ค.ศ.๒๒๐)
และถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย รวมฮ่องเต้ฮั่นตะวันออกทั้งหมด ๑๔ พระองค์
eye in the sky
eye in the sky

จำนวนข้อความ : 141
Registration date : 18/02/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ