Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ปาตานีและโลกอิสลาม...???

Go down

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Empty ปาตานีและโลกอิสลาม...???

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Dec 10, 2009 7:37 pm

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Banner-patani-2009

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? P01

sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Empty Re: ปาตานีและโลกอิสลาม...???

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Dec 10, 2009 7:38 pm

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? P02

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? P03
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Empty Re: ปาตานีและโลกอิสลาม...???

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Dec 10, 2009 7:40 pm



ความเป็นมาและวัตถุประสงค์


นับตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงระลอกใหม่ได้ปะทุขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับ
ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา แวดวงวิชาการ สื่อสารมวลชน
และรวมถึงรัฐบาล ทั้งรัฐบาลไทย มาเลเซีย และรัฐบาลอื่นๆ
ทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้มุ่งให้ความสนใจต่อศาสนาอิสลาม (หรือกล่าวอย่างจำเพาะเจาะจงมากขึ้นคือ
อุดมการณ์ทางการเมืองบนฐานของศาสนาอิสลาม) ในบริบทของความขัดแย้งดังกล่าว
งานสัมมนา โครงการวิจัยทางวิชาการ การฝึกอบรมจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้น
ล้วนต่างมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจต่อศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้
ยุทธศาสตร์และมาตรการที่ถูกนำเสนอเพื่อเป้าหมายในการยุติความรุนแรง
จึงล้วนตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าต้องหยิบยกให้ความสำคัญต่อประเด็นเกี่ยวกับ
ศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะรัฐไทย (ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวพุทธ)
ต้องระมัดระวังต่อความแตกต่างทางศาสนาในพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็น
มุสลิม ขณะเดียวกันก็รวมถึงการหยุดยั้งอุดมการณ์อิสลามแบบสุดโต่ง

ขณะที่ไม่อาจปฏิเสธได้ถึงปัญหาการขาดแคลนความรู้ความเข้าใจต่อศาสนาอิสลามใน
กลุ่มเจ้าพนักงานของรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และรวมถึงสังคมไทยโดยทั่วไปด้วยเช่นกัน
กระนั้นการเน้นย้ำอิทธิพลของศาสนามากเกินไป ก็อาจทำให้ละเลยปัจจัยอื่นๆ
ซึ่งอาจมีความบทบาทสำคัญยิ่งกว่าต่อปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปในการถกเถียงอภิปรายในปัจจุบันต่อปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือบทบาทของสำนึกทางประวัติศาสตร์ต่อกลุ่ม
“ผู้ก่อการ” และผู้คนทั่วไปในพื้นที่
โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ชาตินิยมอันสัมพันธ์กับอดีตรัฐสุลต่านมลายูแห่งปาตานี
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการก่อรูปของสำนึกทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว

เฉกเช่นคำอธิบายในงานเขียนชิ้นสำคัญของอิบรอฮิม ชุกรี เรื่อง ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี
(Sejarah Kerajaan Melayu Patani)
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ชาตินิยมมลายูปาตานีสร้างมุมมองต่อประวัติศาสตร์ปาตานี
ในมิติของการต่อสู้อย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อเป็นเอกราชจากรัฐสยาม
บรรยายปาตานีในฐานะรัฐการค้าซึ่งทรงอำนาจ รุ่งเรือง และเป็นอิสระ
รวมถึงเป็นศูนย์กลางสำคัญของความรู้และปวงปราชญ์อิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ กระทั่งต้องตกอยู่ภายใต้แอกของสยามในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่
19 นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ปาตานีได้สืบสานการต่อสู้เพื่อเป็นอิสระจากการปกครองและความอยุติธรรมของ
สยาม ประวัติศาสตร์นิพนธ์ปาตานีภายใต้คำอธิบายดังกล่าว
เป็นภาพสะท้อนของประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบชาตินิยมในอดีตรัฐอาณานิคมอื่นๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หากเพียงแต่เปลี่ยนศัตรูอันเป็นเป้าหมายแห่งการต่อสู้จากเจ้าอาณานิคมตะวัน
ตกเป็นรัฐสยาม ขณะที่เรื่องราวก็ฉาบทาด้วยความขมขื่น
และการโหยหาอดีตอันรุ่งเรืองและคงอิสรภาพ ทั้งนี้
คำอธิบายประวัติศาสตร์ปาตานีแบบดังกล่าว
ตรงกันข้ามอย่างสุดขั้วกับประวัติศาสตร์ฉบับทางการของไทย
ซึ่งอธิบายปาตานีในฐานะเมืองขึ้นหนึ่งของสยามนับตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัย

เมื่อความรุนแรงระลอกใหม่เกิดขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
ได้เกิดการหวนกลับมาให้ความสนใจต่อประวัติศาสตร์ปาตานีในหมู่นักวิชาการ
นักศึกษา และสังคมไทยทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง
สังคมไทยได้เรียนรู้และเสพรับประวัติศาสตร์ปาตานีฉบับชาตินิยม
(ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกทางการสั่งห้ามเผยแพร่) ผ่านงานสัมมนา บทความ
และหนังสือ โดยสำนักพิมพ์และวารสารมีชื่อ อาทิเช่น ศิลปวัฒนธรรม
ซึ่งเร่งผลิตพิมพ์เพื่อตอบสนองความสนใจของสังคมต่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
อิทธิพลของคำอธิบายประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าวนี้ยังได้ปรากฏแม้กระทั่งใน
รายงานฉบับสมบูรณ์ (พ.ศ. 2549)
ที่เผยแพร่และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาความจริงและเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัด
แย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ผ่านการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ประวัติศาสตร์ปาตานีฉบับชาตินิยมในปัจจุบันยังได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางผ่าน
สื่อและเทคโนโลยี เช่นอินเตอร์เน็ต

ตลอดช่วงเวลาร่วม 2 ทศวรรษ
ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมฉบับทางการของไทย
ได้ถูกวงวิชาการหยิบยกมาอภิปรายและวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง
แต่เหล่าองค์ประกอบมูลฐานของคำอธิบายประวัติศาสตร์ชาตินิยมปาตานี อาทิ
ความเป็น “เอกราช” ของปาตานีในอดีต,
ความยิ่งใหญ่ในฐานะรัฐเมืองท่าและการเป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามของภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความเสื่อมภายใต้เงื้อมมือของรัฐไทย ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ยังไม่เคยถูกตั้งคำถามอย่างแท้จริงกระทั่งถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายสำคัญของการสัมมนาทางวิชาการนานาชาติครั้งนี้
คือเพื่อการนำเสนอและอภิปรายอย่างวิพากษ์วิจารณ์ต่องานเขียนทางประวัติ
ศาสตร์เกี่ยวกับมลายูปาตานี
และเพื่อการประเมินขอบข่ายอิทธิพลของประวัติศาสตร์ต่อผู้คนและอุดมการณ์ใน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Empty Re: ปาตานีและโลกอิสลาม...???

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Dec 10, 2009 7:41 pm

ประเด็นสำคัญในการสัมมนา

  • ประวัติศาสตร์ชาตินิยมปาตานีถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาใด และโดยการใช้เอกสารและหลักฐานประวัติศาสตร์ใดการเขียนและสร้างคำอธิบาย
  • อะไรคือเนื้อหา สาระสำคัญ และจิตวิญญาณ ของประวัติศาสตร์ชาตินิยมปาตานี
  • ประวัติศาสตร์ปาตานีฉบับดังกล่าวบรรยายความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างปาตานี และรัฐไทย (อยุธยาและกรุงเทพฯ) ในลักษณะใด
  • ประวัติศาสตร์ปาตานีฉบับดังกล่าวนำเสนอและอธิบายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มลายูอย่างไร
  • ประวัติศาสตร์ปาตานีฉบับดังกล่าวนำเสนอและอธิบายอิทธิพลและบทบาทของศาสนาอิสลามอย่างไร
  • ประวัติ
    ศาสตร์ปาตานีฉบับดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อย่างไรในปัจจุบัน,
    โรงเรียนสอนศาสนา ผู้นำทางศาสนา และครอบครัว
    มีบทบาทเช่นไรในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ดังกล่าว
  • ภาษามลายูปาตานี
    ท้องถิ่นและอักขระยาวี ภาษามลายูมาตรฐาน ภาษาไทย และรวมถึงภาษาอังกฤษ
    มีบทบาทเช่นไรในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าว
  • อิทธิพลและ
    ปัจจัยอื่นๆ ที่มีต่อประวัติศาสตร์ชาตินิยมปาตานี (อาทิ
    ประวัติศาสตร์ชาตินิยมมาเลเซีย ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันออกกลาง
    วาทกรรมชาตินิยมจากโลกตะวันตก เป็นต้น)
  • ประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างไรต่อขบวนการแบ่งแยกดินแดน และผู้ก่อความรุนแรง
  • บทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ อินเตอร์เน็ต ในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าว
  • ทัศนะ
    และมุมมองต่อประวัติศาสตร์ปาตานี ในบรรดานักประวัติศาสตร์ไทย
    นักประวัติศาสตร์มลายูปาตานี นักประวัติศาสตร์มาเลเซีย
    และนักประวัติศาสตร์ตะวันตก
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ปาตานีและโลกอิสลาม...??? Empty Re: ปาตานีและโลกอิสลาม...???

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Dec 10, 2009 7:42 pm

ที่ปรึกษาโครงการ

1. ดร. แพทริค โจรี

ผู้ประสานงานหลักสูตรภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. รศ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์

หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. นางสาวจุลลดา มีจุล
หัวหน้าฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
4. ดร. ปิยวัติ บุญหลง
ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
5. ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

หัวหน้าโครงการ

ผศ. ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม

คณะกรรมการดำเนินการ


หน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


นายอับดุลรอยะ ปาแนมาแล
นางสาวไพลดา ชัยศร
นายจิรวัฒน์ แสงทอง
นายอำนวยวิชญ์ ธิติบดินทร์
นายไรน์ฮาร์ดต์ ชิราอิต
นายธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
นางสาวทัศนีย์ การวินพฤติ

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริญ
ผศ. สุวิมล รุ่งเจริญ
ดร. ภาวรรณ เรืองศิลป์
ดร. ธนาพล ลิ่มอภิชาติ

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

นายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร
นางสาวศิริพร เฟื่องฟูลอย
นายวรกานต์ วงศ์สุวรรณ
นางสาวพัชรลดา จุลเพชร
นายปฐม ตาคะนานันท์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นางปัทมากร คติธรรมนิตย์
นายสินธุ แก้วสินธุ์

ที่มา http://www.patani-conference.net/
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ