Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

3 posters

Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Tue May 05, 2009 9:31 am

ในขณะที่คนทั้งโลก มักจะพูดถึงพิชัยสงครามของซุนวู คนจีน ก็คงต้องปล่อยเขาไป แต่ในฐานะที่เราเป็นคนไทย หากจะมองข้ามบรรพชนไทย ซึ่งทรงมีพระอัจฉริยภาพ หรือ สามัญชน บุคคลที่มีความสามารถหลายๆ ท่าน ก็คงจะเสียคำว่าคนไทยไปมาก

ในประวัติศาสตร์ของเรา มีนักรบ นักสู้มากมาย ที่ผ่านวิกฤติการณ์มาหนักหนาสาหัสกว่าที่เราเผชิญอยู่เสียอีก แต่ท่านยังฝ่าฟันมาได้ ด้วยความอดทน พากเพียร และที่สำคัญอดกลั้น มาจนเรามีแผ่นดินที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ประเทศไทย ในทุกวันนี้

อ่านหนังสือเรื่อง เจาะตำนาน พระนเรศวร โดย ทพ.สม สุจีรา ซึ่งเขียนในหลายแง่มุม ในพระประวัติของ สมเด็จพระเนศวร ฯ โดยเฉพาะการที่ทรงนำหลักธรรมะ มาประยุกต์ ในพระราชกรณียกิจ อันหลากหลาย และโดยมากเป็นการศึก

ตามความเห็นของดิฉัน เวลาเห็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ทุกวันนี้ อดคิดไม่ได้ว่า ทหาร เหมือนกับเป็นผู้ถูกกระทำ วันก่อนมีข่าว พาดหัว นสพ.ผู้จัดการว่า ....ฝืมือทหาร.... แต่เนื้อใน กลับไม่ได้ฟันธงอย่างนั้น เพราะคนที่บอกว่าโดนยิง บอก รู้ว่าคนลงมือ มิใช่มืออาชีพ

คนใส่เสื้อผ้านักข่าว กับ นักข่าว เป็นคนอาชีพเดียวกันไหมล่ะ คุณสนธิ น่าจะตอบได้และเข้าใจ

คนใส่เสื้อผ้าทหาร กับ ทหาร ก็จะต้องเป็นอาชีพเดียวกันหรือ ติดเครื่องแบบ แล้วอยากใส่บ้างได้ไหมล่ะ อย่างนี้เป็นต้น

แล้วพอวันนี้ก็มีข่าวว่า มีการปล้นทอง มาในแบบ ลอกสูตรเลย คือจะต้องมีปืนอาก้า เอ็มเจ็ดสิบเก้า ท่ายิงประทับบ่า ฯลฯ

ดิฉันคิดว่า เรื่องแบบนี้มันพิสูจน์กันได้ว่าใครพูดจริง เพราะคนโดนยิงเขาบอกว่า ตอนที่โดนกระหน่ำร้อยกว่านัด แต่ไม่ตายนั้น เขาว่าเขาไม่หลบเลบ แต่พยายามจ้องให้เห็นว่าใคร

รอดมาได้เพราะเป็นคนดี....

ตอนเรียนชีวิวิทยา มันก็มีข้อให้คิดเหมือนกัน ประการแรก คนมีปัญหาสายตา สั้นหรือยาวก็ตาม บางคนสั้นและยาว(แบบเรานี่แหละ) มองอะไรไม่มีวันชัดเลย ต่อให้ใส่แว่นดีขนาดไหน ไปผ่าทำเลสิกก็ตาม เพราะมันจะมีปัญหาตอนแสงจ้า หรือ แสงกลางคืน เพ่งยังไงก็ไม่เห็น แล้วรู้สึกว่าแว่นกระเด็นด้วยนี่นา จะเห็นได้ไง

อีกเรื่องเป็นสิ่งที่เรียกว่า อำนาจนอกเหนือการควบคุมของสมอง เวลาตื่นเต้นไขสันหลังทำหน้าที่สั่งงาน เช่นพอตกใจ จะแบกตุ่มได้ทั้งใบ เป็นต้น คนตกใจจะคุมสติไม่อยู่ ดังนั้นจะให้นิ่งเป็นแบบนั้น มันก็พอมีทางอยู่บ้าง แต่ท่านต้องไปคิดกันเอง เดี๋ยวจะหาว่า ไม่บ้า ก็เมา หรือ ชี้นำให้บ้าตาม แล้วยังตบท้ายว่า ดูหนังให้มันน้อยๆ หน่อย

พอๆ กับเรื่องที่คนโกหกว่า สามารถกลั้นใจตายได้ เพื่อพิสูจน์ความจริงใจ อันนี้โกหกทั้งเพ เพราะการกลั้นใจไม่อาจทำได้ ร่างกายมันจะควบคุมให้เราต้องหายใจทันทีที่กำลังจะขาดใจ แต่ถ้าโดนกดด้วยอะไรสักอย่างที่จมูก อย่างนั้นจึงตายได้

สมเด็จพระนเรศวร ฯ ท่านเป็นนักการทหารที่เชี่ยวชาญ และ ยังทรงมีปฏิภาณไหวพริบที่เราคิดไม่ถึง ดิฉันว่าทหารรุ่นต่อๆ มา น่าจะยึดเป็นแบบอย่างได้ แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันก็ตาม เรื่องแบบนี้อยู่ที่ใจต่างหาก ว่าเราเด็ดเดี่ยวพอหรือไม่

ที่เขียนไม่ได้หมายถึงการจะให้ใช้ความรุนแรงนะ เรื่องนั้นมันต้องตามโอกาสที่เหมาะสม โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการที่จะรักษาความมั่นคง และ เป็นปึกแผ่นของ ประเทศชาติ และ สถาบันหลักอีกสองสถาบัน คือ ศาสน์ และ กษัตริย์ ไว้
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ราชวงศ์พระร่วง นักสู้แห่งสุโขทัย

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Tue May 05, 2009 1:50 pm

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประสูติ ที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีสายพระโลหิตของราชวงศ์พระร่วง จากพระบรมอัยยิกา สมเด็จพระสุริโยทัย หรือ ทางสายพระมหาธรรมราชา พระบิดา อาจกล่าวได้ว่า ทรงมีเชื้อสายของทางสุโขทัยมากกว่าสายอยุธยา

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์นักรบที่ยิ่งใหญ่ แห่งสุโขทัย และมีส่วนในการกอบกู้อิสระภาพ ของกรุงศรีอยุธยา ทั้งสองครั้ง เพราะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ก็มีผู้สันนิษฐานว่าทรงสืบสายจากราชวงศ์พระร่วงด้วย

ลักษณะทางพันธุกรรมจึงแฝงตัวถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ดีเอ็นเอ ตัวจิ๋ว แต่ซ่อนความมหัศจรรย์ไว้มากมาย บรรยายไม่หมดสิ้น และยังมีการพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงไปในการถ่ายทอดแต่ละครั้งอีกด้วย

แต่ก็มีคนอดตั้งข้อสังเกตุไม่ได้ว่า แล้วกรณีพระมหาธรรมราช ที่ทรงมีสายเลือดนักสู้แห่งสุโขทัยเช่นกัน แต่กลับยอมแพ้ให้แก่ บุเรงนอง โดยไม่คิดจะสู้สุดชีวิต แบบคนสุโขทัยทำ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

มีการวิเคราะห์ว่า ในตอนนั้น พิษณุโลก ต้องสู้ศึกบุเรงนอง โดยลำพัง ทางกรุงศรีฯ มิได้ส่งกำลังไปหนุน อีกทั้งพระองค์ยังทราบรูปแบบการทำศึกของ บุเรงนองว่า บุเรงนอง มีวิธีคิด เช่นเดียวกับ ที่ซุนวูคิด แม้ว่า ทั้งสองคนจะไม่รู้จักกันมาก่อน บุเรงนองคิดว่าการชนะโดยไม่ต้องรบ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ดังนั้นหากใครยอมสิโรราบให้ ก็จะไม่ทำลาย และเข่นฆ่าผู้คน ของเมืองนั้นๆ แต่ถ้าใครที่คิดต่อสู้ ก็จะต้องถูกทำลายบ้านเมืองอย่างย่อยยับ พสกนิกรเดือดร้อน เชื้อพระวงศ์ และ ข้าราชบริพารในวังก็จะต้องได้รับภัยกันทั่วหน้า

ตรองดังนี้แล้ว พระมหาธรรมราชา จึงยอมสงบศึกกับพม่า อาจทรงคิดว่า ที่ตัดสินพระทัยแบบนั้น คือ การถอยเพื่อรอจังหวะรุกต่างหาก หากขุนเขายังอยู่ ไม่ต้องกลัวไร้ฟืนเผา

ดังนั้น บุเรงนอง จึงปฏิบัติต่อ พระองค์ พระราชบุตรทั้งสองพระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ดุจพระญาติ

บุเรงนองเองก็เป็นนักพิชัยสงคราม ที่เจนจัดผู้หนึ่ง ไม่เพียงจะรบเก่งเท่านั้น แต่ชั้นเชิงวาทะยังทำให้คนฟังเคลิ้มไปได้ด้วย ดังเช่นกรณีที่ ทรงขอพระราชทาน พระราเมศวร พระโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ไปประทับที่พม่า (พูดง่าย ว่าเป็นองค์ประกันนั่นเอง) ยังใช้เหตุผลหว่านล้อมว่า เรื่องนี้เป็นผลดีต่อกรุงศรีฯ เพราะว่า ยังมีพระโอรสอีกพระองค์ นั่นคือ พระมหินทราธิราช การที่แยกสองพระโอรส นั้นจะช่วยป้องกันความขัดแย้ง ที่มักเกิดขึ้น เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน

ส่วนเหตุผลที่แท้จริงก็คือ เนื่องจากพระราเมศวร ทรงมีพระปรีชาในการทำศึก การที่ทูลเชิญให้เสด็จประทับที่พม่า ก็เท่ากับตัดกำลัง ขุนพลของกรุงศรีฯ ได้นั่นเอง

คห.ค่ะ...จากตรงนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในเชิงของการต่อสู้ นั้น มิใช่จะรู้จักแต่เอาชนะโดยลงทุนน้อยที่สุดเท่านั้นที่เป็นเรื่องสำคัญ หากแต่การรู้จักแพ้ให้เป็น ก็แพ้โดยให้เสียหายน้อยที่สุด เพื่อสะสมพลังไว้รอวันที่จะเป็นผู้ชนะ อาจเป็นสิ่งสำคัญกว่า

เวลาที่รอในการแก้แค้นสำหรับลูกผู้ชาย ไม่จำเป็นต้อง กำหนดแค่สิบปี แต่กรณีนี้ สิบห้า ก็ยังไม่สายที่จะทวงคืนอิสระภาพ
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty อะไรอยู่ในใจของผู้ชนะสิบทิศ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Tue May 05, 2009 6:59 pm

การที่สมเด็จพระนเรศวรต้องเสด็จเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี หลังจากที่พม่าบุกกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น สิบห้าปีที่ต้องทนกล้ำกลืนความอัปยศ มิใช่ชนชั้นสามัญ หากทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ ที่อยู่ในลำดับที่จะได้สืบทอดราชบัลลังก์

แต่พระองค์มิได้ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการฝึกฝนพระองค์ทางด้านพระหทัย และ พระวรกาย การที่ได้ร่วมเสด็จเดินทัพกับบุเรงนอง ทรงรับการถ่ายทอดศิลปวิทยาการ ที่บุเรงนองจัดพระอาจารย์มาถวาย และแม้แต่จากบุเรงนองเอง ในระหว่างที่เสด็จร่วมสู้ศึกกับพม่า ในระยะเวลาสิบห้าปี

มีคนว่า การที่บุเรงนอง ทำเช่นนั้น อาจเป็นเหมือนดาบสองคม ทางหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้ ราชโอรสในฝ่ายแพ้ศึก ได้เรียนรู้ ซึ่งอาจเป็นผลเสียในวันข้างหน้ากับหงสาวดีเอง แต่อีกมุมมองก็อาจเป็นได้ว่า บุเรงนองต้องการแสดงแสนยานุภาพของทัพพม่า เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนามต่อสมเด็จพระนเรศวรในตอนนั้น มิทรงคิดที่จะกู้อิสระภาพในวันข้างหน้า

ในภาพยนตร์ ที่สร้างขึ้นได้มีมุมมองที่สาม ที่พระมหาเถรคันฉ่อง อธิบายว่า ทั้งสองพระองค์มีความผูกพันกันมาในปางก่อน

คห..ดิฉัน....แต่ก็อาจมีมุมมองที่สี่ว่า บุเรงนองคิดว่า การแสดงออกอย่างจริงใจนั้น จะผูกใจสมเด็จพระนเรศวรฯ ให้มีภาระผูกพันกับพม่า และทรงอ่านได้ขาดในพระอัจฉริยะภาพ ของสมเด็จพระนเรศวร ฯ ที่จะทรงเป็นนักรบผู้สามารถ ดังนั้น ไม่ว่าวันหน้าจะเป็นเช่นไร สายสัมพันธ์นี้ จะทำให้ การศึกระหว่างสองประเทศ ในวันที่หงสาวดีสิ้นบุเรงนองแล้ว พม่าไม่พบศึกที่หนักเกินไป
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Tue May 05, 2009 8:28 pm

หลักธรรมคำสอนใน พระพุทธศาสนา ท่านสอนให้เราเป็นคนฉลาด รู้จักประกอบกุศลกรรม ดังนั้น การเป็นคนที่สักแต่ว่าดีอย่างเดียว หากแต่โง่บรม ก็คงจะไม่ถูกหลักพุทธะ เพราะการที่เราโง่ อาจตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น หลอกใช้ และเราต้องรับทุกข์ในที่สุด เป็นการเบียดเบียนตนเอง

สมเด็จพระนเรศวร เสด็จสู่กรุงหงสาวดี ตั้งแต่พระชันษา ๙ ปี เมื่อทรงมีพระชนมายุ ๑๕ ปี ก็เสด็จหนีจากหงสาวดี มากรุงศรีอยุธยาสำเร็จ พระมหาธรรมราชา ทรงวิตกว่า พระเจ้าบุเรงนองจะทรงพิโรธ จึงพยายามรับสั่งโน้มน้าวให้ พระโอรส เสด็จกลับไปพม่า โดยยกเหตุผลว่า ในตอนนั้นกรุงศรีฯ อยู่ในช่วงขาดแคลน เมืองยังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ผุ้คนยากจน ทหารในมือก็มีน้อยนิด เรายังไม่พื้นตัวจากการแพ้สงคราม แม้ว่าเวลาจะผ่านไปหกปีแล้วก็ตาม

แต่พระนเรศวร ซึ่งทรงรู้สึกขัดแย้ง ตั้งแต่ตอนที่พระบิดา ในสมัยที่เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมแพ้แก่บุเรงนอง และยังคิดอ่อนข้อให้แก่พม่าอยู่อีก มีพระดำรัสตอบว่า พระองค์มีอำนาจและประชาชนเพียงพอ ไม่เพียงจะต่อต้านกองทัพหงสาวดีเท่านั้น แต่ยังสามารถยกทัพไปตีชิงเมืองหงสาวดีได้เลยทีเดียว

สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงฝึกฝน การปฏิบัติฝึกฝนทางจิต ขณิกสมาธิ จากพระมหาเถรคันฉ่อง เป็นการฝึกสมาธิชั่วขณะตามจุดต่างๆ ทำให้ทรงมีจิตนิ่ง และ ไวกว่าคนปกติ ที่มิได้ผ่านการฝึกฝน ในขณะสู้รบ กลางวงล้อมศัตรู ก็ทรงต่อสู้และรอดพ้นมาได้ทุกครั้ง

ผู้ที่ฝึกขณิกสมาธิ จนถึงระดับบรรลุญาณ จะสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้แบบระบบเคลื่อนที่ช้า (slow motion ) ดังนั้น การที่สมเด็จพระนเรศวรทรงหลบลูกธนูได้ พ้นจากคมของ้าว มีดดาบที่ข้าศึกฟันเข้าใส่ เป็นเพราะความไวของสติ สมาธิจิต ของพระองค์เอง

สมเด็จพระนเรศวร ทรงฝึกฝนพระองค์ ในการศิลปการต่อสู้หลายประเภททั้งที่ใช้อาวุธ และ มือเปล่า รวมทั้งยังได้ฝึกกองทัพ ขึ้นเป็นหน่วยรบพิเศษ กองละ ๑๕๐ นาย(ประมาณ) ทำหน้าที่เป็นหน่วยรบจู่โจม ทหารในกองต่างได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี หน่วยรบพิเศษนี้ เป็นเครื่องมือบุกแบบสายฟ้าแลบทำให้ศัตรูตั้งตัวไม่ทัน และ ในเชิงจิตวิทยา ทำลายขวัญฝ่ายตรงข้ามด้วย ดังเช่น ที่ทรงใชคาบพระแสงดาบคาบค่ายพระเจ้านันทบุเรงกลางดึก ทำลายปัสสัทธิ (ความสงบใจ) สร้างความกระวนกระวายใจให้พม่า ไม่เป็นอันหลับนอน ทุกๆ คืน จนอุเบกขาของพระเจ้านันทบุเรงต้องหมดลง ถอนทัพกลับพม่า
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ขออนุญาตแก้ไขข้อความ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 7:42 am

จากย่อหน้าที่ ๒ ในความเห็นที่ ๒ เดิมเขียนว่า

แต่พระองค์มิได้ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการฝึกฝนพระองค์ทางด้านพระหทัย และ พระวรกาย การที่ได้ร่วมเสด็จเดินทัพกับบุเรงนอง ทรงรับการถ่ายทอดศิลปวิทยาการ ที่บุเรงนองจัดพระอาจารย์มาถวาย และแม้แต่จากบุเรงนองเอง ในระหว่างที่เสด็จร่วมสู้ศึกกับพม่า ในระยะเวลาสิบห้าปี


วลีท้ายของย่อหน้า ซึ่งใช้ตัวอักษรสีแดงเข้ม ตรงนี้ ต้องแก้ไขเป็น

ในระยะเวลา ห้า หกปี ที่อยู่ในหงสาวดี (พระองค์เสด็จไปตอนมีพระชันษา ๙ ปี และ เสด็จกลับอยุธยา ในเวลาที่มีพระชนม์ ๑๕ ปี )

ขออภัยค่ะ
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ธรรมะ สำหรับ การกู้ชาติ เขาทำกันแบบนี้ ....

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 8:11 am

คนสมัยนี้ ลืมความจริงกันหลายประการ หากไม่เขียนเตือนความจำ คนอาจเลือน
๑. การรักษาประเทศชาติ เพื่อรวมกันเป็นหนึ่ง นั่นคือ การรักษาอธิปไตยของชาติ เป็นหน้าที่ ของคนในชาติทุกๆ คน ทั้งตามจิตสำนึกของคนที่เป็นคนเต็มคน หรือแม้แต่กฎหมายก็ระบุชัด ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไปเปิดดู หากรัฐธรรมนูญฉบับใดไม่ระบุ แปลว่า คนเขียนคนจะเพี้ยน หรือ อาจต้องถามว่า ท่านทำเช่นนี้ ประสงค์สิ่งใดฤา

๒. ชาติ มีความสำคัญ ความหมาย และ ยิ่งใหญ่ เกินกว่าชีวิตของแต่ละคน เพราะเป็นสิ่งที่จะสืบทอดต่อไปชั่วลูกหลาน ก่อนจะตกทอดมาถึงรุ่นที่เราอยู่ คนรุ่นก่อนเขารักษาปกป้องกันมาอย่างแสนสาหัส และไม่เคยทวงบุญคุณ ในขณะที่คนรุ่นปัจจุบัน แค่ไปตากแดดตากฝนตากลม ขยันหาเรื่องมาตะโกน แผดเสียง คิดมุขมันๆ ฮาๆ เจ็บๆ หรือ เจอกระสุน (จริง ปลอม ฯลฯ อันนี้ไม่ได้จะว่าใคร หรือพูดเพราะไม่โดน ต่อให้โดนก็คิดว่า มันเป็นหน้าที่ โดนก็ต้องโดน หากเราทำสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง โดนแล้วก็ไม่ต้องมาร้องหาผลงาน) ก็ทวงบุญคุณกันยกใหญ่ กลายเป็นปูชนียบุคคลของชาติไปเลย ไม่มีบ้าน ไม่มีเงิน แต่ชาติยังอยู่เราก็ยังมีความหมาย แต่หากสิ้นชาติ ต่อให้รวยล้นฟ้า ก็มีค่าเพียงสัมภเวสี ซึ่งยังมีสังขารอยู่ เร่ร่อน ไปโดยหาความหมายในชีวิตไม่ได้ ลองคิดดูว่ามันอดสูเพียงใด

๓. คนเรานั้นต่อให้เก่งและดีแค่ไหน ก็ไม่อาจยกตัวเองได้ ดังนั้น การบอกว่าเราเป็นคนดี คนเก่งนั้น จะต้องให้คนอื่นบอก ไม่ใช่คอยบอกให้คนอื่นเขาคิดตาม หรือ เตือนให้คนอื่นเขาคิดได้ กลัวคนจะลืมไปว่าอย่างที่เราเป็น เรียกว่า คนดี

๔. แถมท้าย ลักษณะ หน้าตา ท่าที ของคนเรานั้น แปรเปลี่ยนไปตาม สิ่งที่คิดอยู่ในใจ เช่น หากในใจคิดแต่สิ่งไม่ดี มันจะสะท้อนออกมาที่หน้าตา สมัยที่เรายังรู้จักคิดดี ทำดีอยู่ หน้าตาอาจดูสดใส หรือ ไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ครั้นเมื่อเราตั้งใจว่า ชั่วชีวีตนี้ หากทำดีไม่ได้ ก็ขอร้ายให้ถึงที่สุด (ส่วนจะร้ายแบบเปิดเผยหรือซ่อนเร้น แกล้งดี แล้วแต่จริต) แบบที่หลายคนคิดและทำอยู่ ท่านก็อย่าได้แปลกใจหากหน้าตาของเขามันเปลี่ยนจากที่เราเคยเห็น
หากท่านนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึง หนังจีน ที่เวลาตัวร้าย ซึ่งถูกไล่ต้อนให้จนมุม ฝึกคัมภีร์มาร เมื่อฝึกสำเร็จ หน้าตาจะเปลี่ยนทันที คิ้วจะเฉียงขึ้น ริมฝีปากจะดำเข้ม หรือสีแดงเข้มอมดำ ตามีประกายสีแดงสาดออกมา ส่วนเล็บก็จะเป็นเล็บแหลม เหมือนกับใส่นิ้วในการฟ้อนเล็บ ผมเปลี่ยนสี อาจเปลี่ยนเป็นสีขาวฟูชี้รอบศรีษะ หรือสมัยนี้อาจมีการไฮไลท์สีผม มักเป็นสีแดงเข้ม (ไม่เกี่ยวกับเสื้อแดงครับ) ..... เป็นต้น

สมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นจอมทัพพระองค์แรกที่นำกลยุทธการศึกแบบใหม่มาใช้ ในการทำศึกทุกครั้ง เน้นที่แผนการรบอย่างแยบยล ใช้ไพร่พลน้อย เพื่อเอาชนะศึก หากการรบใดที่ทรงประเมินว่า จะทำให้เสียกำลังพลมาก ทหารต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก จะทรงเลิกศึกนั้น วิธีการเอาชนะ โดยพาคนไปตายนั้น มิทรงกระทำเด็ดขาด

กองทัพของสมเด็จพระนเรศวร เป็นที่กล่าวขวัญและครั่นคร้ามของพม่า ว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการนำหลักธรรมะมาผสานด้วย ไม่ใช่ฤทธิ์หรือเวทมนตร์ อิทธิบาท ๔ หรือ ฤทธิบาท ๔ ซึ่งครอบคลุม ธรรมะหมวด อินทรีย์ หรือ พละ ๕ อันประกอบด้วย ...

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา

ยิ่งไปกว่านั้น วิริยะ ยังเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะในหมวดโพชฌงค์ และ มรรคมีองค์ ๘ วิริยะจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังคำตรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า วิริเยน ทุกขมจุเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ธรรมะสูงสุดที่เรียกว่า โพชฌงค์ เป็นหลักธรรมในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสามารถมาประยุกต์ในหมู่ฆราวาสได้ โดยเฉพาะยามสงคราม สติ เป็นสิ่งสำคัญมาก ช่วงเวลาแห่งความหวาดกลัว ความวุ่นวาย ยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ หากขาดสติ ความพ่ายแพ้อยู่แค่เอื้อม

ธัมมวิจยะ การวิจัยข้อเท็จจริงต่างๆ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น สถานที่จัดทัพของข้าศึก จำนวน อาวุธที่ใช้ แผนการศึก และจะขาดวิริยะไม่ได้ ขาดเมื่อใดก็แพ้ทันที

โพชฌงค์ ข้อที่ ๔ ปิติ การรู้สึกอิ่มเอมใจในการปกป้องรักษาชาติบ้านเมือง รักการต่อสู้ เมื่อเกิดปิติ แล้วจะเกิด ปัสสัทธิ มีความสงบ ลดความกระวนกระวานใจ เป็นผลให้เกิดสมาธิตามมา หลังจากรู้ข้อเท็จจริงของข้าศึก ปราศจากความกังวล จากนั้น อุเบกขาเกิดตามมา เพราะการศึกไม่ได้เห็นผลในเวลาอันสั้น (ยกเว้นยุคโลกาภิวัฒน์ พวกที่ฮั้วกัน อันนั้นกำหนดผล เวลา สถานที่ได้เก่อนทำศึกเสียอีก ) ปัสสัทธิ ช่วยเสริมกำลังของสมาธิ สมาธิเสริมอุเบกขา ครบวงจรโพชฌงค์ อุเบกขาไปที่สติอีกรอบ วนเวียนดังนี้ ดังนั้น ยิ่งการรบยืดเยื้อเท่าไร ก็ยังทำให้ยืนหยัดอยู่ได้
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 8:51 am

สมเด็จพระนเรศวร ทรงเข้าพระทัยในวงจรแห่งโพชฌงค์ ทรงตัดกำลังสติของทหารพม่าได้ทุกครั้งด้วยการหลอกล่อให้กองทัพพม่าบุกเข้ามาโจมตีอย่างขาดสติ เพราะการยั่วยุจากกองทัพจู่โจม หรือ หน่วยรบพิเศษของพระองค์ (หน่วยรบนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยแท้ ในยามสงครามก็เป็นหน่วยล่อ ให้ศัตรูเพลี่ยงพล้ำ แล้วเอาชนะที่จังหวะสอง ในยามสงบทำหน้าที่ปราบโจรมาบ้านเมือง มิใช่หน่วยรบที่มีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ไป เพราะการเมือง)

เช่น ครั้งที่ รับสั่งให้พระราชมนู แกล้งแพ้แก่ทัพเมืองเชียงใหม่ ถอยร่นลงมา ทัพเชียงใหม่ก็ลำพองใจ ตีตามอย่างขาดกระบวนท่า และเสียทีแก่ทัพของพระองค์ ที่ซุ่มโจมตีในระหว่างทาง

นอกจากจะทรงใช้เรื่องโทสะ และ โมหะ ของฝ่ายศัตรูเป็นอาวุธทำลายตนเองของข้าศึกแล้ว ยังทรงใช้เรื่องโลภะ เช่น การบุกเขมร เมื่อบุกเข้าไปถึงบริเวณที่เป็นป่าไผ่ ทรงหยุดทัพ เนื่องจากชัยภูมิบริเวณนั้น หากทหารไทยบุกเข้าไป ย่อมเสียเปรียบ เหมือนกับ โดนมัดมือเท้าด้วยหนามไผ่ ทหารเขมรสามารถลอบยิงธนู ฟันได้ตามอำเภอใจ

หลังจากนั้นก็รับสั่งให้ ทหารไทยยิงกระสุนเงินเข้าไปในบริเวณป่าไผ่ ก่อนถอยทัพ เหล่าทหารเขมรก็พากันกรูออกมาเก็บกระสุนเงินเหล่านั้น ในที่สุดกองทัพไทยก็บุกเข้าไปเผด็จศึกได้อย่างง่ายดาย

ทรงหยั่งรู้ว่า ทหารพม่า มักมีโทสะ เป็นเจ้าเรือน ต้องใช้โทสะเป็นตัวยั่วยุ ให้ติดกับเอง
ทัพเชียงใหม่ เมืองเหนือ มีโมหะเป็นเจ้าเรือน ใช้โมหะเป็นเครื่องมือ
ส่วนเขมร มีโลภะเป็นเจ้าเรือน ก็ต้องใช้ทรัพย์ เครื่องกระตุ้นโลภะ เป็นตัวล่อ

หากพระองค์ยิงกระสุนใส่ทหารพม่า อาจไม่ได้ผล เสียกระสุนเปล่าๆ หรือ ส่งกองโจรไปยั่วโทสะ ทหารเขมรก็คงไร้ผล เป็นต้น

ฆราวาสธรรม ๔ อันประกอบด้วย สัจจะ (พูดจริง ทำจริง แน่วแน่) ทมะ (การฝึกใจ ข่มใจ) ขันติ (ความอดทน) และ จาคะ (ความเสียสละ) เป็นธรรมะสำคัญที่พระองค์ ทรงยึดถือปฏิบัติ ทรงสละความสุขสบายส่วนพระองค์ และผลประโยชน์ส่วนพระองค์ทั้งหมด ในตลอดเวลาสิบห้าปีที่ครองสิริราชสมบัติ ทรงอยู่กับกองทัพมากกว่าประทับในพระราชวัง (ซึ่งอยู่ไม่เกิน ๒ ปี) ยามออกศึก ทรงนำหน้าทหารในการสู้รบ โปรดที่จะรบบนม้าศึกเพราะรบได้คล่องแคล่ว ตะลุมบอนได้สะดวกกว่า มากกว่า ช้างทรง ซึ่งจะใช้ในการศึกที่เป็นทัพหลวงเท่านั้น

ตัวอย่างเห็นได้ชัดจากการ บุกแบบพระแสงดาบคาบค่าย ในเดือนสิบสอง ปี พุทธศักราช ๒๑๒๙ พระเจ้านันทบุเรง ได้กรีธาทัพใหญ่ จำนวนทหาร สองแสนห้าหมืน บุกทางด่านแม่สอด มาเป็นสามทัพ คือทัพพระเจ้านันทบุเรง ทัพพระมหาอุปราชา และ ทัพพระเจ้าตองอู มารวมทัพกันที่ปากน้ำโพ พระเจ้านันทบุเรง มีพระบัญชาให้ พระมหาอุปราชา แยกไปทางลพบุรี สระบุรี ส่วนทัพหลวง มาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทัพพระเจ้าตองอูไปทางตะวันออก

ขณะนั้นข้าวกำลังออกรวง เก็บเกี่ยวไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงมีพระบัญชาให้ พระยากำแพงเพชร สมุหกลาโหม นำทัพออกไป เมื่อประทะกับทัพม้าของ พระมหาอุปราชา ฝ่ายเราสู้ไม่ได้ แตกพ่ายกลับกรุงศรีฯ ทำลายขวัญและกำลังใจของคนอยุธยา เป็นการซ้ำเติมข่าวที่กองทัพหงสาวดี ยกทัพใหญ่มา ภาพตอนเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังอยู่ในความทรงจำ สร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนเสมอมา แล้วนี่เรายังพ่ายศึกอีก หรือ ประวัติศาสตร์จะย้อนรอยในเวลาอันรวดเร็ว

สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงกริ้วอย่างมาก เสด็จลงเรือพระที่นั่งพร้อมด้วย สมเด็จพระเอกาทศรถ ในทันที นำกำลังทหารออกไปโจมีตีทัพพระมหาอุปราชา เมื่อไปถึง ทหารพม่า ระดมยิงเรือพระที่นั่ง สมเด็จพระเอกาทศรถฯ ต้องปืนข้าศึกจนฉลองพระองค์ขาด สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงออกมายืนประจันหน้าข้าศึก ทรงปืนนกสับยิงข้าศึก และช้างม้าพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก จนตลอดวัน ทัพพม่าล่าถอยไป

กองทัพพระเจ้านันทบุเรง ล้อม กรุงศรีฯ ราวสองเดือน ก็ยังไม่อาจตีกรุงศรีฯ ให้แตกได้ แล้วยังประสบปัญหา การโจมตีแบบกองโจร ทำลายประสาท สมาธิ แก่กองทหาร สกัดเสบียง ทหารพม่าเริ่มอดอยาก

สมเด็จพระนเรศวรฯ มิได้ทรงตั้งรับอยู่ในกรุงศรีฯ เท่านั้น แต่ทรงนำทหาร ออกไปปล้นค่ายศัตรู ค่ายทัพหน้าพระมหาอุปราชา แบบสายฟ้าแลบ ในกลางดึกคืนหนึ่ง ทหารไทยบุกจนพม่าตั้งตัวไม่ทัน หนีกลับไปตั้งค่ายด้านหนัง สั่งปิดประตูค่าย ให้ทหารออกมายืนป้องกันกำแพงโดยรอบ ทหารไทยใช้บันไดยาวพาดกำแพงค่ายปีนขึ้นไป สมเด็จพระนเรศวร ฯ เสด็จลงจากม้าทรง คาบพระแสงดาบปืนขึ้นค่ายด้วย แม้จะต้องทวนข้าศึกจนตกลงมา ก็มิทรงย่อท้อ ในวันแรก ถอยกลับเข้าค่าย แล้ววันต่อมาก็ดำเนินกลยุทธเช่นนี้ต่อไป

เมื่อพระเจ้านันทบุเรงทรงทราบความนี้ ยังตกพระทัยมาก ตรัสว่า ทำไมพระนเรศวรจึงปฎิบัติพระองค์ราวกับเป็นพลทหาร แล้วนี่พระราชบิดาทรงทราบหรือไม่ ทำไมไม่ห้ามปราม

ความกล้าหาญของพระนเรศวร ฯ ในครั้งนั้น สร้างความนับถือ แก่พระเจ้านันทบุเรงเป็นอย่างยิ่ง ตรัสกับแม่ทัพนายกองว่า ถ้าเป็นไปได้ให้ล้อมจับเป็นสมเด็จพระนเรศวร แล้วนำมาถวายพระองค์ จนรับสั่งให้ ลักไวทำมู นายทหารเยี่ยมยุทธ์ของพม่า พร้อมคัดเลือกทหารมีฝีมือ วางกับดักล้อมจับพระองค์ ฯ ลักไวทำมูก็มีฝีมือ มิใช่น้อย สามารถ ล่อหลอกกองทัพพระนเรศวร ซึ่งรุกไล่เข้าไปติดกับในที่ล้อมได้
จนทหารราบของเราตามไม่ทัน แต่เมื่อตกในที่วางกับดักไว้ ท่ามกลางทหารพม่าที่มีฝีมือ สมเด็จพระนเรศวร มิทรงย่อท้อ หรือ หวั่นเกรง ยังคงมีพระสติ กล้าหาญ ต่อสู้กับพม่าอย่างเต็มพระกำลัง และด้วยการฝึกขณิกสมาธิในระดับสูง จึงทำให้ทรงหลบอาวุธต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และใช้พระแสง ฟันลักไวทำมู จนบาดเจ็บและเสียชีวิตกลางสมรภูมินั้นเอง

ข่าวการบุกปล้นค่าย ด้วยพระองค์เอง ของสมเด็จพระนเรศวรนั้น เป็นที่กล่าวขานไปทั่วทัพพม่า แล้วสำทับด้วย ข่าวการเอาชนะวงล้อมของทหารยอดฝีมือ พม่า ลักไวทำมู เลื่องลือทั่วกองทัพพม่า ทำลายขวัญศัตรู และยังสร้างความฮึกเหิมให้ทหารไทย มีความภาคภูมิใจ ที่ได้มีโอกาสร่วมรบเคียงข้างกับพระองค์ด้วย
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 2:35 pm

สมเด็จพระนเรศวร ทรงนำทัพด้วยพระองค์เอง และมิได้ด้วยกำลังอย่างเดียว หากแต่ทรงมีพระอัจฉริยภาพ ความเฉลียวฉลาด กอปรด้วยพระปฏิภาณ ไหวพริบ และ หลักจิตวิทยาในการนำทัพ แม้แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน

ในสมัยที่ หงสาวดี เปลี่ยนรัชกาลใหม่ เป็นรัชสมัยพระเจ้านันทบุเรง พระราชบิดาของพระมหาอุปราชานั้น เป็นธรรมเนียม ที่บรรดาประเทศราชของพม่า จะต้องเสด็จเข้าเฝ้า เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งก็ไปกันโดยพร้อมเพรียง มีแต่เจ้าฟ้าไทยใหญ่ แห่งเมืองคัง ที่มิได้เสด็จไปเข้าเฝ้าฯ

พระเจ้านันทบุเรง ทรงพิจารณาว่า เป็นโอกาสที่จะให้พระราชโอรส ได้แสดงฝีมือ จึงมีพระบัญชาให้ พระมหาอุปราชา พระสังกทัต (ราชบุตรเมืองตองอู) และ พระเนรศวร ซึ่งมีพระชนม์ใกล้เคียงกัน และเป็นพระสหายกันมาแต่ยังเยาว์ แยกกันคุมทัพเป็น สามทัพ เข้าตีเมืองคังให้ได้ เนื่องจากทางขึ้นไปตีเมืองคังเป็นทางแคบ จึงต้องผลัดกันเข้าตีเมืองคังทีละกองทัพ โดยทัพของพระมหาอุปราชา เป็นทัพแรก หากยังตีไม่ได้ ก็ให้ทัพพระสังกทัต ตีเป็นลำดับต่อไป ส่วนทัพของพระเนศวร ตีเมืองคังเป็นลำดับสุดท้าย

ในที่สุดสองทัพแรกก็ตีเมืองคังไม่ได้ จึงถึงคราวที่กองทัพไทย ต้องแสดงฝีมือ การศึกษาชัยภูมิ ศึกษาข้อมูล จากสองทัพแรก นำมาประมวลผล แบบที่ สมัยใหม่ใช้กันนั้น กองทัพไทยเราเคยทำมาแล้ว และทำได้ดีกว่า ศัตรูมากนัก

กองทัพของพระมหาอุปราชา โดนโจมตีด้วยธนู ปืน น้ำเดือด ก้อนหิน กลิ้งลูกไฟ เพราะว่า เมืองคังอยู่บนเขา เมื่อทหารขึ้นไปตีตามวิธีปกติ ก็ย่อมเป็นฝ่ายถูกกระทำ

พระสังกทัตก็คงโดนทำนองเดียวกัน แม้ว่าจะเปลี่ยนยามที่โจมตี เป็นตอนกลางคืนแทน

สมเด็จพระนเรศวร ทรงเฉลียวพระทัยว่า เมืองคังอยู่บนยอดเขา ย่อมมีปัญหาเรื่องน้ำ จะต้องมีเส้นทางลำเลียง นำน้ำขึ้นไปใช้ เป็นเส้นทางลับสักแห่ง ที่คนภายนอกไม่ทราบ สังเกตไม่พบ ระหว่างที่สองทัพลงมือโจมตี พระองค์ก็ทรงสำรวจชัยภูมิโดยรอบ พบว่า ด้านหลังเขามีเส้นทางขึ้นไปเมืองคังได้ ซึ่งทำเป็นบันไดอย่างดี เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำกิน น้ำใช้ สำหรับทหาร และ ชาวบ้าน

ดังนั้นเมื่อถึงคราวทหารไทยออกรบ พระองค์ ทรงวางแผนการรบโดยกำหนดเส้นทางบุกเป็นด้านหลัง ส่วนด้านหน้าแต่งเป็นกองทัพล่อหลอก ให้ดูอึกทึก เป็นเป้าล่อ ทรงเลือกเวลา ๔.๐๐ น. เป็นเวลาเผด็จศึก เพราะมืดสนิท ชาวเมืองคังมองลงมาด้านหน้า ย่อมประเมินกำลังทัพของพระองค์ไม่ถนัด (โดยเฉพาะทัพไทย มีจำนวนพลน้อยกว่าสองทัพแรกไม่รู้กี่เท่า) คนเมืองคังมัวแต่ห่วงหน้า ลืมพะวงหลัง สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงนำทหารอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกองทหารฝีมือดีบุกด้านหลัง และไม่นานก็ขึ้นถึงเมืองคัง กว่าทหารเมืองคังจะรู้ว่าโดนตลบหลัง เมืองก็แตกเสียแล้ว และนำตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่ มาถวายต่อ พระเจ้านันทบุเรงได้ในที่สุด

ในแผ่นดินพระเจ้านันทบุเรงนั้น ความยิ่งใหญ่ลดน้อยลงจากสมัยพระเจ้าบุเรงนองมาก ทุกเมืองพากันคิดตั้งตัวเป็นอิสระ พระเจ้าอังวะตัดสินพระทัย แข็งเมืองเป็นเมืองแรก พระเจ้านันทบุเรงทรงจัดทัพหลวง นำทัพเองไปปราบศึกอังวะ แล้วก็ระดมกำลังบรรดาเมืองประเทศราชต่างๆ ให้ยกทัพมาช่วย ในสมัยที่พระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยานั้น เดิมทีพระเจ้านันทบุเรงจะมีรับสั่งให้ทหารติดตามตัวจับพระนเรศวรกลับคืนหงสาวดีให้ได้ แต่พระเจ้าบุเรงนองกลับทรงห้ามปรามว่า

(กลอนนี้ขออนุญาตเขียนจากใจความที่เป็นร้อยแก้วค่ะ)

" เจ้านเรศกุมาร ชัยชาญนัก
อย่าคิดหัก หาญน้ำใจ ตามไล่ล่า
เคยเฝ้าพ่อ ยังปราสาท ด้วยบัญชา
เดชศักดา พาปราสาท สะท้านไหว

พ่อทำนาย ทายทักว่า นเรศนี้
เรืองฤทธี กว่าผุ้ใด ทัดเทียมได้
เหนือโอรส แห่ง หงสาฯ อันเกรียงไกร
เจ้าอย่าได้ ผลีผลาม ตามไปเลย
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 6:09 pm

เมื่ออังวะ คิดแข็งเมือง พระเจ้านันทบุเรงก็ ระดมทัพ โดยมีพระบัญชาให้ เจ้าเมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ล้านช้าง และ กรุงศรีอยุธยา นำทัพมาสมทบโดยด่วน

ในวันกำหนดนัดหมาย ทุกเมืองต่างมากันครบ แต่รอกองทัพของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้านันทบุเรงทรงรอไม่ไหว เสด็จยกทัพไปก่อน แต่สั่งการกับพระราชโอรสว่า หากพระนเรศวรเสด็จมาถึงให้ หาทางลอบปลงพระชนม์ให้ได้

สมเด็จพระนเรศวร ทรงเคลื่อนทัพจากกรุงศรีฯ มาอย่างช้าๆ ใช้เวลาสองเดือนครึ่ง ถึงเมืองแครง บริเวณชายแดนไทยพม่า พระมหาอุปราชาทรงร้อนพระทัย จึงสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม ซึ่งเป็นคนมอญ พร้อมทหาร มารับเสด็จ โดยมีคำสั่งมาด้วยว่า หากมีโอกาสให้ปลงพระชนม์

สองพระยามอญ นั้นเมื่อมาถึงเมืองแครง ก็ได้เข้านมัสการ พระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งมีเชื้อสายมอญเช่นกัน รวมทั้งยังเป็นที่นับถือ ศรัทธาของชาวมอญ เป็นอย่างมาก พระยาทั้งสอง เมื่อได้รับพระบัญชามาเช่นนั้น ก็รู้สึกคับข้องใจมาก เพราะต่างก็เคยเป็นพระสหาย ของพระนเรศวรมาเช่นกัน จึงอดไม่ได้ที่จะเอ่ยปากปรึกษาต่อ พระเถระที่ตนเองนับถือ ว่าควรจะทำเช่นใดดี

พระมหาเถรคันฉ่อง รับฟังแล้วก็ห้ามว่า ไม่ควรกระทำ เพราะพระนเรศวร ทรงเป็นมิตรกับมอญมาตลอด

ทางฝ่ายทัพไทย พระนเรศวร ในขณะนั้นมีพระชันษา ๒๙ ปี ทรงประเมินเหตุการณ์วันหน้าได้ว่า หลังจากพระเจ้านันทบุเรงปราบอังวะสำเร็จแล้ว กรุงศรีฯ ก็คงเป็นเมืองที่ต้องถูกจัดการในลำดับต่อไปเป็นแน่ ทรงมีพระดำริที่จะชิงประกาศอิสระภาพอยู่ตลอดเวลา แต่ยังหาจังหวะเวลา และ เหตุปัจจัยที่เหมาะสมไม่ได้ แต่หลังจากที่ พระองค์ได้เสด็จนมัสการ พระมหาเถรคันฉ่องในเวลานั้นเช่นกัน ก็ทรงทราบความเรื่องนี้ จากการยืนยัน ด้วยวาจาของพระยามอญ ทั้งสองคนด้วย

จึงทรงมีพระดำริว่า ได้เวลาสำหรับการประกาศอิสระภาพแล้ว คนไทยจะต้องเป็นไทแก่ตนเอง

ทรงเรียกประชุมขุนทหาร แม่ทัพนายกองทั้งหมด บอกเหตุผลว่า พระเจ้าหงสาวดี คิดเป็นศัตรู ถึงขนาดจะลอบปลงพระชนม์พระองค์ เมื่อถึงขั้นประหัตประหารกันเช่นนี้ ไมตรีระหว่างพม่ากับกรุงศรีฯ ก็เห็ฯทีจะสิ้นสุดลง

โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำพิธีประกาศอิสรภาพ ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินและคนทั้งปวงว่า

"นับแต่นี้สืบไป กรุงศรีอยุธยา กับ เมืองหงสาวดี หมดสิ้นไมตรีต่อกัน มิได้เป็นมิตรกันเหมือนแต่ก่อนแล้ว "
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty สมัยนั้น แม้แต่ช้างทรง ก็ยังรักชาติ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 7:22 pm

สมเด็จพระนเรศวร เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนม์ ๓๕ พรรษา ทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นพระมหาอุปราช มีพระเกียรติยศสูงเสมอพระองค์

พม่าเห็นว่า ไทยเพิ่งผลัดแผ่นดิน บ้านเมืองคงวุ่นวาย จึงยกทัพใหญ่มา เป็นทัพของพระมหาอุปราชา จำนวนไพร่พล ๒๐๐,๐๐๐ นาย รวมกับทัพพระเจ้าแปร ๑๐๐,๐๐๐ นาย มาทางด่านเจดีย์สามองค์ มีเมืองพะสิม เมืองพุกาม คุมทัพหน้า

สมเด็จพระนเรศวร ทรงเกณฑ์ผู้คนออกจากกาญจนบุรี จนกลายเป็นเมืองร้าง ส่วนพม่า ก็คิดว่า ไทยคงจะระดมกำลังไปป้องกันพระนครเหมือนที่ผ่านมา จึงเดินทัพอย่างมิทันระวัง ถูกกองทัพไทยสุ่มโจมตี เมื่อลวงพม่าให้เข้ามาสู่จุดอ่อน บริเวณที่ทัพหลวงของเราวางกำลังซุ่มอยู่

พม่าเสียหายหนัก พระยาพุกามเสียชีวิตในที่รบ พระยาพะสิมถูกจับตัวมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกองทหารติดตามทัพพระมหาอุปราชาต่อไปถึงทัพหลวงของพม่า จนแตกพ่าย

เป็นการชนะศึกที่สมภาคภูมิ จากกำลังพลของศัตรูที่บุกเข้ามาร่วม ๓๐๐,๐๐๐ นาย รุกไล่ข้าศึก โดยยังไม่อาจผ่านกาญจนบุรีเข้ามาได้ด้วยซ้ำ

จากนั้นพระมหาอุปราชาก็ทรงขยาด ที่จะทำศึกกับไทย แม้พระบิดาจะทรงเร่งเร้าเพียงใดก็มิเป็นผล

พระเจ้านันทบุเรงเสียพระทัย ถึงกับตรัสต่อหน้า ที่ประชุมขุนนางว่า ตัวท่านอาภัพ ไม่เหมือนพระมหาธรรมราชาที่มีบุตรชายไม่ต้องใช้ ก็เสนอตัวจะออกศึกยินดีสู้รบเต็มที่ มีแต่ต้องคอยปรามด้วยซ้ำ ส่วนบุตรชายข้า อ้างว่ากำลังเคราะห์ร้าย ก็อย่าไปรบเลย ไปนำผ้าสตรีมานุ่งเสียเถิด จะได้สิ้นเคราะห์ "

พระมหาอุปราชาจึงทรงรู้สึกอดสูใจ จนต้องอาสานำทัพไปรบกับอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง....

ทัพคราวนี้ประกอบด้วย ทัพหลวง พระมหาอุปราชา ทัพพระเจ้าแปร ทัพตองอู มีพระสังกทัตเป็นแม่ทัพ กำลังพล ๒๕๐,๐๐๐ นาย และเตรียมเสยียงอย่างพรั่งพร้อม ด้วยให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ล่องเสบียงทางเรือ

พม่ายังเคลื่อนพลมาทางด่านเจดีย์สามองค์เช่นเดิม ในขณะที่ฝ่ายไทย ไม่สกัดทัพที่จุดนั้น สมเด็จพระนเรศวร ทรงนำทัพ ๑๐๐,๐๐๐ นาย เสด็จตั้งทัพรับพม่าที่สุพรรณบุรี ด้วยกำลังพล ๑ ต่อ ๒.๕ ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยว่า จะวางกระบวนทัพ แบบตั้งรับ รอให้ข้าศึกโจมตีก่อน

เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น กองทัพหน้าของสมเด็จพระนเรศวร ฯ ปะทะ กับทัพพม่า รบกันถึงขั้นตะลุมบอน ทหารไทยสู้ไม่ได้ ถอยร่นลงมา แม่ทัพไทยเสนอว่า ควรส่งทหารไปทัพหน้า ยันพม่าไว้ก่อนทัพหลวงเข้าตีซ้ำ หากสมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงเห็นว่า ถ้าบุกตรงๆ จำนวนทหารที่น้อยกว่า จะเสียเปรียบ และ ต้องพ่ายแพ้แน่ๆ ทรงสั่งการให้ แยกทัพไทยเป็นสองข้าง เตรียมตีโอบข้าศึก ส่งม้าเร็วไปบอกแม่ทัพหน้าว่าให้ถอยร่นลงมา ทัพหน้าของไทยซึ่งอยากจะถอยอยู่ล้วจึงแตกพ่ายหนีมา ทหารพม่าก็รุกไล่ตามด้วยลำพอง เข้ามาอยู่กึ่งกลางทัพไทยสองด้านที่โอบไว้ ทหารไทยเข้าต่อสู้กัน จนพม่าแตกหนีกระเจิง

ช้างศึกของพม่า หันหลังวิ่งหนีกลับ ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ไล่ตามข้างศึกพม่า ด้วยความเมามัน จนเข้าไปอยู่กลางวงล้อมของข้าศึก มีทหารรักษาพระองค์จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ตามเข้าไปทัน

หลังจากฝุ่นจางลง สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงตระหนักว่า พระองค์ได้ตกอยู่ในวงล้อมทหารนับแสน มีช้างศึกของพระยาฝ่ายพม่า เรียงรายล้อมเป็นแถว ๑๖ เชือก ทอดพระเนตรเห็น พระมหาอุปราชา ประทับช้างทรงอยู่ใต้ร่มไม้

และด้วยความมีพระสติสัมปชัญญะ อย่างหนักแน่น มั่นคง เปี่ยมไปด้วยพระปฏิภาณ ทรงขับช้างพระที่นั่ง "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" ไปหยุดหน้าช้างทรงของพระมหาอุปราชา ตรัสท้าทายด้วยพระสุรเสียงอันดังกังวาน เป็นภาษาพม่าว่า

" เจ้าพี่ จะยืนช้างอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถึกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะได้ชนช้างกันอย่างเรา เห็นจะไม่มีอีกแล้ว "

ทหารพม่าทั้งกองทัพยืนนิ่ง ทุกสายตารวมศูนย์ที่พระมหาอุปราชา ความกดดันกลับไปอยู่ที่พระองค์ด้วย หากทรงปฎิเสธคำท้าทาย หรือมีรับสั่งให้ทหารเข้ารุมจับแม่ทัพฝ่ายตรงข้าม ต่อไปจะทรงอำนาจในพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วีรกรรม ความกล้าหาญของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ได้เป็นที่รับรู้ และอยู่ในใจของทหารพม่ามานานแล้ว คนพม่าไม่อยากจะสู้รบกับทัพไทยในตอนนั้น ขนาดหนีไปบวช จนต้องมีการสึกพระเพื่อมาเป็นทหาร

พระมหาอุปราชา ทรงตัดสินพระทัย แสดงความกล้าหาญให้เป็นที่ประจักษ์ ทรงหันช้างทรงเข้าหาเจ้าพระยาไชยานุภาพ ในทันที เจ้าพระยาไชยานุภาพ ตัวเล็กกว่า เมื่อเห็นช้างข้าศึกโถมเข้ามาเช่นนั้นก็ถอยกรูด สมเด็จพระนเรศวร ตรัสกับช้างทรงว่า

" เจ้าสามารถนำชัยชนะมาให้แก่ข้าได้ ประชาชนที่น่าสงสารของเราจะพ่ายแพ้ยับเยินเพียงใด ถ้าหากเจ้าหนีจากสนามรบ แต่ถ้าหากเรายืนหยัดอยู่อย่างมั่นคง ด้วยความกล้าหาญของเข้า ชัยชนะก็จะตกเป้นของเราอย่างแน่นอน เมื่อได้รับชัยชนะ เจ้าก็จะได้รับเกียรติร่วมกับข้า "
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty คุณสมบัติแห่ง มหาบุรุษ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Wed May 06, 2009 7:48 pm

การเสียจังหวะของเจ้าพระยาไชยานุภาพ ทำให้พระมหาอุปราชา ได้ที ฟันด้วยพระแสงของ้าวที่พระเศียรของสมเด็จพระนเรศวรฯ แต่ทรงหลบได้อย่างหวุดหวิด คมง้าวเฉียดไปที่พระมาลา เมื่อพลาดจากการเหวี่ยงง้าว ก็ทำให้ช้างทรงของพระมหาอุปราชาเสียจังหวะไปด้วย เป็นโอกาสที่เจ้าพระยาไชยานุภาพ ได้ที สลัดหลุด และยกงาเสยขึ้นด้านล่าง

.... สมเด็จพระนเรศวร ทรงที่เป็นนักรบ ที่มีเชียวชาญในการใช้จังหวะสอง ทรงใช้พระแสงของ้าวจ้วงฟันพระมหาอุปราชา อย่างแม่นยำ คมง้าวพาดบ่าขวาของพระมหาอุปราชา ถึงกลางลำตัวขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนม์บนคอช้าง

ทัพพม่าเห็นแม่ทัพเสียที ก็กรูกันใช้ปืนระดมยิง ไปยังช้างพระที่นั่งทั้งสองช้าง สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงต้องกระสุนปืน บาดเจ็บที่พระหัตถ์ ควาญท้ายช้างเสียชีวิต ในขณะนั้นทัพหลวงของไทยก็ตามมาทันเหตุการณ์ ร่วมสู้รบกับทหารพม่า

สงครามจบลงอย่างรวดเร็ว เมื่อทัพพม่าสิ้นจอมทัพ ขาดจิตใจในการสู้รบ ต้องการนำพระศพของพระมหาอุปราชากลับหงสาวดีโดยเร็วที่สุด พม่าถอนทัพอย่างรวดเร็ว ทิ้งศาสตราวุธ ปืนใหญ่ไว้ฝั่งไทยมากมาย

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการได้สรุปรวบรวมคุณสมบัติ แห่งมหาบุรุษ ที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงมีไว้ ดังนี้
๑. เป็นผู้มีอนามัยดี
๒. ความไม่ตื่นตระหนกง่ายๆ (แม้อยู่ในวงล้อมศัตรู หลายครั้ง)
๓. เป็นผู้มีใจเบิกบาน (โปรดการเล่นดนตรี และ ล่องทะเล ในยามว่างศึก ซึ่งมีเวลาน้อยยิ่ง)
๔. มีจุดมุ่งหมาย ชัดเจน นับแต่ทรงเสด็จจากหงสาวดี
๕. ไม่รู้จักหมดหวัง
๖. ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบาก นับจากประกาศอิสรภาพ ๒๐ ปี (รวมที่ทรงครองราชย์ ) ทรงมีเวลาอยู่ในพระนคร เพียง ๒ ปี อีก ๑๘ ปี ประทับในค่ายทหาร เสวยกลางทัพ บรรทมกลางป่า
๗. มีหัวใจเข้มแข็ง
๘. ตรงต่อเวลา อันนี้สำคัญ เพราะแผนการรบ นั้นเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะกำหนดแพ้ชนะได้
๙. ขยันขันแข็ง ในยามคาคืน จนถึงเช้ามืด หากอยู่ในพระนคร จะทรงใช้เวลาออกตรวจตราพระนครในยามนั้น หากอยู่ในกองทัพ จะทรงใช้เวลานั้นในการวางแผนการรบ ล่วงไปอีกวันอยู่เสมอ
๑๐. เสมอต้นเสมอปลย
๑๑. มีสมาธิ ในยามว่างศึก จะทรงใช้เวลาในการปฏิบัติ เจริญสติ ฝึกสมาธิอยู่เสมอ
๑๒. มีความกล้าหาญ ไม่ท้อถอย แม้จะล้มเหลว
๑๓. มีวิธีการ อันเป็นแบบฉบับของพระองค์เอง และเป็นวิธีที่แยบยล ใช้ได้ผล
๑๔. มีความไตร่ตรอง เช่น เมื่อเมืองยะไข่ทำทีว่าจะขอสวามิภักดิ์ เมื่อทรงเห็นว่าไม่น่าวางพระทัยจึงทรงปฏิเสธว่า เรามีกำลังพอแล้ว
๑๖. ละเอียดละออ เป็นขั้นตอนสำคัญก่อนทำศึก และงานบริหารราชกิจอื่น
๑๗. รู้จักหาเหตุผลที่ถูกต้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงเหตุปัจจัยในแต่ละกรณี
๑๘. มีวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะได้แยกแยะ จริง เท็จได้อย่างไม่เสียที
๑๙. เชื่อมั่นในตัวเอง
๒๐. มีความรวดเร็ซ
๒๑. ช่างสังเกต
๒๒. มีสัมปชัญญะ แม้แต่ใกล้สวรรคต ยังทรงสั่งการแม่ทัพ อธิบายแผนการรบต่อเนื่อง
๒๓. ไม่หวาดกลัว ต่อบุคคลอื่น
๒๔. ทำตนให้เป็นที่ต้องใจของคนอื่น ทรงครองใจทหารในกองทัพ เพราะไม่เคยทอดทิ้งกองทัพ
๒๕. รู้จักกาละเทศะ
๒๖. มีความระมัดระวัง
๒๗. มีไหวพริบปฏิภาณ
๒๘. รู้จักป้องกันตัว
๒๙. กระทำตนให้เชื่อถือได้
๓๐. การพูดแต่ความจริง
๓๑. ความเป็นผู้ดี ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย และ สุพรรณภูมิแห่งอยุธยา
๓๒. ดำรงตนให้สมกับเกียรติยศ
๓๓. มีความรู้
๓๔. ความจำเป็นเลิศ
๓๕. รู้จักฝึกฝนตนเอง
๓๖. มีจินตนาการ ได้แก่การใช้หน่วยจู่โจม ในรูปแบบทัพเร็ว
๓๗. พึ่งพาตนเอง
๓๘. ชนะใจตนเอง ทรงเห็นแก่การกู้ชาติบ้านเมืองเหนือสิ่งอื่นใด
๓๙. ไม่ละทิ้งความพยายาม
๔๐. มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทรงจดจำความสูญเสีญอิสรภาพ ที่ได้รับ จากการแพ้ศึกพม่า
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ทุกประการ สานเพื่อไทย จวบวายปราณ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu May 07, 2009 8:21 am

การบังคับบัญชาบ้านเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ท่ามกลางภาวะศึกสงคราม ต้องใช้ความเด็ดขาด ถ้าเหล่าทหาร และ ประชาชนมิได้กลัวเกรงอาญาบ้านเมือง มิได้หวั่นต่อโทษทัณฑ์ที่จะได้รับหากทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ต่อพระมหากษัตริย์ผู้นำพาชาติในยามนั้น ภารกิจกู้ชาติคงทำไม่สำเร็จ

ความเด็ดขาดในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการกองทัพจึงสำเร็จมาก หลายครั้งที่รับสั่งแล้ว แม่ทัพนายกองเกิดความลังเล มิปฎิบัติตาม จะถูกโทษประหาร การประหารฝีพายพวกจาม และ มอญ ที่พายเรือเทียบท่าเรือพระที่นั่งผิด ในวันพระราชพิธีราชาภิเษก นั้นอาจมีหลายความเห็น ในสมัยปัจจุบันรับไม่ได้ โดยเฉพาะพวกเน้นเรื่องสิทธิมนูษยชน (ซึ่งเน้นเรื่องการฆ่า ทำร้ายโดยไม่พิจารณาการละเมิดการเมืองระหว่างประเทศจากประเทศมหาอำนาจ มาครอบงำประเทศเล็กๆ ด้วย...คห ผู้คัดข้อความ)

ในเรื่องนี้มีประเด็นว่า

๑. ในงานพระราชพิธีสำคัญยิ่ง วันราชาภิเษก การกระทำเช่นนั้นเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นี่คือกฎมณเฑียรบาลในสมัยนั้น หรืออาจเป็น กฎหมาย ในสมัยนี้ พระราชพิธีนี้ถือเป็นมหาวโรกาสที่สำคัญที่สุดในรัชกาลของพระองค์ หากพิธีนี้ยังทำผิดพลาด จะนำไปสู่การขาดความน่าเชื่อถือ และ ศรัทธา ขาดความศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีการต่อๆ มา จะเป็นอันตรายในการปกครองประเทศ

๒. สมเด็จพระนเรศวร ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องราชพิธี เพราะทรงมุ่งหวังให้พิธีการเหล่านี้ เป็นจุดรวมใจของประชาชน และ ทหาร สร้างความสามัคคีและการรวมพลังของคนทั้งชาติ เช่น คราวที่ พระยาพิชัย เป็นกบถเพราะกลัวเกรงพม่า ทรงจัดให้มีพิธีตักน้ำกระพังโพยศรี ซึ่งเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ในสมัยสุโขทัย ให้แม่ทัพ นายกอง ไพร่พล ถือสัตย์ปฎิญาณว่าจะร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับพม่าจนกว่าจะได้รับชัยชนะ หลังเสร็จสิ้นพิธี ทหารทุกระดับชั้นในกองทัพ ต่างรวมใจเป็นหนึ่งเดียว มีความฮึกเหิม พร้อมต่อสู้อย่างมิกลัวเกรงสิ่งใดๆ

๓. พวกจาม และ มอญ มีประวัติ การลอบสังหาร พระมหากษัตริย์ ต่างแดนมาก่อน แม้แต่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ก็ทรงสิ้นพระชนม์จากการลอบสังหารของชาวมอญ ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นการบังเอิญ หรือ เจตนาไม่บริสุทธิ์ ก็ตาม ถือว่าเป็นการตัดที่ต้นเหตุ

ดังนั้นการให้ความสำคัญกับพิธีการที่มีความหมายในการรวมใจ รวมชาติ จึงมิอาจละเลยได้ เพราะเป็นการสร้างพลังของคนในชาติ มิใช่พิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความงมงาย


ภาพของพระมหากษัตริย์ ยอดนักรบ ที่เปียมด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และ เด็ดขาดในการปกครอง อาจทำให้คนภายนอก หรือ คนไทยที่อ่านประวัติศาสตร์แบบผิวเผิน มิได้พินิจให้ถี่ถ้วน มองว่า ทรงมิได้มีจิตใจละเอียดอ่อน มุ่งเพียงการทำศึก

หากมองเช่นนั้นก็เป็นการมองที่ผิดถนัด สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงมีความรักเปี่ยมล้นในพระหทัย รักในชาติบ้านเมือง ประชาชน และ ทหารในกองทัพ ทรงวางแผนการรบอย่างแยบยลทุกครั้ง เพื่อให้เสียไพร่พลน้อยที่สุด หากการรบคราวใดสุ่มเสี่ยงกับ กองทัพมากเกินไป เสียโดยไม่จำเป็น พระองค์จะไม่ทรงนำไพร่พลออกไปเสี่ยง เว้นแต่ว่ามีโอกาสชนะ และทรงนำทัพ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ทหารเห็นว่า พระองค์กับพวกเขา มีอันตราย เท่าๆ กัน

การกรำศึกในตลอดรัชกาล เพราะทรงเห็นว่า หากมิได้ปราบปราม ผู้รุกรานที่มีชายแดนโดยรอบในภูมิภาคนี้ให้ราบคาบ หรือ ขยาดต่อกองทัพไทยให้มากที่สุดแล้ว โอกาสที่เราจะต้องพบความอัปยศ เจ็บช้ำ เหมือน การเสียกรุงศรีฯ ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ย่อมมีอีกเป็นแน่

ทรงรบ และ ทำเพื่อสร้างชื่อแห่งความเกรียงไกร ของชาติ จนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ ในการยกทัพใหญ่ไปตีเมืองอังวะ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งรัชกาล ทรงเห็นว่า การรบครั้งนี้มีโอกาสชนะมากกว่าครั้งก่อนๆ แม้ใกล้จะเสด็จสวรรคต ก็ยังทรงเรียกประชุมเหล่าแม่ทัพ ให้ร่วมกันสาบานว่า .... จะนำทัพไปรบกับอังวะต่อ จนกว่าจะได้รับชัยชนะ และให้นำพระบรมศพ ของพระองค์ไปด้วย โดยให้มัดติดไว้ที่เศียรช้างศึก พระองค์จะทรงนำทัพเอง ..... แต่สมเด้จพระเอกาทศรถ มิได้ทรงปฏิบัติตามรับสั่ง เพราะเห็นว่า ขวัญกำลังใจของทหารในยามนั้น ไม่อยู่ในสถานะที่จะทำศึกได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกทัพกลับอยุธยา

พระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงอยู่เหนือกาลเวลา นับสองร้อยปีจากนั้น พม่าไม่กล้าบุกกรุงศรีฯ แผ่นดินอยู่ร่มเย็นมา ต่างกับพม่าเมื่อสิ้นบุเรงนอง บ้านเมืองก็แตกสลายเป็นส่วนๆ ทันที

พระวิญญาณของพระองค์ คงยังคอยดูแลแผ่นดินไทยอยู่ด้วยความห่วงใย และ ทรงเจ็บปวด หากประเทศเราต้องมีอันล่มสลาย มีเรื่องเล่าใน พงศาวดารว่า ในการเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่สอง พระบรมรูปของพระองค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัง ได้ส่งเสียงกระทืบพระบาทสนั่นไปทั่วสี่ทิศ

การได้เกิดเป็นคนไทย บนแผ่นดินที่เราอยู่นี้ นับว่ามีบุญมหาศาล เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเสียสละ แม้แต่ชีวิต เพื่อทวงคืนอิสรภาพ ถึงสองพระองค์ พระมหากษัตริย์ที่ทรงทุ่มเทพระองค์ในการพัฒนาประเทศ .... เรามีพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยหลักคำสอนให้ปฏบัติ อย่างคนมีปัญญา .... มีแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร พืชพันธุ์ธัญญาหาร ... มีบรรพชนที่มีภูมิปัญญา มีประเพณีวัฒนธรรม ที่ล้ำลึก ....มีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตัวเอง..... มีความร่มเย็น อันเกิดจากศูนย์รวมใจของคนไทยต่อสถาบันหลักของชาติ มานับหลายร้อยปี

ที่เอ่ยมานี้ ประเทศใดในโลกจะมีเหมือน และจึงไม่น่าแปลกใจที่ ประเทศเราจะเป็นที่ต้องตาต้องใจ อย่าจะมาเป็นเจ้าเข้าครอง

การล่าอาณานิคม ในยุคนี้ทำอย่างแยบยล เป็นกระบวนการ และ ใช้วิธีการที่ซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมากนัก แต่หากพวกเรารู้ทัน คิดทัน ไม่หลงเป็นเหยื่อทางความคิด ให้ผู้ใด กลุ่มใดหลอกใช้ได้ เราก็จะไม่เสียทีให้แก่เขา

อย่ายอมให้ใครได้แผ่นดินของเราไป หรือทำลายประเทศเราเป็นส่วนๆ อย่างง่ายดาย อย่างน้อยให้นึกถึงสิ่งที่บรรพชน บรรพกษัตริย์ ท่านได้สละไว้ แม้ในวาระสุดท้าย ยังทรงมองเห็นแต่ประเทศชาติและวางไว้เหนือ พระชนม์ชีพ ดังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงรับสั่ง ที่เมืองหาง ในวันสวรรคต

.....ขอถวายบังคม น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้น .....
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty ทีมา..หนังสืออ้างอิง

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu May 07, 2009 8:25 am

ขอบพระคุณ หนังสือที่เขียนโดย ทพ.สม สุจีรา
ชื่อ เจาะตำนาน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พิมพ์ครั้งที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สำนักพิมพ์ บมจ.อัมรินทร์พริ้นติ้งและพับลิชชิ่ง

ดิฉันไม่ได้ลอกมาหน้าต่อหน้า แต่ใช้วิธีอ่าน แล้ว ตัดต่อ ตามความเข้าใจบางส่วน ส่วนรายละเอียดที่เป็นข้อมูลก็คัดลอกมาตามนั้น

ซื้อมาสองเล่ม เพราะเล่มแรกหาไม่เจอ

ราคาเล่มละ ๑๕๕ บาท

อ่านเล่มเต็มๆ แล้วจะพบสาระได้ดีกว่าที่เขียนมากไม่รู้กี่เท่า

ขอบพระคุณ ผุ้เขียน และ ผู้อ่านค่ะ
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Mon Dec 14, 2009 8:26 am

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Icon_lol
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  att Sun Dec 27, 2009 9:16 pm

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=independent-infantry&group=5

*เบญจเสนา 5ทัพ รูปแบบกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช*

*ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์นักรบของคนไทย ที่ทรงเป็นแบบอย่างในความวิริยะอุตสาหะ
ความพระปรีชาสามารถทางการทหาร การปกครอง รัชสมัยนี้นับเป็นสมัยที่กองทัพไทยรุ่งเรืองและเข้มแข็งเป็นที่ครั่นคร้าม
แก่อาณาจักรน้อยใหญ่ และคู่ศึกอย่างพม่าและเขมร พระองค์ไม่เคยเกรงกลัวผู้ใด ไม่เคยหวาดเกรงศึกเหนือเสือใต้ใดๆ
ความอดทนอดกลั้นและอุดมการณ์อันแน่วแน่ของพระองค์ เป็นที่เลื่อมใสของไพร่ฟ้าทหารหาญทั้งกองทัพ
จากเด็กสู่วัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นหลักชัยของพระองค์คือ ความเป็นไทย เอาบ้านเมืองเป็นที่ตั้งพระองค์มิเคยย่อท้อ
ต่อความ อดสู เมื่อครั้งดำรงตนเป็นเชลยตัวประกันที่หงสาวดี แต่กลับเอาสิ่งด้อยนั้นเป็นแรงใจในการขับเคลื่อน
สู่เป้าหมายหลัก ทรงวิรยะอุตสาหะในการพากเพียรเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการทหารการปกครอง
ทรงเรียนรู้จากชนชาติศัตรู ทรงให้ความสำคัญและใส่พระทัยในการทุกอย่างของพม่าชาติที่เป็นศัตรู
เพื่อสะสมไว้เป็นแต้มต่อในการกู้บ้านกู้เมือง*

**ทรงชำระตำรับตำราพิชัยสงคราม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิทยาการทางทหารที่นิยมปฎิบัติกันมานาน
ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเมือง ทรงไม่ยึดถือยึดติดกับกฎเณฑ์ที่จะทำให้กองทัพล้าหลัง
และอ่อนแอ ทรงกระทำพระองค์ให้เป็นตัวอย่างแก่ทหารผู้ใต้บังคับบัญชาในกองทัพ สิ่งแรกที่พระองค์มองเห็น
เมื่อเริ่มบริหารจัดการกองทัพคือ

ความอ่อนแอและไม่เข้มแข็งของคนไทย พระองค์ทรงใช้อำนาจเด็ดขาดในการปฎิรูปกองทัพ ทหารหนีทัพ
ทหารย่อนยาน ทหารที่ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นขุนทหารหรือไพร่ โทษเท่าเทียมกัน พระองค์ทรงให้ความสำคัญ
แก่ทหารที่เก่งในหน้าที่ ไม่ว่าทหารผู้นั้นจะต้อยต่ำเพียงใดในกองทัพ คนเก่งคนกล้าคนมีฝีมือ
พระองค์จะทรงส่งเสริมให้มีตำแหน่งในกองทัพ และหากทหารคนใดไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่
ไม่ว่าคนนั้นจะมีเชื้อสาย จะเป็นใครมาแต่ไหน พระองค์จะไม่ให้มีอำนาจหน้าที่ในกองทัพและบ้านเมือง นับเป็นยุคของ
การส่งเสริมคนดีคนเก่งคนกล้าของบ้านเมืองโดยแท้ คนเหล่านี้จึงปรากฎตัวออกมาร่วมกองทัพของพระองค์
อย่างมากมาย ส่งผลให้กองทัพไทยเข็มแข็งและทรงอานุภาพในเวลาไม่นาน การบังคับบัญชากองทัพนั้น
พระองค์ทรงกระทำได้เหมือนการทหารแบบตะวันตกได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่สมัยนั้นวิทยาการแบบนี้
ยังไม่มีปรากฎมาก่อนในกองทัพอาณาจักรใดในเวลานั้น ทหารรบพิเศษ หน่วยจู่โจม หน่วยแซปเปอร์วินาศกรรม
หน่วยคอมมานโด พลซุ่มยิง กองพันปืนใหญ่อัตาจร ลว.ระยะไกล ผู้ตรวจการหน้ากองสื่อสาร
หน่วยเหล่านี้เกิดขึ้นในกองทัพของพระองค์อย่างน่าพิศวง เพียงแต่ชื่อเรียกเท่านั้นที่ไม่เหมือน
นับเป็นการปฎิวัติพิชัยสงครามอย่างขนานแท้ กลายเป็นแบบอย่างให้กองทัพไทยและกองทัพอาณาจักรอื่น
ในเวลาต่อมา นับเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์โดยแท้ที่ทรงคิดทรงกระทำได้ก่อนใคร แม้แต่ทหารญี่ปุ่น
ทหารโปรตุเกส ทหารจีน ที่มาร่วมกองทัพยังต้องเขียนบันทึกส่งไปยังบ้านเมืองของตนเกี่ยวกับการทหารแบบใหม่นี้**

***ทหารรบพิเศษของพระองค์คือ
หน่วยทหารขนาดเล็ก10-20คน พระองค์ทรงคัดฝีมือเอง ภารกิจของพวกนี้คือการทำลายเส้นทางเดินทัพของพม่า
ดักฆ่าทหารสอดแนมและม้าเร็วนำสารที่ใช้ส่งข่าวสารระหว่างทัพต่างๆของพม่า ภารกิจพวกนี้ต้องใช้ทหารฝีมือดี
เพราะต้องเข้าไปในเขตอำนาจทัพข้าศึก***

****หน่วยจู่โจมของพระองค์คือ
หน่วยทหารขนาดเล็กเช่นกันประมาณ30-50คน หน่วยนี้พระองค์จะเป็นหัวหน้าหน่วยเองเสมอ
ใช้ปล้นค่ายทหารพม่าขนาดเล็ก เช่น กองลำเลียง กองเกียกกาย และใช้โจมตีเพื่อยั่วศึก
เช่นไปท้ารบหน้าค่ายพม่า เมื่อพม่ายกพลออกมา ก็ทำทีหลบหนีให้พม่าตามไปเข้าคิลลิ่งฟิลด์
แล้วก็ถอนตัวกลับอย่างรวดเร็ว ดังที่พระองค์เคยปีนค่ายพม่าจนเกิดตำนานพระแสงดาบคาบค่ายก็ใช้หน่วยนี้****

*****หน่วยแซบเปอร์หรือหน่วยก่อวินาศกรรมของพระองค์คือ
หน่วยทหารขนาดเล็กสุด 1-5คน ภารกิจของหน่วยนี้คือ แฝงตัวเป็นคนไทยเชลย หรือ ทหารหนีทัพ เพื่อลอบเผาค่าย
เสบียงกรัง กระสุนดินดำ และเป็นไส้ศึกคอยส่งข่าวสารให้พระองค์ได้ทราบความเคลื่อนไหว ถูกพม่าจับได้ ตัดหัว
เสียบประจานหน้าค่ายก็หลายครั้ง แต่ก็มีผู้อาสาอยู่ไม่ขาด(คำให้การนายกองมอญที่แปรพักต์มาเข้ากับฝ่ายไทย)*****

******หน่วยคอมมานโดของพระองค์คือ
หน่วยทหารขนาดกอง 100-500คน ภารกิจของหน่วยนี้คือ คอยสนับสนุนหน่วยจู่โจม พระองค์ใช้ทหารพวกนี้
เป็นกลศึกทุกครั้งจนพม่าเข็ดขยาด ไม่กล้าติดตามหากพระองค์ล่าถอย ในศึกยุทธหัตถี ทหารพวกนี้คือ
ทหารหน้าช้างต้นของพระองค์ ทำหน้าที่ปกป้องพระองค์เป็นด่านแรก ก่อนถึง 75หน่วยทะลวงฟันดาบสองมือ และ
จาตุลังคบาท เป็นด่านสุดท้าย ทหารพวกนี้พระองค์ให้ไปตั้งกองอยู่ตามป่า******

*******พลซุ่มยิงของพระองค์คือ
หน่วยทหารปืนคาบศิลา พระองค์ใช้หน่วยนี้ในการยิงทหารที่อยู่บนเชิงเทินค่ายที่ทำหน้าที่ยิงปืนใหญ่
พระองค์ใช้ทหารพวกนี้ทุกครั้งในการตีเมืองข้าศึก บางครั้งก็ใช้เพื่อต่อสู้กับทหารฮอลันดาที่พม่าจ้างมารบ
ในกองทัพสมัยพระองค์ทหารกองธนูหน้าไม้ มีไว้ใช้รักษาพระนครเท่านั้น********

********ปืนใหญ่อัตตาจรเป็นครั้งแรกในย่านนี้ที่มีการขนปืนใหญ่ลงเรือสำเภาขนาดเล็ก เป็นหน่วยสนับสนุน
ทหารราบกองต่างๆ พระองค์ทรงนิยมที่จะเดินทัพเลียบไปตามแม่น้ำเสมอ และบางครั้งพระองค์จะสั่งให้ทหารทัพหน้า
แสร้งทำทีร่นถอย เพื่อมาที่ริมน้ำให้เข้าระยะยิงของปืนบนเรือ ในการศึกแถววิเศษชัยชาญ พระองค์ทรงทราบว่า
ทัพหลวงของพม่ามาตั้งทัพที่ริมแม่น้ำปากคลองวิเศษชัยชาญ พระองค์ทรงนำเรือสำเภาเล็กติดปืนใหญ่ระดมยิง
ค่ายพม่าจนต้องเลิกค่ายหนี ในขณะที่กองทัพบกซุ่มคอยทีตีขนาบ ศึกครั้งนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นแม่ทัพหลวง
หลบหนีไปได้ พม่าแตกพ่ายไม่เป็นหมวดเป็นกอง*******

*********หน่วยลาดตระเวนระยะไกล เป็นกองทหารม้าขนาด200-500คน ใช้ลาดตระเวณเพื่อรับข่าว
จากกองสอดแนมและทำลายกองทหารพม่าขนาดเล็กที่ออกหา เสบียง บางครั้งทหารหน่วยนี้ลาดตระเวณไปไกล
ถึงเชียงใหม่ กองทหารม้าลาดตระเวนระยะไกลนี้ พระองค์ส่งออกไปทั้ง4ทิศของพระนคร หากเมื่อเกิดศึกใหญ่
กองทหารม้าพวกนี้จะกลับมารวมกับทัพใหญ่เสมอ********

***********ผู้ตรวจการหน้า พระองค์จะใช้ทหารระดับพระยา เป็นอาญาศึกต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อคอยรายงาน
สถานการณ์ของกองทัพขณะทำศึกและคอยส่งคำบังคับบัญชาของพระองค์ในกลศึกต่างๆไปยัง ผบ.เหล่าทัพที่รบอยู่
ผู้ตรวจการหน้านี้สามารถประหารทหารทุกคนทุกระดับได้ทันทีหากไม่ทำตามบัญชา และผู้ตรวจการหน้านี้เอง
ที่เป็นผู้ถวายคำแนะนำและรายงานผลการรบในแนวหน้า เพื่อให้พระองค์วินิจฉัยและสั่งการ**********

*************กองสื่อสาร ในกองทัพของพระองค์ มีทหารม้าคอยทำหน้าที่ส่งข่าวสารและคำบังคับบัญชา
ถ่ายทอดคำสั่งของผู้ตรวจการหน้าไปยังแม่ทัพนายกองทั้งหลาย กองทัพของพระองค์จึงมีแบบแผนในการศึก
อย่างทันท่วงทีเสมอ ต่างจากพม่าที่ใช้สัญญาณกลอง และธงเป็นหลัก การที่พระองค์ใช้กองสื่อสารถ่ายทอดคำสั่ง
ไปตามลำดับชั้นนั้น ทำให้พม่าไม่สามารถทราบการเคลื่อไหวในการสั่งการของกองทัพพระองค์ได้
อีกทั้งเครื่องแต่งกายของทหารในกองทัพไทยสมัยของพระองค์นั้นไม่แบ่งสีตาม หลักพิชัยสงครามเดิม
พม่าไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ตรงไหนทัพหน้า ตรงไหนกองทะลวง ตรงไหนกองดั้งกองโตมร
ถือได้ว่าระบบการสื่อสารสั่งการในกองทัพพระองค์นั้นล้ำยุคอย่างน่าอัศจรรย์***********

***************หลักการสงครามของพระองค์นั้นคือ
เลือกกระทำการโดยข้าศึกไม่รู้ตัว ออกรบก่อนไม่ตั้งมั่นให้ข้าศึกเข้าตีรวมกำลังให้มากกว่าข้าศึกและรบเฉพาะตำบล
ถึงข้าศึกจะมีกำลังเป็นแสนคนแต่ก็แยกกันอยู่ พระองค์เป็นผู้นำทหารออกรบเองทุกครั้งมีความกล้าหาญและมีวินัยสูง
ใช้กองทหารพิเศษต่างๆเป็นกำลังส่วนน้อยทำการรบอย่างรวดเร็ว โดยสงวนกำลังส่วนใหญ่ไว้รักษาพระนคร
ซุ่มตีรบกวนข้าศึกอย่างรุนแรงมิให้เข้าประชิดพระนครได้โดยง่าย************

*****************ในการศึกครั้งสำคัญ คือศึกยุตถหัตถีนั้น พระองค์ทรงจัดกองทัพเพื่อรับข้าศึกในแบบที่
ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เป็นตำราศึกที่พระองค์ทรงคิดขึ้นเองเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์
เพราะพระองค์ประสงค์จะใช้ความไม่รู้ของข้าศึกเพื่อเป็นการแก้ข้อด้อยที่ กองทัพไทยมีกำลังน้อยกว่า
พม่ามีพลถึงสองแสนสี่หมื่นคน พระองค์มีเพียงเจ็ดหมื่นห้าพันคนเท่านั้น ไทยต้องรบแบบหนึ่งต่อสาม
พระองค์ทรงแบ่งกองทัพเจ็ดหมื่นห้าพันคนออกเป็นห้าส่วน ห้ากองทัพ ในแต่ละกองทัพจะมี กองหน้า กองหลัง
ปีกซ้าย ปีกขวา กองหลวง ให้แต่ละกองทัพออกรับข้าศึกพร้อมกัน แล้วให้แต่ละทัพตีตัดทัพพม่าออก
เป็นห้าส่วนให้ได้ เพื่อแยกกำลังทหารข้าศึกมิให้รุมรบได้ ส่วนกองทัพหลวงของพระองค์และพระอนุชานั้น
จะทรงรับมือกับกองทัพหลวงของพระมหาอุปราชาเอง ในแต่ละทัพของพม่านั้นพระองค์ทรงทราบดีว่า
ใครเป็นนายทัพ พระองค์ทรงรู้ฝีมืออยู่ทุกคน พระองค์จึงจัดแม่ทัพไทยในแต่ละทัพได้อย่างเหมาะสม
เพราะทรงรู้จักฝีมือขุนทหารคู่ใจทุกคนดีว่าใครเหมาะกับใคร เมื่อกองทัพพม่าแตกออกเป็นห้าส่วนตามแผน
ที่ทรงวางไว้นั้น พระองค์ทรงยกทัพหลวงพุ่งตรงไปตามช่องที่ว่างมุ่งสู่ทัพหลวงของพระมหาอุปราชพม่าทันที
แล้วผลการรบก็ออกมาเป็นที่ประจักษ์ในฝีมือการรบบนหลังช้างของพระองค์ที่ทรงรู้ทางพระมหาอุปราชพม่าเป็นอย่างดี
เพราะทรงคุ้นเคยกันมาก่อนเมื่อครั้งไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดี******************

*********พระเกียรติยศจากการศึกครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว บรรดาทหารต่างชาติทั้งสองฝ่ายต่างจดบันทึก
การศึกครั้งนี้ไว้เป็นตำราศึกแบบใหม่ เกิดการชำระพิชัยสงครามครั้งใหญ่ในหลายอาณาจักร แบบอย่างเบญจเสนาห้าทัพนี้
ถูกนำไปใช้ในกองทัพยุคต่อมาอย่างดีเลิศ แม้แต่พม่าเองก็ยังเปลี่ยนมาใช้รูปแบบนี้ในยุคต่อมา
การจัดกำลังทหารเป็นหน่วยพิเศษ หน่วยย่อยขนาดเล็ก เพื่อต่อตีรบกวนข้าศึกแบบพระองค์ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
ในสงครามครั้งต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัจฉริยะทางการทหารโดยแท้ หลักฐานทาง ปวศ.ของพม่า โปรตุเกส ฮอลันดา
ญี่ปุ่น จีน มลายู ทั้งจารึก ใบลาน ตำราโบราณพงศาวดารต่างกล่าวถึงเบญจเสนาห้าทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นี้อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาว่างศึกไปนานถึง หนึ่งร้อยแปดปี***********

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม 1142937773

Create Date : 10 มีนาคม 2549
Last Update : 16 ธันวาคม 2552 15:50:20 น.
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม Empty Re: สมเด็จพระนเรศวรมหาราช : นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม

ตั้งหัวข้อ  att Sun Dec 27, 2009 9:36 pm

http://khunnamob.globat.com/backup/khunnamob/www.khunnamob.info/board/show.php-Category=khunnamob&forum=6&No=613&picfolder=mXT0HkNN&PHPSESSID=5df051bc51e3404a3b6bdcb9f62a03ba.htm#top

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม GAPPm1C8


คัดลอกมาจากหนังสือ

เจาะตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
โดย ทันตแพทย์ สม สุจีรา
ISBN: 978-974-04-2362-1

จากปกหลัง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อต้องไปเป็นองค์ประกันที่พม่าขณะทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงรู้สึกอย่างไร
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นคนเช่นไร
เหตุใดจึงยอมสอนยุทธศาสตร์การรบให้สมเด็จพระนเรศวรทั้งๆ ที่รู้ว่า
จะเป็นอันตรายต่อหงสาวดีในภายหน้า
บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆ มีส่วนเกื้อหนุนการกอบกู้เอกราชของ
สมเด็จพระนเรศวรอย่างไร
ที่สำคัญ พระองค์ทรงใช้กุศโลบายและวิธีการใด ในการปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขได้
แม้ในภาวะสงคราม
ที่เกิดทุกข์เข็ญทั่วทุกหย่อมหญ้า อ่านเรื่องเล่าเจาะลึกตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และวิเคราะห์เบื้องลึกเบื้องหลังของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
นำเสนอผ่านมุมมองทางจิตวิเคราะห์ที่ทั้งสนุกและตื่นเต้น
แล้วคุณจะเคารพรักบรรพบุรุษผู้ต่อสู้เพื่อสยามประเทศ
และจดจารึกไว้ในหัวใจตราบนานเท่านาน

คำนำสำนักพิมพ์

เมื่อเอ่ยคำว่า "ประวัติศาสตร์" ดูเหมือนจะเป็นหนังสือที่น่าเบื่อ สำหรับผู้ที่ไม่ชอบภาษาจารึกพงศาวดารเก่าๆ
เพราะเป็นเรื่องในอดีต
ที่สลับซับซ้อน คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องไกลตัว ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน

แต่หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ความคิดข้างต้นของคุณจะเปลี่ยนไป

หนังสือ "เจาะตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ช่วยอธิบาย ขยายความเรื่องราวในประวัติศาสตร์
วิเคราะห์ถึงแรงบันดาลใจ
ของบุคคลสำคัญ ทั้งทางด้านจิตวิทยาและธรรมะ พร้อมทั้งเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์
แถมด้วยเกร็ดความรู้ที่ช่วยให้เข้าใจภาพรวม
ทั้งหมดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หากใครเคยชมภาพยนตร์ "สุริโยทัย" และ "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" แล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้
ก็จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวที่ปรากฏ
ในภาพยนตร์อย่างทะลุปรุโปร่ง

หนังสือแบ่งเป็นสองภาค ภาคแรกคือ "แรงบันดาลใจในการกอบกู้เอกราช" เป็นการวิเคราะห์ด้านความคิด
ความรัก การปกครอง และบุคคลรอบข้าง
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงนำกำลังความคิดหรือพลังจิต
มาประยุกต์ในการสงครามอย่างไร ทำไมพระองค์ถึงเป็นมหาราช
ชาตินักรบผู้เก่งกาจ และพระอัจฉริยภาพทั้งหมด
ของพระองค์มาจากที่ใด


ภาคที่สองคือ "บทเรียนล้ำค่าจากประวัติศาสตร์" ผู้เขียนเล่าเหตุการณ์ตามลำดับ เหมือนเรากำลังนั่งชม
ภาพยนตร์อยู่อย่างตื่นเต้นระทึก เร้าใจ
ไปกับความดุเดือดของสงครามและยุทธวิธีในการรบ ชิงไหวชิงพริบทำให้มองเห็นภาพ
และเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ในช่วงเวลาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งหมด

สำคัญที่สุด ท้ายเล่มผู้เขียนได้ย้ำให้ผู้อ่านตระหนักถึง ความยากลำบากในการกอบกู้เอกราชและดำรงไว้
ซึ่งความมั่นคงของแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา อ่านแล้ว
ทำให้รักชาติ ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
และบุญคุณของบรรพบุรุษ
ที่ช่วยปกปักรักษาผืนดิน ให้ได้อยู่กันอย่างสะดวกสบายในปัจจุบัน
และทำให้รู้สึกหวงแหนแผ่นดินบ้านเกิดขึ้นอีกมาก


ด้วยสำนวนการเขียนที่กระชับ รวบรัด เจาะลึก ตรงประเด็น ทำให้หนังสือเล่มนี้ อ่านสนุกไม่แพ้
"ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"
ใครที่เป็นแฟนหนังสือของผู้เขียนและผู้ที่สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
โดยเฉพาะช่วงรัชสมัย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่ควรพลาด

สำนักพิมพ์อัมรินทร์ธรรมะ


คำนำผู้เขียน

ประวัติศาสตร์แห่งสยามผ่านช่วงวิกฤตที่สุดถึงขนาดเสียเมืองมาสองครั้ง คือ
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง
ซึ่งถ้าไม่สามารถ กู้เอกราชกลับคืนมาได้ ปัจจุบันประเทศไทย
คงไม่ปรากฏบนแผนที่โลก
ในอดีตมอญก็เป็นชาตินักรบที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้พม่าต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาตลอด
แต่ในที่สุดก็ถูกยึดครองเอกราชอย่างถาวร
กลับกลายเป็นชาวพม่าเชื้อสายมอญ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว
ควรมีประเทศมอญอยู่บนแผนที่โลกเช่นกัน
แม้การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประกาศ
แบ่งเขตแดน
ตามหลักสากล แต่ด้วยพระบารมีของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่อยู่เหนือกาลเวลา
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจึงยิ่งใหญ่สืบเนื่องต่อมา
จากรัชสมัยของพระองค์อีกนับร้อยปี โดยที่ไม่มีชาติใด
กล้าเข้ามาทำสงครามกับไทยอีกเลย ทำให้อาณาเขตของ
ประเทศ
ขณะตั้งกรุงรัตนโกสินทร์กว้างใหญ่ไพศาล
กว่าปัจจุบันถึงสองเท่า


วิกฤตครั้งที่สามของแผ่นดินไทยคือ การถูกหาเรื่องเพื่อยึดดินแดนจากประเทศกลุ่มล่าอาณานิคม
อย่างอังกฤษและฝรั่งเศส
เราต้องเสียผืนดินทั้งทิศใต้ ทิศตะวันออก
และทิศตะวันตก ให้ประเทศเหล่านี้
เทียบรวมกันแล้วเกือบเท่า
ขนาดประเทศไทยในปัจจุบันทีเดียว

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม OLMzRoMsfz กระทู้ที่774: วันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถรักษาเอกราชมาได้ตราบจนทุกวันนี้ เป็นการสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
เราสามารถประกาศอย่างภาคภูมิใจ
ให้ชาวโลกรู้ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศบนโลกนี้
ที่ไม่เคยสูญเสียเอกราชให้ชาติใดๆ
อาจจะเป็นผลดีที่เราไม่ต้องผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดในการเสียเอกราช
เหมือนชาติอื่นๆ แต่ผลเสียที่มองข้ามไปไม่ได้
ก็คือ

ปัจจุบันความรู้สึกรักชาติของคนไทยลดน้อยถอยลง ไม่เหมือนกับ
จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย พม่า เกาหลี เวียดนาม ฯลฯ
ที่ผ่านความกดดันอย่างแสนสาหัส
ต่อการตกเป็นเมืองขึ้น
ทำให้ปัจจุบันประชาชนในประเทศเหล่านั้นมีความรักชาติสูงมาก
ประวัติศาสตร์ย้อนหลังที่พอระลึกได้ถึงความเจ็บปวดที่สุดของเรา
ก็คือ
ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง และต้องตกเป็นเมืองขึ้น
ของพม่าถึง ๑๕ ปี
ซึ่งต่างจากการเสียกรุงครั้งที่สองที่พม่ายึดไทย
ไว้ได้แค่เจ็ดเดือน

การถ่ายทอดประวัติศาสตร์ให้มีชีวิตโดยภาพยนตร์ "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
เหมือนเป็นการจุดประกายหัวใจรักชาติให้กลับมาสู่คนไทย
อีกครั้งหนึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่และสร้างได้สมจริงที่สุด

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช :  นักรบผู้นำธรรมะ ผสาน พิชัยสงคราม LWfT4CFwminus

http://kingnaresuanmovie.com/history_thai.php

นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่เขียนถึงประวัติศาสตร์อันน่าจดจำนี้
ตามออกมามากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่มีก็คือ
หนังสือที่นำประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญนั้นมาวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา
มุมมองทางจิตวิทยาต่อประวัติศาสตร์ก็เป็นสิ่งจำเป็น
เพราะจะสื่อให้เห็นแง่มุม ความคิดที่แตกต่างจาก
หนังสือประวัติศาสตร์อื่นๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน


หนังสือ "เจาะตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" จึงได้กำเนิดขึ้นเพื่อเติมเต็มส่วนที่ยังขาดอยู่
ช่วยให้ประวัติศาสตร์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
และถ้ามีโอกาส ข้าพเจ้าจะนำเสนอการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์
ในเชิง รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
และเศรษฐศาสตร์ต่อไปในอนาคต

ทันตแพทย์สม สุจีรา
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ