Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

2 posters

Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  sunny Fri Oct 31, 2008 11:12 am

ราชบัณฑิต เผยเด็กไทยผันวรรณยุกต์-ย่อความไม่ได้ เร่งสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ครู นักเรียนประเมินตัวเอง เน้นปลูกฝังตั้งแต่3ขวบ ด้วยการ์ตูน สนองความห่วงใยภาษาไทยของในหลวง ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้พระบรมราโชวาทแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทย ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เกี่ยวกับคนไทยไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย เสียดายที่คนไทยเห็นภาษาไทยเป็นสิ่งล้าสมัย และคนไทยแสดงพฤติกรรมเป็นฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น ทำให้ชาวต่างชาติมองคนไทยเป็นสัตว์ประหลาดนั้น

วานนี้(28 พ.ค.) นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตสถาน กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสห่วงภาษาไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะการกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของภาษาไทย จึงทำให้รัฐบาลจัดให้การรณรงค์ความสำคัญของภาษาไทยเป็นโครงการระดับชาติ เพราะปัจจุบันปัญหาการใช้ภาษาไทยที่พบในเด็กไทย คือ ผันเสียงวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไม่ได้ สะกดคำผิดๆ ถูกๆ ที่สำคัญเด็กทุกวันนี้ จับประเด็นสำคัญ และย่อความไม่เป็น ดังนั้น ในปี 2552 ราชบัณฑิตยสถาน จะกระตุ้นให้ครูเน้นสอนให้เด็ก พูด อ่าน เขียน ย่อความ มากขึ้น พร้อมทั้งรณรงค์ให้ทักษะดังกล่าวเป็นหัวใจของการเรียนภาษาไทย

นางจินตนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ราชบัณฑิตยสถานกำลังระดม นักวิชาการ ครูภาษาไทย มาร่วมกันจัดทำแบบทดสอบความรู้ภาษาไทยให้แก่ ครู นักเรียน ว่ามีความรู้ภาษาไทยมากน้อยแค่ไหน พร้อมทั้งจะนำแบบทดสอบไปให้ประชาชนทุกอาชีพทั่วประเทศทดสอบว่า ตนเองมีความรู้ภาษาไทยมากน้อยแค่ไหนด้วย เพื่อนำมาแก้ปัญหาคนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ด้วย

"เราจะต้องปลูกฝังภาษาไทยให้เด็กตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป เพื่อให้เขาซึมซับภาษาไทย ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบใหม่โดยราชบัณฑิตยสถานจัดทำสื่อการสอนภาษาไทยในรูปแบบฉบับ การ์ตูน ให้เด็กสนุกกับการเรียนภาษาไทย และเข้าใจภาษาไทยได้ง่ายขึ้น เช่น การเปรียบเทียบคำว่า แมง กับแมลง มีความแตกต่างกันอย่างไร การสะกดคำง่ายๆใช้อย่างไร เป็นต้น แจกให้ครูและโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งเราต้องปรับให้การสอนภาษาไทยไม่น่าเบื่อ เพราะเมื่อเด็กเข้าใจภาษาไทย เด็กก็จะรักภาษาไทยตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ดิฉันไม่อยากให้คนไทยมองว่า การพูดภาษาไทยที่ถูกต้องไม่ปนสำเนียงฝรั่งเป็นเรื่องที่เชย แต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นไทย และมีวัฒนธรรมประจำชาติได้จนถึงทุกวันนี้ ก็คือ การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง"เลขาธิการราชบัณฑิต กล่าว

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า ตนได้เข้าประชุมผู้บริหารระดับปลัดกระทรวงร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านห่วงภาษาไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการผันเสียงวรรณยุกต์ เพราะภาษาไทยมีหลายเสียง รวมทั้งอยากให้ครูสอนอาขยาน ร้อยกรองเด็กมากขึ้น เนื่องจากเด็กท่องไม่เป็น

ดังนั้น วธ.จะเร่งแก้ปัญหา คนไทยไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์ และส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่น อีกทั้งกระตุ้นให้เด็กไทยมีจิตสำนึกความไทยทั้ง การไหว้ ความมีน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส เพิ่มขึ้น โดยจะนำโครงการภาษาถิ่น ภาษาไทย โครงการภูมิบ้าน ภูมิเมือง โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน โครงการค่ายเยาวชนรักษาชาติรักถิ่น ลงไปตามชุมชนต่างๆ ส่งเสริมให้คนไทยรักภาษาไทย รักท้องถิ่นไม่ลืมความเป็นชาติของตนเอง

ด้านนายวัฒนะ บุญจับ นักวิชาการสำนักภาษาและวรรณกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า คนไทยลืมการนำภาษาไทยมาสื่อสาร หลายครั้งนำไปสื่อสารแบบผิดๆทำให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมือง หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จึงรู้ว่าการสื่อสารภาษาที่ถูกต้องมีความสำคัญ นอกจากนี้คนไทยยังประสบปัญหาการนำภาษาไทยพูด อ่าน เขียนไม่ถูกมากที่สุด แม้แต่ในป้ายโฆษณา

เช่น คำว่าขับช้าๆ อันตราย แสดงว่าขับเร็วไม่เป็นไรใช่หรือไม่ เป็นต้น ในขณะที่ สื่อมวลชนวิทยุ โทรทัศน์ ภาษาในละคร ก็ใช้ภาษาอุบาทว์ เรียกได้ว่า ผิดจนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ในเรื่องนี้ไม่อยากให้กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงวัฒนธรรรม เมื่อทราบปัญหาก็ออกมาแก้เป็นครั้งคราว ควรจะทำให้ต่อเนื่องมีการรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักและเห็นเรื่องการใช้ภาษาผิดๆเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน


แก้ไขล่าสุดโดย sunny เมื่อ Tue Oct 20, 2009 2:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  sunny Fri Oct 31, 2008 11:19 am

แปลว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา หลับตลอด เพราะดูจากข่าว บอกว่านักวิชาการ-ราชบัณฑิตตื่น

ใครจะมาตอบได้บ้างเนี่ย ว่านักวิชาการ-ราชบัณฑิต เค้าเริ่มหลับกันตั้งแต่ปีไหน

ไม่รู้ว่าเด็กกี่รุ่นแล้ว ที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง

มัวแต่แห่กันไปเรียนภาษาทาส

เอาแค่ตัวอักษรไทยมีตั้ง ๔๔ ตัวอักษร ภาษาอังกฤษรวมทั้งตัวอักษรกับสระ มีแค่ ๒๖ ตัว

แค่นี้ก็รู้แล้ว ว่าภาษาไทยเรามีวิวัฒนาการที่เหนือกว่า นี่ยังยังไม่รวมสระ กับวรรณยุกต์นะเนี่ย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 5:25 pm

วันนั้นไปอ่านที่กระดานสนทนาแห่งหนึ่ง มีคนตั้งกระทู้ว่า ทำอย่างไรจะรณรงค์เรื่องวัฒนธรรมไทย
แบบไม่ล้าสมัย เพราะเมื่อเอ่ยเรื่องนี้ คนมองสองอย่าง อันแรก เชยมาก อย่างที่สอง มาอีกแล้วพวกรักชาติ
ขาดสติ จะทำให้ดูดีด้วยวิธีนี้หรือไง ? เป็นอย่างนี้จริงๆ

หลายคนอาจยังคิดว่า เรื่อง ความสำคัญ ของการรักษาธรรมเนียม วัฒนธรรม ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่จะทำให้
ชาติใดๆ คงอยู่ หรือค่อยๆ สลายไป เพราะมันไม่น่าจะง่ายขนาดนั้น กับ แค่ การไปทำตามวิทยาการ
ตะวันตก ที่คนทั่วโลกมองว่า นั่นคือ สิ่งที่ทันยุคสมัย หากใครไม่รับไว้ จะเป็นพวกตกยุค

แต่หากคิดให้ดี จะพบว่ามันค่อยๆ ฝังเข้าไปในความรู้สึก ความคิดเห็นอย่างที่เราไม่รู้ตัว เพราะแค่ความเห็นที่ว่า
การที่คนสมัยใหม่ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมตะวันตก การชอบฟังเพลงสากล เห่อศิลปินต่างประเทศ นั่นคือเรื่อง
ของยุคสมัย ไม่เกี่ยวกับ การรักในวัฒนธรรมของชาติตัว

เพราะเมื่อเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เราไม่เข้มงวดกับตัวเองในการ รักษา ถนอม วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติไว้
ที่ง่ายๆ ที่สุดก็คือ การเขียน อ่าน ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องยากเข้าไปทุกวันแล้ว

ในกระดานสนทนานั้น มีคนเสนอ วิธีการขึ้นมาสามอย่าง จำได้อย่างหนึ่งก็คือ
.... พยัญชนะไทยมี ๔๔ ตัว หากใครสามารถอ่านได้ เรียงลำดับ แบบไม่ตกหล่น ถือว่าดีในระดับหนึ่ง
ดีกว่านั้นขึ้นไปก็สามารถตอบได้ เมื่อมีคำถามว่า พยัญชนะไทยตัวที่ ๙ คืออะไร ตอบแบบไม่ต้องนับในใจ ถือว่าสุดยอด

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 5:30 pm

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ
ฌ ญ ฎ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ
ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

ใครท่องได้แบบนี้บ้าง ยกมือด่วน

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang ma Fri Oct 31, 2008 5:52 pm

พยัญชนะไทยแบ่งตามเสียงได้ สามระดับ สูง กลาง ต่ำ

สูงมี ๑๑ ตัว ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

กลางมี ๙ ตัว ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ...
ตอนเด็ก ๆ ครูสอนให้ท่องว่า ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง โดยที่
ฎ ฏ มีตามมาอีกสองตัว ดังนั้น ใครที่ท่องแบบนี้ ก็เป็นคนโบราณยุคเดียวกัน เพราะรุ่นหลังๆ เขาท่องอย่างอื่น
ที่รู้สึกว่าทันสมัยกว่านี้

ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ ซึ่งมี เท่าไหร่คะ ...? ๒๔ ตัวนั่นเอง
ค ฅ ฆ ณ ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ
ภ ม ย ร ล ว อ ฮ

เขียนจากความทรงจำ ล้วนๆ เลยนะ

tang ma
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 6:05 pm

การผันวรรณยุกต์ มีระดับห้าเสียง สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา

อักษรกลาง ผันได้ทั้งห้าระดับเสียง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า

อักษรสูง ผันได้ สามเสียง ขา ข่า ข้า ....จัตวา เอก และ โท

อักษรต่ำ ผันได้ สามเสียง และลดรูป คือ จะไม่มีการใช้วรรณยุกต์ ตรี กับ อักษรต่ำ

เข่น คา ค่า ค้า ..... เสียง สามัญ เสียงโท และ เสียงตรี

คำว่าลดรูป คือ ใช้ไม้เอก แต่ออกเป็นเสียง โท .... ค่า คือเสียงโท
ใช้ไม้โท แต่ออกเสียง ตรี .... ค้า คือ เสียงตรี

หากจำไม่ได้ ก็ไม่ยาก ให้จำจากอักษรกลางเป็นหลัก เพราะเสียงกับรูปตรงกัน

เวลาพูดคำว่า นะคะ ไม่ต้องเติมไม้ตรี เด็ดขาด เห็นเติมกันบานเลย

ตอนเรียน ก็ท่องเฉพาะ อักษรกลาง เพราะมีเก้าตัว แล้วก็ จำง่าย อักษรสูงไม่ยาก โดยสามัญสำนึก
ออกเสียงสูงก็รู้ทันที ดูจากเสียง ไปแนวจัตวาตลอด แบบ เอ๋อ อย่างนี้ เสียงจัตวา

ที่เหลือก็อักษรต่ำ

แอ๊บแบ๊ว เขียนแบบนี้ ถูกต้อง เพราะ เป็นอักษรกลาง ทั้งคู่ ใช้ไม้ตรี ออกเสียงตรี

คำที่เขียนไม่ยาก แต่ผิดบ่อย เช่น ประสบการณ์ ต้องเขียน ด้วย บ แต่ตัวเองผิดประจำ ใช้ พ
ประสบการณ์ ท่านแปลในพจนานุกรมว่า เป็นความชำนาญในการพบเรื่องราวใดๆ งานใด ๆ จัดว่าเป็นพวกชำนาญ เจนจัด ดังนั้นเวลาจะเขียนคำนี้ก็ต้องคิดว่า เราเจนจัด ชำนาญในเรื่องนั้นๆ ไหม

ในภาษาไทยไม่มีพหูพจน์ แต่กำหนดจำนวน นับด้วยลักษณะนาม เช่น อัน ตัว ชิ้น ในขณะที่ภาษาฝรั่ง
ไม่มีลักษณะนามแบบเรา

... ในห้องนั้นมีเก้าอี้ อยู่หลายตัว ..... แต่ละตัว มีคนรอ น้อมสนอง

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 6:18 pm

ในห้องนั้นมีเก้าอี้ อยู่หลายตัว
แต่ละตัว มีคนรอ น้อมสนอง
เส้นก๋วยจั๊บ กับหน้าหนา กล้าจับจอง
ได้ลิ้มลอง ครองเก้าอี้ มีแต่รวย

เก้าอี้พิเศษ นั่งแล้วรวย

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 6:24 pm

ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ ซึ่งมี เท่าไหร่คะ ...? ๒๔ ตัวนั่นเอง
ค ฅ ฆ ณ ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ
ภ ม ย ร ล ว อ ฮ

ปริศนาอักษรต่ำ ..... ข้างบนนี้ เขียนผิด ด้วย ผิดตรงไหน ใครทราบบ้าง

เพราะที่ถูกต้องเป็นแบบข้างล่างนี้ละ
ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ ซึ่งมี เท่าไหร่คะ ...? ๒๔ ตัวนั่นเอง
ค ฅ ฆ ณ ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ท ธ น พ ฟ ภ
ม ย ร ล ว ฬ อ ฮ

ที่รู้เพราะไปนับทวน แล้วก็พบว่า มี ณ ซ้ำสองตัว กับ ฬ มันหายไป เลยแก้ให้เรียบร้อย

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 7:11 pm

ย่อความเป็นสิ่งที่ยากค่ะ จำหลักการที่เป็นวิชาการไม่ได้แล้วค่ะ พอคุ้นๆ ว่า จะต้องมีคำหลักๆ สำคัญ ๆ ในบทความ ที่เป็นโจทย์ ลงในบทย่อด้วย แต่ก็ต้องมีใจความครบถ้วน ตามบทความฉบับเต็ม

ดังนั้นไม่น่าแปลกใจหรอกที่ จะหาคนทำงานประเภทนี้ได้ดีๆ ต่อให้เป็นรุ่นเก่าก็ตาม

การย่อได้ความที่กะทัดรัด ใจความครบถ้วน คนอ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ คนย่อจะต้องอ่านบทความนั้น
แล้วก็ตีความให้เข้าใจก่อน หากให้ตัวเองทำก็จะใช้แนวนี้ก็คือ อ่านหลายๆ รอบ พยายามทำความเข้าใจกับบทความว่าเขาเขียนอะไร แล้วก็จำออกมาให้ได้ จากนั้นก็เขียนขึ้นจากความเข้าใจ ความทรงจำ
แล้วกลับไปดูคำหลักๆ ประโยคเน้นๆ ในเนื้อความอีกที มาปรับแต่งแก้ไข บทความที่ย่อไปแล้ว

ทีนี้เวลานอกห้องสอบที่ไม่จำกัดเวลา ทำได้โดยไม่ต้องกดดันก็พอจะได้อยู่ แต่ในห้องสอบที่มีความกดดัน
มากๆ แข่งกับเวลา เพราะเขาต้องการคนที่ดีที่สุด ในการให้คะแนน ลำดับต้นๆ คือ ต้องการการจัดลำดับ
จึงต้องสร้างเงื่อนไขเรื่องเวลาขึ้นมา จะทำให้ได้ดีก็เลยยาก แต่เรื่องพวกนี้น่าจะฝึกกันได้ค่ะ

เวลาจะเขียนจากภาษาอังกฤษ ก็มักจะใช้วิธีนี้ คืออ่านก่อน แล้วก็ทำความเข้าใจกับมัน แล้วพยายามไม่แปล
ด้วยความเคยชิน คือ เมื่ออ่านภาษาอังกฤษ แล้วนึกคำแปลภาษาไทยตามไปด้วย ครูเคยสอนว่าอย่าทำอย่างนั้น
เพราะบางทีคำแปล มันมิใช่ความหมายตรงๆ ที่เขาต้องการสื่อสารให้เราทราบ ให้นึกเป็นภาพ ความเข้าใจว่า
ถ้าแบบนั้น ในบ้านเราจะแปลความเป็นการกระทำอย่างไร แล้วค่อยๆ เขียนออกมา ไม่ต้องเน้นว่าตรงตัวเป๊ะ
หรือ นำคำให้ได้ครบทุกคำ เพราะวัฒนธรรมต่างกัน อันนี้ก็เป็นแค่สิ่งที่จำจากครูสอนมาอีกที แต่ตัวเอง
ก็เห็นด้วย เพราะนักแปลหนังสือหลายคน ใช้หลักนี้เหมือนกัน

รอบแรกแปลคำศัพท์ก่อน พวกคำแสลง การเล่นคำต่างๆ แล้วค่อยๆ ทำความเข้าใจ เหมือนกับอาศัย
โครงเรื่องเขามาแล้ว แต่งใหม่ แต่ก็ปรับแต่งด้วย ถ้อยคำ ประโยคสำคัญๆ ตรงนี้คงหลากลีลา อยู่ที่ใคร
จะเน้นอย่างไร บางอย่างพวกข้อมูลเชิงวิชาการ คงต้องใช้คำพูดที่เป็นคำหลัก มิให้ตกหล่น ซึ่งจะเป็นอีกแนวหนึ่ง

เขียนแบบนี้ ไม่ใช่ผู้ชำนาญ เพียงแต่อ่านมา แล้วก็เล่าสู่กันฟังค่ะ

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty ขอบคุณครับ

ตั้งหัวข้อ  torn Fri Oct 31, 2008 8:17 pm

ขอบคุณเรืองที่คุณตังเม เขียนมาครับ เรื่องการย่อความนี้ผมก็ว่าไม่ง่ายเลยในภา่ษาของเรา
ข้อสำคัญต้องรู้คำศัำำำพท์เยอะและ สามารถนำมาใช้เพื่อระบุความหมายของประโยคยาวๆให้เหลือ
เพียงคำสั้นๆได้ใจความ และยังต้องเป็นการเขียนที่ไม่ใส่ทัศนะคติ ตัวเองลงไปด้วย

อืมเกือบลืมไปครับ คุณตังเม อ ไม่อยู่ในเสียงต่ำนะครับ อักษรต่ำมี ๒๔ ตัวครับ ด้วยความเคารพ

torn
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  torn Fri Oct 31, 2008 8:21 pm

ลืมบอกไป ขาด ง ครับ

torn
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 10:22 pm

ขอบคุณท่าน คห ที่ 9, 10 ค่ะ

อ เป็นอักษรกลาง

ดังนั้น อักษรต่ำ จึงเป็น เช่นนี้ ช่วย กันนับอีกครั้งว่า ตกลงมีอะไรเกิน
หรือ ขาดตัวใดบ้าง

ค ฅ ฆ ง ณ ช ซ ฌ
ญ ฑ ฒ ท ธ น พ ฟ
ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Oct 31, 2008 10:25 pm

คำในภาษาไทยค่อนข้างละเอียดอ่อน บางครั้งการเว้นวรรคตอน ก็ทำให้ความหมายเปลี่ยนได้
กรณีย่อความที่มีการตัดทอนคำในบทความ แล้วเขียนในภาษาที่เราคิดว่าใกล้เคียงแล้วก็ตาม
บางครั้งมีโอกาสให้คนอ่านอาจตีความไปอีกอย่างก็ได้ เหมือนกัน แม้ว่าเราจะไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น

แต่หากให้ย่อโดยตัดทอนคำพูด ล้วนๆ แล้วไม่มีส่วนที่เป็นคำของผู้ย่อเลย ก็จะทำให้ ย่อความนั้นขาดใจความด้วยเช่นกัน

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่ Empty Re: นักวิชาการ - ราชบัณฑิตตื่น เด็กวรรณยุกต์ - ย่อความแย่

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 22, 2009 8:34 am

ในห้องนั้น มีเก้าอี้ ที่จำกัด
เป็นห้องที่จัดยังไงมิเคยเสร็จ
เชิญซินแส ดูทิศทาง หวังแก้เคล็ด
ยังระเห็จ เสร็จก่อนผัง ทุกครั้งไป

คนคำนวณ ชวนให้เชื่อ เผื่อใจบ้าง
ต้องอาศัยฟ้าเสริมสร้างทางสดใส
กรรมก่อนเก่า หนักเบาบาง สร้างอย่างไร
ล้วนเป็นเหตุ ก่อปัจจัย ในปัจจุบัน
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ