Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร

Go down

หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร Empty หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร

ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Oct 09, 2008 12:06 am

เดินหน้าต่อไปในการดึงต่างชาติเข้ามาครอบงำประเทศชาติให้จงได้ สำหรับกลุ่มพันธมิตร

โดยการประกาศว่า จะไปยื่นเรื่องต่อยูเอ็นบ้าง ต่อศาลโลกบ้าง

ทั้งๆที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องภายในประเทศแท้ๆ

เฮ้อ!!!กรรมะ ของประเทศชาติ

ทำไม?? ประชาชนที่ไปฟัง ไม่หยุดคิด พิจารณาสักนิดกับสิ่งที่แกนนำได้พูดออกมา

หลับหู หลับตาเชื่อกันเข้าไปได้ยังไง

เฮ้อ!!!
Admin
Admin
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 384
Registration date : 22/06/2008

http://nonlaw.7forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร Empty Re: หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร

ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Oct 09, 2008 12:14 am

กระบวนการเริ่มต้นการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ

นอกจากความ สำคัญในเรื่องที่ว่าคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศประเภทใดบ้างแล้วที่สามารถนำ มาฟ้องร้องคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ซึ่งเป็นเสมือนหลักในประมวลกฎหมายที่กำหนดฐานความผิดต่างๆ และการเริ่มต้นการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศก็เปรียบเสมือนประมวล วิธีพิจารณาความในศาล สำหรับในรายงานฉบับนี้จะขอเน้นหนักในเรื่องกระบวนการเริ่มต้นการดำเนินคดีใน ศาลอาญาระหว่างประเทศก่อน เนื่องจากมีความสำคัญว่าเราจะทราบวิธีการเริ่มต้นฟ้องร้องคดีอาญาระหว่าง ประเทศโดยผ่านกระบวนการใดได้บ้าง
สำหรับกระบวนการฟ้องร้องคดีในศาล อาญาระหว่างประเทศนั้นอาจมาได้จาก 3 ที่กล่าวคือ.- : 1) รัฐที่เป็นภาคี (State Party) 2) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) และ 3) อัยการผู้ฟ้องร้องคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ (Prosecutor) หรืออาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “กลไกเริ่มต้น” (trigger mechanism) ข้อที่พึงสังเกตเกี่ยวกับกลไกเริ่มต้นนี้ก็คือองค์การระหว่างประเทศ, ปัจเจกบุคคล, องค์กรอิสระที่มิใช่ของรัฐบาล (NGO) และรัฐใดก็ตามที่มิได้เข้าเป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการจึง ไม่ได้รับรองสิทธิอย่างเป็นทางการในการเริ่มต้นฟ้องร้องคดีในศาลอาญาระหว่าง ประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการใดของมนุษยชาตินั้นอยู่ในขอบเขตของอัยการผู้ฟ้องร้องคดีของศาล อาญาระหว่างประเทศที่จะสามารถเริ่มต้นฟ้องร้องคดีได้
การเริ่มต้น ฟ้องร้องคดีโดยอัยการผู้ฟ้องร้องคดีนั้นคล้ายคลึงกับการฟ้องร้องคดีของ อัยการภายในรัฐ แต่ว่าก็มีความแตกต่างกันอยู่มากเช่นกัน โดยการร่างธรรมนูญกรุงโรมนั้นคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (International Law Commission; ILC) นั้นเห็นว่าวิธีการที่จะเริ่มต้นฟ้องร้องคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นรัฐ ภาคีตามธรรมนูญกรุงโรมจะต้องยื่นเรื่องต่อคณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่มี อำนาจในการเริ่มต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี ในระหว่างกระบวนการร่างธรรมนูญกรุงโรมนั้นกลุ่มรัฐที่มีความเห็นตรงกัน (Liked Minded States) และองค์การอิสระที่มิใช่ของรัฐบาล (NGO) ได้มีความเห็นตรงกันที่จะทำให้อัยการผู้ฟ้องร้องคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ มีความสามารถในการฟ้องร้องคดีได้เอง หรือที่เรียกกันว่า “Proprio motu Prosecutor” แนวความคิดในเรื่องความเป็นอิสระของอัยการผู้ฟ้องร้องคดีของศาลอาญาระหว่าง ประเทศจึงปรากฏขึ้น และเรื่องดังกล่าวไม่ยอมผ่อนปรนกัน เรื่องเกี่ยวกับความเป็นอิสระของอัยการผู้ฟ้องร้องคดีได้รับการสนับสนุน อย่างเข้มแข็งจากอัยการผู้ฟ้องร้องคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราวในขณะ ที่ร่างธรรมนูญกรุงโรมในขณะนั้นคือนายริชาร์ด โกลด์สโตน (Richard Goldstone) และนายหลุยส์ ออร์บัวร์ (Louise Arbour)
แต่รัฐมหาอำนาจ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเกรงว่าผู้ที่มีอิทธิพลเหนือองค์การอิสระที่มิ ใช่ของรัฐบาล (NGO) จะใช้กลไกดังกล่าวนี้เป็นเครื่องมือ โดยอ้างถึง “Doctor Strangelover prosecutor” ซึ่งหมายถึงภาพยนตร์คลาสสิคที่มีเนื้อเรื่องว่านักวิทยาศาสตร์ผู้บ้าคลั่ง ชาวอเมริกันสูญเสียจุดยืนและกลายเป็นผู้เริ่มต้นการใช้อาวุธนิวเคลียร์เสีย เอง ความกลัวในประเด็นนี้จึงเป็นที่มาของการใช้ดุลยพินิจของศาลเหนือดุลยพินิจ ของอัยการผู้ฟ้องร้องคดี ผลลัพธ์ก็คือคำตัดสินของอัยการผู้ฟ้องร้องคดีหรือเริ่มการสอบสวนในกรณีที่ เป็น “Proprio motu Prosecutor” นั้นจะต้องเป็นไปตามบทที่ว่าด้วยการเตรียมการไต่สวน (Pre-Trail Chamber) ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 3 คนเป็นผู้พิจารณาเมื่ออัยการเห็นว่ากรณีใดที่มีเหตุผลพอสมควรในการฟ้องร้อง (reasonable basis) สำหรับการเริ่มต้นดำเนินกระบวนการสอบสวนนั้นก็ต้องเป็นไปตามบทที่ว่าด้วยการ เตรียมการไต่สวน (Pre-Trail Chamber) ซึ่งในกรณีจะเห็นได้ว่าแตกต่างจากกระบวนการฟ้องร้องคดีในศาลภายในรัฐ เช่นกรณีของประเทศไทยที่อัยการมีอำนาจฟ้องร้องคดีได้เองโดยไม่ต้องมีบทที่ ว่าด้วยการเตรียมการไต่สวน แต่ต้องผ่านการสอบสวนของพนักงานสอบสวนก่อน
Admin
Admin
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 384
Registration date : 22/06/2008

http://nonlaw.7forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร Empty Re: หมากตาต่อไป...ของพันธมิตร

ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Oct 09, 2008 12:15 am

กลไก เริ่มต้นในการฟ้องร้องคดีในกรณีที่สองคือรัฐภาคีเป็นผู้เสนอให้มีการเริ่ม ต้นดำเนินคดี โดยรัฐอาจเสนอ “เหตุการณ์หรือสถานการณ์ซึ่งเกิดเหตุอาชญากรรมใดหรือมากกว่านั้น ภายในเขตอำนาจศาลที่ต้องการให้อัยการผู้ฟ้องร้องคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ เริ่มดำเนินการสอบสวน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบว่ามีบุคคลใดที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้กระทำความผิด จริงหรือไม่” ในกรณีที่เป็นรัฐภาคีเป็นผู้เสนอให้มีการเริ่มต้นคดีนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุตัวผู้กระทำความผิด เพราะในธรรมนูญกรุงโรมใช้คำว่า “เหตุการณ์หรือสถานการณ์” (Situation) ซึ่งเปรียบเทียบกับระบบการฟ้องร้องของศาลภายในแล้วก็คือคล้ายกับกรณีที่มี ผู้มาแจ้งความแล้ว พนักงานสอบสวนมีอำนาจรับเป็นคดีที่จัดอยู่ในประเภท “คดีที่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด” ซึ่งไม่จำเป็นต้องระบุตัวผู้กระทำความผิด แต่ระบุถึงเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนั้นๆ
และการเริ่มต้นการฟ้องร้อง คดีแบบสุดท้ายคือการฟ้องร้องคดีโดยคณะมนตรีความมั่นคงขององค์การสหประชา ชาติ ซึ่งในธรรมนูญไม่ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับรายละเอียดการเสนอคดีโดยคณะมนตรีความ มั่นคงขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้แล้วคณะมนตรีความมั่นคงยังสามารถใช้อำนาจตามบทที่ 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ (Chapter 7 of the Charter of the United Nations) เพื่อใช้ศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราว (ad hoc tribunal) ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างในกรณีการใช้ศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราวสำหรับ ดำเนินคดีกับบุคคลที่กระทำความผิดในยูโกสลาเวียเดิม (The International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia; ICTY) ศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราวสำหรับดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในรวันดา (ICTR) ที่ได้กล่าวมาแล้ว
กล่าวโดยสรุปในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงลักษณะความผิดและกระบวนการเริ่มต้นการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่าง ประเทศเพื่อเป็นการทำความเข้าใจซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการทำความเข้าใจใน ประมวลกฎหมายและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความของศาลภายในรัฐ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งหมดในรายงานฉบับนี้ มิได้กล่าวถึงไว้ทั้งหมด เนื่องจากมุ่งประสงค์จะทำความเข้าใจศาลอาญาระหว่างประเทศในแง่ของอาชญา วิทยา ดังนั้น หากผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องกระบวนการพิจารณาคดีของศาลอาญา ระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะนั้นสามารถศึกษาได้จากหนังสือ “สิทธิมนุษยชนในกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาระหว่างประเทศ” (Human Rights in International Criminal Proceedings) ซึ่งเขียนโดย Salvatore Zappala โดยจะกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ของกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีและศึกษาได้จากธรรมนูญกรุงโรมโดยเฉพาะเรื่อง กฎเกณฑ์การดำเนินการฟ้องร้องและการรับฟังพยานหลักฐาน (Rule of Procedure and Evidence) ซึ่งตีพิมพ์โดยศาลอาญาระหว่างประเทศ.
ชักศึกเข้าบ้าน สมควรตาย
เท่ากับทำลายความน่าเชือถือ สถาบันตุลาการในประเทศ
ซึ่งเป็นสถาบันสุดท้ายของระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข
Admin
Admin
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 384
Registration date : 22/06/2008

http://nonlaw.7forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ