Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

" ๑๓ สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง

Go down

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Empty " ๑๓ สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Apr 06, 2009 9:52 am

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Hazardous-chemicals

แฉไม่ชอบมาพากล เลิกคุมสารกํามะถัน [Thairath 14 ก.พ. 52 - 04:30]

หลังจากที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม มีการประกาศขึ้นบัญชีพืชสมุนไพร 13 ชนิด ที่ไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้แก่สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ด ดองดึง และหนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยอ้างว่า ได้มีการตรวจสอบรายละเอียดอย่างครบถ้วนแล้ว จากคณะ อนุกรรมการและกรมวิชาการเกษตร เสนอก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ แต่กลับเอาวัตถุอันตราย คือสารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน ซึ่งมีผลอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สามารถติดไฟ และเกิดการระเบิดได้ออกจากบัญชีวัตถุอันตราย ก่อให้ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนในสังคมอย่างหนักนั้น

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบเอกสาร ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ประกาศเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2552 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เสนอให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตราย จาก 3 กรมคือ 1. กรม วิชาการเกษตร จำนวน 9 รายการ 2. กรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 1 รายการ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 5 รายการ ปรากฏว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม กลับเสนอให้ยกเลิก “สารซัลเฟอร์” เป็นสารอันตราย ขัดกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2549 ที่กรมโรง งานอุตสาหกรรมเอง เคยประกาศควบคุมเป็นวัตถุอันตราย

ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าว นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะกรรมการ คณะกรรมวัตถุอันตราย ได้ให้ความเห็นไว้หลายครั้งในที่ประชุม โดย ได้คัดค้านกรณี กรมโรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประกาศยกเลิกควบคุมสารซัลเฟอร์ เป็นวัตถุอันตรายว่า ควรอ้างถึง พ.ร.บ. วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นฉบับเพิ่มเติมล่าสุด และมีข้อสังเกต เกี่ยวกับการยกเลิกการควบคุมสารซัลเฟอร์ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีความเห็นว่าตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดรายละเอียด การควบคุมให้ชัดเจนตามเจตนารมณ์ ที่จะป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำไปใช้ทางการเกษตร โดยแจ้งว่า นำเข้ามาใช้ ทางอุตสาหกรรม มิได้ให้ยกเลิกการควบคุม อีกทั้งเรื่องนี้เป็นคดีความ จึงควรพิจารณาเหตุผลความจำเป็นในการยกเลิกให้ชัดเจน ไม่ควรเอื้อประโยชน์ให้คดีความ ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปเป็นข้อต่อสู้ในคดีความได้

จากข้อตรวจสอบยังพบข้อสังเกตอีกว่า ก่อนหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงฉบับที่ 6 ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายหลายชนิด รวมทั้งสารซัลเฟอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2552 เป็นต้นไปนั้น หลังจากมีวาระประชุม ของคณะกรรมการวัตถุอันตรายขึ้นเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2551 สภาอุตสาหกรรมได้ร้องเรียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรม หารือการดำเนินการตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ถึงการเกิดผลกระทบ ความเสียหายต่อบริษัทนำเข้าหลายบริษัท ที่ถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI และกรมศุลกากร จับกุมการนำเข้าสารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน โดยไม่ได้ขออนุญาตการนำเข้าโดยถูกต้อง ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 51 ทำให้เกิดความเสียหลายต่อภาคเอกชนหลายพันล้านบาท

MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Empty ตายวันนี้ ตายวันไหน ก็ตายเหมือนกัน

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Apr 06, 2009 9:53 am

สำหรับผลการจับกุมคดี ที่ดีเอสไอ ตรวจค้น จับกุม รวม 6 ราย คือ 1. บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัทไทยเรยอน จำกัด 3. บริษัท ไทย บริดจสโตน จำกัด 4. บริษัท โยโกฮามา ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท สยามมิชลิน จำกัด 6. บริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รวมมูลค่า ประมาณ 1,200 ล้านบาท ส่วนคดีที่กรมศุลกากรตรวจค้น-จับกุม รวม 21 ราย มีมูลค่าของประมาณ 1,267 ล้านบาท รวมคดีที่ทั้งสองหน่วยงานจับกุมมีมูลค่าประมาณ 2,567 ล้านบาท หากถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษจะต้องชำระค่าปรับประมาณ 10,000 ล้านบาท

แหล่ง ข่าวจากกรมศุลกากรเปิดเผยว่า หากไม่มีการควบคุมให้สารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน เป็นวัตถุอันตรายที่ต้องควบคุม อาจมีผลต่อการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ซึ่งอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นว่าหากกระทรวง อุตสาหกรรมจะออกประกาศยกเลิกการกำหนดให้เป็นวัตถุ อันตรายประเภทที่ 3 จะทำให้ผู้ประกอบการไม่มีความผิดทางอาญา

สำหรับ สารซัลเฟอร์ ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษรายหนึ่งว่า สารตัวนี้อาจลุกติดไฟเมื่อมีการเสียดสีหรือเกิดความร้อน และสามารถ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงขณะเกิดลุกไหม้ หากการหายใจรับสารซัลเฟอร์เข้าไป จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ หากสัมผัสทางผิวหนัง ทำให้แสบไหม้ ผิวหนังอย่างรุนแรง หากกลืนกินเข้าไปทำให้ทำลายระบบ ทางเดินอาหาร ถูกตาจะระคายเคือง ตาแดง ปวดตา สารนี้ ไวไฟ ผลึกของซัลเฟอร์จุดติดไฟได้รวดเร็ว หากสัมผัสกับสารออกซิไดส์และโลหะบางชนิดจะเกิดระเบิดได้ และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Empty ตายเหมือน แต่กระดูกที่เหลือคงต่างกัน

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Apr 06, 2009 9:56 am

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Skull











วันเดียวกัน นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายว่า ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ถึงเรื่องความสับสนที่เกิดขึ้นและเห็นด้วยกับกรมวิชาการเกษตร ที่จะเสนอให้ทบทวนประกาศดังกล่าว โดยให้ ประกาศเป็นกลุ่มคุณสมบัติของพืช ตัดคำว่าได้แก่ และ ชื่อพืชออกไป ได้แจ้งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรีรับทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้นแล้ว สาเหตุ ที่กรมวิชาการเกษตรเสนอกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา เพราะพบว่าปัจจุบันมีการผลิตสารกำจัดศัตรูพืชหลอกขายให้เกษตรกรจำนวนมาก เช่น นำสะเดามาบดให้ป่นจำหน่าย แต่ไม่รู้ว่าเป็นสะเดาจริงหรือไม่ จึงต้องการจัดระบบให้ดีขึ้น

ขณะที่นายอนันต์ ดาโลดม อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และอดีตสมาชิกวุฒิสภาสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ว่าควรจะยกเลิกประกาศดังกล่าวออกไป ไม่ใช่แค่ทบทวน คิดว่าเรื่องนี้มีประเด็นซ่อนเร้นอยู่ เพราะการกำหนดให้ ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชจากสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเพื่อการจำหน่าย มาแจ้งกับกรมวิชาการเกษตร ที่อ้างว่าเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้อย่างกว้างขวางนั้น ในข้อเท็จจริง เมื่อแจ้งแล้วจะทราบชื่อที่อยู่ผู้ผลิต จากนั้นกรมวิชาการเกษตรจะส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่วาง จำหน่ายมาตรวจว่าได้คุณภาพหรือไม่ ในประเด็นนี้มีความคลุมเครืออย่างมากเรื่องมาตรฐานการรับรอง เนื่องจากไม่มีการประกาศมาตรฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ผู้ผลิตจะไม่ทราบเกณฑ์แน่นอน และจะเป็นช่องว่างที่เจ้าหน้าที่ จะเข้าไปกลั่นแกล้งหรือหาผลประโยชน์ได้ เพราะหากถูกระบุว่าเป็นสินค้าปลอมจะมีโทษรุนแรงถึงขั้นจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท

“ปัญหา การเข้าไปตรวจจับของเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรทุกวันนี้ บทบาทยิ่งกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยซ้ำ โดยอาศัยกฎหมายที่ให้อำนาจมาเป็นเครื่องมือ เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีการกำหนดมาตรฐานที่สูงมาก เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่จะผลิตขายไม่สามารถทำได้ ในทางปฏิบัติก็ต้องถูกจับให้เลิกกิจการไป ทั้งที่ลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ไปแล้ว ทำให้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่แพร่หลายเท่าที่ ควร ผลประโยชน์ก็ตกอยู่ที่คนขายปุ๋ยเคมี” นายอนันต์กล่าว
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Empty ใครว่าไม่อันตราย ต้องบังคับให้กิน สดๆ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Apr 06, 2009 10:02 am

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Emc0232l


มาตรา ๑๘ วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้
(๑) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(๒) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
(๓) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
(๔) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง
เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุชือหรือคุณสมบัติของวัตถุอันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย กำหนดเวลาการใช้บังคับและหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

" ๑๓  สมุนไพร กับ ซัลเฟอร์ " ถ้าอยากตาย ให้เลือกกินอย่างหลัง Empty ไม่ต้องอมพระมาพูด แค่อมซัลเฟอร์มายืนยันก็ โอเค

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Apr 06, 2009 10:05 am

ล้านคำพูดมิเท่าหนึ่งการกระทำ

แล้วมิต้องรบกวน องค์พระ ให้ท่านเป็นประจักษ์พยาน (จะว่าพยานบุคคลก็มิใช่นะ เพราะมิใช่บุคคล)
แค่อมซัลเฟอร์ไว้ในปากสักครึ่งชม. คุณสมบัติซัลเฟอร์ที่จะอม ก็เป็นตามที่คนซึ่งจะยกเลิกประกาศเป็นอันตราย กำหนดในมาตรฐาน นั่นแหละค่ะ

เท่านี้ก็เชื่อทันทีเลยค่ะ เห็นไหมว่าง่ายเสียยิ่งกว่าง่ายอีก
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ