Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

4 posters

Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  A-Team Thu Nov 04, 2010 4:58 pm

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Eunwes1

America’s Central Bank, the Federal Reserve has plugged another costly line of life-support into the ailing US economy. It is a two-part treatment, designed to alleviate the headache of getting a mortgage and to unblock the congested passages of consumer credit, to get Americans spending again. It is an unorthodox prescription, involving a double injection of more than 600-billion euros.
Treasury Secretary Henry Paulson said: “Millions of Americans cannot find affordable financing for their basic credit needs. And credit card rates are climbing, making it more expensive for families to finance everyday purchases. This lack of affordable consumer credit undermines consumer spending and as a result weakens our economy.” The Fed is to spend up to 460-billion euros buying mortgage-related debt trying to get money in the housing market flowing again, after it dried up with the meltdown of American high-risk mortgages last year. There is a further 150-billion euros to support consumer credit like car-loans and credit-cards. In 2007, they accounted for business worth 184-billion euros. This October they had all but ground to a halt.

""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ข่าว โดยสรุป สหรัฐทุ่มเงินดอลล่า 6000 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8 ล้านล้านบาทไทย ออกสู่ตลาดโลก
กระดาษใส่สีมีตัวเลขของสหรัฐ ที่เรียกว่าDollas นั้นไม่จัดว่าเป็น Monney ตามกฏธนาคารสากลโลก คือ ไม่มีทองคำสำรอง เทียบได้กับแบ็งค์กงเต็ก

สาเหตุที่สหรัฐทุ่มดอลล่าห์ออกมาสู่โลกนี้ ก็เนื่องจากไม่สามารถบังคับจีนให้ลดค่าเงินหยวน และแม้จะสร้างภัยธรรมชาติให้ถล่มจีน(พายุเมกิ) ก็ผิดเป้าไม่ส่งผลกระทบให้จีนเปลี่ยนใจแต่อย่างใด นี่คือต้นเหตุของการตัดสินใจให้สหรัฐเอากระดาษเปล่า มาพิมพ์ลักษณ์คล้ายเงินตรา เรียกว่าดอลล่าห์จำนวนมหาศาลออกสู่โลก ซึ่งประเทศจีนอยู่ได้ด้วยการส่งสินค้าออก มีตลาดอยู่ในประเทศสหภาพยุโรป และอเมริกา ก็ต้องรับกระดาษไร้ัค่านี้ไปโดยปริยาย

เรียกว่า ไม่ต้องลงทุนมากมายอะไรเลย แต่สามารถสยบจีนให้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่สหรัฐตั้งขึ้นมาได้โดยปริยาย แม้ว่าจีนจะลดค่าเงินหยวนหรือไม่ก็ตาม เพราะถึงอย่างไรต่อไปนี้ธุรกิจ-เศรษฐกิจจีนที่ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก ก็จะเต็มไปด้วยกระดาษเปล่าอันไร้ค่า ที่เรียกว่าดอลล่าห์สหรัฐ

เป็นแผนที่แยบยลเหนือชั้น แต่ประสพการณ์ของจีนที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว และการต่อสู้มานับพันปี คงจะพ้นวิกฤตการณ์ทุ่มดอลล่าห์ของสหรัฐคราวนี้ได้โดยไม่ยาก


เนื่องจากแผนการณ์ที่ทีมงานเศรษฐกิจของสหรัฐได้กำหนดขึ้นนี้ นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องเงินหยวนจีน ซึ่งสหรัฐขาดดุลย์การค้ากับจีนอย่างมหาศาลได้แล้ว ยังทำให้สหรัฐสามารถดูดทรัพยากร เงินตราทองถิ่นของประเทศต่าง ๆ มาเป็นของตนโดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย(นอกจากคำขู่ เพราะมีแสนยานุภาพทางทหาร) กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในเวลาเดียวกัน

เป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศสหรัฐที่กำลังถึงภาวะวิกฤต โดยไม่สนใจว่าประเทศที่ถูกบีบบังคับเหล่านั้นจะถึงแก่ความพินาศล่มจมแต่อย่างใด

ในสายตาของนักธุรกิจ อาจจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า

" แล้วประเทศในกลุ่มEU จะไม่ต่อต้านกรณีนี้หรือ ? "

คำตอบคือ

ได้มีการประชุมตกลงกันไว้ก่อนระหว่าง สหรัฐ และ EU ซึ่งต่างก็เป็นลูกหนี้ของจีน ก่อนหน้านี้แล้ว และมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ใช้แผนอะไรก็ได้จะทำให้ลดจำนวนหนี้สินและการขาดดุลย์การค้าที่มีต่อจีนสำเร็จเป็นอันใช้ได้

สำหรับ ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งซึ่งเดินตามรอยตีน และคำสั่งของสหรัฐ ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตาม

ซึ่งแน่นอนที่สุดเมื่อเกิดเหตุการณ์ทุ่มดอลล่าห์สหรัฐออกสู่ตลาดจำนวนมหาศาล สิ่งที่ประเทศไทยหนีไม่พ้น คือสภาพเศรษฐกิจ และนักธุรกิจไทย ที่ต้องรับความซวย นั่งรอความฉิบหาย อย่างไม่มีทางปฏิเสธ นี่คือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

มันเป็นการทิ้งทวน และเป็นอุดมการณ์ถาวรของพรรคแมงสาป ที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นเอกลักษณ์ นับตั้งแต่ "วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง" ซึ่งไทยต้องเป็นหนี้ IMF และเศรษฐี-นักธุกิจพันล้าน กลายเป็นขอทานในพริบตา

เหตุการณ์นั้นจะหวลกลับมาอีกครั้ง

ไม่ต้องรอนาน คอยดูสัญญาณการเลือกตั้ง ประกาศวันไหน



นั่นคือ ความฉิบหาย ที่นักธุรกิจไทย ต้องเผชิญ
A-Team
A-Team

จำนวนข้อความ : 44
Registration date : 02/09/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty Re: ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Sat Nov 06, 2010 12:28 am

ดันการลงทุนไปนอกฉวยโอกาสค่าเงินแข็ง

“ชัยวุฒิ” เร่งเครื่องดันการลงทุนไทยไปนอก ฉวยโอกาสค่าบาทแข็งนำร่อง 5 อุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างประสานงานกับกระทรวงการคลัง ในการเร่งรัดนโยบายส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนไทยไปยังต่างประเทศ โดยเน้นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เอื้อต่อการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ, การช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และแก้ปัญหาการนำกำไรจากต่างชาติเข้าไปในไทย ที่ปัจจุบันถูกกรมสรรพากรเก็บภาษีซ้ำซ้อน คาดจะมีข้อสรุปชัดเจน และสามารถประกาศใช้ได้ในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.54 เนื่องจากนักลงทุนไทยหลายรายกำลังรอความชัดเจน ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ จะนำร่องใน 5 อุตสาหกรรมก่อน ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตร และเกษตรแปรรูป, สิ่งทอ และเสื้อผ้า, ชิ้นส่วนยานยนต์, ท่องเที่ยวและบริการ และ ก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รับเป็นเจ้าภาพดำเนินการ

“การนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ แม้จะไม่ช่วยแก้ปัญหาเงินบาทที่แข็งได้มากนัก เพราะปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดในปัจจุบันอยู่ที่เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัว แต่ก็ช่วยเพิ่มเงินกรณีที่จะไปต่างประเทศได้ และที่สำคัญการลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะช่วยลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ และค่าแรงได้ระดับหนึ่ง”.

=================================

เจริญครับท่าน
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty Re: ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Fri Nov 19, 2010 7:23 pm

เมื่ออเมริกา เสก ′ดอลลาร์′ จากอากาศธาตุอีกครั้ง

โดย เกษียร เตชะพีระ

เมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เฟด" (FED-the Federal Reserve) ซึ่งมี Ben Bernanke เป็นประธานได้ประกาศจะดำเนินมาตรการ Quantitative Easing ระลอก 2 นับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์ในปี ค.ศ.2007/08

Quantitative Easing นั้นแปลตรงตัวว่า "ผ่อนคลายเชิงปริมาณ" หมายถึงการอัดฉีดหรือเพิ่มปริมาณสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการผ่อนคลายแรงกดดันต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินในด้านอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องหรืออัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (regulatory or legal reserve requirements) ฝ่ายหลังจะได้มีเงินสดสำรองส่วนเกิน (excess reserves) เพิ่มขึ้นสำหรับไปปล่อยกู้ต่อได้ถ้าหากยอมปล่อย

อันที่จริงธนาคารกลางสหรัฐได้ใช้มาตรการ Quantitative Easing ระลอกแรกไปแล้วเมื่อ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.2008 และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจอเมริกันกระเตื้องขึ้นบ้างนับแต่กลางปี ค.ศ.2009 เป็นต้นมา แต่แล้วเศรษฐกิจก็ทำท่าจะแผ่วลงอีกเฟดจึงต้องอัดฉีดซ้ำโดยคราวนี้จะปั๊มเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่ระบบ รวมทั้งรักษาระดับเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 0-0.25% ไว้ต่อไปด้วย (ข้อมูลบางส่วนจาก กอบศักดิ์ ภูตระกูล, "Quantitative Easing II",Blog Dr. Kob, เข้าใช้ 7 พ.ย. 2553, www.kobsak.com/?p=4377 )

มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นพุ่งขึ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นไทย ("หุ้นไทยพุ่งกระฉูด 17 จุด ขานรับเฟดออก QE2",กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 4 พ.ย. 2553) ทว่าขณะที่นักเล่นหุ้นตื่นเต้นยินดี รัฐบาลนานาชาติกลับแสดงปฏิกิริยาไปในทางตรงข้ามและกล่าวหาสหรัฐว่ากำลังดำเนินสงครามเงินตรา-การเงิน (currency & financial warfare) ด้วยการลดค่าเงินดอลลาร์

ประธานาธิบดีหญิง ดิลมา รูสเซฟ แห่งบราซิล ผู้เพิ่งชนะเลือกตั้งเข้ามากล่าวว่า "หนสุดท้ายที่นานาประเทศลดค่าเงินแข่งกันเป็นทิวแถวนั้น มันลงเอยด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง"

ส่วนทางการจีนก็กล่าวหาสหรัฐว่าเอาแต่พิมพ์เงินใช้อย่างไม่ยับยั้งชั่งใจ

("New $600B Fed Stimulus Fuels Fears of US Currency War", Democracy Now!, 5 November 2010)

ผลกระทบจากนโยบาย Quantitative Easing ของธนาคารกลางสหรัฐที่เห็นได้ชัดก็คือกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ลดลง ทำให้ราคาสินค้าส่งออกของอเมริกาถูกลงตาม แต่สินค้านำเข้าอเมริกาจากต่างประเทศรวมทั้งไทยกลับแพงขึ้น
ยิ่งกว่านั้นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังส่งเสริมให้บรรษัทสหรัฐพากันไปลงทุนต่างประเทศขนานใหญ่ โดยกว้านซื้อ
อสังหาริมทรัพย์เอย ทรัพยากรธรรมชาติเอย หุ้นเอย ฯลฯ ในประเทศเหล่านั้นด้วยต้นทุนต่ำ
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty Re: ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Fri Nov 19, 2010 7:29 pm

แล้วคราวนี้เงิน 6 แสนล้านดอลฯจะช่วยปั๊มเศรษฐกิจสหรัฐให้กระเตื้องขึ้นจริงหรือ?.....

ก่อนจะกล่าวถึงภูมิหลังและทิศทางของสงครามเงินตรา-การเงินอเมริกันรอบใหม่ สมควรมาทำความเข้าใจมาตรการ Quantitative Easing หรือผ่อนคลายเชิงปริมาณเป็นพื้นฐานสักเล็กน้อย เพราะมันแปลกและสนุกน่าคิดดีครับ

Quantitative Easing หรือ QE เป็นนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางบางประเทศใช้เพื่อเพิ่มอุปทานเงินในประเทศโดยการเพิ่มเงินสดสำรองส่วนเกินของระบบธนาคาร ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อทำให้ราคาพันธบัตรอยู่ตัวหรือสูงขึ้น อันจะส่งผลช่วยลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง โดยทั่วไปจะใช้นโยบายนี้เมื่อวิธีปกติในการควบคุมอุปทานเงินใช้การไม่ได้แล้ว กล่าวคืออัตราดอกเบี้ยลดเหลือศูนย์หรือใกล้ศูนย์จนไม่มีช่องจะลดได้อีกแล้ว เป็นต้น ว่ากันว่า QE ก็เท่ากับการพิมพ์แบงก์ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง

ธนาคารกลางทำ QE โดยเติมเครดิตใส่บัญชีของตนด้วยเงินที่เสกขึ้นมาจากอากาศธาตุ (ex nihilo)! จากนั้นก็เอาเครดิตดังกล่าวไปเที่ยวซื้อสินทรัพย์การเงินชั้นดีต่างๆ อาทิ พันธบัตรรัฐบาล, หนี้ของหน่วยงานภาครัฐ, หลักทรัพย์ที่ค้ำประกันด้วยหนี้จำนอง, และหุ้นกู้ของบรรษัท เป็นต้น มาจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น (เรียกกระบวนการกว้านซื้อนี้ว่าการดำเนินการผ่านตลาดการเงินหรือ Open Market Operations)

การที่ธนาคารกลางซื้อสินทรัพย์การเงินจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่นโดยโอนเครดิตเข้าบัญชีเงินสำรองของธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านั้นที่เปิดไว้กับตน ทำให้ฝ่ายหลังมีเงินสดสำรองส่วนเกินอันจำเป็นแก่การสร้างเม็ดเงินใหม่ผ่านการปล่อยกู้ได้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์การสำรองสัดส่วนของระบบธนาคาร -> ซึ่งจะส่งผลคูณต่อเงินฝากในระบบให้เพิ่มทวีขึ้น -> และหวังว่าจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องฟื้นตัวในที่สุด

(สำหรับประเด็นเรื่องธนาคารพาณิชย์เสกเงินขึ้นมาได้ด้วยการปล่อยกู้อย่างไรนั้น ท่านที่ฉงนสนเท่ห์โปรดดูภาพยนตร์การ์ตูน Money as Debt (ค.ศ.2006) ของ Paul Grignon ซึ่งช่วยอธิบายเรื่องนี้ได้ที่ http://video.google.com/videoplay?docid=-2550156453790090544# )

ทว่าความเสี่ยงของการดำเนินนโยบาย Quantitative Easing หรือ "ผ่อนคลายเชิงปริมาณ" ก็มีอยู่ ได้แก่ 1) เสี่ยงว่ามันจะส่งผลแรงเกินกว่าที่ตั้งใจไว้จนกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรง (hyperinflation) เลยพาลทำให้ผลลัพธ์ที่คาดหมายว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวจากการทุ่มซื้อสินทรัพย์นั้นกลับตกรางพลิกคว่ำเสียเรื่องไป

หรือในทางกลับกัน 2) มันไม่ส่งผลแรงพอเพราะธนาคารและสถาบันการเงินอื่นดันเลือกนั่งทับเงินสดสำรองที่เพิ่มขึ้นไว้เสียเฉยๆ อย่างนั้นแหละ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มเงินกองทุนสำรองของธนาคารตัวเองไว้ให้อุ่นใจเผื่อเหนียวในยามที่ลูกหนี้ธนาคารพากันผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ-ซึ่งก็คืออาการกับดักสภาพคล่องหรือกับดักเงินฝืด (liquidity or deflationary trap) ที่เกิดเรื้อรังกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นจนฝ่อฟุบไม่ฟื้นหลังฟองสบู่แตกในปี ค.ศ.1990-91 นานกว่าทศวรรษนั่นเอง ดังที่วงการเศรษฐกิจญี่ปุ่นเรียกช่วงปี ค.ศ.1992-2002 ว่า "the lost decade" หรือทศวรรษที่เสียไปเปล่าๆ ปลี้ๆ

(ประมวลเรียบเรียงจาก "Quantitative Easing",Wikipedia, en.wikipedia.org/wiki/Quantitative_easing; James Bullard, "Quantitative Easing: Uncharted Waters for Monetary Policy",The Regional Economist, January 2010, www.stlouisfed.org; "เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน", ธนาคารแห่งประเทศไทย, เมษายน 2551; และ Ronald McKinnon, "Japan′s Deflationary Hangover: Wage Stagnation and the Syndrome of the Ever-Weaker Yen", 2007)

หากศัพท์แสงการเงินการธนาคารข้างต้นชวนงง ก็มีบทสนทนาที่ช่วยให้เข้าใจ QE ง่ายๆ จากคณะผู้จัดรายการวิทยุ Planet Money ทาง National Public Radio ของอเมริกาตอน "Quantitative Easing, Explained" (7 ต.ค. 2010, www.npr.org/blogs/money/2010/10/07/130408926/quantitative-easing-explained ) บางส่วนดังต่อไปนี้: -

อาดัม เดวิดสัน: ...เอาเข้าจริงความหมายของ QE อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็คือการเนรมิตเงินปริมาณมหาศาลขึ้นมาจากอากาศธาตุ อย่างน้อยนักเศรษฐศาสตร์บางคนก็เชื่อว่าเมื่อคุณอยากปรับปรุงเศรษฐกิจให้ดีขึ้น คุณต้องเอาเงินออกไปข้างนอกมากขึ้น ให้มันได้หมุนเวียน

อาเล็กซ์ บลูมเบอร์ก: เอาล่ะ ปัญหาอยู่ตรงมีทางทำอย่างนี้ได้ไม่กี่แบบ ทางแรกคือให้รัฐบาลใช้จ่ายเงิน จ้างคนไปสร้างถนนหรือสะพานหรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ แบบนั้นมันจะช่วยเอาเงินไปเข้ากระเป๋าชาวบ้าน แล้วออกไปสู่เศรษฐกิจอีกที

ทางเลือกที่สองก็คือธนาคารกลางอาจตัดลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยให้กู้เงินได้ถูกลง คนก็จะกู้เพิ่ม ซื้อเพิ่ม ก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ เพิ่ม เศรษฐกิจก็จะเดินเครื่องได้อีก

คราวนี้เกือบจะตลอดประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเศรษฐกิจสหรัฐ ผู้วางนโยบายเคยแต่ใช้เครื่องมือสองอย่างนี้เท่านั้น ได้แก่ให้รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณหรือให้ธนาคารกลางตัดลดอัตราดอกเบี้ย เท่านั้นแหละ แต่พอเจอวิกฤตการเงินหนนี้ ปรากฏว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐที่เครื่องมือทั้งสองใช้ไม่ได้ผล


เดวิดสัน: ดังนั้น QE ก็เลยโผล่เข้ามา มันเป็นความคิดที่เฟดยืมมาจากญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเคยใช้มันเมื่อทศวรรษก่อนตอนที่เจอปัญหาคล้ายๆ กัน

บลูมเบอร์ก: และ QE มันทำงานทำนองนี้ครับ ธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง-สมมุติเป็น Bank of America-มีสินทรัพย์ 5 หมื่นล้านดอลฯในรูป ง่า...ไม่รู้ซี เอาเป็นว่าในรูปพันธบัตรรัฐบาลพวกเขาคงอยากจะขายพันธบัตรเหล่านั้นล่ะครับถ้ามีใครยอมจ่ายเงินมากพอเพื่อซื้อมัน แต่ไม่มีใครยินดีจะจ่ายเงินมากขนาดนั้น ดังนั้น Bank of America ก็เลยถือมันไว้ต่อไป วิธีแบบ QE ก็คือเฟดเร่เข้ามาแล้วก็บอกว่า เฮ้ย.. Bank of America อั๊วจะซื้อพันธบัตรพวกนั้นในราคาสูงกว่าที่ใครต่อใครจะยินดีจ่ายนิดหน่อย Bank of America ก็บอกว่าโอเค เยี่ยมครับเฮีย ส่งเงินมาเลย

เดวิดสัน: แล้วตอนนี้แหละครับที่เฟดได้จังหวะสำแดงปาฏิหาริย์บางอย่างของธนาคารกลางออกมา พวกเขาจ่ายเงิน 5 หมื่นล้านดอลฯใหม่เอี่ยมอ่องออกมาให้ โดยเพิ่งเนรมิตมันขึ้นตะกี้นี้เอง พวกเขาไม่ต้องกู้ยืมหรือเก็บภาษีจากเราไป เฟดเป็นสถาบันหนึ่งเดียวในอเมริกาที่สามารถเนรมิตดอลลาร์ใหม่ขึ้นมาได้เลย

บลูมเบอร์ก: และที่เขาคิดไว้ก็คือว่าในเมื่อตอนนี้ Bank of America มีดอลลาร์เพิ่มพิเศษ 5 หมื่นล้าน, เป็น 5 หมื่นล้านจากกองดอลลาร์ใหม่เอี่ยมอ่องที่เฟดเนรมิตขึ้น และดังนั้นพวกธนาคารเหล่านี้ก็ต้องใช้มันทำบางอย่าง ทางเฟดหวังว่า Bank of America จะตัดสินใจปล่อยเงิน 5 หมื่นล้านนั้นให้บริษัทห้างร้านและชาวบ้านกู้ไปลงทุนหรือใช้จ่าย และนี่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด

เดวิดสัน: ฟังเข้าท่ามาก เนรมิตเงินใหม่ขึ้นมา เอามันออกไปข้างนอก-แล้วทุกคนก็ได้ประโยชน์ แต่แน่ละครับมันมีเงื่อนไขเรื่อง "แต่..." อยู่

บลูมเบอร์ก: ก็แหงล่ะครับว่ามี

เดวิดสัน: นั่นคือ...แต่ไม่มีใครรู้แน่ว่า QE มันใช้การได้จริงหรือเปล่า มันยังเป็นเรื่องถกเถียงกันมากในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ และนั่นก็เพราะมันถูกทดลองใช้มาไม่กี่ที และก็ใช่ว่ามันจะได้ผลยอดเยี่ยมเสมอไป อย่างที่เกิดในญี่ปุ่นเป็นต้น....."
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty Re: ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Tue Nov 23, 2010 12:32 am

Bernanke Defends Fed Bond-Buying Policy

Federal Reserve Chairman Ben Bernanke issued a warning about China's currency policies while defending a U.S. bond-purchasing plan that some leaders call clueless. The fed chief made the comments at a meeting of central bankers in Germany.

The strategy of pumping billions of dollars into government bonds to spur the U.S. economy has drawn sharp criticism around the world - most recently from G20 finance ministers who called the U.S. Federal Reserve policy of quantitative easing misguided

They claim the plan, which essentially allows the US to print money, will flood world markets with cheap dollars and drive other currencies higher.

Not so, says Bernanke, who launched his most forceful defense of the US policy Friday - at a European Central Bank Conference in Frankfurt Germany. "The best way to continue to deliver the strong economic fundamentals that underpin the value of the dollar, as well as to support the global recovery, is through policies that lead to a resumption of robust growth in the context of price stability in the United States," he said.

In other words, a strong global recovery requires a healthy U.S. economy.

With Congress reluctant to provide more stimulus to bolster the U.S. economy, the bond purchasing plan is one of the few options left for the central bank to lower interest rates. "On its current economic trajectory, the United States runs the risk of seeing millions of workers unemployed or underemployed for many years. As a society we should find that outcome unacceptable," Bernanke said.

Critics say the fed policy promotes inflation, lowers the value of the dollar and makes U.S. exports cheaper. But with emerging markets returning to pre-crisis levels faster than developed nations, Bernanke said polices to rebalance the global economy are necessary.

He also spoke out against countries that deliberately keep their currencies weak, without mentioning China. "Currency undervaluation by surplus countries is inhibiting needed international adjustment and creating spillover effects that would not exist if exchange rates better reflected market fundamentals," said the central bank chief.

Bernanke's comments come days after a congressional report urged Washington to do more to force China to increase the value of its currency. The U.S. believes Beijing deliberately weakens the yuan to make Chinese exports cheaper.
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง Empty Re: ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง

ตั้งหัวข้อ  แฟนคลับ Tue Nov 23, 2010 10:12 am

กังวลหนี้ยุโรป หุ้นไทยเปิดตลาดลบ8จุด บาทอ่อนค่าแตะ30บาท/ดอลลาร์

ข้อมูลล่าสุด 23 พ.ย. 2553 10:03:03
ข้อมูลการซื้อขายจะถูกปรับปรุงจากข้อมูลสิ้นวันที่เป็นค่าทางการประมาณ 18:30 น.

ข่าวร้าย>> นักธุรกิจไทย กับ ความฉิบหายที่ใกล้ถึง War

แฟนคลับ

จำนวนข้อความ : 96
Registration date : 10/05/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ