Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เหมืองแร่ทองคำชาตรี

Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 8:34 pm

เหมืองแร่ทองคำชาตรี %E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Aerial-large

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Mine-overview%20large
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 8:35 pm

hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 8:41 pm

เหมืองแร่ทองคำชาตรี %E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%951
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 8:49 pm

อัคราไมนิ่งเดินเครื่องขุดหาแร่ทองคำแล้ว
พุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551 19:40 น. — INN : ข่าวภูมิภาค
http://www.innnews.co.th/local.php?nid=146886

นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยม บริษัทเหมืองแร่ทองคำ ชาตรี หรือ บริษัทอัครไมนิ่ง ภายหลังจากบริษัทดังกล่าวได้รับประทานบัตร จากรัฐบาลไทย ให้ขุดหาแร่ทองคำ ในพื้นที่เฟสที่ 2 เนื้อที่กว่า 5 พันไร่ ในเขต ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งนายฟิลล์ แมคอินไทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ทางบริษัทได้รับอนุมัติประทานบัตรจากรัฐบาลไทย ให้สามารถดำเนินการขุดหาและทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือจำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 5,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์ นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ในการขยายงาน และจ้างแรงงานให้เติบโต กว้างขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศใต้นั้น ใกล้หมดอายุประทานบัตร โดยขณะนี้การดำเนินงานพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางทิศเหนือ อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอาคารสถานที่ ซึ่งทุกขั้นตอนการดำเนินงานจะยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ระดับโลกเช่นเดียวกับพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม ไม่เพียงเท่านี้การได้รับประทานบัตรในพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางด้านทิศเหนือทั้ง 9 แปลง บริษัทยังสามารถจ้างงานประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพิจิตรได้มากขึ้น จากการคาดการณ์ว่าผลผลิตจากสินแร่ที่ขุดได้ในพื้นที่ใหม่ จะทำให้บริษัทสามารถชำระค่าภาคหลวงแร่ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า จากเดิมมีการชำระในปี 2551 เป็นเงิน 105 ล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นได้มากขึ้น โดยบริษัทมีแนวทางในการสนับสนุนกองทุนพัฒนาตำบล ในตำบลที่อยู่ในพื้นที่ ของประทานบัตรแปลงใหม่ ได้แก่ ตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์ ตำบลละ 5 ล้านบาท ต่อปี โดยจะชำระต่อเนื่องกันเป็นเวลา 10 ปี เริ่มชำระเงินให้แล้วในปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา รวมทั้งบริษัทจะสนับสนุนผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษแก่รัฐ ปีละ 3 ล้านบาท ในส่วนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของชุมนุมหรือหน่วยงานต่างๆ นั้น ทางบริษัทก็จะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนปีละประมาณ 4 ล้านบาทด้วย สำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนขยาย กว่า 5,000 ไร่นั้น บริษัทยังคงให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของรัฐบาล เช่นเดียวกับการดำเนินงานในพื้นที่ชาตรีใต้ ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะ ก่อนเปิดเหมือง นอกจากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมในจุดต่างๆ ของเหมืองแล้ว พื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมชน จะมีการสร้างคันดินสำหรับปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองออกไปรบกวนด้านนอกเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้ทางบริษัทได้ว่าจ้างให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยปลูก เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและได้มาสัมผัสถึงการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทด้วย นอกจากนี้จะมีการจัดเตรียมระบบระบายน้ำของพื้นที่โครงการทั้งหมด เช่น บ่อดักตะกอน สำหรับเก็บน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอก ส่วนระยะหลังเหมืองเปิดดำเนินการ บริษัทจะยังคงติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านอากาศ เสียง แรงสั่นสะเทือน น้ำ โดยการตรวจวัดจากเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอง จากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากเจ้าหน้าที่ดูแลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่บริษัทเคยได้รับก่อนหน้านี้ อาทิ ISO 14001 อีกกว่าปีละ 7-8 ครั้ง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของพื้นที่เหมืองชาตรีเหนือเพิ่มขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอ ในส่วนของ นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถสนับสนุนนักลงทุนที่ช่วยสร้างงานอาชีพให้กับชาวบ้าน นอกเหนือจากงบประมาณที่ชุมชนได้รับจากการชำระค่าภาคหลวงแร่แล้ว ในแต่ละปีงบประมาณส่วนหนึ่งของบริษัทส่วนหนึ่งของบริษัทยังมีส่วนสร้างความเจริญให้กับชุมชนแห่งนี้ อีกทั้งบริษัทแห่งนี้ยังมีมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อม ก่อน และ หลัง การทำเหมืองแร่ อีกด้วย
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:05 pm

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Cp_n6_11012010_02



"นโยบายสาธารณะ" ในนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
วันที่ 11 ม.ค. 2553 เวลา : 15:33 น.
ผู้เขียน : เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา

การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน

การทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ทองคำมาแต่ครั้งอดีต โดยแหล่งแร่ทองคำที่มีชื่อเสียงในอดีต ได้แก่ แหล่งแร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี แหล่งแร่ทองคำโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และแหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี แต่ก็เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดเล็ก ข้อวิตกกังวลที่สำคัญยิ่งต่อการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่นนี้ก็คือการทำลายพื้นที่ป่า แหล่งน้ำ การรุกล้ำพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน การปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ที่ใช้ในการสกัดแร่ทองคำ และสารหนู(Arsenic) ที่ไม่แสดงอาการเป็นพิษในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ แต่จากกิจกรรมการสกัดแร่ทองคำในชั้นหินได้ไปก่อกวนให้สารหนูในสภาพแวดล้อมธรรมชาติกลายเป็นสารพิษขึ้นมา เป็นต้น

ในปี 2527 กรมทรัพยากรธรณี (เปลี่ยนเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. เมื่อครั้งปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม เดือนตุลาคม 2545) ได้ดำเนินการสำรวจแร่ทองคำและพบพื้นที่ศักยภาพของแร่ทองคำ 2 บริเวณใหญ่ คือ บริเวณขอบที่ราบสูงโคราชในท้องที่จังหวัดเลย หนองคาย เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง และบริเวณท้องที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่พบทองคำอยู่ด้วย อาทิ บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณแหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และมักพบปะปนอยู่ในลานแร่ดีบุกแถบจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ต และพังงา เป็นต้น

ผลจากการค้นพบศักยภาพของแร่ทองคำดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ" ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีเสนอมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำต่อมาอีก
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:10 pm

1. นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ พ.ศ. 2530

กระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 ได้ออกประกาศ "นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ" ซึ่งมีสาระสำคัญคือกระทรวงอุตสาหกรรมจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำได้ใน 2 กรณี คือ (1) ภาครัฐเปิดประมูลพื้นที่ กรณีนี้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอสิทธิเป็นคราว ๆ ไป (2) เอกชนขอสิทธิสำรวจโดยตรงด้วยการขออาชญาบัตรพิเศษ โดยผู้ขอจะต้องเสนอผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐทั้งในขั้นตอนการสำรวจและการทำเหมือง ซึ่งประสบความสำเร็จพบแหล่งแร่ทองคำในเชิงพาณิชย์ 2 แห่ง ได้แก่

(1) แหล่งแร่ทองคำที่ภูทับฟ้า ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในพื้นที่โครงการขนาดใหญ่ที่เปิดประมูล

(2) แหล่งแร่ทองคำในพื้นที่รอยต่อของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด ในพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เอกชนขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่

จากผลสำเร็จของนโยบายดังกล่าวทำให้บริษัทอัคราฯ เปิดดำเนินการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินในแหล่งชาตรีตั้งแต่ปี 2543 และชาตรีเหนือเมื่อปี 2551 รวมพื้นที่ทั้ง 2 แหล่งประมาณ 5,463 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑."โครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี" หรือ "โครงการฯระยะที่ ๑" ได้รับความเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒ และต่อมาได้รับอนุญาตประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเงินเมื่อปี ๒๕๔๓ ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยประทานบัตร ๕ แปลง พื้นที่ประมาณ ๑,๒๕๙ ไร่ และใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ ๑,๕๗๕ ไร่ รวมพื้นที่ประทานบัตรและใบอนุญาตฯทั้งสิ้นประมาณ ๒,๘๓๕ ไร่ ดังนี้



ประทานบัตร

เลขที่

หมายเลขหลักเขตเหมืองแร่

ตำบล

อำเภอ

จังหวัด

เนื้อที่

(ไร่)

๒๖๙๑๐/๑๕๓๖๕

๒๖๙๑๐

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๙๗-๐-๘๔

๒๖๙๑๑/๑๕๓๖๖

๒๖๙๑๑

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๗๕-๑-๘๑

๒๖๙๑๒/๑๕๓๖๗

๒๖๙๑๒

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๙๔-๐-๓๗

๒๕๖๑๘/๑๕๓๖๘

๒๕๖๑๘

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๙๙-๑-๙๒

๒๕๕๒๘/๑๔๗๑๔

๒๕๕๒๘

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๙๓-๑-๗๗

รวม

๑,๒๕๙-๒-๗๗

ใบอนุญาตฯ

เลขที่

หมายเลขหลักเขตเหมืองแร่

ตำบล

อำเภอ

จังหวัด

เนื้อที่

(ไร่)

๑/๒๕๔๘

๐๒๖๙๑๒

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๑,๓๕๑-๐-๗๕

๑/๒๕๔๘

๐๒๕๖๓๔

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๒๔-๒-๖๔

รวม

๑,๕๗๕-๓-๓๙
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:11 pm

๒. "โครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ" หรือ "โครงการฯระยะที่ ๒" ได้รับความเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และต่อมาได้รับอนุญาตประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเงินโดยขอร่วมแผนผังโครงการทำเหมืองเป็นเหมืองเดียวกันกับโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยประทานบัตร ๙ แปลง พื้นที่ประมาณ ๒,๔๖๖ ไร่ และคำขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ ๑๖๑ ไร่ รวมพื้นที่ประทานบัตรและคำขอใบอนุญาตฯทั้งสิ้นประมาณ ๒,๖๒๘ ไร่ ดังนี้

ประทานบัตร

เลขที่

หมายเลขหลักเขตเหมืองแร่

ตำบล

อำเภอ

จังหวัด

เนื้อที่

(ไร่)

๒๖๙๑๗/๑๕๘๐๔

๒๖๙๑๗

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๕๒-๓-๐๖

๒๖๙๒๒/๑๕๘๐๕

๒๖๙๒๒

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๘๓-๑-๖๕

๒๖๙๒๑/๑๕๘๐๖

๒๖๙๒๑

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๗๕-๒-๕๔

๒๖๙๒๐/๑๕๘๐๗

๒๖๙๒๐

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๙๓-๒-๐๒

๒๖๙๒๓/๑๕๘๐๘

๒๖๙๒๓

เขาเจ็ดลูก

ทับคล้อ

พิจิตร

๒๐๔-๑-๒๖

๓๒๕๒๙/๑๕๘๐๙

๓๒๕๒๙

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๘๓-๑-๔๙

๓๒๕๓๐/๑๕๘๑๐

๓๒๕๓๐

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๙๙-๑-๖๐

๓๒๕๓๑/๑๕๘๑๑

๓๒๕๓๑

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๗๙-๑-๗๙

๓๒๕๓๒/๑๕๘๑๒

๓๒๕๓๒

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๒๙๔-๑-๒๘

รวม

๒,๔๖๖-๐-๖๙

คำขอใบอนุญาตฯ

เลขที่

หมายเลขหลักเขตเหมืองแร่

ตำบล

อำเภอ

จังหวัด

เนื้อที่

(ไร่)

๑/๒๕๔๗

๓๒๕๖๓

ท้ายดง

วังโป่ง

เพชรบูรณ์

๑๖๑-๓-๓๕

รวม

๑๖๑-๓-๓๕
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:13 pm

3. บริษัทอัคราฯ ได้คาดการณ์ว่าแหล่งแร่ทองคำชาตรีและชาตรีเหนือจะหมดลงภายใน 6-7 ปีข้างหน้า จึงกำลังสำรวจหาแหล่งสำรองแร่ทองคำแห่งใหม่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,806 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,128,750 ไร่ อยู่ในขณะนี้ โดยแบ่งเป็นดังนี้

(3.1) พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษแล้วเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 จำนวน 507,996 ไร่ ดำเนินการสำรวจหาแหล่งแร่ทองคำและเงินแหล่งใหม่ในพื้นที่ต่อเนื่องจากพื้นที่โครงการแหล่งแร่ทองคำชาตรีและชาตรีเหนือ ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ดังนี้

- อาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ๒๕ แปลง

จำนวน ๒๓๗,๗๖๖ ไร่ (แบ่งเป็นอาชญาบัตรพิเศษของบริษัทอัคราฯ ๒๓ แปลง พื้นที่ ๒๒๑,๖๖๑ ไร่ และของบริษัท ไทย โกลบอล เว็นเจอร์ส จำกัด ๒ แปลง พื้นที่ ๑๖,๑๐๕ ไร่) ในเขต ต.เขาทราย เขาเจ็ดลูก ท้ายทุ่งและทับคล้อ อำเภอทับคล้อ ต.หนองพระ วังทรายพูน หนองปลาไหลและหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน ต.ท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก และ ต.วังงิ้ว สำนักขุนเณรและห้วยพุก อำเภอดงเจริญ

- อาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ๓ แปลง

จำนวน ๙,๙๒๙ ไร่ ในเขต ต.วังหิน อำเภอวังโป่ง ซึ่งเป็นของบริษัทไทยโกลบอลฯ ทั้งหมด

- อาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ๓๐ แปลง จำนวน ๒๖๐,๓๐๑ ไร่ ในเขต ต. บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก เนินมะปราง วังยาง บ้านมุง ไทรย้อย วังโพรงและชมพู อำเภอเนินมะปราง

การสำรวจดังกล่าวมีระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับอาชญาบัตรพิเศษ จากผลการสำรวจในช่วงระยะเวลา 3 ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมาได้พบแหล่งแร่ทองคำที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์แห่งใหม่ขนาดพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,500 ไร่ เรียกว่า "แหล่งสุวรรณ" ห่างจากแหล่งชาตรีขึ้นไปทางเหนือ 6-10 กิโลเมตร โดยแร่ทองคำที่ขุดได้จากแหล่งสุวรรณจะขนส่งมาแยกแร่ที่โรงงานซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งชาตรี

นอกจากนั้นยังพบแหล่งแร่ทองคำที่คาดว่าจะมีศักยภาพเชิงพาณิชย์แห่งใหม่อีกแหล่งหนึ่งคือ "แหล่งโชคดี" ห่างจากแหล่งชาตรีขึ้นไปทางเหนือ 20 กิโลเมตร โดยบริษัทอัคราฯ ได้กำหนดขอบเขตการขุดเจาะสำรวจและตรวจสอบชั้นแร่ทางธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์ในพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,750 ไร่ อยู่ในขณะนี้ ซึ่งหวังว่าการสำรวจตามอาชญาบัตรพิเศษที่ได้รับในอีก 2 ปีที่เหลือจะทราบผลได้อย่างแน่นอนชัดเจนว่าจะพัฒนาการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินที่แหล่งโชคดีได้เต็มพื้นที่ที่กำหนดไว้คือ 18,750 ไร่ หรือเพียงแค่บางส่วน และนอกจากนั้นบริษัทอัคราฯ ยังคาดว่าจะพบแหล่งแร่ทองคำที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แหล่งใหม่ ๆ ในพื้นที่สำรวจที่ได้รับอาชญาบัตรพิเศษอีก

(3.2) พื้นที่ที่ยังไม่ได้รับอาชญาบัตรพิเศษ แต่ได้ดำเนินการยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำรวจแร่ทองคำและเงินเพิ่มเติมอีกหลายแสนไร่ ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับอาชญาบัตรพิเศษไปแล้ว(ในหัวข้อ 3.1) ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นพิจารณาให้อนุญาตของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอยู่ในขณะนี้

ในส่วนของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้รับประทานบัตรเปิดทำเหมืองเมื่อปี 2549 ทำเหมืองแร่ทองคำที่ภูทับฟ้า ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จำนวน 6 แปลง รวมพื้นที่ประทานบัตรและส่วนที่เป็นโรงงานแต่งแร่ประมาณ 1,500 ไร่ ปัจจุบันบริษัททุ่งคำฯ ยังได้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ จำนวนทั้งหมด 300 แปลง ในเนื้อที่ 30,114 ไร่ ในเขตของอำเภอวังสะพุงและเมืองอยู่ในขณะนี้
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:17 pm

2. โครงการเร่งรัดการสำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2542

ในช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลประกาศใช้นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ พ.ศ. 2530 มีหลายบริษัทเข้ามาลงทุนสำรวจแร่ทองคำตามที่รัฐได้ประกาศเชิญชวน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพบแหล่งแร่ทองคำที่มากพอที่จะลงทุนทำเหมืองต่อไปได้ จึงได้ยุติการสำรวจเนื่องจากประสบปัญหาในด้านการหาแหล่งเงินทุนในการสำรวจอันเนื่องมาจากปัญหาราคาทองคำในตลาดโลกตกต่ำ และสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ที่เข้ามาลงทุนสำรวจแร่ทองคำในประเทศไทยเวลานั้นได้ประเมินว่าราคาทองคำในตลาดโลกขณะนั้น (ประมาณปี 2543) ราคาประมาณ 270 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เป็นราคาที่ต่ำเกินไปต่อความคุ้มค่าการลงทุน แต่ถ้าหากราคาทองคำในขณะนั้นสูงกว่า 300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จะเป็นแรงจูงใจให้มีการสำรวจมากขึ้นเพราะต้นทุนเฉลี่ยของการสำรวจและทำเหมืองของโลกอยู่ที่ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์[1]

รัฐบาลจึงได้คิดนโยบายเพื่อการกระตุ้นการลงทุนพัฒนาแหล่งแร่ในประเทศ โดยการสำรวจหาข้อมูลศักยภาพแร่ที่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีดำเนินการ "โครงการเร่งรัดการสำรวจและประเมินศักยภาพทรัพยากรแร่" ต่อคณะรัฐมนตรีโดยการจ้างภาคเอกชนเข้าสำรวจในพื้นที่ศักยภาพแร่สูงของประเทศ เนื้อที่รวม 36,400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,750,000 ไร่ ในระยะเวลา 7 ปี (2543-2549) โดยของบประมาณเป็นรายปี วงเงินงบประมาณรวม 1,512 ล้านบาท ซึ่งแหล่งแร่ทองคำเป็นเป้าหมายหลักอันหนึ่ง

3. นโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ พ.ศ. 2552

จากการร้องเรียนของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัคราฯ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[2] โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอความเห็นต่อรัฐบาล[3] ให้งดการให้อาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตรเพิ่มเติมแก่บริษัทอัคราฯ เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำที่ผ่านมาของบริษัทแห่งนี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาธารณประโยชน์ สิทธิชุมชน และภาครัฐไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุทำให้รัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาและเสนอแนะนโยบายในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำขึ้นใหม่โดยเร็ว[4] โดยให้นำมิติด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าทองคำภายในประเทศ และมิติด้านสังคม ชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ตอบแทนต่อรัฐที่เหมาะสมคุ้มค่าต่อการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้นำความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาพิจารณาด้วย หลังจากนั้น 1 ปี สศช. ได้ส่งผลการศึกษาและข้อเสนอด้านนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำใหม่แก่คณะรัฐมนตรี โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้[5]
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:18 pm

ผลการศึกษา

1) นโยบายการสำรจและทำเหมืองแร่ทองคำฉบับปัจจุบัน (นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ พ.ศ.2530) มีการประกาศใช้ก่อนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะมีผลบังคับใช้ ทำให้มีบางประเด็นไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การขยายขอบเขตสิทธิชุมชนในการให้และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน เป็นต้น

2) กฎหมายและประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่มีหลายฉบับและกระจายการบังคับใช้ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 กพร. มีอำนาจในการควบคุมดูแลและตรวจสอบการทำกิจการเหมืองแร่ของผู้ประกอบการ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพิจารณาเห็นชอบการให้ประทานบัตรในขั้นต้น และรับผิดชอบติดตามตรวจสอบการดำเนินงานและการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ยังไม่ได้ปรับสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

3) กระบวนการอนุญาตสำรวจและทำเหมืองแร่ การกำกับดูแล และฟื้นฟูพื้นที่หลัง

ปิดเหมืองและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ยังมีช่องว่างในการกำกับดูแล โดยไม่มีกฎหมายที่บังคับใช้ในเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่หลังการปิดเหมือง และไม่มีกระบวนการในการแก้ไขปัญหากรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ได้รับสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่

4) การค้าทองคำภายในประเทศและผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การค้าทองคำภายในประเทศมีหลายวัตถุประสงค์ อาทิ การทำเป็นเครื่องประดับ การใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม การเก็งกำไร เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะนำเข้าทองคำบริสุทธิ์จากต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีโรงงานแต่งแร่โลหะผสมทองคำให้เป็นทองคำบริสุทธิ์ในประเทศไทย การต่อยอดอุตสาหกรรมจึงยังไม่ครบห่วงโซ่การผลิต สำหรับราคาทองคำในประเทศจะผันแปรตามราคาในตลาดโลก อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมนี้ทำให้มีการจ้างงานธุรกิจต่อเนื่องและงานบริการต่าง ๆ

5) ผลกระทบด้านสังคมและชุมชน มีข้อร้องเรียนจากชุมชนว่าการทำเหมืองก่อให้เกิดการลิดรอนสิทธิจากการใช้พื้นที่สาธารณะ ประชาชนได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมทั้งฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดหิน

6) ผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทองคำก่อให้เกิดการสูญเสียแร่ทองคำซึ่งเป็นทรัพยากรมีค่าประเภทใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ และอาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำใต้ดินและสภาพพื้นดิน และการแพร่กระจายของสารเคมี (ไซยาไนด์) สู่แหล่งน้ำ หากไม่มีการป้องกันที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

7) การจัดสรรผลประโยชน์จากค่าภาคหลวงแร่ให้แก่ท้องถิ่นยังไม่เป็นธรรมต่อพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันมีการแบ่งค่าภาคหลวงแร่ให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาลในพื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองแร่ร้อยละ 20 ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่นอกเขตประทานบัตรแต่ได้รับผลกระทบจะได้รับเงินเฉลี่ยจากส่วนแบ่งร้อยละ 10 เท่ากับ อบต. หรือเทศบาลอื่น ๆ ทั้งหมด

Cool ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้งดการให้อาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตรเพิ่มเติมแก่บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิฯได้ตรวจสอบแล้วพบว่าการสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาธารณประโยชน์ สิทธิชุมชน และภาครัฐไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:19 pm

ข้อเสนอด้านนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่

ก. นโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทั่วไปในภาพรวม

(1) เห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ

พิจารณากำหนดนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทั่วไปในภาพรวมใหม่ โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดประเภทแร่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขตพื้นที่ทำเหมืองแร่ หน่วยงานรับผิดชอบและระยะเวลาในการดำเนินการ

(2) เห็นควรให้มีการศึกษาในเชิงลึกเพิ่มเติม 2 เรื่อง ได้แก่

(2.1) ความเหมาะสมในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ตลอดห่วง

โซ่การผลิตหรือขั้นตอนการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ควรสนับสนุนให้มีการลงทุนภายในประเทศ และความเป็นไปได้ของตลาดที่จะรองรับกับอุตสาหกรรมที่เกิดจากการต่อยอดการผลิต

(2.2) ความเหมาะสมของอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการทำ

เหมืองแร่ และรูปแบบการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม ความคุ้มค่าและเป็นธรรมที่ภาครัฐและชุมชนควรได้รับ และการฟื้นฟูพื้นที่หลังปิดโครงการ

ข. นโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ

(1) กำหนดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยง

ตลอดห่วงโซ่การผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ หากผลการพิจารณาในข้อ ข. ข้อ (1) เห็นว่าแร่ทองคำเป็นแร่เชิงเศรษฐกิจที่ควรนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์

(2) แก้ไขกฎหมาย ประกาศกระทรวง กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ให้การทำเหมืองแบบเปิดใช้หลักเกณฑ์เดียวกับเหมืองใต้ดินซึ่งมีการกำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์การปรึกษากับผู้มีส่วนได้เสียไว้อย่างชัดเจน และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การสำรวจจนถึงการฟื้นฟูหลังปิดเหมือง เพื่อให้หน่วยปฏิบัตินำไปใช้เป็นแนวทางและเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน

(3) กำหนดให้มีการทบทวนวิธีคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนที่เก็บจากการทำเหมือง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มราคาทองคำ โดยทบทวนอัตราค่าภาคหลวงใหม่ทุกครั้งที่ราคาทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นผิดปกติ โดยให้พิจารณารวมถึงตัวแปรต่าง ๆ ให้ครบถ้วน อาทิ ผันแปรตามศักยภาพของเหมืองแต่ละแห่งและผลกระทบจากการทำเหมือง

(4) ปรับปรุงกระบวนการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ โดยพิจารณาให้มีหน่วยงานที่เป็นกลาง โดยมี กพร. หรือ สผ. เป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ ควรมีการพิจารณารูปแบบของกองทุนจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม โดยให้ยึดหลักธรรมาภิบาล และทบทวนการกระจายอำนาจให้ อบต. ให้เหมาะสมกับขีดความสามารถที่จะดำเนินการได้ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการไกล่เกลี่ยกรณีเกิดข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการทำเหมือง

(5) กำหนดมาตรการฟื้นฟูพื้นที่หลังปิดโครงการให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น (1) กำหนดเงื่อนไขให้มีการปลูกป่าชดเชยทั้งจำนวนและพันธุ์ไม้และการฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังสิ้นสุดโครงการอย่างต่อเนื่อง (2) กำหนดให้มีการตั้งกองทุนฟื้นฟูหรือเงินค้ำประกันการฟื้นฟูที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของภาครัฐ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนเพื่อช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคในชุมชน และกองทุนพัฒนา อบต. และ (3) กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบการฟื้นฟูพื้นที่หลังปิดเหมือง

(6) สำหรับพื้นที่ที่ได้ยื่นคำขออาชญาบัตรในการสำรวจไว้แล้วแต่ยังไม่มีผลทางกฎหมาย ควรให้ชะลอการอนุมัติไว้ก่อน โดยให้รอผลการกำหนดประเภทแร่ การกำหนดเขตพื้นที่ทำเหมืองและการปรับนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำใหม่ ส่วนพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติอาชญาบัตรพิเศษในการสำรวจและมีสิทธิขออนุมัติประทานบัตรเพื่อทำเหมือง ซึ่งถือว่ามีผลผูกพันทางกฎหมายแล้วตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ กพร. ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ โดยให้คำนึงถึงบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งมาตรการฟื้นฟูพื้นที่หลังปิดโครงการในประทานบัตร

จากผลการศึกษาและข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 รับทราบรายงานการศึกษานโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำของ สศช. และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับรายงานดังกล่าวไปพิจารณา โดยให้นำความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ประธานกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปพิจารณาด้วย
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:21 pm

4. ข้อคิดเห็น

ก่อนหน้าที่จะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 เพื่อมอบหมายให้ สศช. รับไปดำเนินการศึกษาและเสนอแนะนโยบายในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำโดยเร็วนั้น เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (Mr. William Paterson PSM.) ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 เพื่อหารือและขอทราบความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับคำขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทย กรณีบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด ซึ่งได้ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำเพิ่มเติมจำนวน 9 แปลง ท้องที่จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ และขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ จำนวน 44 แปลง พื้นที่ประมาณสี่แสนไร่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และก่อนหน้าที่เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยจะเข้าพบรัฐมนตรีอุตสาหกรรมของไทย บริษัทอัคราฯ ให้เงิน 5,000 เหรียญออสเตรเลียแก่สถานทูตออสเตรเลียในกรุงเทพฯ สำหรับงานเฉลิมฉลองวันชาติออสเตรเลีย (Australia Day) แต่รัฐบาลของไทยซึ่งเป็นรัฐบาลจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เห็นว่าคำขออาชญาบัตรพิเศษในการสำรวจแร่ทองคำดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

หนึ่ง-คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ส่งรายงานการตรวจสอบกรณีที่มีการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับบริษัทอัคราฯ ไปให้กับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม[6]และนายกรัฐมนตรี[7] โดยมีความเห็นว่าการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาธารณประโยชน์ สิทธิชุมชน และภาครัฐอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อเก็บรักษาทรัพยากรทองคำไว้เป็นสมบัติของประเทศชาติและสำหรับอนุชนรุ่นหลัง และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีความเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการงดการให้อาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและเงินเพิ่มเติมแก่บริษัทอัคราฯ

สอง-เนื่องด้วยขณะนั้นรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 เพิ่งประกาศใช้ ซึ่งในมาตรา 67 ได้กำหนดสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ ชุมชน ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการดำเนินโครงการใดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเสียก่อน

ด้วยเหตุผลทั้ง 2 ประการ จึงทำให้รัฐบาลไม่กล้าผลีผลามให้อนุญาตอาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำและเงินแก่บริษัทอัคราฯ จึงเป็นที่มาให้รัฐบาลสั่งให้ สศช. ดำเนินการศึกษานโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำดังกล่าว

จะเห็นได้ว่านโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ความคิดเห็นจากหลายหน่วยงานสอดคล้องตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในหลายประเด็น เช่น สิทธิชุมชน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังการทำเหมือง ผลประโยชน์ตอบแทนที่ภาครัฐและประชาชนไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่พัฒนาการในทางที่ดีของนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำกลับสะดุดหยุดลงหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะด้านนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำที่ สศช. ได้ทำการศึกษามาไปพิจารณาแต่เพียงลำพังหน่วยงานเดียว กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตอบสนองผลการศึกษาและข้อเสนอด้านนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำอยู่เพียง 3 ข้อ เท่านั้น คือ

1) ได้ทำการปรับปรุงพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ใหม่ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมพ.ศ.2550 เพื่อกำหนดอัตราค่าภาคหลวงแร่ใหม่ โดยการรวบรวมกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าภาคหลวงแร่ที่มีอยู่หลายฉบับมารวมไว้ในฉบับเดียวกัน และปรับปรุงพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่บางชนิดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ทองคำที่แต่เดิมเก็บในอัตราคงที่ร้อยละ 2.5 (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 พ.ศ.2536) ทำให้ตั้งแต่ปี 2544-2550 เฉพาะบริษัทอัคราฯ ได้จ่ายค่าภาคหลวงแร่ให้รัฐเพียง 383.82 ล้านบาทเท่านั้น จากแร่ทองคำและแร่เงินที่ผลิตได้มูลค่า 12,695.48 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ทองคำแบบอัตราก้าวหน้าตามระดับราคาทองคำตั้งแต่ร้อยละ 2.5 (ราคาทองคำต่อกรัมไม่เกิน 400 บาท) ไปจนถึงร้อยละ 20 (ราคาทองคำต่อกรัม 1,501 บาทขึ้นไป)

2) อนุมัติประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำและเงินโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ให้กับบริษัทอัคราฯ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 จำนวน 9 แปลง พื้นที่ประมาณ 2,466 ไร่ และคำขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ 161 ไร่ รวมพื้นที่ประทานบัตรและคำขอใบอนุญาตฯทั้งสิ้นประมาณ 2,628 ไร่ โดยขอร่วมแผนผังโครงการทำเหมืองเป็นเหมืองเดียวกันกับโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี

3) ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 ในเรื่อง "โครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ" ตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติว่า "การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว" โดยทำการละเว้นหรือไม่กำหนดการทำเหมืองแร่ทองคำให้เป็นประเภทกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ ดังนั้น การประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจึงไม่จำเป็นต้องทำการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนเสียก่อน

ในขณะที่เขียนบทความชิ้นนี้ ราคาทองคำพุ่งไปที่ 1,218.3 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ทำให้ราคาทองรูปพรรณในบ้านเราพุ่งสูงถึงบาทละ 19,300 บาท และคาดว่ายังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาคมค้าทองคำและเซียนในตลาดค้าขายทองคำของบ้านเราคาดการณ์ว่าราคาทองคำในตลาดโลกมีโอกาสที่จะไต่ระดับไปที่ 1,300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ในปีหน้า โดยจะส่งผลให้ราคาทองคำแท่งในประเทศแตะที่ระดับบาทละ 20,000 บาททันที เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อเก็งกำไรเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังเผชิญกับภาวะเปราะบาง ราคาดอลลาร์อ่อนค่าลง จึงเห็นได้ชัดเจนว่าบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เป็นตัวแทนภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้พยายามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยการออกใบอนุญาตเพื่อการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำแปลงใหม่ ๆ ต่อไป โดยไม่สนใจใยดีกับข้อเสนอให้งดการให้อาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตรเพิ่มเติมแก่บริษัทอัคราฯ และบริษัทอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำแต่อย่างใด

"ประชาชนต้องมาก่อนผลกำไร" ยังเป็นคำที่เลื่อนลอยในธุรกิจเหมืองแร่ !

[1] การสำรวจและพัฒนาแหล่งแร่ทองคำในประเทศไทย. กรมทรัพยากรธรณี. ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์

[2] รายงานผลการตรวจสอบที่ ๖๗ / ๒๕๔๙. ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน ๗๔ แผ่น

[3] จดหมายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ สม ๐๐๐๓/ ๑๐๘ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เรื่อง รายงานการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถึง นายกรัฐมนตรี

[4] มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการศึกษาและเสนอแนะนโยบายในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำโดยเร็ว

[5] หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร 1104/0094 ลงวันที่ 12 มกราคม 2552 เรื่อง นโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

[6] จดหมายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ สม ๐๐๐๓/ ๑๓๔๑ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบ ถึง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

[7] จดหมายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ สม ๐๐๐๓/ ๑๐๘ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เรื่อง รายงานการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถึง นายกรัฐมนตรี
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

เหมืองแร่ทองคำชาตรี Empty Re: เหมืองแร่ทองคำชาตรี

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jul 02, 2010 9:49 pm

red river rock
สุดยอดนักต่อสู้

เหมืองแร่ทองคำชาตรี (chatree) ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร คาบเกี่ยวไปถึงอ.วังโปร่ง จ.เพชรบูรณ์และหลายตำบลในอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก โดยอยู่ในการบริหารของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัดเป็นนอมินีของ Kingsgate Consolidate Limited แห่งประเทศออสเตรเลีย ผู้ชำนาญการทำเหมืองทองในประเทศออสเตรเลีย ได้เข้ามาดำเนินการ เจาะ ขุดและตักหน้าดินเพื่อหาแหล่งแร่ทองคำมาเป็นเวลา 3-4 ปีแล้ว ราคาทองคำในขณะระหว่างเริ่มทำงานนั้น ราคาอยู่ที่ 430 USD/OZ ปัจจุบันนี้ราคาทองคำกระโดดขึ้นไปอยู่ที่ 1230 USD/OZ อยากรู้จังเลย Kingsgate จะรวยขึ้นหรือบริษัทฯที่มาร่วมทุนด้วยจะต้องรวยกันขนาดไหน ติดตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณโสธิดา นุราช สำนักข่าวประชาธรรมจังหวัดพิจิตร มีความแครงใจในเรื่องการถือหุ้นส่วนของบริษัทต่างด้าว(ออสเตรเลีย) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ จากบริษัท แพร่ลิกไนต์ จำกัด เป็น บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย จำกัด และมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 246,000,000 บาท เป็น 510,000,000 บาท คือเพิ่มทุน 265,000,000 บาท จำนวน 26,500,000 หุ้น ซึ่งล้วนเป็น ‘หุ้นบุริมสิทธิ’ ทั้งสิ้น จึงมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างไทยและออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็น 52:48
และ อีกครั้งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 ได้เปลี่ยนผู้ถือหุ้นเป็น บริษัท สินภูมิ จำกัด พร้อมทั้งเพิ่มทุนอีก 2,000,000 บาทล้วนแล้วแต่เป็นบุริมสิทธิอีกเช่นเดิม

‘หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks) คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร แต่มีสิทธิประโยชน์ด้านเงินปันผลมากกว่าหุ้นสามัญ คือเมื่อบริษัทจะจ่ายปันผล ต้องจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อน แล้วจึงจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นสามัญ’ ทำไมอำนาจบริหารจึงตกแก่ต่างชาติทั้งหมด แล้วคนไทยไม่มีสิทธิมีเสียงหรืออย่างไร?

ในจำนวนหุ้นบุริมสิทธิทั้ง หมดของบริษัท สินภูมิ จำกัด มีการชำระเพียง 2.50 บาทต่อหุ้น (หุ้นละ 10 บาท) คิดเป็นจำนวนเงิน 66,750,000 บาท จาก 267,000,000 บาท หรือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนหุ้นสามัญของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 5 หุ้น ผู้ถือหุ้นสัญชาติออสเตรเลีย 1 หุ้น และบริษัท คิงเกตอีก 24,499,994 หุ้นนั้น ได้ชำระหุ้นเต็มจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว

แต่ยังแคลงใจ กับข้อเท็จจริง ในการประชุมสามัญประจำปีของบริษัท อัครา ไมนิ่ง วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ที่ระบุว่า “ทุนจดทะเบียนของอัครา ไมนิ่ง ได้เรียกชำระครบถ้วนแล้วเต็มจำนวน 512,000,000, บาท”

แล้วส่วนต่าง ของหุ้นบุริมสิทธิที่สินภูมิถือ อีก 75 เปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่ได้ชำระกว่า 200,250,000 บาท ใคร? เป็นผู้ชำระให้ ‘สินภูมิ’ และถ้าใช่ ‘คิงเกต’ อะไรจะเกิดชึ้น!

‘สัดส่วนการถือหุ้น’ กับ ‘การถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุน’ เป็นคนละเรื่องกัน !

นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ได้แสดงความเห็นว่า “จากหลักฐานในส่วนนี้จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่าง ‘สัดส่วนการถือหุ้น’ กับ ‘การถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุน’ ดังนี้

1) ถ้าหากดูเฉพาะในส่วนของ ‘สัดส่วนการถือหุ้น’ ก็จะเห็นได้ว่าบริษัทอัคราฯ ไม่มีสถานะเป็นบริษัทต่างด้าวเนื่องจากบริษัทสินภูมิฯ และบุคคลสัญชาติไทยได้ถือหุ้นรวมกันเป็นจำนวน 26,700,005 หุ้น มากกว่าหุ้นของ Kingsgate และบุคคลสัญชาติออสเตรเลียที่ถือหุ้นรวมกัน 24,409,995 หรือในสัดส่วนร้อยละ 52 : 48

2) แต่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ให้ความสำคัญในเรื่องของ ‘การถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุน’ มากกว่า ‘สัดส่วนการถือหุ้น’ นั่นก็คือถึงแม้ฝ่ายไทยจะถือครองจำนวนหุ้นมากกว่าฝ่ายออสเตรเลียแต่เงินที่ ชำระหุ้นแล้วกลับน้อยกว่าฝ่ายออสเตรเลีย จะถือว่าเป็นการถือหุ้นที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของทุน

ถึงแม้ฝ่าย ออสเตรเลียจะถือครองจำนวนหุ้นน้อยกว่าฝ่ายไทยแต่เป็นการถือหุ้นเกินกว่ากึ่ง หนึ่งของทุน คิดเป็นสัดส่วนการถือครองทุนในหุ้นระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายออสเตรเลียร้อยละ 12 : 88

หากเป็นดังที่สมมุติจริงนั่นก็หมายความว่าบริษัทอัคราฯ มีสถานะเป็นบริษัทต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เนื่องจากว่ามี Kingsgate บริษัทต่างด้าวจากออสเตรเลียเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนของ บริษัทอัคราฯ

การถือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัทสัญชาติไทยในอีกหลาย ๆ แห่ง ถึงแม้จะเป็นสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็บ่งชี้ถึงเจตนาบางอย่างในกระบวนการถือหุ้นที่มีลักษณะสมยอมและยินยอม นักลงทุนรายใหญ่จากต่างชาติ โดยสมยอมและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นจากต่างชาติเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงในการ ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนและกุมอำนาจในการเป็นเจ้าของและบริหารงานบริ ษัทอัคราฯ โดยตัวเองเลือกที่จะปิดปากงดการมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ขอเพียงแค่ ‘เศษเนื้อข้างเขียง’ ก็ภูมิใจแล้ว”

*ข้อมูลการถือหุ้น จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ย้อนอดีตเรื่องความเป็นมา ที่ได้เข้ามาเกี่ยวโยงกับเรื่องนี้ คณะรัฐบาลของประเทศไทยชุดที่ 42 ช่วงปี 2523-2526 โดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี มีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หิ้วกระเตงเอาคุณกร ทัพพะรังสีมาเป็นที่ปรึกษา รมต.ด้วย (เป็นผู้ช่วยทูตการค้าอยู่ในสถานทูตแคนาดาถึง 6 ปี)ประมาณปี 2524 คาบเกี่ยวปี 2525 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรธรณี(2527 เปลี่ยนเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร.) ไปจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจทรัพยากรธรณีฟิสิกส์ทางอากาศและภาพ ถ่ายทางอากาศ (survey of geophysics and Airbonne Geophysical)(ข้อที่ 4.ที่มา)

เครื่องมือที่สำคัญจะต้องมี ในการสำรวจธรณีฟิสิคส์ด้วยวิธีวัดความเร็วคลื่นสั่นสะเทือนชนิดคลื่นสะท้อน ...จากเครื่องดอปเปอร์(doppler=คือการที่ความถี่คลื่นเกิดการเปลี่ยนแปลงสูง ขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นและผู้รับมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์เข้าหากัน ) และระบบระบบ NAVSAT ใช้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงความถี่ (DOPPLER SHIFT) ของสัญญาณที่ส่งออกมาจากดาวเทียมในการคำนวณหาตำบลที่ โดยการเปลี่ยนแปลงความถี่ของสัญญาณขณะที่ดาวเทียมเคลื่อนที่ผ่านตำบลที่ของ เครื่องรับบนพื้นโลกแบ่งออกได้เป็น ๓ ช่วง ช่วงแรกคือช่วงที่ดาวเทียมกำลังเคลื่อนที่เข้าหาเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณที่รับได้จะมีค่าสูงและค่อยๆ ลดลงเมื่อดาวเทียมเคลื่อนที่เข้าใกล้เครื่องรับเนื่องจากความเร็วสัมพันธ์ใน การเคลื่อนที่เข้าหาลดลง ช่วงที่สองคือช่วงที่ดาวเทียมผ่านเหนือเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณที่รับได้จะมีค่าเท่ากับความถี่ที่ส่งออกมาจริง และช่วงที่สามคือช่วงที่ดาวเทียมเคลื่อนที่ออกจากเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณที่รับได้จะมีค่าลดลงไปตามระยะห่างจากเครื่องรับ

ระบบ NAVSAT เริ่มใช้ในปี ค.ศ.๑๙๖๔ (พ.ศ.๒๕๐๗) ส่วนประกอบหลักของระบบประกอบด้วยดาวเทียม ๑๓ ดวง (สำรอง ๓ ดวง) โคจรรอบโลกที่ความสูง ๖๐๐ ไมล์ ด้วยความเร็วประมาณ ๕ ไมล์ต่อวินาที (ดาวเทียมแต่ละดวงโคจรรอบโลกทุก ๑๐๗ นาที) สถานีภาคพื้นทำหน้าที่ติดตามดาวเทียมในวงโคจรและส่งค่าแก้ต่างๆ ให้กับดาวเทียม และเครื่องรับสัญญาณและคำนวณตำบลที่บนเรือ โดยดาวเทียมในระบบจะส่งสัญญาณที่ความถี่ ๑๕๐ และ ๔๐๐ เมกะเฮิรตซ์ การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความถี่จากดาวเทียมสองดวงจะให้เส้นตำบลที่ ๑ เส้น ส่วนตำบลที่แน่นอน (FIX) จะได้จากการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความถี่จากดาวเทียมอย่างน้อย ๓ ดวง (ปกติจะใช้ดาวเทียม ๔ – ๗ ดวงเพื่อเพิ่มความถูกต้อง) โดยวงโคจรของดาวเทียมแต่ละดวงจะ ครอบคลุมทุกจุดบนพื้นโลกอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง และการหาตำบลที่แน่นอนด้วยดาวเทียม ๔ ดวงจะทำได้ทุก ๓๕ – ๙๕ นาที

ลักษณะจะคล้ายทุ่นทิ้งระเบิด ถึงมีเงื่อนไขให้ผู้สำรวจในขณะนั้น ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินบินห่างรัศมีชายแดน 15 กม.แต่ละประเทศที่ติดต่อประเทศไทย เพราะสมัยนั้นเพื่อนบ้านอาจเข้าใจว่าจะไปทิ้งระเบิดในประเทศของเขาและเป็นเรื่องของความ มั่นคงด้วย การบินสำรวจแต่ละพื้นที่ต้องใช้เส้นทางการบินทั้งเส้นรุ้งและเส้นแวงบินสลับ กันไป แต่ละครั้งในการขึ้นบินสำรวจต้องมีเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีขึ้นไปด้วย 2 คน เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจครั้งนี้ ต้องส่งรูปถ่าย passportและส่งประวัติให้กับกอ.รมน.ตรวจสอบด้วย ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ส่วนฟิล์มจากภาพถ่ายหรือรายละเอียดในการสำรวจแร่ธาตุทุกชนิดที่ดำเนินการ เสร็จเรียบร้อย ต้องส่งมอบฟิล์มเนกาตีฟ(negative)ให้กับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีทุกครั้ง
เพื่อ เก็บไว้เป็นหลักฐานและเป็นความลับสูงสุดของประเทศ ฟิล์มเนกาตีฟของแหล่งแร่ทุกชนิดจึงอยู่ในเซฟที่ปลอดภัยของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อใช้ในการประกอบสัมปทานบัตร ในการคิดถึงค่าเป็นไปได้ กรณีที่บริษัทเอกชนมาขอสัมปทานบัตรในการเจาะ ขุดแร่ต่างๆในประเทศไทย เรียกว่าทางกรมทรัพย์ฯมีข้อมูลอยู่แล้ว ในเรื่องของปริมาณแหล่งแร่ธาตุในแต่ละบริเวณ เอกชนที่ต้องการสัมปทานบัตรนั้นจะไปอำพรางไม่ได้ นอกจากจะลงทุนเพิ่มในส่วนที่เจาะลึกเข้าไปถึงกึ๋น คือจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญเหล่านี้มาสำรวจชี้ชัดไปเลยว่า ตรงไหนมีแร่ธาตุมากที่สุด พอจะเป็นจุดคุ้มกับการลงทุนมั๊ย....

บริษัท ยักษ์ใหญ่ของโลกที่เชี่ยวชาญและชำนาญในลักษณะงานนี้ มีอยู่ประมาณ 3 บริษัทคือ

1. Kenting ของแคนาดา(พอเข้าใจกันรึยัง ทำไมบริษัทนี้ถึงได้งานนี้)กำลังปฏิบัติงานให้กับประเทศจีนอยู่หลายมณฑล รวมไปถึงประเทศธิเบต(ตรงกับช่วงนายปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของแคนาดา)

2.Hunting ของอังกฤษ เป็นชาติแรกเข้ามาในประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประมาณปี 2485 ถ่ายภาพจากเครื่องบินเพื่อทำแผนที่ประเทศไทย สำรวจและชี้จุดในการเจาะน้ำมันที่จ.สุพรรณบุรีให้ บ.เอสโซ่ จำกัดและกำลังสำรวจน้ำมันใต้น้ำในแม่น้ำสาละวิน ประเทศพม่า

3.จำชื่อบริษัทไม่ได้เป็นอักษรย่อ ของเยอรมัน ผลบริษัทที่ได้รับเลือกในการจ้างสำรวจคือ Kentingจากแคนาดาและได้ joint ventureกับคนไทยเจ้าของบางกอกแอร์เวย์ในปัจจุบันนี้ ด้วยวงเงิน 450 กว่าล้านบาทในสมัยนั้น งานสำรวจมาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ประมาณปี 2530

มี เกล็ดที่ต้องระวังในเรื่องการเข้ามาลงทุนในประเทศนี้ ต้องพึงสังวรและต้องระวังอย่างที่สุด ผู้จัดการเหมืองแร่ทองคำใน จ.พิจิตร เคยโอดครวญ ถึงผู้มีอิทธิพลในท้องที่ ได้กว้านซื้อที่ดินนอกเขตสัมปทาน และให้ชาวบ้านกดดันขับไล่ อ้าง ใช้เครื่องจักรเสียงดัง ขณะภาครัฐไม่ยอมใช้กฎหมายจัดการ ผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองแร่ทองคำชาตรี หรือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่สัมปทาน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และมีพื้นที่สัมปทานคาบเกี่ยวพิจิตร, เพชรบูรณ, พิษณุโลก เปิดเผยว่าขณะนี้เหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ที่ลงทุนไปแล้วหลายพันล้าน ว่าจ้างคนงานนับพันคนกำลังถูกรุกรานจากผู้มีอิทธิพลในท้องที่ ที่ไปกว้านซื้อที่ดินนอกเขตสัมปทานและอยู่รอบๆ เหมือง ใช้วิธีสกปรกจ้างชาวบ้านมากดดันเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง อ้างเหตุสิ่งแวดล้อมและมีเสียงดัง มีมลภาวะ ขณะทำงานโดยขับไล่ ให้เหมืองออกไป และเรื่องการซื้อที่ดินจากชาวบ้าน ก็ถูกโกร่งราคาจนไม่สามารถทำตามความต้องการได้ เท่าที่ผ่านมา เหมืองก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือ มีกำไร จึงยังไม่ขอซื้อที่ดินเหล่านั้น ชาวบ้านที่ถูกรับจ้างมาให้มาประท้วงปิดถนนทางเข้า-ออก ทำให้บริษัทไม่สามารถทำงานได้และทางราชการก็ไม่ใช้กฎหมายบังคับกับคนเหล่า นั้น ทั้งที่รู้ว่ามารังแกผู้ลงทุน โดยอ้างสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเช่นนี้ นักลงทุนชาวต่างชาติคงเข็ดหลาบกับการลงทุนในประเทศไทย....ใครจะมาโกหก ใครจะมาพูดเท็จและผู้ใด...จะรวยจริงหรือไม่...ยังหาข้อยุติไม่ได้
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ