Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง

2 posters

Go down

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง Empty ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง

ตั้งหัวข้อ  Neo Thu Jul 01, 2010 8:34 pm

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง 551000003945201fc7

"ประสาร มฤคพิทักษ์" ร่วมคณะผู้แทนไทยประชุมประเมินยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม จากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อน..

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. นายประสาร มฤคพิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาคุณค่า การพัฒนา และผลกระทบในลุ่มน้ำโขง วุฒิสภา กล่าวว่า ได้รับเชิญจากคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง (Mekong River Commission) พร้อมนายสุรจิต ชิรเวทย์ประธานอนุกรรมาธิการทรัพยากรน้ำ วุฒิสภา ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม จากการเกิดขึ้นของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่าง ณ โรงแรมโซฟิเทลโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน เป็นผู้แทนของ 4 ชาติ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยมีผู้แทนจากจีนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ซึ่งที่ประชุมเสนอ 4 ทางเลือก คือ ให้ยุติการสร้างเขื่อน 12 แห่ง หรือชะลอออกไปจนกว่าจะศึกษาให้รอบด้าน เลือกสรรบางโครงการเพื่อทำโครงการนำร่อง และเดินหน้าสร้างเขื่อน 12 แห่งต่อไป โดยตนและผู้แทนจากไทยเสนอให้ยุติการสร้างเขื่อนทั้ง 12 แห่ง เพราะระยะยาวเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมีผลทางทำลายมหาศาล และปัจจุบันมีพลังงานทางเลือกมากมาย ทางผู้แทนเวียดนามที่เป็นประเทศปลายน้ำโขงจะรับเคราะห์ทางนิเวศน์หนักสุด ในขณะที่ผู้แทนลาว เลือกทางเลือกที่สาม คือให้เลือกทำโครงการนำร่อง โดยกัมพูชามีท่าทีขอศึกษารายละเอียดดูก่อน

ทั้งนี้ ประเทศลาวมุ่งมั่นจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย เพื่อผลิตไฟขายให้ประเทศต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย แต่อีกด้านหนึ่งทั้งลาวและ กัมพูชาต้องพึ่งพิงการลงทุนจากจีนมูลค่ามหาศาล รวมทั้งการลงทุนของจีนสร้างเขื่อนในลาว 3 แห่งในกัมพูชา 1 แห่ง

นายประสาร กล่าวด้วยว่า มีความเข้าใจผิดกันมาก ว่า ธรรมชาติต้องให้คนเข้าไปบริหารจัดการ เพราะความจริงแม่น้ำโขงมีระบบนิเวศน์ที่จัดการตนเองได้อยู่แล้ว โดยคนไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเกี่ยวกับแม่น้ำเลย การตัดแม่น้ำโขงออกเป็นท่อนๆ ด้วยแท่งปูนขนาดมหึมา กลับเป็นอนันตริยกรรมต่อความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำโขง การชดเชยใดๆ ไม่ว่าด้วยบันไดปลาโจน การจ่ายค่าเวนคืน การเลี้ยงปลากระชังหรือด้วยวิธีอื่นใดไม่อาจทดแทนได้ เขื่อนจีน 4 แห่งในลุ่มน้ำโขงตอนบนทำความพินาศให้กับมหานทีแห่งนี้มากพอแล้ว จีนยังจะสร้างเขื่อนเพิ่มอีก 4 แห่ง บวก 12 เขื่อนในตอนล่าง ยิ่งก่อหายนะภัยสั่งสมกับแม่น้ำโขงต่อไปไม่สิ้นสุด โดยไม่รู้เลยว่าวันหนึ่งข้างหน้าแม่น้ำโขงจะทวงคืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ด้วย ค่าใช้จ่ายมหาศาลของมนุษย์.
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง Empty Re: ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Jul 01, 2010 11:24 pm

ขยันจริงๆไอ้เรื่องการสร้างศัตรูเนี่ย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง Empty Re: ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Jul 15, 2010 11:16 am

ลาวยืนยันต่อ กมธ.ไทย การ “สร้างเขื่อน” ไม่มีผลกระทบต่อแม่น้ำโขง (6/7/2010)

กมธ.วิสามัญฯ ของไทยลงพื้นที่ สปป.ลาว หาต้นเหตุแม่น้ำโขงแล้งหนัก ในช่วงต้นปี ขณะที่ “รัฐมนตรีลาว” ยืนยัน เขื่อนต่าง ๆ ในแม่น้ำสาขา ไม่ใช่ต้นเหตุ ส่วนแนวคิดสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง แค่ศึกษา ยังไม่ได้ลงนามให้ก่อสร้างแม้แต่เขื่อนเดียว เผย เขื่อนไซยะบุรีเป็นไปได้มากที่สุด พร้อมตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่า เป็นร้อยละ 70 ในปี 2020

คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาปัญหาวิกฤตการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.อำนาจเจริญ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อศึกษาว่า การก่อสร้างและการบริหารจัดการเขื่อนในแม่น้ำสาขาแม่น้ำโขงของ สปป.ลาว ซึ่งมีจำนวนหลายเขื่อน เป็นสาเหตุทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลดลงอย่างมาก ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาหรือไม่

ขณะที่ นายสูลิวง ดาราวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ของ สปป.ลาว ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับเขื่อนของ สปป.ลาว ได้คำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในแม่น้ำโขงมาตลอด ส่วนเขื่อนที่อยู่ตามแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเขื่อนน้ำงึมหรือน้ำเทิน ขอยืนยันว่าไม่กระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำโขง เพราะน้ำที่ถูกเขื่อนกักไว้ สุดท้ายจะปล่อยให้ไหลลงในแม่น้ำโขงอยู่ดี ไม่ได้นำไปในที่อื่น และในฤดูแล้งที่ผ่านมา เขื่อนน้ำเทิน 2 ก็มีส่วนช่วยให้แม่น้ำโขงในพื้นที่ตอนล่าง ไม่แห้งจนเกินไป

ส่วนแนวคิดในการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของ สปป.ลาวนั้น นายสูลิวง กล่าวว่า เมื่อ 30 ปีก่อน ลาวเคยมีแนวคิดจะสร้างเขื่อน “ผามอง” ขึ้น แต่สุดท้ายก็ล้มเลิกไป อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะมีโครงการนี้เกิดขึ้นอีกก็ได้ แต่จะเป็นเขื่อน “ผามอง” ในระดับต่ำ ที่ไม่ผิดเงื่อนไขของภาคีระหว่างประเทศ ส่วนจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ คงต้องศึกษาข้อดีข้อเสียอีกครั้ง

“เราศึกษาไว้หลายเขื่อน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการตกลงที่จะสร้างแม้แต่เขื่อนเดียว โดยเขื่อนที่ได้ศึกษามากที่สุด คือ เขื่อนไซยะบุรี ที่แขวงไซยะบุรี และเขื่อนดอนซาวหง ทางภาคใต้ของลาวใกล้ชายแดนกัมพูชา แต่ขอยืนยันว่า ลาวจะปฏิบัติตามระเบียบของสากล หรือภาคีระหว่างประเทศ ด้วยความโปร่งใส โดยเฉพาะเขื่อนไซยะบุรี เชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อไทยและลาว เพราะผลศึกษาเบื้องต้นไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม แต่จะส่งผลกระทบต่อปลาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะต้องหาแนวทางแก้ไขต่อไป” นายสูลิวง กล่าว

ด้าน นางเข็มแพง โพนเสนา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ว่า เศรษฐกิจของลาวปีนี้ โตถึงร้อยละ 7.8 และตั้งเป้าจะทำให้โตถึงร้อยละ 8 ให้ได้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศของลาว จะดำเนินควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมจะปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ ลาวยังได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ที่ปัจจุบันมีอยู่ ร้อยละ 41 เป็นร้อยละ 70 ในปี 2020 ด้วย
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง Empty ไม่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง แต่เกี่ยวกับการสร้างเขือน

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Jul 15, 2010 3:22 pm

“ภัยแล้งปี 53” ภัยเงียบที่เราต้องตระหนัก

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง DSCF0020

เรื่อง/ภาพ : สุเจน กรรพฤทธิ์

กลางเดือนมิถุนายน 2553 ขณะที่หลายคนกำลังบิดหัวก็อกเปิดน้ำประปาแล้วใช้น้ำอย่างสบายใจอยู่ในเมืองใหญ่ปริมาณน้ำในเขื่อนเกือบทุกแห่งของประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยมีน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับร้อยละ 50 ของทั้งหมด

15 มิถุนายน 2553 กรมชลประทานรายงานว่าปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งหมดทั่วประเทศรวมกันคือ 32,787 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยถ้าคิดจากความจุของเขื่อนทั้งประเทศจะเหลือปริมาณน้ำประมาณร้อยละ 47

ขณะที่ปีนี้ฤดูฝนเริ่มต้นช้า ปริมาณน้ำในเขื่อนจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง

พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลเรื่องน้ำของรัฐบาลกล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำของไทยวิกฤตอย่างยิ่ง หากฝนยังไม่ตกลงมา ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่จะเหลือใช้ได้อีกเพียง 2 เดือนเท่านั้น โดยในเขื่อนสิริกิติ์ที่ทำหน้าที่ส่งน้ำลงมายังพื้นที่ราบภาคกลางนั้น เหลือปริมาณน้ำกักเก็บเพียงร้อยละ 36 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 18 ปี ขณะที่เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดอย่างเขื่อนภูมิพลเหลือปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 32 เท่านั้น

“กระทั่งตอนนี้กรุงเทพฯ ต้องดึงน้ำมาจากจังหวัดกาญจนบุรี (ผ่านแม่น้ำแม่กลอง) มาสำรองเพื่อใช้ทำน้ำประปา”

พล.ต. สนั่น กล่าวว่ารัฐบาลกำลังตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อสำรวจสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ โดยจะมีการทำตารางทำฝนเทียมในแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ

สถานการณ์ที่ชัดเจนที่สุดคือพื้นที่ท้ายเขื่อนป่าสัก เขื่อนที่สามารถกักน้ำจากแม่น้ำป่าสักไว้ได้สูงถึง 960 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
กลางเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแห่งนี้เหลือเพียง 89 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 9 เท่านั้น

หากตอนนี้ (กลางเดือนมิถุนายน 2553) ใครเดินลงไปที่บริเวณประตูน้ำท้ายเขื่อน สถานการณ์ที่ปรากฏจะยิ่งน่าใจหาย เพราะเมื่อเขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ คลองชลประทานที่ทำหน้าที่ส่งน้ำลงสู่ลุ่มแม่น้ำป่าสักนั้นเรียกได้ว่า “แห้งขอดติดพื้น” จนสามารถเดินลงไปยังจุดที่เกือบจะลึกที่สุดของคลองได้

สถานการณ์น้ำในพื้นที่อื่นก็ไม่ต่างกัน ที่เขื่อนลำตะคอง พื้นที่ก้นเขื่อนบางส่วนแห้งขอด กลายเป็นที่เลี้ยงวัวควายของเกษตรกร
สถานการณ์นี้ทำให้ชาวนาในหลายพื้นที่ต้องจำใจเลื่อนการทำนาออกไปอย่างน้อย 2 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบอย่างหนักต่อวิถีชีวิตปกติและการชำระหนี้สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง DSCF9981

ชาวนาบางคนยอมเสี่ยงทำนาให้ตรงตามฤดูกาลคือเริ่มต้นลงดำกล้าในเดือนมิถุนายนตามเดิม โดยแบกรับต้นทุนในการสูบน้ำบาดาลและใช้เครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในท้องถิ่นขึ้นมาใช้แก้ไขสถานการณ์

ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกรร้อยละ 50 ลงมือใช้ทำนาไปแล้ว

ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าภัยแล้งครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 18 ปี

“ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแจ้งเตือน จัดระบบการทำนาใหม่ และเร่งสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบอุปสรรคทำให้พัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้เท่าที่ควร ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเราสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไปแค่ 3 แห่ง คือเขื่อนป่าสัก เขื่อนคลองท่าด่าน และเขื่อนแควน้อย ทั้งหมดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เร็วๆ นี้กรมชลประทานจะสร้างเขื่อนอีก 2 แห่งคือเขื่อนคลองหลวง (จังหวัดชลบุรี) และเขื่อนห้วยสโมง (จังหวัดปราจีนบุรี)”

ดูเหมือนบทสรุปของภัยแล้งและทิศทางข่าวสารที่เกิดขึ้นทุกปีคือ ทางราชการมักออกมากล่าวว่าจำเป็นที่จะต้องสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ตรรกะดังกล่าวยังคงเป็นปัญหา ในสหรัฐอเมริกามีข้อพิสูจน์แล้วว่าการสร้างเขื่อนไม่ได้เป็นคำตอบของการแก้ปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากในฤดูแล้ง ปริมาณน้ำในเขื่อนก็ไม่เพียงพอดังที่คาดหมาย และในฤดูฝน เขื่อนก็ต้องปล่อยน้ำทิ้งไปท้ายเขื่อนจำนวนมากเพื่อรักษาโครงสร้างของตัวมันเอง

เรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกับที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อหลายทศวรรษก่อน คือ สมัยที่มีการเริ่มก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่ง ผู้คิดริเริ่มโครงการมักมีความมั่นใจอย่างมากว่าเมื่อสร้างแล้วจะหมดปัญหาเรื่องน้ำท่วมและปัญหาขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำนั้น ทว่าเมื่อมีภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็จะมีการประกาศว่าเขื่อนนั้นไม่สามารถปล่อยน้ำให้เกษตรกรใช้ได้ ในขณะที่ในฤดูฝนเมื่อปริมาณไหลเข้าเขื่อนเป็นจำนวนมาก สถานการณ์กลายเป็นว่าเขื่อนจะต้องปล่อยน้ำออกมาท้ายเขื่อนเพื่อรักษาโครงสร้างของเขื่อนเอาไว้ จนทำให้ท้ายเขื่อนเกิดสถานการณ์น้ำท่วม

ในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งการสร้างเขื่อนที่ไทยยึดถือเป็นต้นแบบในการพัฒนา เริ่มเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยการทุบเขื่อนทิ้งหลายแห่ง โดยเฉพาะเขื่อนในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (Pacific north-west) เช่น เขื่อนมอร์มอต เขื่อนผลิตไฟฟ้าซึ่งกั้นแม่น้ำแซนดีในรัฐโอเรกอนที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1912 ทั้งยังมี “บัญชีดำ” ของเขื่อนที่จะต้องทุบทิ้งในอนาคตอีกจำนวนมาก

ประเด็นที่พวกเขาให้ความสำคัญเมื่อตัดสินใจทุบเขื่อนคือ เขื่อนขัดขวางการเดินทางของปลาหลากพันธุ์ และความที่เขื่อนในสหรัฐฯ ที่ดูแลโดยเอกชนต้องต่ออายุสัมปทานกับสำนักงานคณะกรรมการจัดระเบียบพลังงานแห่งสหรัฐฯ ทุก 50 ปี โดยต้องทำตามข้อกำหนดใหม่ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้มีต้นทุนในการบริหารสูงมาก ดังนั้น เมื่อคำนึงว่าอายุการใช้งานของเขื่อนบางแห่งก็เริ่มถึงอายุขัย เช่น บางแห่งที่อายุมากๆ เขื่อนมักมีตะกอนตกหน้าเขื่อน ทำให้ประสิทธิภาพกักเก็บน้ำลดลง การเลิกแบกภาระขาดทุนด้วยการทุบทิ้ง หันไปหาวิธีจัดการน้ำและการผลิตพลังงานแบบอื่นจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มทุนมากกว่า

กลับมาที่เมืองไทย ในปี 2543 JICA (Japan International Cooperation Agency : องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น) ศึกษาพบว่า เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งสร้างกั้นแม่น้ำปิงและแม่น้ำวังมาตั้งแต่ปี 2508 และ 2515 ตามลำดับ ทำให้ตะกอนที่พัดพาลงสู่ปากแม่น้ำลดลงจาก 25 ล้านตันต่อปี เหลือ 6.6 ล้านตันต่อปี หรือหายไปถึงร้อยละ 75

นั่นหมายความเขื่อนภูมิพลกับสิริกิติ์มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับสถานการณ์การสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถูกทะเลกลืนกินไปเรื่อยๆ นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างครบวงจรแต่อย่างใด

ปี 2553 ในขณะที่บางรัฐของอเมริกาเลิกเชื่อว่าเขื่อนคือคำตอบของการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง และหันไปประหยัด จัดการความต้องการในการใช้น้ำ และปรับตัวด้วยความเคารพธรรมชาติ

เมืองไทยยังคงตีข่าวความแห้งแล้ง แล้วก็ชี้ไปในทิศทางเดิมว่าการสร้างเขื่อนคือคำตอบของปัญหา ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ยังคงก่อวิกฤติให้กับสภาพแวดล้อมต่อเนื่อง ธรรมชาติก็จะลงโทษเรา

จะสร้างสัก 100 เขื่อนก็ไม่พอ และไม่ได้ช่วยให้พวกเรามีน้ำใช้เพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง Empty Re: ผู้แทนไทยต้านแผนจีนสร้าง 12 เขื่อนฮุบลุ่มน้ำโขง

ตั้งหัวข้อ  sunny Sun Jul 18, 2010 9:55 am

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7171 ข่าวสดรายวัน

"หนั่น"ยันเดินหน้าเสือเต้น

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการผลักดันก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม จ.แพร่ ว่า ขณะนี้ได้ปรับแนวทางในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกของประชาชน โดยจะสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จุดทางด้านเหนือและทางตอนใต้ของแก่งเสือเต้น เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนและเกิดผลกระทบต่อพี่น้องทั้ง 7 จังหวัดภาคเหนือ ยืนยันจะพยายามผลักดันโครงการนี้ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้ คาดว่าน่าจะเห็นผลภายในประมาณ 6-7 เดือนนี้

หน้า 15


====================

เบื่อข่าวเมืองไทยว่ะ โดยเฉพาะความคิดของเหลือบการเมือง

อ่านข่าวต่างประเทศ(แม้จะไม่รู้เรื่องบ้างก็ตาม) แต่ยังมีสาระที่น่าสนใจกว่าตั้งเยอะ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ