Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

4 posters

Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  sunny Sun May 09, 2010 10:28 pm

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ 12734028641273408442l

วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 18:00 น. ข่าวสดออนไลน์

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาธิการรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ทางสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยประสานให้มีการพบปะพูดคุยกันระหว่างนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนายเคิร์ต แคมป์เบล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า

กระทรวงการต่างประเทศขอแสดงความผิดหวังที่สถานทูตสหรัฐฯจัดให้มีการพบปะกับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มที่ต้องการล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ใช้ความรุนแรง โดยนายนพดลเองก็เป็นที่ทราบกันดีว่า มีความใกล้ชิดกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนในกลุ่มก่อกำลังติดอาวุธ สะสมอาวุธ ซึ่งทางสถานทูตสหรัฐฯเองก็ทราบแต่ทำไมมีการพบปะกับบุคคลเหล่านี้

"เราเองได้ตั้งข้อสงสัยว่า เมื่อสหรัฐฯสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ทำไมถึงไปพบกับบุคคลที่ต้องการล้มรัฐบาลที่มาโดยถูกต้อง เหมือนกับว่าไปรับรองการกระทำของกลุ่มผู้ก่อการร้าย อยากเรียกร้องให้สหรัฐฯประณามการก่อการร้ายในไทย เพราะแน่ชัดแล้วว่า มีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในประเทศไทย และสหรัฐฯก็มีนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งอยากให้สหรัฐฯเข้าใจตรงนี้ด้วย การล้มล้างรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยสหรัฐฯควรประณาม และเรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องความมั่นคงภายในประเทศ" นายชวนนท์ กล่าว
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty รัฐบาลสหรัฐฯ เมินอภิสิทธิ์- ตัวแทนแวะไทยเพื่อเข้าหารือกับจาตุรนต์และนพดล

ตั้งหัวข้อ  dannyonline Sun May 09, 2010 11:46 pm

ASTV ผู้จัดการออนไลน์
รายงานเมื่อชั่วโมงที่ผ่านมาว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.) นายเคิร์ต
แคมป์เบลล์ ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศสหรัฐ
ด้านกิจการเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก
มีกำหนดจะแวะพบปะและรับประทานอาหารเช้าร่วมกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก่อนที่จะเยือนพม่าเป็นประเทศต่อไป
ทั้ง
นี้ นอกจากแวะกินข้าวเช้ากับท่านจาตุรนต์และนพดลแล้ว นายเคิร์ต แคมป์เบลล์
ไม่มีกำหนดใดๆ ที่จะพบปะกับรัฐบาลไทยและผู้ยิ่งใหญ่คนใดในประเทศนี้ด้วย
dannyonline
dannyonline

จำนวนข้อความ : 33
Registration date : 28/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty Re: บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  sunny Mon May 10, 2010 12:20 am

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาเพิ่มเติม

ไม่ทราบว่า คุณ dannyonline มีความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้อย่างไรบ้างคะ

ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

รู้แต่ว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ยังต่อภาพไม่ออกอ่ะ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty Re: บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  dannyonline Mon May 10, 2010 12:48 am

ในความคิดส่วนตัวของผมครับ ผมคิดว่าการมาของนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศสหรัฐด้านกิจการเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก
อาจจะอยากแค่มาทานข้าวกับท่านจตุรนต์และคุณนพดลในฐานะคนรู้จักกันเคยร่วมงงานกันมาก่อน แต่!!!ความริษหยาอิจฉาตาร้อนของรัฐบาลนายอภิสิด
จึงให้นายชวนนท์ออกมาแถลงข่าวโจมตีขุดคุ้ย(เหมือนตัวอะไระนะ)ต่างๆนาๆ แท้ที่จริงนายเคิร์ตอาจจะไม่มีอะไรเกี่ยวกับประเทศไทยเลยก็ได้ คิดง่ายๆครับ
ไม่ว่าคนในโลกนี้ที่ไปคุยกับฝ่ายตรงข้ามของพวกเค้า เค้าก็จะเอามาเป็นประเด็นทันทีเปรียบเสมือน"วัวสันหลังว่ะ"กลัวคนอื่นรู้ว่ากำลังมีแผนจะทำอะไร
dannyonline
dannyonline

จำนวนข้อความ : 33
Registration date : 28/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty Re: บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  sunny Mon May 10, 2010 4:02 pm

อืม...ก็คงจะจริงอย่างที่คุณ dannyonline ว่ากระมัง

เราคงคิดมากไป เพราะเรามัวแต่คิดว่าการที่คนเราอยู่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ(ง่ายๆคือคนของสังคม)

การจะขยับเขยื้อนหรือกระทำการใดๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับชีวิตส่วนตัวเลย

โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งที่สำคัญที่สุด(สำคัญมากกว่าประธานาธิบดี) คือตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ

ส่วนนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ มีตำแหน่งเป็นถึง ผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศ....

เอาล่ะ!!! เราจะพยายามคิดในทางที่คุณ dannyonline ได้แสดงความคิดเห็นมาละกัน
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty Re: บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  แฟนคลับ Fri May 21, 2010 10:24 am

AFPชี้สหรัฐฯต้องระวังเรื่องวุ่นวายกับไทย

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า รัฐบาลกำลังเผชิญกับภารกิจละเอียดอ่อนในความพยายามสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์ในไทยซึ่งเป็นชาติพันธมิตร ของสหรัฐฯมายาวนาน โดยไม่เกิดความเสี่ยงต่ออิทธิพลของตนในไทย

เอเอฟพีระบุว่า มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ไม่ใช่ชาติตะวันตกที่มีความสัมพันธ์ที่ฝังรากลึกกับสหรัฐฯเหมือนไทย เป็นที่รู้กันดีสมัยที่ยังใช้ชื่อว่าสยาม ไทยเคยเสนอจะส่งช้างไปช่วยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น สู้รบในสงครามกลางเมือง และไทยยังช่วยเหลือสหรัฐฯอย่างมากในสมัยสงครามเวียดนาม กับส่งทหารไปอิรัก

ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการประท้วง"เสื้อแดง" แต่ในช่วงที่ยังเกิดความแตกแยกในไทยนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าสหรัฐฯต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่ก่อความบาดหมางทั้งกับชนชั้นสูงในไทย และทั้งกับผู้ประท้วงเสื้อแดง

นายโจชัว เคอร์แลนท์ซิค ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไทยของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเตือนว่าหากสหรัฐฯมีนโยบายมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะกับคนชั้นสูงของไทย ก็จะสร้างความไม่พอใจสหรัฐฯขึ้นในหมู่เสื้อแดง ในลักษณะเดียวกันกับประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซของเวเนซูเอล่า รัฐบาลชุดนี้ของสหรัฐฯใช้ความระมัดระวังในการไม่เข้ากับฝ่ายใดมากกว่าเมื่อปี 2549 ที่รัฐบาลของประธานาธฺบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ไม่ได้วิจารณ์รุนแรงต่อการก่อรัฐประหารโค่นนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นที่เคารพของเสื้อแดงส่วนใหญ่ เขามองว่าในระยะยาวท่าทีระวังงตัวของรัฐบาลสหรัฐฯแบบนี้เป็นสิ่งดี เพราะไม่รู้ว่า ฝ่ายใดในไทยจะได้ปกครองประเทศ

แฟนคลับ

จำนวนข้อความ : 96
Registration date : 10/05/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Empty Re: บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์

ตั้งหัวข้อ  hacksecret Sun Jun 13, 2010 10:21 am

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Icon_arrow ย้ายสนามรบของโลกมาไทย

http://www.siamintelligence.com/thailand-and-us-policy/

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กับประเทศไทย

June 11, 2010
โดย Joshua Kurlantzick
From CFR.org. Reprinted with permission.

ถึงขณะนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ดำเนินมาเกือบจะถึงขั้นสงครามกลางเมืองและ
คุกคามต่อหลายสิ่งหลายอย่างรวมถึง
1. ผลพวงในแง่บวกด้านประชาธิปไตยที่ได้ถูกสร้างขึ้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
2. สถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และ 3. เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่เป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม
ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมองหาตัวกลางที่จะช่วยแก้วิกฤตการณ์นี้
ยังมีโอกาสที่สหรัฐอเมริกา จะเข้ามามีบทบาทอย่างสร้างสรรค์


ถึงแม้ว่าประเทศจีนได้มีส่วนเอื้อประโยชน์ต่างๆ ในประเทศไทยตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกาก็ยังคงเป็นผู้มีบทบาทจากประเทศภายนอกที่เป็นที่นับถือและสำคัญที่สุด

ในปี ค.ศ. 2006 การตัดสินใจของสหรัฐอเมริกาที่จะไม่ประณามการทำรัฐประหาร
เป็นการทำให้กองกำลังทหารเข้ามามีอำนาจได้ง่ายขึ้น และได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นข้อผิดพลาด
อันใหญ่หลวง เนื่องจากคณะรัฐประหารมิได้ทำการแก้ไขสิ่งใดทั้งสิ้นและได้แต่ทำให้
สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม
ในตอนนี้ คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
ได้เลือกใช้วิธีการแสดงท่าทีอย่างสุขุมและไม่แสดงความแตกต่างมากนัก

นายเคิร์ท แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในระหว่างการเยี่ยมเยือนประเทศไทย
ที่ไม่เพียงแต่จะพบฝ่ายรัฐบาล แต่ได้พบกับแกนนำบางคนของผู้ชุมนุมเสื้อแดง


ถึงแม้ว่าการทำเช่นนี้จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากรัฐบาลไทย การตัดสินใจดังกล่าว
เป็นการกระทำที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่ากลุ่มเสื้อแดงบางกลุ่มได้เลือกใช้วิธีการที่รุนแรงและ
รัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะนำความสงบกลับมาและสลายการชุมนุมประท้วง แต่ข้อเรียกร้องต่างๆ
ทางสังคมซึ่งสะท้อนจากกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง (ต้องไม่ลืมว่า ผู้ชุมนุมกว่าหนึ่งแสนคน
ได้ออกมาเรียกร้องในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้) จะต้องไม่ถูกละเลย และยังจะต้องได้รับ
การทำความเข้าใจโดยสหรัฐอเมริกาและองค์กรหรือประเทศที่มี อิทธิพลจากประเทศอื่นๆ

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จำต้องขยายขอบข่ายการติดต่อของตนให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น
เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอันน่าตื่นตาตื่นใจที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองไทย
และต้องออกไปนอกกรอบการรายงานของสื่อไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษ (สื่อมวลชน
จากต่างประเทศมีแนวโน้มจะทำหน้าที่ได้ดีกว่า ในการสะท้อนเสียงคนไทยในกรอบ
ที่กว้างขวางมากขึ้น เนื่องจากพวกเขามักออกไปนอกกรุงเทพมากกว่าเพื่อทำการ
สัมภาษณ์คนต่างจังหวัด) การค้นหาจากขอบข่ายที่กว้างขวางขึ้นนี้จะแสดงให้เห็นว่า
การเคลื่อนไหวกลุ่มเสื้อแดงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
เท่านั้น การคงนโยบายเพื่อปฏิสัมพันธ์เฉพาะชนชั้นนำในกรุงเทพฯ จะไม่เป็นประโยชน์ต่อ
สหรัฐอเมริกา และในระยะยาวการทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการทำให้เกิด
ผู้นำที่พิทักษ์สิทธิคนยากจนดังเช่นกรณีนายชาเวซ ซึ่งจะก้าวเข้ามาสู่อำนาจและมีนโยบาย
ต่อต้านอเมริกันที่อันตรายร้ายแรงได้
นายแคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
จะเดินทางกลับไปเอเชียในอีกไม่กี่วันนี้ และแน่นอนว่าประเทศไทยจะเป็นหัวข้อสำคัญ
ในการพิจารณาหารือ นายแคมป์เบลล์ควรจะรับรองความจำเป็นของรัฐบาลไทยในการนำ
ความสงบกลับมาสู่บ้านเมือง (ทั้งนี้เช่นกันรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถ
ปล่อยให้กลุ่มคนติดอาวุธออกมาเดินอยู่ตามท้องถนนของวอชิงตัน ดี.ซี.
โดยไม่ได้มีการตรวจสอบได้)
และในขณะเดียวกันนายแคมเบลล์ก็ควรจะเพิกเฉย
ต่อคำเรียกร้องของรัฐบาลไทยที่จะ ให้นายแคมป์เบลล์ติดต่อกับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลไทยเท่านั้น
นายแคมป์เบลล์ควรจะสืบหาและฟังความคิดเห็นที่เป็นกลางจากกลุ่มเสื้อแดงและจากกลุ่มผู้นำ
ที่ค่อนข้างมีความเป็นกลางและเป็นที่นับถือ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยใกล้ชิดกับนายทักษิณ อย่างเช่น
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายแคมป์เบลล์ควรจะส่งสารถึงรัฐบาลไทยว่า
สหรัฐอเมริกาจะดำเนินการต่างจากในปี ค.ศ. 2006 โดยที่สหรัฐอเมริกาจะประณาม
อย่างแข็งกร้าวมากขึ้นต่อการแทรกแซงทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น การทำรัฐประหาร
การพิพากษาจากศาล หรือ การกระทำอื่นๆ ที่คล้ายกัน
ดังเช่นที่รัฐบาล
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ทำการประณามต่อรัฐประหารในประเทศฮอนดูรัสและการเลือกตั้ง
ที่อาจจะถูกจัดขึ้นอย่างไม่โปร่งใสในประเทศอิหร่าน การประณามนี้อาจจะรวมไปถึงการขู่
จะยกเลิกการฝึกรบร่วมคอบร้า โกลด
์ การประณามอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน
และการทบทวนความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทยเสียใหม่ ประเทศไทย
ย่อมไม่ต้องการที่จะถูกมองว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศทั้งสองที่ กล่าวมาแล้ว

ดังนั้นการยึดหลักการสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีเท่านั้น จึงจะเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกา
สามารถปกป้องสถานภาพของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ: Joshua Kurlantzick

เป็นนักสื่อสารมวลชน และนักเขียนจากบัลติมอร์ แมรีแลนด์ เขาเป็นอาจารย์สอนที่
Carnegie Endowment for International Peace และเป็นผู้แต่งหนังสือ Charm Offensive:
How China’s Soft Power Is Transforming the World หนังสือฉบับนี้ได้รับการเสนอให้
ชิงรางวัล Arthur Ross Book Award จาก CFR ในปี 2008 CFR หรือ Council on Foreign Relations
เป็นหน่วยงานคลังความคิด ซึ่งไม่แสวงหาผลกำไร และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง องค์กรแห่งนี้
ได้รับการยอมรับว่าเป็น “คลังความคิดที่ทรงอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามากที่สุด”
นอกจากนี้ CFR ยังตีพิมพ์นิตยสารรายสองเดือน “Foreign Affairs” ซึ่งเน้นการวิเคราะห์
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หมายเหตุ: SIU เห็นปฏิกิริยาจากสื่อต่างประเทศต่อปรากฎการณ์ 19 พฤษภาคม 2553 ที่น่าสนใจ
จากสื่อและผู้สังเกตุการณ์จากต่างประเทศ จึงนำมาเสนอตามมุมมองของแต่ละสำนัก ครั้งก่อน
เป็นมุมมองค่อนไปทางซ้ายจากสื่อในประเทศเยอรมนี สำหรับครั้งนี้เป็นการนำเสนอบทความ
จากนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศ จากองค์กรคลังความคิดที่มีอิทธิพลกับ
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา


ที่มา : http://blogs.cfr.org/asia/2010/05/18/thailand-and-us-policy/

Thailand and U.S. Policy

Posted on Tuesday, May 18, 2010
by Joshua Kurlantzick

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Protester

Photo courtesy of Reuters/Adrees Latif At this point, the crisis in Thailand has gotten
so grave that it verges on civil war and threatens many things, including the democratic
gains made over twenty years, the entire legacy of the reign of King Bhumibhol Adulyadej,
and Thailand’s tourism-dominated economy. However, as both sides look for mediators
to help resolve the crisis, there is an opportunity for the United States to play a constructive role.

Despite the gains made by China in Thailand over the past decade, the United States remains
the most important, and respected, outside actor. In 2006, the U.S. decision to essentially
not condemn the coup made it easier for the military to take power, and proved a major mistake,
as the coup resolved nothing and only made matters worse. Now, the Obama administration
has taken a wise and more nuanced response. Assistant Secretary of State Kurt Campbell
smartly decided, during a visit to Thailand, to meet not only with the government but also
with some of the leaders of the red shirt protesters. Despite harsh criticism of this decision
from the Thai government, it was the correct one. Though some of the red shirts have
regrettably employed violent tactics, and though the government has the right to restore order
and disperse protests, the broader social complaints represented by the red shirts – let’s remember,
they turned out over 100,000 people in Bangkok not long ago – are not going to go away and
need to be understood by the United States and other foreign powers. U.S. officials need to
broaden their range of contacts in order to understand the dramatic political changes going on
in Thailand, and to move beyond the coverage of the country in the English-language Thai media.
(Foreign media tend to do a better job of getting a wider range of Thai voices, since they go
outside Bangkok more and interview people in the provinces.) Seeking out a broader range of
contacts will also show that the red shirt movement is not merely a tool of former prime minister
Thaksin Shinawatra. Continuing a policy of only interacting with Bangkok elites would not be
in the United States’ interest and, in the long run, would create the possibility that some
Chávez-like tribune of the poor would rise to power and be virulently anti-American.

Assistant Secretary of State Campbell will be returning to Asia in just a few days,
with Thailand certainly high on his agenda. He should both endorse the Thai government’s
need to restore order – after all, the White House could not let armed men roam around
the streets of Washington, DC unchecked – and ignore the Thai government requests that
he interact only with government ministers. He also should seek out moderate voices in
the red shirt movement, as well as the most moderate and respected leaders who once
clustered around Thaksin, like former MP Chaturon Chaiseng. He should also deliver
a firm message to the Thai government that, unlike in 2006, the United States will more
aggressively condemn any intervention in electoral politics – a coup, a judicial decision,
or the like – just as the Obama administration condemned the coup in Honduras and
the potentially rigged election in Iran. (This condemnation could include threatening to
cancel Cobra Gold joint exercises, real public condemnation, and a reassessment of
other elements of the U.S.-Thai relationship.) Though Thailand may not want to be seen
in the company of those two countries, holding a consistent standard about the need
for free elections allows the US to better defend its own positions.

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ %E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Icon_arrow ผู้ก่อการร้าย ที่ชื่อทักษิณ...

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Icon_arrow "เสธ.แดง"โดนยิงเข้าขมับขวา สื่อตปท.เผยนาทีระทึก สงสัยถูกสไนเปอร์ส่องหัว

บัวแก้วโวยมะกันดอดนัดพบนพดล-จาตุรนต์ Icon_arrow แฉ ขบวนการล้มล้างประเทศไทย++!!!

hacksecret

จำนวนข้อความ : 1111
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ