Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

2 posters

Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 7:13 pm

พงศพัศ ประชุมร่วมอัยการ เตรียมรับ ราเกซ สักเสนา กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย หลังแคนาดายอมส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดน

27ตุลาคม พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประชุมร่วมกับตัวแทนอัยการสูงสุด กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมกรณีศาลฎีกาประเทศแคนาดาพิจารณาส่งตัวนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด(มหาชน)หรือ บีบีซี เป็นผู้ร้ายข้ามแดน กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ในข้อหายักยอกทรัพย์

พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวว่า ต้องรอฟังคำสั่งศาลที่จะมีคำพิพากษาในช่วงเวลา 20.00 น.วันพฤหัสนี้ ตามเวลาประเทศไทย โดยหากมีคำสั่งส่งตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย รองอัยการสูงสุดและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่เดินทางไปรอรับตัวที่ประเทศแคนาดาจะควบคุมตวนายราเกซกลับประเทศไทยทันที

ทั้งนี้ เมื่อเดินทางมาถึงจะถูกส่งไปควบคุมที่กองปราบปราม จากนั้นชุดพนักงานสอบสวนที่ตั้งขึ้นมาจะเข้าสอบปากคำก่อนส่งตัวให้อัยการ เพื่อส่งฟ้องศาลต่อไป โดยเชื่อว่า กระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากมีสำนวนคดีเดิมอยู่แล้ว และการดำเนินคดีจะเป็นไปตามข้อหาที่ขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

นอกจากนี้ ยืนยันว่าจะดูแลรักษาความปลอดภัยและสุขภาพของนายราเกซให้ดีที่สุด ในการกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 7:21 pm

สงสัยเป็นการส่วนตัว ว่า อายุความจะขาดหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2539 - 40 แต่ว่า การนับอายุความให้เริ่มนับจาก เมื่อรู้ว่าเสียหาย หรือ ดำเนินคดี หรือจะหยุดนับอายุเมื่อจำเลยหนีคดี

เกรงว่าจะเหมือนกับคดีการเมืองทั่วๆ ไป คดีการเมืองตามนิยามของข้าพเจ้าก็คือ เรื่องชั่วๆ ที่ใช้กระบวนการการเมืองกระทำทุกรูปแบบ ไม่เกี่ยงว่าแพ่ง หรือ อาญา

คนที่อยู่รอฟังคำตัดสิน มักจะรู้คำตอบว่าไม่ผิด คนที่ไม่มั่นใจก็จะหนีไปต่างประเทศก่อน คนที่ไม่รู้เรื่องก็จะต้องอยู่ในคุก

โทษการเมืองที่ทำให้ประเทศชาติฉิบหายเป็นพัน เป็นหมื่นล้าน ก็ยังเห็นว่าคนเหล่านั้นได้ดิบได้ดีกันในเวลานี้ หลายคนเคยเป็นผู้บริหาร สถาบันการเงิน ๕๖ ไฟแนนซ์ สมัยต้มยำกุ้ง ตอนนี้กลายเป็น ท่าน รมต ไปแล้ว และ หลายคนที่เป็นอดีตผุบริหารหน่วยงานรัฐบาล ในการกำกับดูแลลสถาบันการเงิน ฯ ในยุคนั้น ยุคราเกซ ปิ่น นี่แหละ ตอนนี้ ก็เป็นระดับบิ๊กในสถาบันการเงินปัจจุบัน

คนที่ทำโทษมหันต์เหล่านี้ ไม่ได้รับโทษ ไม่มีใครจดจำได้ว่าเคยทำความเสียหายมาขนาดไหน แต่คนที่ขโมยซาลาเปา เพียงเพราะความหิว ซาลาเปาที่หมดอายุเตรียมทิ้ง แต่เกิดนำไปกิน โดยไม่ได้รับอนุญาต และ ไม่ได้จ่ายเงินซื้อ อาจกินเพราะเสียดายของ ที่ไม่ควรจะทิ้ง ก็กลายเป็นลักทรัพย์ และมีโทษเท่ากับขโมย

ความยุติธรรมบนโลกใบนี้มีอย่างแน่นอน ซึ่งคงไม่ได้ทุกกรณีที่จะเห็นได้ด้วยการจัดการของคน ต้องรอมือที่มองไม่เห็น (ของจริง) เป็นตัวจัดการเสียละมั้ง

อนาถใจจริงๆ
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 7:24 pm

อย่าบอกว่า ราเกซเห็นว่า บรรยากาศทางการเมืองตอนนี้ ช่างละม้ายปี ๔๐ เสียจริง ก็เลยอดใจไม่ไหว ขอกลับมาเพื่อ ร่วมบันเทิงกับ คนที่เคยเป็นอดีตนายก ตอน กรกฎาคม ๔๐

หรือรู้ว่ามีช่องทางที่จะรอดตัว เพราะเรื่องนี้ไม่ได้ทำคนเดียว หากจะให้ขึ้นศาลดำเนินคดี ก็จะต้องมีเพื่อนเข้าคุกด้วย ดังนั้น โอกาสรอดก็มีทางเป็นไปได้


THE TRUTH CAN BE ADJUSTED.... ขอยืม ไมเคิล เคลย์ตันมาใช้หน่อย

นั่งเทียนเขียนล้วนๆ เลย
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 7:31 pm

ผอ.สำนักคดีแบงค์ชาติมั่นใจ 90% ได้ตัวพ่อมดการเงินกลับมาดำเนินคดีในไทยแน่ รอเพียงคำตัดสินของศาลฎีกาแคนาดา ในเดือน ส.ค.นี้ เผยเร่งไล่อายัดเงิน "ราเกซ" ในหลายประเทศ..

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่ทำทุกวิถีทาง เพื่อนำตัวนายราเกซ สักเสนา "พ่อมดการเงิน" อดีตที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ หรือบีบีซี กลับมาดำเนินคดีตามกฎหมายไทย หลังจากได้ร่วมกับพรรคพวกยักยอกทรัพย์บีบีซี มูลค่าประมาณ 2,520 ล้านบาท หรือ 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลบหนีไปขอลี้ภัยอยู่ประเทศแคนาดา ตั้งแต่ปี 2539 นานถึง 12 ปี

วันนี้ (24 มิ.ย.) นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผู้อำนวยการสำนักคดี ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มีความมั่นใจ 80-90% ว่าจะได้ตัวนายราเกซ มาดำเนินคดีในไทยแน่นอน ขณะนี้กำลังรอคำตัดสินของศาลฎีกาประเทศแคนาดา ในเดือน ส.ค.นี้ ว่าจะพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ที่ให้ส่งตัวนายราเกซ กลับเมืองไทย หรือไม่ ขณะเดียวกัน ธปท.ก็ได้ร่วมกับอัยการสูงสุด ดำเนินกระบวนการเพื่อที่จะได้รับตัวนายราเกซ กลับมาดำเนินคดีในไทย

ส่วน ความเสียหายที่เกิดจากคดียักยอกทรัพย์กว่า 2.5 พันล้านบาท ขณะนี้สามารถติดตามนำเงินที่ยักยอกกลับคืนมาจากแคนาดาแล้ว 1,537 ล้านบาท อยู่ระหว่างบังคับคดีทางแพ่ง ที่แคนาดาอีก 500 ล้านบาท และอยู่ในขั้นตอนอายัดทรัพย์ในต่างประเทศอีกหลายประเทศ รวมทั้งคาดว่าจะอายัดเงินของนายราเกซ กลับมาเป็นของแผ่นดินประมาณหมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วย ว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาจอห์น ฮอลล์ แห่งศาลอุทธรณ์บริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ครั้งล่าสุดของนายราเกซ ที่คัดค้านไม่ให้ทางการแคนาดาส่งตัวเขากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน หลังจากรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมแคนาดามีคำสั่งให้ส่งตัวกลับประเทศไทย โดยผู้พิพากษาจอห์น ฮอลล์ แถลงถึงเหตุผลที่ต้องปฏิเสธคำอุทธรณ์ของนายราเกซว่า จากการประมวลพยานหลักฐานทั้งหมดที่ยื่นต่อศาล ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ถึงความถูกต้องในการตัดสินใจของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมแคนาดา ที่สั่งให้ส่งตัวนายราเกซกลับประเทศไทย ขณะที่นายคริสเตียน กิรูอาร์ด โฆษกกระทรวงยุติธรรมแคนาดา แถลงว่า นายราเกซกำลังอยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์คำตัดสินครั้งนี้ต่อศาลฎีกาของ แคนาดา ดังนั้น จึงไม่สามารถให้ความเห็นใดๆได้ ส่วนนายโฆษิต ชาติไพบูลย์ กงสุลใหญ่ของไทยประจำเมืองแวนคูเวอร์ ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นถึงคำตัดสินของศาลอุทธรณ์เช่นเดียวกัน

นาย ศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าวว่า นายราเกซได้ยื่นฎีกาแล้ว ตามกำหนดเดิมนายราเกซต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 4 มิ.ย. แต่ได้ขอขยายเวลาอ้างว่าต้องรวบรวมเอกสาร ศาลอนุญาตขยายเวลาให้นายราเกซไปจนถึงวันที่ 15 มิ.ย.นี้ ส่วนการพิจารณาฎีกาของนายราเกซศาลแคนาดาคงต้องใช้เวลาพอสมควรแต่เชื่อว่าจะ ไม่กระทบต่อรูปคดีที่จะขาดอายุความไปก่อน ซึ่งคดียักยอกทรัพย์บีบีซีที่นายราเกซตกเป็นผู้ต้องหามีหลายสำนวน บางสำนวนขาดอายุความไปแล้ว ส่วนที่ยังรอดำเนินคดีกำลังจะหมดอายุความในปี 2553 เชื่อว่าทางแคนาดาจะให้ความสำคัญต่อการใช้เวลาพิจารณาโดยไม่กระทบต่อการ ดำเนินคดีอาญาของประเทศไทย

สำหรับนายราเกซ เจ้าของฉายา "พ่อมดการเงิน" ถูกตำรวจไทยออกหมายจับ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2539 ในข้อหายักยอกทรัพย์ของบีบีซีมูลค่า 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาธนาคารบีบีซี โดยข้อกล่าวหาระบุว่า นายราเกซได้จัดการปล่อยเงินกู้แบบหลอกๆ หลายครั้ง เพื่อโยกย้ายถ่ายโอนเงินจากบัญชีของบีบีซี ทำให้บีบีซีล้มละลายในปี 2538 และนำไปสู่การเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ในเอเชียในปลายทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเรียกกันว่า "วิกฤติต้มยำกุ้ง" จากนั้น นายราเกซหลบหนีไปแคนาดาและถูกตำรวจม้าแคนาดาจับกุมตัวที่เมืองวิสเลอร์ แหล่งตากอากาศและเล่นสกีชื่อดังในมณฑลบริติช โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2539 และเขาได้ให้ ทนายความต่อสู้คดีมาตลอด เป็นคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา

อย่าง ไรก็ตาม ตามกฎหมายของสถาบันกำกับตลาดหลักทรัพย์ของไทย คดีความของนายราเกซจะหมดอายุความในเดือน ก.ค. 2553 ถ้าทางการแคนาดายังไม่ส่งตัวนายราเกซกลับประเทศไทย เขาจะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาทั้งหมดทันที
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 7:43 pm

ล่าสุดได้ยินว่า จำเลยไม่ยอมกลับมาเมืองไทย อ้างว่ามีความวุ่นวายสูง เกรงไม่ปลอดภัย

(จะรอฟังว่าหลังจาก กรกฎาคม ๕๓ เมื่อคดีหมดอายุความแล้ว จะพูดอย่างนี้ไหม ไอ้เลว)
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:20 pm

เมื่อมีการฟ้องร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีอาญา
ศาลรับฟ้องแล้ว
ขั้นตอนแรกศาลจะมีหมายเรียก ผู้ถูกกล่าวหาให้มารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง
ในวันเวลาที่ถูกกำหนด
และหากครบกำหนดแล้ว ยังไม่มา
ศาลก็จะออกหมายจับ



และในกรณีที่ผู้ต้องหาในคดีอาญาหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ
ไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (extradition treaty)
กับประเทศต่างๆ 14 ประเทศ
ได้แก่
อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิจิ เบลเยียม อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ และกัมพูชา

และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องทางอาญา
(treaty on mutual assistance in criminal matters) กับประเทศต่างๆ 6 ประเทศ
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และอินเดีย

และเสร็จสิ้นการเจรจาทำความตกลงในเรื่องนี้กับจีน เกาหลี โปแลนด์
ศรีลังกา ออสเตรเลีย และเบลเยียมแล้ว

แม้ว่าไทยจะยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายทั้งหมด
และยังไม่มีความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและความตกลง
ว่าด้วยความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญากับทุกประเทศ
แต่ไทยก็อาจให้ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในเรื่องทางอาญากับต่างประเทศได้
หากต่างประเทศพร้อมจะให้ความร่วมมือกับไทยเป็นการตอบแทน (reciprocity)

ทั้งนี้ เพื่อประกันว่า “ผู้ก่อการร้ายจะต้องไม่สามารถหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรม
และใช้ประเทศใดๆ เป็นแหล่งหลบภัยได้”

(ข้อมูลจากเว็บไซท์กระทรวงต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/web/463.php?id=3332&lang=th)

MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:20 pm

หลักการที่สำคัญในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

จากบทความ "การส่งผู้ร้ายข้ามแดน"
โดย คมกริช ดุลยพิทักษ์ อัยการประจำกรม
สถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด


ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้แก่ “พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472”
ซึ่งมิได้บัญญัติถึงความหมายของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้
แต่โดยทั่วไปแล้ว การส่งผู้ร้ายข้ามแดนหมายถึง “ กระบวนการที่รัฐหนึ่งร้องขอไปยังอีกรัฐหนึ่ง
ให้ดำเนินการจับกุมตัวบุคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดหรือต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดทางอาญา
ภายในเขตอำนาจศาลของอีกรัฐหนึ่งและพบตัวอยู่ในเขตอำนาจของรัฐนั้น
เพื่อส่งตัวบุคคลดังกล่าวมาดำเนินการพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป ”
ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะหลบหนีไปอยู่ ณ ที่ใด
จะต้องถูกนำตัวมาฟ้องร้องลงโทษในความผิดที่ตนได้กระทำไว้
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้อง
กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ
ซึ่งโดยปกติแล้วรัฐแต่ละรัฐไม่มีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่จะต้องส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่รัฐอื่น

ดังนั้นเมื่อรัฐต่างๆมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
จึงได้มีการวางหลักการพื้นฐานเป็นแบบพิธีและขั้นตอน
ในการดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติระหว่างกัน
โดยแต่ละรัฐอาจมีการทำเป็นสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างรัฐต่อรัฐ
ในกรณีที่มีการทำสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาระหว่างกัน

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็อาจกระทำโดยหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่างตอบแทนกัน
กล่าวคือ หากรัฐหนึ่งยอมส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่อีกรัฐหนึ่งที่ร้องขอแล้ว
รัฐที่ร้องขอย่อมมีพันธกรณีที่จะต้องส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
ไปให้รัฐที่ได้รับการร้องขอเมื่อต้องการเช่นเดียวกัน


ดังนั้น เมื่อมีการร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเกิดขึ้น
ในเบื้องต้นจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่ารัฐทั้งสองนั้นมีสนธิสัญญา
เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนทำไว้ต่อกันหรือไม่
และกฎหมายภายในของรัฐที่ถูกขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นมีบทบัญญัติไว้อย่างไร
ถ้าหากไม่มีสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนทำไว้ต่อกัน
ต้องถือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่างตอบแทนกัน
สำหรับประเทศไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้กับประเทศต่างๆหลายประเทศ
เช่น
สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ร.ศ.129
สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสยามกับเบลเยี่ยม ค.ศ.1937
สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา
ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ค.ศ.1983 เป็นต้น
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:21 pm

สำหรับกฎหมายภายในของไทยนั้น ได้แก่ “พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472”
ซึ่งมีหลักการที่สำคัญๆในเบื้องต้นอยู่ในมาตรา 4 ถึงมาตรา 7
ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าว การขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น
มิใช่ว่าจะสามารถขอได้ในการกระทำความผิดทุกประเภท
ความผิดที่จะขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้

1. ต้องเป็นความผิดที่กฎหมายไทยกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยใช้หลักที่ว่า ความผิดซึ่งบุคคลผู้ถูกร้องขอให้ส่งตัวข้ามแดนได้นั้น
ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาที่สามารถลงโทษได้ทั้งในประเทศที่ร้องขอ
และประเทศที่รับคำร้องขอด้วย (Double Criminality)
จึงถือได้ว่าพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนของไทยยอมรับหลักการปฏิบัติต่างตอบแทน
ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปในทางปฏิบัติระหว่างประเทศ

2. ต้องไม่ใช่คดีที่ศาลของประเทศผู้ร้องขอได้พิจารณาและพิพากษาให้ปล่อย
หรือได้รับโทษในความผิดที่ร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาแล้ว
ซึ่งมาจากหลักที่ว่าจะต้องไม่พิจารณาพิพากษาลงโทษบุคคลเดียวกัน
ในความผิดที่กระทำในครั้งเดียวกันเป็นสองซ้ำ(Double Jeopardy)

3. ต้องมิใช่ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง หรือการที่ขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น
ความจริงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเอาตัวไปลงโทษอย่างอื่นที่มีลักษณะทางการเมือง

วิธีการและขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

1. การส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยวิธีการตามปกติ
ขั้นตอนและวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นจะเริ่มต้นจาก
การมีคำร้องขอจากรัฐบาลต่างประเทศ โดยวิธีทางการทูต
ผ่านมาทางกระทรวงการต่างประเทศ โดยจะต้องมีหลักฐานประกอบคำร้องแนบมาด้วย คือ (มาตรา 7)
1) ในกรณีขอให้ส่งตัวบุคคลที่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
ต้องมีสำเนาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิพากษาคดีนั้น
2) ในกรณีขอให้ส่งตัวบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิด
จะต้องมีหมายหรือสำเนาหมายจับของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในประเทศที่ร้องขอ

เมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้รับคำร้องและเอกสารหลักฐานต่างๆแล้ว
จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ความเห็นชอบ
และแจ้งสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอออกหมายจับบุคคลที่ต้องการตัวดังกล่าว
เมื่อจับตัวได้แล้วพนักงานอัยการจะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาไต่สวน
ยังศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าหากศาลรับคำฟ้องคดีขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้พิจารณาแล้ว
ศาลจะแจ้งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมทราบแล้วดำเนินการไต่สวน(มาตรา 8 – 9)

2.การส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยวิธีจำเป็นเร่งด่วน
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลต่างประเทศผู้ร้องขออาจทำคำร้องขอให้จับกุม
และขังบุคคลที่ต้องการส่งข้ามแดนไว้ชั่วคราวมายังกระทรวงการต่างประเทศ
โดยคำร้องจะต้องแสดงความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาอย่างชัดแจ้ง
และระบุด้วยว่าได้มีการออกหมายจับไว้แล้วสำหรับความผิดนั้น
หรือได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษบุคคลดังกล่าวแล้ว
เมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้รับเรื่องแล้วก็จะแจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอหมายจับบุคคลดังกล่าว
เมื่อจับตัวบุคคลดังกล่าวได้แล้วพนักงานอัยการจะนำคดีขึ้นสู่ศาล
ซึ่งศาลจะออกคำสั่งขังบุคคลดังกล่าวไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาไต่สวน
แต่ประเทศผู้ร้องขอจะต้องส่งคำร้องขอและเอกสารหลักฐาน
เกี่ยวกับสำเนาหมายสั่งจับหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างเป็นทางการ
มายังรัฐบาลไทยภายใน 2 เดือน มิฉะนั้นศาลจะสั่งปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว (มาตรา 10)



MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:21 pm

การพิจารณาคดีของศาล

การพิจารณาคดีขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น
ศาลจะไม่พิจารณาโดยละเอียดว่า บุคคลดังกล่าว
มีความผิดตามข้อกล่าวหาที่ขอให้ส่งตัวหรือไม่
เหมือนอย่างการพิจารณาคดีทั่วๆไป
แต่เป็นเพียงการพิจารณาว่าควรส่งตัวบุคคลนั้นให้ไปต่อสู้คดี
ในศาลของประเทศที่ร้องขอหรือไม่เท่านั้น

หน้าที่พิสูจน์ความผิดที่แท้จริงจะอยู่ที่กระบวนการพิจารณาคดีของศาล
ในประเทศที่ความผิดเกิด
ดังนั้นศาลไทยจึงพิจารณาแต่เพียงข้อเท็จจริงในเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย
และข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิดบางประการ กล่าวคือ (มาตรา 12)

1. จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดนหรือไม่
2. มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะส่งตัวผู้ต้องหาเพื่อส่งไปให้ศาลพิจารณาคดีได้หรือไม่
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในประเทศไทย
3. ความผิดนั้นเป็นความผิดที่อยู่ในประเภทที่จะส่งตัวข้ามแดนได้ กล่าวคือ

1) เป็นความผิดที่กฎหมายไทยกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
2) ไม่ใช่ความผิดในคดีที่ศาลของประเทศผู้ร้องได้มีคำพิพากษาให้ปล่อยตัวหรือได้รับโทษมาแล้ว
3) ไม่ใช่ความผิดที่มีลักษณะในทางการเมือง
อนึ่งโดยทั่วไปในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนศาลจะไม่ให้จำเลยประกันตัวไปในระหว่างการพิจารณาคดี (มาตรา 11)
สำหรับจำเลยนั้นโดยหลักแล้วศาลไม่จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานหรือข้อต่อสู้ของจำเลย
ทั้งนี้เนื่องจากการพิจารณาของศาลไทยในชั้นนี้เป็นเพียงการพิจารณาว่า
ควรจะส่งตัวบุคคลนั้นไปต่อสู้คดีในศาลของประเทศที่ร้องขอหรือไม่เท่านั้น
หน้าที่พิสูจน์ความผิดที่แท้จริงอยู่ที่กระบวนพิจารณาคดีของศาลในประเทศที่ความผิดเกิด
อย่างไรก็ตามศาลอาจรับฟังข้อต่อสู้ของจำเลยในบางเรื่อง กล่าวคือ (มาตรา 13)

(1) จำเลยไม่ใช่บุคคลที่ถูกขอให้ส่งตัวข้ามแดน (จับผิดตัว)
(2) ความผิดนั้นไม่อยู่ในประเภทที่จะขอให้ส่งตัวข้ามแดนได้
เช่น ความผิดทางการเมือง หรือการที่ขอให้ส่งตัวข้ามแดนนั้น
ความจริงเพื่อที่จะเอาตัวไปลงโทษในความผิดอย่างอื่นที่มีลักษณะทางการเมือง
(3) เรื่องสัญชาติของจำเลยอาจต่อสู้ว่าเป็นคนไทยรัฐบาลไม่ควรส่งตัวไปให้ประเทศอื่นลงโทษ (ตามหลักคนชาติ)
เมื่อศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับที่ร้องขอ
คำร้องขอนั้นมีพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอและความผิดที่ขอให้ส่งตัวข้ามแดนนั้น
เป็นความผิดที่สามารถส่งตัวข้ามแดนได้ ศาลก็จะมีคำสั่งอนุญาติให้ขังบุคคลนั้นไว้
เพื่อรอการส่งข้ามแดนไปยังประเทศที่ร้องขอ (มาตรา 15)
แต่ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ใช่บุคคลเดียวกับที่ประเทศผู้ร้องขอต้องการให้ส่งตัวข้ามแดน
หรือพยานหลักฐานมีไม่เพียงพอหรือความผิดนั้นไม่ใช่ความผิดที่จะส่งตัวข้ามแดนได้ศาลจะสั่งปล่อยตัวบุคคลนั้นไป

คำสั่งศาลที่ให้ปล่อยตัวบุคคลนั้นไปจะยังไม่ถึงที่สุด พนักงานอัยการยังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ภายใน 48 ชั่วโมง (มาตรา 14 )
หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไรถือว่าเป็นที่สุด

กระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ประเทศผู้ร้องขอ
ทราบผลการพิจารณาคดีของศาลไม่ว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร



บทสรุป

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นกระบวนการความร่วมมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้ประเทศต่างๆร่วมมือกันในการปราบปรามผู้ประกอบอาชญากรรมในประเทศหนึ่ง
แล้วหลบหนีไปอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง
รวมถึงการประกอบอาชญากรรมที่มีลักษณะเป็นองค์กรข้ามชาติ
ให้สามารถที่จะส่งตัวไปดำเนินคดีในความผิดที่เขาได้กระทำลงไป
จึงเป็นการร่วมมือกันรักษาระบบกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายให้สัมฤทธิ์ผล
ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของประชาคมโลก
เพราะหากไม่มีการร่วมมือกันในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
เพื่อให้ผู้ประกอบอาชญากรรมได้ถูกส่งตัวไปลงโทษในความผิดที่เขาได้ก่อไว้แล้ว
ผู้กระทำความผิดจะสามารถหลบหนีจากการถูกลงโทษได้
ซึ่งจะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายต้องเสียไป
และย่อมส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวม
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:22 pm

ปิ่น จักกะพาก
เจ้าของฉายา "พ่อมดการเงิน" เกิดและ็โตในอเมริกา
ปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย จากประเทศสหรัฐอเมริกา
อาชีพที่ปรึกษาให้แก่นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ต่าง ๆ ในอังกฤษและยุโรป
กลับมาประเทศไทยในปี 2516 ปลุกปล้ำบริษัทเงินทุนยิบอินซอย
ของตระกูลจูตระกูลสายทางมารดาของปิ่นเอง
จากที่มีพนักงานแค่ 3 คนกลายมาเป็นเอกธนกิจ บริษัทการเงินที่ใหญ่ี่สุดในเมืองไทย
ที่เกือบจะประสบความสำเร็จ เทคโอเว่อร์ ธนาคารไทยทนุที่มีขนาดใหญ่กว่า
การล่มสลายของเครือเอกที่เป็นเรื่องช็อควงการการเงินมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
เกิดและโตที่ สหรัฐอเมริกา ก็น่าจะถือสัญชาติอเมริกันด้วย


ราเกซ สักเสนา
ฉายา " พ่อมดทางการเงิน
ผู้ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยพังทลายลงเมื่อปี 2538
มีสถานะเป็น ประชากรถาวรแคนาดา (Canadian Permanent resident)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Landed immigrant
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:23 pm

จะขอรวบรวมเรื่องราวของนายราเกซ สักเสนา
มาให้ศึกษา เป็นคดีตัวอย่าง




การยึดทรัพย์นายราเกซ สักเสนาในสวิสเซอร์แลนด์
(จาก เว็บไซท์เรื่องคดีของ สำนักงานต่างประเทศ 1 สค. 2547
www.inter.ago.go.th/kadee/kadee_1.htm)

สำนักงานอัยการสูงสุดได้ร้องขอให้รัฐบาลแคนาดาส่งตัวนายราเกซ สักเสนา
เป็นผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย และต่อมาศาลชั้นต้นแห่งเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
ได้พิพากษาให้ส่งตัว นาย ราเกซ สักเสนา ข้ามแดน
ซึ่งนายราเกซ สักเสนา ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแคนาดา
และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546
ให้ส่งตัวนายราเกซ สักเสนา เป็นผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว
ขณะนี้อยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแห่งเมืองแวนคูเวอร์
และคำสั่งของรัฐมนตรีฯต่อศาลอุทธรณ์

นอกเหนือจากการดำเนินการให้คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ประเทศแคนาดาดังกล่าวแล้ว
สำนักงานอัยการสูงสุด โดยสำนักงานต่างประเทศยัง
ได้ร้องขอความช่วยเหลือต่อพนักงานอัยการประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535
ซึ่งอัยการสูงสุดเป็น ผู้ประสานงานกลางให้อายัดทรัพย์สินของนายราเกซ สักเสนา
และผู้เกี่ยวข้องในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกด้วย
และต่อมาพนักงานอัยการสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอต่อศาลสวิส
จนศาลได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์ของนายราเกซ สักเสนา และผู้ที่เกี่ยวข้อง
มีมูลค่ารวมประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (ประมาณ 1,800 ล้านบาท)


ต่อมาบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (BAM)
ได้ฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนายราเกซ สักเสนา เป็นคดีแพ่ง
และศาลสวิสได้พิพากษาให้ BAM (กรุงเทพพาณิชย์จำกัด ) ชนะคดี
สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้แจ้งต่อพนักงานอัยการสวิสให้ถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวของนายราเกซและพวก
เพื่อให้ BAM สามารถบังคับคดีขายทรัพย์สินบางส่วนและโอนเงินในบัญชีธนาคารกลับมาประเทศไทยได้
ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวประกอบด้วย หุ้นในบริษัท Moevenpick จำนวน 59,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 515 สวิสฟรังค์
และเงินสดอีกจำนวน 3,445,364.85 สวิสฟรังค์
และ ต่อมาบริษัท Moevenpick ได้ขยายการลงทุนในบริษัทใหม่ชื่อว่า Clair Finanz Holding AG Co. Ltd.
โดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมใน บริษัท Moevenpick ในหุ้นที่จะออกใหม่ของบริษัท Clair Finanz Holding AG Co. Ltd.
ในอัตราส่วน 1:1 จึงเป็นเหตุให้ BAM ซึ่งถือหุ้นเดิมอยู่จำนวน 59,000 หุ้น
ได้หุ้นในบริษัทใหม่จำนวน 59,000 หุ้น ซึ่ง BAM
ได้ขายหุ้นที่ได้เพิ่มขึ้นนี้แล้วในราคา หุ้นละ 500 สวิสฟรังค์ คิดเป็นจำนวน 29,500,000 สวิสฟรังค์
นอกจากนี้ ในการขยายการลงทุนดังกล่าว บริษัท Moevenpick ได้ลดราคา par ของหุ้นของบริษัท
จากราคา 25 บาทเป็น 15 บาท ทำให้ BAM ได้รับเงินอีกจำนวน 590,000 สวิสฟรังค์
โดยเมื่อรวมเงินทั้ง 3 จำนวนแล้ว BAM ได้รับชำระหนี้แล้ว จำนวน 33,535,364.85 สวิสฟรังค์
โดยเป็นเงินไทยประมาณ 1000 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 1 สวิสฟรังค์ เท่ากับ 30 บาท

ส่วนสินทรัพย์ที่เหลืออื่นๆ ซึ่งรวมถึงหุ้นของบริษัท Moevenpick
ที่ BAM เป็นเจ้าของ จำนวน 59,000 หุ้น
สำนักงานอัยการสูงสุดจะร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย และ BAM
เพื่อประสานงานกับพนักงานอัยการสวิส ให้ดำเนินการทางคดีส่งกลับมาประเทศไทยให้ครบถ้วนต่อไป

MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:24 pm

ชื่อ "ราเกซ สักเสนา" เจ้าของฉายา "พ่อมดการเงิน" กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง
หลังเงียบหายไปเกือบ 10 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์มณฑลบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
พิพากษายืนตามคำตัดสินของ นายมาร์ติน คูชอน รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมแคนาดา
ที่จะให้ส่งตัวนายราเกซ อดีตที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี)
มาให้ทางการไทยดำเนินคดีในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน และไม่ให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนี


ย้อนรอยเส้นทางชีวิตพ่อมดการเงินคนนี้กันอีกสักนิด
เผื่อใครจะหลงลืมไปแล้วว่า นายราเกซฝากรอยแผลฉกรรจ์ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยอย่างไรบ้าง...

นายราเกซ ก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในวงการเมือง และเศรษฐกิจ
เมื่อมีโอกาสเป็นที่ปรึกษา นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ
ซึ่งถูกทางการไทยยื่นฟ้องเมื่อปี 2539 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์บีบีซี
ราว 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,000 ล้านบาท
อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธนาคารเก่าแก่ของไทยแห่งนี้ตกอยู่ในภาวะล้มละลายในปี 2538

การยักยอกทรัพย์ของนายเกริกเกียรติ และนายราเกซพร้อมพวก
จะใช้วิธีการปล่อยกู้ที่มีความเสี่ยงสูง และกิจกรรมที่ใช้เงินทุนสูงมากให้พรรคพวกที่เป็น "นักการเมือง"
จำนวนหลายหมื่นล้านบาท จากนั้นจึง "ตบแต่งบัญชี"
ให้มีผลกำไรนับร้อยนับพันล้านบาท ทั้งที่ขาดทุนย่อยยับ!


ต่อมา บีบีซี จึงล่มสลายลง เนื่องจากมีหนี้สินมหาศาลราว 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 1.2 แสนล้านบาท)
ตามมาด้วยการปิดตัวของสถาบันการเงินกว่า 50 แห่ง
จนเป็นชนวนสำคัญให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในระบบธนาคารไทย
และนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจการเงินในเอเชียหรือที่เรียกว่า “โรคต้มยำกุ้ง” ในปี 2540

สำหรับต้นตอการ "แฉ" ขบวนการเขมือบบีบีซีเริ่มต้นขึ้น
เมื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายแฉกลโกงบีบีซี
ด้วยกลวิธีอันซับซ้อนซ่อนเงื่อนต่อสภาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2539

ผลสะท้านสะเทือนของการแฉอย่างหมดเปลือกครั้งนั้น
ทำให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น)
สั่งให้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ในขณะนั้น) ดำเนินการสั่งปิดบีบีซี
ตามมาด้วยปฏิบัติการ "ล้างบาง" ในธนาคารแห่งประเทศไทย

กระทั่งวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 กระทรวงการคลัง
จึงตั้งคณะกรรมการเข้าควบคุมธนาคารแห่งนี้แบบเบ็ดเสร็จ
จากนั้นนายเกริกเกียรติเดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แต่ก็กลับมาสู้คดีในประเทศไทยในเดือนถัดมา

ท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548
นายเกริกเกียรติ ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้ตัดสินจำคุกรวมทั้งหมด 3 คดี
คดีละ 10 ปี รวมเป็น 30 ปี และปรับรวมกันทั้งหมด 3,330 ล้านบาท !!!

ส่วน นายราเกซหลบหนีไปประเทศแคนาดาตั้งแต่ปี 2539
และถูกทางการไทยออกหมายจับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2539
จากนั้นถูกตำรวจแคนาดาจับกุมที่เมืองวิสต์เลอร์ แหล่งท่องเที่ยวเล่นสกีชื่อดัง
ในมณฑลบริติช โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมปีเดียวกัน

แต่นายราเกซก็ดิ้นรนสู้คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน
เพื่อจะไม่ต้องถูกส่งตัวกลับมาไทยทุกวิถีทาง
ซึ่งเป็นการต่อสู้คดีที่กินเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา
โดยอ้างว่าถูกใส่ร้ายให้เป็น “แพะรับบาป”
จากกลุ่มผู้บริหารของบีบีซี และผู้กำกับดูแลระบบการเงินของไทย
ซึ่งพยายามปกปิดเรื่องอื้อฉาวในบีบีซี


กระทั่งในปี 2546 นายมาร์ติน คูชอน รมว.ยุติธรรมแคนาดา
ตัดสินให้ส่งตัวนายราเกซให้ทางการไทย แต่นายราเกซดิ้นรน ต่อสู้ในศาลอุทธรณ์
เพื่อที่จะไม่ต้องถูกส่งตัวกลับ โดยอ้างว่าถ้าถูกส่งกลับประเทศไทย
อาจถูกสังหารหรือถูกขังในคุกอย่างโหดร้ายทารุณ


จนล่าสุดเมื่อศาลอุทธรณ์มณฑลบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
พิพากษายืนตามคำตัดสินของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมแคนาดา
ชะตากรรมของนายราเกซจึงอยู่ที่ผลการฎีกา
ซึ่งถือเป็น "ฟางเส้นสุดท้าย" ซึ่งจะตัดสินชะตากรรมของ "พ่อมดการเงิน" ว่าจะต้องลงเอยอย่างไร

ด้าน นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อธิบดีอัยการฝ่ายคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)
และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินคดีนายราเกซ ว่า
ตามกฎหมายของประเทศแคนาดาสามารถยื่นฎีกาภายในระยะเวลา 1 เดือน
เมื่อยื่นแล้วศาลฎีกาจะให้อัยการพิจารณาคัดค้านภายในระยะเวลา 1 เดือน
จากนั้นศาลจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะรับฎีกาหรือไม่ ซึ่งจะใช้เวลาในการพิจารณา 6-8 สัปดาห์

การพิจารณาจะรับฎีกานั้นมีเหตุผล 2 ประการ คือ

1.ต้องเกี่ยวกับความมั่นคง และผลประโยชน์ของประเทศแคนาดา

2.เกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ


MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:25 pm

นายอรรถพล ระบุว่า จากการประสานงานระหว่างอัยการไทยกับแคนาดาเชื่อว่า
เรื่องของนายราเกซ ไม่เข้าข่ายทั้งสองกรณี
จึงน่าเชื่อว่า ศาลจะ "ไม่รับฎีกา" ของนายราเกซ
และถ้าศาลไม่รับฎีกาก็จะต้องส่งตัวนายราเกซมาดำเนินคดีในประเทศ
ภายในระยะเวลา 45 วัน นับจากวันที่ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาคดี

สำหรับการประสานขอตัวนายราเกซมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น
เป็นไปตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา
มีอัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานกลางรับตัวนายราเกซ กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
และสามารถดำเนินคดีต่อในประเทศไทยได้ทันที

ส่วนฐานความผิดของนายราเกซ เป็นคดีร่วมกันยักยอกทรัพย์
และผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งเป็นคดีเดียวกับที่นายเกริกเกียรติ ถูกตัดสินจำคุก 30 ปีไปแล้วก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ในคดียักยอกทรัพย์ไม่สามารถเอาผิดนายราเกซได้
เนื่องจากมีอายุความ 10 ปี และหมดอายุความไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548

ในส่วนคดีความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มีอายุความ 15 ปี
จึงสามารถดำเนินคดีได้ทันที เมื่อนายราเกซกลับมาในประเทศไทย

โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวทิ้งท้ายว่า
สำหรับคดีอื่นๆ ถ้าจะดำเนินคดีเพิ่มเติมกับนายราเกซ
ต้องแจ้งไปที่กระทรวงยุติธรรมของประเทศแคนาดาก่อน
เพราะนายราเกซ แจ้งว่า กลัวถูกกลั่นแกล้ง
และคดีอื่นที่นายราเกซ เข้าไปพัวพันร่วมกับคนอื่นนั้น
ส่วนใหญ่จะเป็นความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ
ซึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน จึงจะสรุปกันอีกครั้งว่าจะดำเนินคดีอะไรเพิ่มบ้าง

แม้จะถือเป็น "ข่าวดี" ที่คนไทยจะได้ "คิดบัญชีย้อนหลัง"
กับอาชญากรเศรษฐกิจตัวฉกาจ
แต่คอการเมืองในสภากาแฟอดคันปากตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า
ข่าวนายราเกซจะจัดเข้าข่าย "ข่าวกลบกระแส" หรือไม่
ท่ามกลางอุณหภูมิการเมืองที่ทะลักจุดเดือดอยู่ในขณะนี้
เพราะนายราเกซ ถือว่า เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์อันดี
กับนักการเมืองทั้งสองฝ่าย และมี "ข้อมูลลับ"
ที่ออกมาแฉเมื่อไรก็คง "ตายหมู่" เมื่อนั้น!
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:26 pm

กติกาโลกกับเส้นทางส่งผู้ร้ายข้ามแดน

หมายจับที่ออกโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ในคดีดำหมายเลขที่ อม.1/2550 ระหว่างโจทก์คือ นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด
กับจำเลย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
กรณีได้กระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 4 ,100, 122 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 , 83 , 86 , 90 , 91 ,152 และ 157
ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานรัฐ
และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการ
เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ที่ออกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณ ตลอด 5 ปี 7 เดือนที่เป็นนายกรัฐมนตรี
เขาได้มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายความผิดที่ตามที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำ
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ชี้มูลกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ
ใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเอื้อประโยชน์ให้ภริยา
ซื้อที่ดินบริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายดังที่อ้างข้างต้น

เวลานี้ กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะติดตามตัวจำเลยทั้ง 2 คน
มาดำเนินคดีในศาลไทยได้หรือไม่
เพราะขณะนี้จำเลยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
ซึ่งมีการพูดกันถึงความร่วมมือระหว่างไทยกับอังกฤษ
ซึ่งเคยลงนามในประกาศสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ร.ศ.130 บังคับใช้อยู่แล้ว
แต่นั้นดูจะยังไม่พอเพราะช่องโหว่ให้จำเลย อาศัยช่องข้อลี้ภัยการเมืองได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีกติกาความร่วมมือระหว่างประเทศ
ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 143 ประเทศทั่วโลกรับรอง
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Thu Oct 29, 2009 8:26 pm

กติกาที่ว่านั้น คือ อนุสัญญาองค์การสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน
(United Nation Convention Against Corruption)
ซึ่งประเทศไทย ลงนามรับรอง
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.2003 แต่ไม่ได้ลงสัตยาบัน
เช่นเดียวกับสหรัฐ และจีน
แต่แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้ลงสัตยาบัน ในอนุสัญญาข้อ 68 ที่ระบุถึงการมีผลใช้บังคับไว้ดังนี้

1.อนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช?บังคับเมื่อครบกําหนดเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่มีการยื่นเอกสารการให้สัตยาบัน การยอมรับ
การเห็นชอบและการภาคยานุวัติครบสามสิบฉบับแล้ว

2.สําหรับแต่ละประเทศหรือแต่ละองค์การว่าด้วยการรวมกัน
ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ได้ให้สัตยาบัน การยอมรับ
การเห็นชอบและการภาคยานุวัติในอนุสัญญาฉบับนี้
ภายหลังจากวันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวครบสามสิบฉบับนั้นแล้ว
ก็ให้อนุสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับกับประเทศหรือองค์การดังกล่าวนั้น
เมื่อครบกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ประเทศหรือองค์การดังกล่าวนั้นได้ยื่นเอกสาร

ทั้งนี้ ประเทศที่ลงสัตยาบันชาติที่ 30 คือ เอกวาดอร์
โดยลงนามเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.2005
เพราะฉะนั้น ตามข้อ 68 (1) นับไปอีก 90 วัน
ก็จะครบในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.2005
ประเทศทั้ง 143 ประเทศที่ลงนามรับรอง เท่ากับว่าอนุสัญญา มีผลบังคับใช้แล้วโดยสมบูรณ์

สาระหลักของสนธิสัญญานี้ บัญญัติถึงการเอาผิดทางอาญา ไว้ในภาค 3
ข้อ 17 การยักยอก การจัดสรรโดยมิชอบ หรือการเบี่ยงเบนทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐ
ข้อ 19 การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ข้อ 27 การมีส่วนร่วมและการพยายามกระทำความผิด
ข้อ 28 การรู้ข้อเท็จจริง เจตนา และความมุ่งหมายในฐานะเป็นองค์ประกอบของความผิด


อย่างไรก็ตาม อาจจะมีนักกฎหมายที่อยู่ในกะลาครอบ อ้าง หรือมีข้อโต้แย้งว่า
อนุสัญญาองค์การสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน
จะบังคับกับชาติอธิปัตย์อื่นๆ รวมถึงประเทศไทยได้หรือไม่

ดังนั้น จึงอยากให้ไปดูในสวนของข้อ 42 (6) บอกว่า
อนุสัญญา นี้เคารพอธิปัตย์ในดินแดนตามที่เขียนในข้อ 4 และ 5
และยังคงเคารพอธิปัตย์ศักดิ์ศรีความเป็นชาติเอกราช
แต่มีข้อยกเว้นคือ อธิปัตย์จะต้องตีความในหลักการตีความกฎหมายระหว่างประเทศ (translational law)
นั่นคือการ นำเอาหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน
มาหาจุดที่จะเกิดประโยชน์มากในทางที่จะสร้างสันติสุขให้กับมวลมนุษยชาติ

นอกจากระบุถึงความผิดแล้ว ยัง
ภาค 4 ที่ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ
ข้อ 44 การส่งผู้ร้ายข้ามแดน

การติดตามเอาทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำความผิดกลับคืนมา
ซึ่งอยู่ใน ภาค 5 ในข้อ 55 ระบุชัดเจนถึงการร่วมมือกันระหว่างประเทศ
เพื่อวัตถุประสงค์ในการริบทรัพย์ ข้อ 56 ความร่วมมือพิเศษ ข้อ 57
การส่งกลับและการจัดซื้อซึ่งทรัพย์สิน

เพราะฉะนั้น ตามอนุสัญญา นี้ไม่ว่าการคอร์รัปชันอำนาจ หรือคอร์รัปชันอื่นใดย่อมจะต้องพังลงทั้งสิ้น


ชาติที่เป็นภาคีสมาชิกย่อมจะต้องปฏิบัติตามหลักการความร่วมมือตามสนธิสัญญานี้
ดังนั้น ไม่ว่าตัวผู้กระทำความผิด หรือทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดจะนำไปใช้ที่ไหนในโลก
หากที่นั่นเป็นชาติภาคีสมาชิกย่อมติดตามเอาทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาได้
ที่สำคัญอยู่ที่ว่า ฝ่ายบริหารของประเทศไทย จะเลือกดำเนินการตามช่องทางนี้หรือไม่


(บทความจากกรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550)
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Oct 31, 2009 10:32 am

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ 1_83

ราเกซถึงกองปราบ ไม่วิตก 9โมงส่งศาลฝากขัง (ไทยรัฐ)

เมื่อเวลา 02.15 น. วันที่ 31 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัว นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพพาณิยการ หรือ บีบีซี ผู้ต้องหาร่วมยักยอกทรัพย์ บีบีซี เดินทางมาถึงกองบังคับการปราบปราม โดยรถพยาบาลของโรงพยาบาลตำรวจ เป็นที่เรียบร้อย โดยนายราเกซนอนมาบนเตียงรถเข็นในสภาพใบหน้าอิดโรย ศีรษะมีผมค่อนข้างบาง สวมเสื้อสีน้ำเงิน พร้อมกำแผ่นกระดาษไว้ในมือ สื่อมวลชนจำนวนมากมารอบันทึกภาพและทำข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดูแลอย่างเข้มงวด ป้องกันไม่ให้สื่อมวลชนล้ำเขตเข้าไปเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหา จะนำไปกล่าวอ้างว่าเป็นการรบกวนสิทธิส่วนบุคคลและอาจเกิดความไม่ปลอดภัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลัง นายราเกซ เดินทางโดยเครื่องบินของการบินไทย เที่ยวบินทีจี 615 จากกรุงปักกิ่ง ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 22.45 น.วันที่ 30 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้เวลาแจ้งข้อกล่าวหา และดำเนินการตรวจค้นเข้าเมือง ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้นายราเกซมีสภาพเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกล อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหาไม่มีสีหน้าวิตกกังวลมากนัก ต้องใช้ตำรวจคอมมานโด 4 นาย ทำหน้าที่ประคองเตียงรถเข็นที่นายราเกซนอนมา ขึ้นไปชั้น 2 กองบังคับการปราบปรามเพื่อให้คณะแพทย์โรงพยาบาลตำรวจตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น หากแพทย์วินิจฉัยว่า สามารถสอบปากคำผู้ต้องหาได้ พนักงานสอบสวนจะทำการสอบปากคำผู้ต้องหาให้แล้วเสร็จในคืนนี้ เพื่อส่งฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในเวลา 09.00 น. วันที่ 31 ต.ค. หากสุขภาพร่างกายผู้ต้องหาไม่แข็งแรงเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องส่งนายราเกซไปโรงพยาบาลตำรวจตามที่ผู้ต้องหาร้องขอไว้ก่อนหน้านี้
.............................................

ระวังจะโดนแบบนี้นะ

ศาลฏีกาพิพากษายืนประหาร ชลอ เกิดเทศ คดีอุ้มฆ่าแม่-ลูกศรีธนะขัณฒ์
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty Re: กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Oct 31, 2009 10:40 am

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Spd_2008072000824_b


เห็นว่าชื่อหนังสือ มันดุเดือด ดี
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

กลัวว่าจะล้างคุกรอเก้อ Empty dead man returns

ตั้งหัวข้อ  MI-6 Mon Nov 02, 2009 12:04 pm

ผู้ว่า ธปท ที่โดนปลดสมัยนั้น กลับกลายเป็น ผู้บริหารระดับสูงสุดของ ตลาดทุน ในปัจจุบัน
ผู้บริหาร หนึ่งใน ห้าสิบหก สถานบันการเงินที่ล้ม ในปี ๔๐ / ๔๑ ก็ได้ดิบได้ดีในรัฐบาลชุดนี้
นักการเงินในสมัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเสื่อมโทรม (แบบไม่มีเหตุอันควร) ก็ได้ดีกันในยามนี้ บานเบอะ
ทำนองเดียวกับ นักวิชาการ สมองเกินหลายคนที่ได้ดีในวงการการเมือง
แล้วก็ยังมีนักการเมืองที่เคยด่าบิดามารดากันมากมาย กลับมาเป็นพวกกัน
นักการเมืองคนหนึ่งเคยด่านักการเมืองอีกคนหนึ่งว่าเป็นภาพของ dead man walking ซึ่งเป็นชื่อหนังในตอนนั้น แล้วก็บอกว่า เขาไม่จำเป็นต้องลงมือสังหารโหดทางการเมืองอีก หากทำแบบนั้นก็เหมือนกับยิงศพ ....
มีอีกตั้งมากมาย ที่หากนึกย้อนแล้ว ก็ทำให้ปลงได้จริงๆ
ซึ่งยังไม่รวมถึงคนสองคนที่เคยเขียนหนังสือเปิดโปงกันไปมา เล่มหนึ่งชื่อ สันดานรัฐมนตรี อีกเล่มชื่อ สันดานหนังสือพิมพ์
เล่มหลังราคาในตอนนั้น สิบสี่บาท หนังสือประมาณร้อยหน้า กลายเป็นหนังสือหายากทั้งสองเล่ม
การมองอะไรก็ต้องมองให้ทะลุ พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะเรื่องในโลกนี้มีเรื่องโกหก กับ เรื่องจริง ครึ่งต่อครึ่ง และกว่าครึ่งของเรื่องที่ว่าเป็นเรื่องโกหก กลับเป็นเรื่องจริง
ไม่ได้พูดเองแต่ลอกเขามา แบบจำผิดๆ ถูกๆ เพราะคนพูดเป็นนักการเมือง
MI-6
MI-6

จำนวนข้อความ : 956
Registration date : 14/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ