Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ

Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Jan 30, 2009 7:31 am

ไอเดียสำนักพุทธฯ

จะทำสมาร์ทการ์ดให้พระทั่วไทยภายใน 4 ปี
นางบุญศรี พานะจิตต์ รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ตามที่ พศ.ได้ตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ พศ. เพื่อรองรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นั้น ขณะนี้แผนแม่บทดังกล่าวได้ร่างเสร็จแล้ว มียุทธศาสตร์ประกอบด้วย
1. พัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ มีทักษะการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมความรู้ด้านไอซีทีผู้บริหาร บุคลากร พศ. และคณะสงฆ์ จัดทำบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ให้ มีมาตรฐาน
3. พัฒนาระบบสารสนเทศและสร้างฐานข้อมูลเพื่อกิจการพระพุทธศาสนา โดยจะพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศทางพระพุทธศาสนาครอบคลุมทุกจังหวัดภายในปี 2555 พัฒนาระบบข้อมูลบริการและประชาสัมพันธ์พุทธมณฑล จัดทำโครงการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประจำตัวผู้เช่าศาสนบัติ ตั้งเป้าผู้เช่ามีบัตรประจำตัวครบทุกคนภายในปี 2556
4. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างเครือข่ายคณะสงฆ์ และส่งเสริมการเผยแผ่หลักพุทธธรรมสู่วิถีของปวงชน โดยจัดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (สมาร์ทการ์ด) ประจำตัวพระภิกษุสามเณร ภายในปี 2556 จัดทำโครงการขยายประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ห้องสมุดดิจิทัล) ภายในปี 2556 พัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ
5. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ในปี 2554.


ข่าว : ไทยรัฐ
29 มกราคม 2552

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty และแล้ว พระพุทธศาสนาก็ถูกบูรณาการด้วย....ตำแหน่ง ที่ปรึกษาเจ้าคณะฯ

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Jan 30, 2009 7:34 am

นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเรื่องเสนอขอแต่งตั้งพระสังฆาธิการเป็นที่ปรึกษา ตามที่เจ้าคณะภาค 3 รายงานว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม สิริอายุ 80 พรรษา 59 วัดอัมพวัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ได้ปฏิบัติหน้าที่มาด้วยดีจนอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ สมควรได้รับยกย่องเชิดชูเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ตามความในข้อ 34 วรรคสอง แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 28 (พ.ศ.2546) จึงเสนอรายงานมาเพื่อให้คณะกรรมการมหาเถรสมาคมพิจารณา ทั้งนี้ ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบแต่งตั้งพระธรรมสิงหบุราจารย์ ให้ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

นายอำนาจกล่าวต่อว่า
พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ถือเป็นพระนักวิปัสสนาจารย์ และนักเทศน์ชื่อดังที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา ทั้งจากชาวเมืองสิงห์บุรีและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และท่านยังมีตำแหน่งปกครองในคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี แต่ในระยะหลังเมื่อท่านมีอายุมากขึ้นทำให้การปฏิบัติศาสนกิจคณะสงฆ์และการฝึกสอนอบรมปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานให้กับญาติโยมไปพร้อมกัน กลายเป็นภาระหนักสำหรับท่าน เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าไปกราบสักการะท่าน และท่านได้ปรารภว่าตอนนี้อายุมากแล้ว ต้องการจะขอวางมือจากการงานด้านการปกครองคณะสงฆ์ ให้พระเถระรุ่นหลังได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้แทน ส่วนการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมจะยังคงดำเนินต่อไปตลอดชีวิต

อัตโนประวัติ หลวงพ่อจรัญเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2471 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ท่านได้พัฒนาปรับปรุงวัดวัดอัมพวันจนเป็นสถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง พระคุณเจ้ายึดหลักสร้างคน สร้างเหตุดี ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาและเพื่อสืบทอดแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาโดยแท้จริง พระเดชพระคุณท่านเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และวิปัสสนาจารย์ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นในสาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา พ.ศ.2528 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิงหบุราจารย์

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty พฤษภาคมปีนี้ จะมีงานใหญ่ " พุทธ แก้วิกฤติโลก "

ตั้งหัวข้อ  tang may Fri Jan 30, 2009 7:37 am

พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (IOC) เปิดเผยว่า ในการประชุมเตรียมจัดงานวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2552 ซึ่งมี 5 กรรมการจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ การประชุมเตรียมจัดงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี พ.ศ.2552 ครั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
1.กำหนดวันจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 และ
2.สถานที่ในการจัดงาน กำหนดเปิดงานที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา และปิดการประชุมที่สำนักงานสหประชา ชาติประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ

"ล่าสุด มีประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมงานนี้มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
หัวข้อหลักในการประชุมครั้งนี้ คือ พระพุทธศาสนากับการแก้ไขวิกฤตการณ์ของโลก ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยในการสัมมนาที่น่าสนใจ คือ
(1) พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม
(2) พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ
(3) พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤตการเมือง และพัฒนาสันติภาพ
(4) สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติกับภารกิจในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา
(5) โครงการความร่วมมือการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากลสำหรับแจกตามโรงแรมทั่วโลก
(6) แหล่งข้อมูลและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ทางพระพุทธศาสนา เช่น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำหนดจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของการเตรียมงานเป็นระยะ เพื่อความพร้อมและความสมบูรณ์ของพิธีฉลองวิสาขบูชาโลก ในปี 2552 ต่อไป" พระธรรมโกศาจารย์ กล่าว

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty พระไตรปิฎก ฉบับสากล

ตั้งหัวข้อ  tang may Sat Jan 31, 2009 8:30 am

สงสัยว่า พระไตรปิฎกฉบับสากลคืออะไร ?

เพราะเนื้อหาควรเป็นเอกะ แบบพุทธ

ส่วนจะแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ ก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งยังมีปัญหาอยู่ดีว่า คนแปลมีความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ลึกซึ้งเพียงใด ?

อย่างเช่น คำว่า กรรม จะแปลอย่างไร แปลแบบถอดบาลีออกไป หรือ แปลเป็นคำแปล

ความเข้าใจผิดเพี้ยนในเรื่องราวต่างๆ ของหลายศาสนา ซึ่งเมื่อตกทอดมาแล้วเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเจตนาของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ ว่าโดยเทคนิค เช่น การแปลความ แปลระหว่างภาษา ฯลฯ ก็เป็นตัวการทำให้เจตนารมย์ของศาสนานั้นๆ ไม่ตรงตามที่ศาสดาของแต่ละศาสน์ บัญญัติไว้ก็ได้

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty Re: ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sun Feb 01, 2009 11:59 am

ม็อบเสื้อแดงระห่ำบุกพุทธสถาน "จำลอง" ใช้มือตบใส่พระ-ชี


เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 23 ม.ค.2552
ความคืบหน้ากลุ่มเสื้อแดงเชียงใหม่ชุมนุมปิดล้อมปากทางเข้าพุทธสถานภูผาฟ้า
น้ำ ของ พล.ต.จำลอง ซึ่งเป็นสาขาสันติอโศกที่ จ.เชียงใหม่
หลังจากกลุ่มเสื้อแดงรวมตัวได้ประมาณ 150 คน ที่ กม. 80 ถนนเชียงใหม่ -
แม่มาลัย อ.แม่แตง ซึ่งเป็นปากซอยทางเข้าพุทธสถานดังกล่าว


ทั้งนี้ แกนนำเสื้อแดง นำโดยนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล
ได้ยื่นข้อเสนอขอเจรจากับตำรวจ นำโดยพ.ต.อ.ประหยัชว์ บุญศรี รอง
ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ และนายอำเภอแม่แตง
เพื่อขอให้ตัวแทนแกนนำเสื้อแดงประมาณ 4 - 5 คน เดินทางเข้าไปภายในสถานธรรม
โดยอ้างว่าจะขอเข้าไปตรวจสอบว่า มีสิ่งผิดกฎหมายหรือไม่ หลังเจรจา รอง
ผบก.และนายอำเภอ ได้ยินยอมที่จะเปิดทางส่งตัวแทนแกนนำเสื้อแดงเข้าไปได้
จึงได้เปิดด่านแผงเหล็กบริเวณปากทางเข้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังตำรวจยอมเปิดแผงกั้นเหล็กออกปรากฎว่า
กลุ่มเสื้อแดงที่มาชุมนุมทั้งหมดได้ลุกฮือขับรถเข้าไปทั้งหมด
ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ โดยขับรถไปประมาณ 2 กม.
จากนั้นม็อบได้จอดรถทิ้งไว้ และยอมเดินทางต่อเข้าไปอีกประมาณ 2 กม.
โดยกำลังตำรวจไม่สามารถสกัดกั้นได้ เมื่อไม่สามรถควบคุมสถานการณ์ได้
ตำรวจบางส่วนจึงรีบส่งกำลังเดินทางล่วงหน้าเข้าไปสกัดม็อบ


โดยตั้งด่านอยู่บริเวณกลางทางก่อนถึงทางเข้าพุทธสถานภูผาน้ำฟ้าเพียง 20
เมตร ซึ่งกำลังเจ้าหน้าที่มีเพียง 30 นาย
แต่มีสมาชิกกลุ่มเสื้อแดงเป็นชายฉกรรจ์ 3 คน ลักลอบเข้าไปในป่าด้านข้าง
บุกเข้าไปภายในบริเวณพุทธสถานได้ก่อน
และใช้หนังสติ๊กที่มีลูกหินยิงเข้าไปที่โรงครัวของกลุ่มสันติอโศก



ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ 12121939low


ระหว่างที่เสื้อแดงบุกมาประชิด
สันติอโศกนำโดยนางทองธรรม เจนชัย ประธานชุมชนสันติอโศกภูผาฟ้าน้ำ
ได้ประกาศให้ชาวสันติอโศกที่มีประมาณ 100 คน เป็นชาย หญิง เด็กและคนชรา
รวมถึงพระสมณะของสันติอโศก เข้าไปรวมตัวกันอยู่ที่ศาลาธรรม
และกำชับไม่ให้ตอบโต้หากกลุ่มเสื้อแดงบุกมาได้

เวลา
ผ่านไปประมาณ 30 นาที กลุ่มเสื้อแดงได้ใช้กำลังกรูฝ่าด่านตำรวจเข้าไปได้
จากนั้นพากันเดินบุกเข้าไปในบริเวณพุทธสถาน และกระจายกำลังกันเข้าไป
อ้างว่ามาตรวจสอบสิ่งผิดกฎหมาย โดยแกนนำและสมาชิกบางส่วน
ได้เดินตรงไปยังศาลาธรรม
กลุ่ม
เสื้อแดงบางส่วนได้ใช้ตีนตบ ตบใส่ไหล่ด้านขวาของพระสงฆ์ของสันติอโศก
แต่พระสงฆ์ไม่ตอบโต้ ยืนสงบนิ่งด้วยสีหน้าที่เรียบเฉย
เช่นเดียวกับพระสงฆ์อีก 10 รูป และชาวสันติอโศก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหญิงที่นั่งพนมมือขัดสมาธิ ไม่มีการตอบโต้
ทั้งวาจาหรือกำลังกับกลุ่มเสื้อแดงที่บุกเข้ามา



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเสื้อแดงได้กระจายกำลังเดินตรวจตรา
แกนนำสั่งการให้สมาชิกเสื้อแดงถ่ายภาพภายในพุทธสถานดังกล่าวเก็บไว้
และประกาศผ่านเครื่องเสียง กำชับไม่ให้กลุ่มเสื้อแดงทำผิดกฎหมาย
หรือทำลายทรัพย์สิน ก่อนประกาศสลายตัวเดินทางกลับที่ตั้ง
แต่ก่อนเดินทางกลับ กลุ่มเสื้อแดงบางคนไปพบกับป้ายผ้าที่มีข้อความเขียนว่า
"โครงการธรรมะเพื่อประชาธิปไตย"
ระบุชื่อพรรคการเมืองของสันติอโศก สร้างความไม่พอใจ
จึงเรียกกลุ่มเสื้อแดงมารวมกัน
หลายคนนำผ้าอนามัยออกมาตบไปที่ป้ายผ้าดังกล่าว
บางคนใช้เท้าเหยียบจนหน่ำใจ ก่อนประกาศรวมตัว และพากันเดินเท้าออกไป
............................................................................

เป้าหมายของการนำเสนอของข่าวนี้ คือต้องการชี้ให้เห็นว่า "สันติอโศก" ถูกรังแก แต่ยังสามารถสงบนิ่งได้ โดยไม่มีการตอบโต้ใดๆ

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่ากลุ่มเสื้อแดงที่เข้าไป เป็นกลุ่มของใครกัน

แล้วสรุปว่า นักบวชในสันติอโศก ก็เรียกว่า พระสงฆ์ ใช่ป่ะ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty สันติ อา...โศก

ตั้งหัวข้อ  tang may Mon Feb 02, 2009 7:40 am

สันติอโศก
หัวหน้าฝ่ายสมณะ : นายรักษ์ รักพงษ์ อายุ 72 (เกิดเดือนมิถุนายน 2477) เคยเป็นผู้จัดรายการทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เป็นนักแต่งเพลง
เคยบวชพระ : 7 พฤศจิกายน 2513 ได้ฉายา (นามสกุลของพระ) กลฺยาโณ
หัวหน้าฝ่ายฆราวาส : พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
มูลนิธิ : กองทัพธรรมมูลนิธิ โรงเรียนผู้นำ กาญจนบุรี
ทรัพย์สิน : มหาศาล ทั้งพุทธสถานและสาขา รวมทั้งเงินในมูลนิธิ
บุคคลากร : คณะญาติธรรม
หนังสือ : แสงสูญ สารอโศก ดอกหญ้า
สำนักงานใหญ่ : สันติอโศก 65/1 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
(ก่อตั้ง 7 สิงหาคม 2519)

หลักการเผยแพร่ลัทธิ : บุญนิยม

ต้องคดีทางสงฆ์ : พ.ศ.2532 คดี "บ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ประพฤติผิดจากพระธรรมวินัย และทำพระธรรมวินัยให้วิปริต" ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้โพธิรักษ์สิ้นสุดสถานภาพพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จึงเปลี่ยนสีจีวรและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สมณะ

สถานภาพปัจจุบัน : นักบวชนอกคณะสงฆ์ไทย คดีนี้ศาลอาญาตัดสินเด็ดขาด ให้พระรักษ์พ้นจากสมณะเพศ ตามคำสั่งของมหาเถรสมาคม วันที่ 16 มิถุนายน 2532

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty สละชีพรักษาธรรม

ตั้งหัวข้อ  tang may Mon Feb 02, 2009 7:45 am

คำพิพากษาฎีกา ที่ 3699-3739/2541



พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด

โจทก์

นายพิสุทธิ์ เลิศคูพินิจ หรือสมณะพิสุทโธ กับพวก

จำเลย



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 38, 264

อาญา , ผู้สนับสนุนแต่งกายเป็นพระภิกษุ

มาตรา 86, 208

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

มาตรา 18, 23

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2506)

ข้อ 4, 12




การที่จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่า เสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 5 และ 27 นั้น ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัย

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 23 กำหนดให้การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม เมื่อจำเลยที่ 80 ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ การบวชของจำเลยทั้ง 24 คน จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบตามกฎมหาเถรสมาคม และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ จำเลยดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยที่ 80 เป็นผู้บวชให้จำเลยดังกล่าว และทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วย เหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยอื่น ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

กฎมหาเถรสมาคมออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัย ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้น มิได้ขัดต่อพระธรรมวินัย และเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2504 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่า การใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ บัญญัติขึ้นเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ จึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty ร่วมค้ำชูพระพุทธศาสนา

ตั้งหัวข้อ  tang may Mon Feb 02, 2009 7:52 am

จำเลยที่ 80 ได้บวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกาย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย แสดงว่า จำเลยที่ 80 ได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 80 ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทุกคนถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 18 บัญญัติให้ มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ ได้ การประกาศขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคมของจำเลยที่ 80 กับพวกจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 80 กับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ ดังนั้นการที่ภิกษุสงฆ์ นักบวชไม่อนุวัตปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงกลับมีผลเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นโดยส่วนรวม

คดีทั้งสี่สิบเอ็ดสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกับคดีอื่นรวม 79 สำนวน เพื่อความสะดวกศาลชั้นต้นให้เรียกจำเลยในลำดับแรกของแต่ละสำนวนตั้งแต่คดีอาญาหมายเลขดำที่ 54 / 2533 ถึง 132 / 2533 ของศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ถึง 79 ตามลำดับ และเรียกนายรักษณ์ หรือรัก รักพงษ์ หรือรักษ์พงษ์ หรือ สมณโพธิรักษ์ ว่า จำเลยที่ 80 แต่คดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะสำนวนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 54-56,59-62,64,66-71,73,77-80,82,84,98,100-105,107,108,117-119,121,123-127,130,132/2533 ของศาลชั้นต้น

โจทก์ฟ้องทั้งเจ็ดสิบเก้าสำนวนรวมใจความว่า จำเลยทั้งแปดสิบได้กระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึง 79 ไม่ใช่สามเณรและภิกษุในศาสนาพุทธ ได้บังอาจแต่งกายใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหมายแสดงว่าเป็นสามเณรและภิกษุในศาสนาพุทธ อาทิ การใช้บาตรออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเป็นสามเณรและภิกษุในศาสนาพุทธ และจำเลยที่ 80 ได้ช่วย เหลือให้ความสะดวกโดยเป็นผู้ทำพิธีบวชให้แก่จำเลยที่ 17 ถึง 31,42 ถึง 44,54 ถึง 56,59,61,62,68 ถึง 71,75 ถึง 79 และเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายกับอัฐบริขาร เช่น สบง จีวร สังฆาฏิ และบาตรเพื่อให้จำเลยดังกล่าวสวมใส่และใช้บาตรออกบิณฑบาตโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเป็นภิกษุหรือสามเณรในศาสนาพุทธ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2532 เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 79 ได้พร้อมเครื่องนุ่งห่มจำนวน 79 ชุด และบาตรจำนวน 79 ใบ เป็นของกลาง จำเลยที่ 80 เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 12860/2532 ของศาลชั้นต้น อัยการสูงสุดได้อนุญาตให้ฟ้องจำเลยทุกสำนวนต่อศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึง 79 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 และจำเลยที่ 80 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208,86,91 ริบของกลางและนับโทษของจำเลยที่ 80 ติดต่อกันรวม 33 สำนวน และโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 12860/2532 ของศาลชั้นต้น



จำเลยทุกสำนวนให้การปฏิเสธ



ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึง 79 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ให้จำคุกคนละ 3 เดือน จำเลยที่ 80 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 86 จำเลยที่ 80 ทำการบวชและสมาทานศีลให้จำเลยอื่นรวม 33 คน เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 33 กระทง จำคุก 66 เดือน จำเลยทั้งแปดสิบไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนดคนละ 2 ปี กำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติของจำเลยทั้งแปดสิบ โดยให้ละเว้นการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก และให้พนักงานคุมประพฤติสอดส่งให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ริบของกลาง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก



tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty หากยอมให้ มารนำพา

ตั้งหัวข้อ  tang may Mon Feb 02, 2009 7:54 am

จำเลยทุกสำนวนอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 32 ถึง 44,57 ถึง 63 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 80 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 42 ถึง 44,59,61,62 คงจำคุกจำเลยที่ 80 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 17 ถึง 31,54 ถึง 56,68 ถึง 71,75 ถึง 79 กระทงละ 2 เดือน รวม 27 กระทงรวมจำคุก 54 เดือน จำเลยที่ 80 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 และให้ยกคำขอริบของกลางของจำเลยที่ 32 ถึง 44 และ 57 ถึง 63 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 6 ถึงที่ 9 ที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 18 ที่ 20 ที่ 24 ถึงที่ 27 ที่ 29 ที่ 31 ที่ 45 ที่ 47 ถึงที่ 52 ที่ 54 ที่ 55 ที่ 64 ถึงที่ 66 ที่ 68 ที่ 70 ถึงที่ 74 ที่ 77 ที่ 79 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว จำเลยฎีกาข้อแรกว่า ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเพราะก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้ประกาศใช้แล้ว และตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ศาลอุทธรณ์ต้องส่งสำนวนให้ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นเหล่านี้ก่อน เห็นว่า จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่า เสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าว จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ตามถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตราดังกล่าว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

จำเลยฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 208 เพราะการกระทำของจำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ คดีนี้ต้องห้ามฎีกา ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ฎีกาดัง กล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222

ปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า จากหลักฐานหนังสือสุทธิเอกสารหมาย จ.45 แสดงว่า ก่อนจำเลยที่ 80 จะมีพรรษาครบ 10 พรรษา จำเลยที่ 80 ได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์บวชให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ที่ 45 ถึงที่ 49 ที่ 64 ที่ 65 ที่ 72 และที่ 73 หลังจากนั้นจำเลยที่ 80 ได้บวชให้แก่จำเลยอื่นอีก โดยทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นพระผู้ใหญ่ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยที่บวช โดยจำเลยที่ 80 ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตามกฎมหาเถรสมาคม



จำเลยที่ 1 ถึงที่ 31 ที่ 45 ถึงที่ 56 ที่ 64 ถึงที่ 79 ได้แต่งกายอย่างคณะสงฆ์ไทย ใช้บาตรออกบิณฑบาตจากบุคคลทั่วไป และอ้างว่าเป็นภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา ศาลฎีกาเห็นว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 23 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุบัญญัติว่า การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7 (พ.ศ.2506) เอกสารหมาย จ.2 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า "ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ "พระอุปัชฌาย์" หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบท ตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้" ข้อ 12 บัญญัติว่า "พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและเฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้"


tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาสนบัติ คืออะไรกันหนอ Empty คงแย่กว่า บัวใต้ตม

ตั้งหัวข้อ  tang may Mon Feb 02, 2009 7:57 am

เมื่อจำเลยที่ 80 ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 6 ถึงที่ 9 ที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 18 ที่ 20 ที่ 24 ถึงที่ 27 ที่ 29 ที่ 31 ที่ 45 ที่ 47 ถึงที่ 52 ที่ 54 ที่ 55 ที่ 64 ถึงที่ 66 ที่ 68 ที่ 70 ถึงที่ 74 ที่ 77 ที่ 79 จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบตามกฎมหาเถรสมาคมและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 จำเลยดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ส่วนจำเลยที่ 80 เป็นผู้บวชให้จำเลยดังกล่าวและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยอื่นในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 จึงมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกัน

ที่จำเลยฎีกาว่า กฎมหาเถรสมาคมออกมาเสริมเพิ่มเติมพระธรรมวินัยและนำมาใช้เหนือกว่าพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติว่าการบวชต้องพร้อมด้วยสมบัติ 4 เท่านั้น ซึ่งสมบัติ 4 ดังกล่าวนั้นพระอุปัชฌาย์ไม่จำต้องเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม มหาเถรสมาคมกำหนดเหนือไปกว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติ เป็นการผิดไปจากพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และการบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม เท่ากับละเมิดเสรีภาพการนับถือศาสนาของจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 เห็นว่า พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไร เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

เมื่อต้องห้ามฎีกาปัญหานี้เสียแล้ว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่า กฎมหาเถรสมาคมดังกล่าว ออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้น มิได้ขัดต่อพระธรรมวินัย และเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าว ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ จำเลยทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยจึงไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 นั้น จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรี ภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่า การใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐ ธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อน จำเลยทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์

ส่วนที่จำเลยที่ 80 ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 80 มิได้เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เนื่องจากจำเลยที่ 80 ได้ลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคมเป็นเวลานานถึง 14 ปีแล้ว ไม่เกิดความไม่สงบเรียบร้อยใดๆ ขึ้น จำเลยที่ 80 กับพวกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจึงถูกกลั่นแกล้ง และการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแตกต่างกันทำให้ไม่อาจร่วมทำสังฆกรรมกันได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2518 จำเลยที่ 8 กับพวกจึงได้ประกาศขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม แล้วแยกตัวมาตั้งพุธสถานสันติอโศกที่คลองกุ่มและที่อื่นๆ ดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุ โดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย ไม่จำต้องปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคมและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั้น เห็นว่า จำเลยที่ 80 ได้บวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกาย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย แสดงว่า จำเลยที่ 80 ได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 80 ก็ สามารถปฏิบัติธรรมได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทุกคนถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไร และถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตน ให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้ การประกาศของจำเลยที่ 80 กับพวกดังกล่าว จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 80 กับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 การที่ภิกษุสงฆ์ นักบวชไม่อนุวัตปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว กลับมีผลเป็นการก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นดังเช่นที่ปรากฏในคดีนี้ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน"
พิพากษายืน


(สถิตย์ ไพเราะ - มล. เฉลิมชัย เกษมสันต์ - ศุภัย ภู่งาม)

tang may
ผู้มาเยือน


ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ