Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

How Thailand Can Avoid a New Insurgency

Go down

How Thailand Can Avoid a New Insurgency Empty How Thailand Can Avoid a New Insurgency

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Jun 03, 2010 10:01 am

http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1991888,00.html
By Andrew Marshall / Bangkok Thursday, May. 27, 2010

This week's most depressing statistic comes courtesy of an unnamed Thai government source quoted in the Bangkok Post. The source reveals that the military had been willing to kill "between 200 and 300 people" and injure "several thousand" in its operation last week to storm the Red Shirt protest site in Bangkok's commercial district.

Compared with this grim estimate, the actual toll on May 19 — 15 dead, hundreds wounded — must seem almost satisfactory. But the official death toll from all clashes and bomb attacks since April 10, when the military botched an attempt to clear another Red Shirt protest site in old Bangkok, is hardly a cause for celebration: 85 are dead, and 1,402 have been injured.

Many Thais have compared recent events to "Black May" of 1992, the last time troops fired live rounds on Bangkok protesters. Back then, 48 people were killed, possibly many more. (The number is disputed.) But there is a much more recent example of the Thai military killing its own citizens, and one that Prime Minister Abhisit Vejjajiva might bear in mind as he tries to heal his divided country.

It was an atrocity that began as a protest. On October 25, 2004, hundreds of people gathered outside Tak Bai police station in the southern province of Narathiwat to protest the arrest of six local men. Thailand is a predominantly Thai-speaking Buddhist country, but most people in its three southernmost provinces are Malay-speaking Muslims who have chafed against rule from faraway Bangkok for more than a century. In January 2004, a raid on an army camp, also in Narathiwat, sparked a region-wide uprising against the government.

The events at Tak Bai quickly turned nasty. Protesters hurled rocks and reportedly tried to storm the police station. Police and soldiers opened fire, killing seven people, then arrested hundreds of protesters, most of them young Muslim men. With their hands bound behind their backs, they were thrown five or six deep into military trucks. Seventy-eight of them suffocated or were crushed to death.

Though various insurgent groups had been violently resisting Bangkok's rule for decades, Tak Bai radicalized a new and arguably more ruthless generation of fighters. Harrowing footage of soldiers beating and kicking protesters, then tossing them into trucks, was quickly banned by the authorities, but still secretly circulates through households in the south. Six years on, the ongoing conflict has killed more than 4,100 people, most of them civilians.

Tak Bai took place under former Prime Minister Thaksin Shinawatra, whose brutal policies helped ignite the southern insurgency. (On Wednesday, a Bangkok court issued an arrest for Thaksin on terrorism charges for allegedly masterminding the Red Shirts' violent resistance.) But it could still provide a lesson for Thailand's current leader. Could the Rajaprasong crackdown radicalize the Reds as Tak Bai did the southern insurgents? Could Red strongholds in the north or northeast become no-go zones for soldiers and government officials, just as many districts in the southern provinces already are? After recent events in Bangkok, neither scenario feels so far-fetched. Politics is so polarized, and both sides are evidently so willing to use deadly force, that many Thais fear that other parts of their nation could become "just like the south."

There is also another parallel. Part of Abhisit's post-Rajaprasong reconciliation plan is to set up what his government has called "an independent fact-finding committee" to investigate the recent violence. This is vital: Justice is a great healer, something Abhisit acknowledged just six months ago in a speech about the southern insurgency. "A heavy presence of security forces was not the only answer to the conflict," he said in late November. "We believe in development and an unbiased justice system."

But biased justice — which of course is no justice at all — doesn't heal. It poisons. This is especially true when the main agents for maintaining law — soldiers and police — effectively remain above it. Again, consider Tak Bai: Almost a year ago, on May 29, 2009, a provincial court ruled that soldiers and police bore no responsibility for the protesters' deaths. Predictably, a surge of violence followed the verdict, both by Muslim insurgents and Buddhist vigilantes. It culminated less than two weeks later the slaying of 11 worshippers at Al-Farquan mosque in Narathiwat province — one of the deadliest attacks the south has ever witnessed. A police investigation of the attack implicated pro-government militiamen.

By promising "unbiased justice" but presiding over further atrocities, Abhisit has lost the south. Without a full and impartial investigation of the recent deadly clashes in Bangkok, he might yet lose the rest of the country. Both Thai and international human rights activists, including New-York based Human Rights Watch, have called for an independent inquiry to scrutinize, among other highly contentious issues, the use of deadly force by both soldiers and armed Red Shirts.

Privately, however, they admit that such an inquiry might go nowhere. Abhisit is now engaged in two struggles: one against insurgents in the far south, the other against Red Shirts in the north and northeast. In both, he relies utterly upon the powerful Thai military. That's why he might be reluctant to offend the top brass by investigating the actions of their soldiers. This would be a mistake. "It's in the interests of a united Thailand to come up with a credible inquiry," says Sunai Phasuk, a researcher with the New-York based Human Rights Watch. "Without justice and accountability there can be no reconciliation."

Here's another body count: 19. That's how many lives the southern conflict has claimed in Narathiwat, Yala and Pattani provinces from April 10 to May 19. During the same period, four times that number died in Bangkok, but only for those six angry weeks. The people of southern Thailand have been dying by the thousands for years, and, with yet another government in faraway Bangkok distracted by its own political survival, will probably be dying for many years to come.
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

How Thailand Can Avoid a New Insurgency Empty Re: How Thailand Can Avoid a New Insurgency

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu Jun 03, 2010 10:04 am

ผู้แปล : ภัควดี
Tue, 2010-06-01 21:39

สถิติที่น่าหดหู่ใจที่สุดในสัปดาห์นี้ได้รับความเอื้อเฟื้อมาจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยที่ไม่ระบุชื่อคนหนึ่ง ซึ่งอ้างไว้ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post แหล่งข่าวผู้นี้เปิดเผยว่า กองทัพยินดีที่จะฆ่า “ประชาชนระหว่าง 200-300 คน” และทำให้บาดเจ็บ “หลายพันคน” ในปฏิบัติการกระชับพื้นที่สัปดาห์ที่แล้ว เพื่อสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในย่านการค้าของกรุงเทพฯ

หากเปรียบเทียบกับตัวเลขประเมินนี้ ตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงในวันที่ 19 พฤษภาคม กล่าวคือ เสียชีวิต 15 ศพ บาดเจ็บหลายร้อยคน ดูเหมือนเกือบจะน่าพอใจ แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจากการปะทะและการโจมตีด้วยระเบิดทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นมา เมื่อกองทัพปฏิบัติการอย่างมักง่ายและไร้ประสิทธิภาพในการสลายฐานการชุมนุมอีกแห่งหนึ่งของคนเสื้อแดงในย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เมื่อรวมกันแล้วก็ไม่ใช่ตัวเลขที่ควรเป็นเหตุให้ฉลองชัยเลยแม้แต่น้อย เพราะมีผู้เสียชีวิตถึง 85 คน และบาดเจ็บถึง 1,402 ราย

คนไทยจำนวนมากเปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับเหตุการณ์ “พฤษภาเลือด” พ.ศ. 2535 ซึ่งครั้งนั้นกองทหารสาดกระสุนใส่ผู้ประท้วงชาวกรุงเทพฯ ในตอนนั้นมีผู้เสียชีวิต 48 คน เป็นไปได้ว่าอาจมีมากกว่านั้น (ตัวเลขยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) แต่อันที่จริง มีตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้อีกตัวอย่างหนึ่งที่กองทัพไทยฆ่าพลเมืองในประเทศของตนเอง และเป็นตัวอย่างที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพึงสังวรไว้เมื่อเขาพยายามจะเยียวยาประเทศที่แตกเป็นเสี่ยงๆ

มันเป็นความรุนแรงที่เริ่มต้นด้วยการประท้วง ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ประชาชนหลายร้อยคนรวมตัวกันหน้าสถานีตำรวจอำเภอตากใบในจังหวัดนราธิวาส เพื่อประท้วงการจับกุมตัวชาวบ้านไปหกคน ประเทศไทยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธพูดภาษาไทย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นชาวมุสลิมพูดภาษามลายู ซึ่งมีความคับข้องใจต่อการปกครองจากกรุงเทพฯ อันห่างไกลมาเนิ่นนานกว่าศตวรรษ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 การปล้นค่ายทหารใน จ.นราธิวาส จุดชนวนให้เกิดการแข็งข้อต่อรัฐบาลไปทั่วพื้นที่ในภูมิภาคนั้น

เหตุการณ์ที่ตากใบเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประท้วงขว้างก้อนหินและมีรายงานว่าพยายามบุกเข้าไปในสถานีตำรวจ ตำรวจและทหารเปิดฉากยิง สังหารประชาชนไป 7 คน จากนั้นก็จับกุมตัวผู้ประท้วงหลายร้อยคน ส่วนใหญ่เป็นชายมุสลิมที่ยังหนุ่ม พวกเขาถูกจับมัดมือไพล่หลัง แล้วถูกโยนเข้าไปสุมทับกันถึงห้าหกชั้นในรถบรรทุกทหาร มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจหรือถูกทับจนตายถึง 78 คน

ถึงแม้มีกลุ่มกบฏหลายกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลที่กรุงเทพฯ โดยใช้ความรุนแรงมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์ที่ตากใบจุดชนวนให้เกิดนักสู้รุ่นใหม่ที่น่าจะเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเดิม คลิปแสดงความโหดร้ายของทหารที่ทุบตีและเตะผู้ประท้วง แล้วโยนพวกเขาเข้าไปในรถบรรทุก ถูกทางการสั่งห้ามเผยแพร่ทันที แต่ยังคงแพร่หลายอย่างลับๆ ตามบ้านเรือนของผู้คนในภาคใต้ หกปีหลังจากนั้น ความขัดแย้งที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 4,100 ราย เกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน

เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นภายใต้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนโยบายโหดร้ายของเขากระตุ้นให้เกิดความไม่สงบในภาคใต้ (ในวันพุธที่ผ่านมา ศาลในกรุงเทพฯ ออกหมายจับทักษิณด้วยข้อหาก่อการร้าย โดยกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังการต่อต้านรัฐบาลด้วยความรุนแรงของฝ่ายเสื้อแดง) แต่มันน่าจะเป็นบทเรียนสอนใจผู้นำคนปัจจุบันของประเทศไทยด้วยเช่นกัน การล้อมปราบที่ราชประสงค์จะผลักให้คนเสื้อแดงหันไปใช้ความรุนแรงแบบเดียวกับที่ตากใบกระตุ้นให้เกิดผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้หรือไม่? ฐานที่มั่นของคนเสื้อแดงในภาคเหนือและภาคอีสานจะกลายเป็นเขตห้ามเข้าสำหรับทหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาล เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่แล้วในหลาย ๆ เขตในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่? หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งล่าสุดในกรุงเทพฯคราวนี้ ความเป็นไปได้ทั้งสองประการดูเหมือนไม่ไกลจนเกินเอื้อม การเมืองแตกเป็นขั้ว และเห็นได้ชัดว่าทั้งสองฝ่ายต่างเต็มใจที่จะใช้กำลัง จนคนไทยจำนวนมากหวาดเกรงว่า พื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศของตนอาจกลายเป็น “เหมือนภาคใต้”

นอกจากนี้ ยังมีภาพเทียบเคียงได้อีกประการหนึ่ง ข้อหนึ่งในแผนการปรองดองของนายอภิสิทธิ์หลังเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์ก็คือ การตั้งสิ่งที่รัฐบาลของเขาเรียกว่า “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริง” เพื่อสอบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้น นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะความยุติธรรมคือการเยียวยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อันเป็นสิ่งที่อภิสิทธิ์เองก็ยอมรับเมื่อหกเดือนที่ผ่านมาในการปราศรัยเกี่ยวกับความไม่สงบในภาคใต้ “การมีกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในพื้นที่มากมายไม่ใช่คำตอบเดียวในการแก้ไขความขัดแย้ง” เขากล่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว “เราเชื่อในการพัฒนาและระบบยุติธรรมที่ไม่ลำเอียง”

แต่ความยุติธรรมที่ลำเอียง ซึ่งที่แท้แล้วก็คือการไม่มีความยุติธรรมเลย ย่อมไม่ช่วยเยียวยาอะไรได้ มันรังแต่จะเป็นยาพิษ ประเด็นนี้ยิ่งเป็นความจริง เมื่อหน่วยงานหลักในการรักษากฎหมาย ทั้งทหารและตำรวจ ต่างอยู่เหนือกฎหมายเสียเอง ลองพิจารณากรณีตากใบอีกสักครั้ง เมื่อปีที่แล้วนี้เอง ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ศาลจังหวัดได้วินิจฉัยว่า ทหารและตำรวจไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ต่อความตายของผู้ประท้วง ทันทีที่มีคำตัดสินของศาลออกมา คาดหมายได้เลยว่าจะต้องมีความรุนแรงตามมาอีกเป็นระลอก ทั้งจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบชาวมุสลิมและกลุ่มชาวพุทธที่ติดอาวุธ ไม่ถึงสองสัปดาห์ถัดมา ความรุนแรงก็มาปะทุด้วยการสังหารหมู่ชาวมุสลิมที่กำลังละหมาดถึง 11 คนในมัสยิดอัลฟุรกอนในจังหวัดนราธิวาส (หมู่บ้านไอปาแย อ.เจาะไอร้อง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่ตามข่าวของไทยบอกว่ามีผู้เสียชีวิต 10 คน อาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มในภายหลัง—ผู้แปล) ซึ่งถือเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในภาคใต้ การสอบสวนของตำรวจชี้ให้เห็นว่า กองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลอาจมีส่วนพัวพันกับการโจมตีครั้งนี้

ด้วยการให้คำมั่นสัญญาถึง “ความยุติธรรมที่ไม่ลำเอียง” แต่นั่งเป็นประธานเหนือความรุนแรงครั้งต่อมาเสียเอง อภิสิทธิ์จึงสูญเสียพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไป หากปล่อยให้การปะทะที่ก่อให้เกิดความสูญเสียครั้งล่าสุดในกรุงเทพฯ ผ่านไปโดยปราศจากการสอบสวนอย่างเต็มที่และเที่ยงตรงไม่ลำเอียงแล้วไซร้ เกรงว่าอภิสิทธิ์อาจสูญเสียพื้นที่ที่เหลือในประเทศนี้ไปด้วย นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศไทยและสากล รวมทั้งองค์กร Human Rights Watch ในนิวยอร์ก ต่างออกมาเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ที่ยังเป็นข้อโต้แย้งกันอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงการใช้อาวุธร้ายแรงทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายเสื้อแดงที่ติดอาวุธด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเป็นการส่วนตัวแล้ว นักสิทธิมนุษยชนต่างยอมรับว่า การสอบสวนแบบนี้คงไม่คืบหน้าไปไหน ตอนนี้อภิสิทธิ์ตกอยู่ในสมรภูมิสองด้าน ด้านหนึ่งคือผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกด้านหนึ่งคือฝ่ายเสื้อแดงในภาคเหนือและภาคอีสาน ในทั้งสองสมรภูมินี้ อภิสิทธิ์พึ่งพิงแต่กำลังทหารกองทัพไทยอันทรงอำนาจเพียงอย่างเดียว นั่นคือเหตุผลที่เขาอาจไม่กล้าขัดใจนายทหารระดับสูงด้วยการสอบสวนปฏิบัติการของทหาร นี่คือความผิดพลาด “การสอบสวนอย่างน่าเชื่อถือจะช่วยให้ประเทศไทยกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันได้” คือคำพูดของสุนัย ผาสุก นักวิจัยขององค์กร Human Rights Watch ในนิวยอร์ก “ไม่มีความยุติธรรมและการรับผิด ก็ไม่มีทางเกิดการปรองดอง”

นี่คือตัวเลขนับศพอีกตัวเลขหนึ่ง: 19 ศพ นี่คือจำนวนชีวิตที่สังเวยในความขัดแย้งภาคใต้ที่จังหวัดนราธิวาส ยะลาและปัตตานี นับจากวันที่ 10 เมษายน ถึง 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนผู้เสียชีวิตในกรุงเทพฯ มีมากกว่านั้น 4 เท่า แต่ก็เป็นจำนวนที่เกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์อันคุกรุ่น ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยล้มตายไปหลายพันคนตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ในเมื่อรัฐบาลในกรุงเทพฯ อันแสนห่างไกลต้องมัวพะวงอยู่กับความอยู่รอดทางการเมืองของตัวเอง ประชาชนคงต้องตายกันอีกมากในหลายปีข้างหน้านี้

หมายเหตุผู้แปล: หลังจากที่เรามีวัน “วีรชน 14 ตุลา” “พฤษภาเลือด” และคงมี “พฤษภาอำมหิต” เราน่าจะมีคำเรียกเหตุการณ์ที่ตากใบ เพื่อระลึกถึงผู้คนจำนวนมากที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น ซึ่งก็เป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ “ใต้ฟ้าเดียวกัน” กับพวกเราทุกคน
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ