Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

"เบรนพอร์ต"ช่วยทหารตาบอดมองเห็น อมในปาก-แปลงสัญญาณเป็นภาพสองมิติ

Go down

"เบรนพอร์ต"ช่วยทหารตาบอดมองเห็น อมในปาก-แปลงสัญญาณเป็นภาพสองมิติ Empty "เบรนพอร์ต"ช่วยทหารตาบอดมองเห็น อมในปาก-แปลงสัญญาณเป็นภาพสองมิติ

ตั้งหัวข้อ  sunny Mon Apr 05, 2010 10:43 pm

วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7067 ข่าวสดรายวัน

"เบรนพอร์ต"ช่วยทหารตาบอดมองเห็น อมในปาก-แปลงสัญญาณเป็นภาพสองมิติ


"เบรนพอร์ต"ช่วยทหารตาบอดมองเห็น อมในปาก-แปลงสัญญาณเป็นภาพสองมิติ Tec01050453p1
นายทหารผ่านศึกอิรักต้องพิการทางสายตา แต่สามารถ "มองเห็น" ได้อีกครั้ง แม้ไม่เหมือนเดิมโดยอาศัยเครื่องมือสุดไฮเทคของกองทัพอังกฤษ สิบตรีเคร็ก ลันด์เบิร์ก วัย 24 ปี ชาวเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ บาดเจ็บสาหัสจากแรงระเบิดของจรวดอาร์พีจีระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมินครบาสรา อิรัก ในปี 2550 ทำให้ศีรษะ ใบหน้าและแขนได้รับบาดเจ็บและสูญเสียดวงตาทั้งสองข้าง

ปัจจุบัน สิบตรีลันด์เบิร์กผู้นี้สามารถอ่านตัวอักษร บอกรูปร่างลักษณะของวัตถุ และสามารถเดินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งสุนัขนำทาง หลังได้รับเลือกจากระทรวงกลาโหมอังกฤษให้เข้าร่วมโครงการทดลองอุปกรณ์ชื่อว่า "เบรน พอร์ต" ซึ่งมีลักษณะเป็นกล้องขนาดเล็กติดตั้งไว้ที่แว่นตากันแดดให้ผู้ป่วยสวม เชื่อมต่อกับตัวส่งสัญญาณภาพลักษณะคล้าย "อมยิ้ม" ซึ่งจะส่งสัญญาณประสาทที่แปลงจากสัญญาณภาพดิจิตอลจากกล้องดังกล่าวผ่านลิ้นเพื่อให้สมองแปลงออกมาเป็นภาพให้กับผู้ป่วยได้มองเห็น

สิบตรีลันด์เบิร์ก กล่าวว่า ตนรู้สึกเหมือนกำลังอมถ่านไฟฉาย 9 โวลต์ที่คล้ายลูกอมที่ระเบิดเป๊าะแป๊ะในปากได้ เมื่อสัญญาณส่งมาถึงลิ้นก็จะรู้ได้ว่าวัตถุนั้นรูปร่างเป็นอย่างไร ในลักษณะภาพ 2 มิติแบบขาวดำ พร้อมกล่าวชื่นชมอุปกรณ์ดังกล่าวว่า เปลี่ยนแปลงชีวิตของตนไปตลอดกาล โดยสามารถทำให้ตนหยิบจับสิ่งของตรงหน้าได้อย่างแม่นยำ จากเดิมที่ต้องคอยคลำหาเอง

แม้กระนั้นสิบตรีลันด์เบิร์กยังยืนยันว่า จะไม่มีวันทิ้งเจ้าฮิวโก สุนัขนำทางเพื่อนยากของตน เพราะตนรักมัน และที่สำคัญถึงอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของตนดีขึ้นแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด

พลตรีเกล พอลล็อก ผู้รับผิดชอบโครงการเบรนพอร์ต กล่าวว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นความหวังสำหรับผู้พิการในการมองเห็นและในอนาคตมีแผนจะขยายจุดส่งสัญญาณบนตัวอมยิ้มจากเดิม 400 จุด เป็น 4,000 จุด ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นชัดเจนมากขึ้นและจะลดขนาดของตัวอมยิ้มส่งสัญญาณลงโดยอาจนำมาติดไว้ที่ด้านหลังของฟันแทนเพราะขนาดที่ใหญ่ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทานอาหารได้ขณะต้องอมอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา

หน้า 29
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ