Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน

2 posters

Go down

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน Empty การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน

ตั้งหัวข้อ  Meo Thu Dec 24, 2009 3:00 pm

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน 54798

"ปิยสวัสดิ์"ไม่สนการเมืองกดดัน เดินหน้าเปิด 3 เส้นทางขาดทุนให้นกแอร์บินแทน
ติงส.ส.อย่าเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม เหน็บปกติราชการก็จ่ายค่าตั๋วให้อยู่แล้ว

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ว่า
ได้ร่วมมือกับสายการบินนกแอร์ทำการบินแทนการบินไทยในเส้นทางพิษณุโลกอุบลราชธานี และแม่ฮ่องสอน
ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2553 เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
ทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกในการเดินทางในรูปแบบราคาประหยัด (โลว์ แฟร์)
แต่ยังคงเน้นเรื่องความปลอดภัยตามมาตรฐานของการบินไทยเช่นเดิม
โดยความร่วมมือระหว่างการบินไทยกับนกแอร์จะเป็นประโยชน์
และสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
ผู้โดยสารและประชาชนจะได้รับการบริการเช่นที่เคยได้รับบริการจาก การบินไทย


กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย กล่าวต่อกรณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บางคน
ร้องเรียนเกี่ยวกับการหยุดบินในเส้นทางพิษณุโลก อุบลราชธานี และแม่ฮ่องสอน
เพื่อให้การบินไทบกลับมาบินใหม่ ว่า โดยข้อเท็จจริงแล้วการซื้อตั๋วโดยสาร
ส.ส. ไม่ได้ใช้เงินส่วนตัว แต่เป็นเงินของราชการการที่ให้นกแอร์บินแทน
ทำให้ตั๋วราคาถูกลง เท่ากับเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศ
ช่วยลดค่าใช้จ่าย ต้องการให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงส่วนนี้มากกว่าเรื่องส่วนตัว

"ที่ผ่านมาการบินไทยลดตัวลงมาเล่นในตลาดล่าง
เป็นต้นตอปัญหาหนึ่งที่ทำให้การบินไทยประสบปัญหาขาดทุน ทั้ง 3
เส้นทางนั้น การบินไทยขาดทุนมาโดยตลอด เช่นที่อุบลราชธานี ขาดทุนเฉลี่ย
75-76 ล้านบาท/ปี พิษณุโลก 86 ล้านบาท/ปี และแม่ฮ่องสอน 50 ล้านบาท/ปี
จึงต้องปรับกลยุทธ์ ให้นกแอร์ที่บริษัทตั้งขึ้นมาจับตลาดล่างแทน
ส่วนการบินไทย จะไปเน้นระดับพรีเมียม
ต่างประเทศส่วนเส้นทางในประเทศก็เน้นเส้นทางที่มีการเชื่อมต่ออย่างเช่น
เชียงใหม่ ภูเก็ตเป็นต้น อย่างไรก็ตามในเร็วนี้จะทำการชี้แจงกับนายโสภณ
ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม"นายปิยสวัสดิ์กล่าว

ส่วนพนักงานที่ทำงานอยู่ใน 3 จังหวัดดังกล่าวประมาณ 90 คน นายปิยสวัสดิ์
กล่าวว่า การบินไทยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้ว
พร้อมทั้งได้เสนอข้อชดเชยให้ เช่น ให้เข้ามาทำงานที่กรุงเทพมหานคร
โดยการบินไทยจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้ จ่าย เช่นค่าปรับสภาพ ค่าที่พักอาศัยเหมาจ่าย 12 เดือน
ค่าขนย้ายรวมทุกรายการแล้วคิดเป็นมูลค่า61,000 บาท
หรือออกจากการบินไทยไปทำงานที่นกแอร์แทน แต่เงินเดือนน้อยกว่า
การบินไทยจะจ่ายค่าชดเชยให้คือ 30% ของเงินเดือน 30 เดือนและกรณีออกจ่ายชดเชยให้ 30 เดือน
พร้อมทั้งค่าชดเยตามกฎหมายที่ให้ออกจากงานอีก 6 เดือน เร็ว ๆ นี้
ฝ่ายบริหารจะเดินสายชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับพนักงานที่ทำง่านอยู่ทั้ง 3
สนามบิน ส่วนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุย
และสหภาพฯก็รับรู้มาโดยตลอด

สำหรับความคืบหน้าในการเพิ่มทุนนั้น
ภายในสิ้นปีนี้ จะทำแผนการเพิ่มทุนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณา
และการเพิ่มทุนนั้นจะต้องทำให้เสร็จภายในปี
53โดยการบินไทยจะนำเงินที่ได้บางส่วน ไปซื้อเครื่องบินเพิ่มอีก 15
ลำในอนาคต และจ่ายหนี้ค่าเครื่องบินทั้งในส่วนของ เอ 380 และ 330
ที่ยังค้างจ่ายอยู่ การเพิ่มทุนดังกล่าว จะทำให้กระทรวงการคลัง
เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะ ต้องเพิ่มทุนครึ่งหนึ่งของทุนที่เพิ่มใหม่
แต่จะมีอัตราเท่านั้นนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้

http://www.thairath.co.th/content/eco/54798
Meo
Meo

จำนวนข้อความ : 64
Registration date : 13/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน Empty Re: การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน

ตั้งหัวข้อ  Meo Thu Dec 24, 2009 3:02 pm

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน 53823
Meo
Meo

จำนวนข้อความ : 64
Registration date : 13/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน Empty Re: การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน

ตั้งหัวข้อ  att Sat Dec 26, 2009 12:13 am

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1261741244&grpid=&catid=02

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:36:28 น.
มติชนออนไลน์


มวยล้มที่การบินไทย

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์



เห็นมติคณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)ที่ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
กรณีซึ่งมีการกล่าวหา นายวัลลภ พุกกะณะสุต ประธานคณะกรรมการบริหาร ใช้อำนาจหน้าที่งไม่ถูกต้อง
ในการขนสัมภาระน้ำหนักกว่า 398 กิโลกรัม บินจากโตเกียวมายังกรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552
ด้วยเที่ยวบิน TG 677 แล้ว รู้สึกสังหรณ์ใจว่า อาจเป็นมวยล้มต้มคนดู

มติบอร์ดดังกล่าวให้เวลาในการสอบสวนนาน 3 สัปดาห์ใน 2 ประเด็นคือ

1.การขนสัมภาระครังนี้เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติ

2.รายได้ที่บริษัทการบินไทยสูญเสียไปในเบื้องต้นกว่า 200,000 บาท ต้องมีผู้รับผิดชอบ

คำถามคือ ทำไมจึงตั้งประเด็นในการสอบสวนค่อนข้างแคบ เพราะเป็นที่โจษจันกันในการบินไทยว่า
บอร์ดบางคนมีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวมานานแล้ว มีผู้ร่วมขบวนการและอำนวยความสะดวกหลายคน
จึงน่าที่จะขยายประเด็นการสอบสวนให้ครอบคลุมเพื่อจะได้ไม่สามารถอ้างได้ว่า
เป็นความบกพร่องโดยสุจริต จึงไม่ต้องรับโทษหรือโดนแค่"ใบเหลือง"

นอกจากนั้นเริ่มมีการพูดกันหนาหูว่า อาจมีการโยนบาปให้แก่"พิมพ์ใจ"ให้เป็นผู้รับสมอ้างว่า
เป็นเจ้าของสัมภาาระส่วนเกินทั้งหมดและเป็นความบพร่องของผู้จัดการสถานีการบินไทยที่สนามบินนาริตะ
ที่เอาสัมภาระของ "พิมพ์ใจ"ใส่เข้าไปในชื่อนายวัลลภ ทั้งๆที่"พิมพ์ใจ" เส้นใหญ่ มีพฤติกรรมในลักษณะนี้มา
มานานจนเป็นที่รู้กันดีในการบินไทย

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นการรื้อระบบอภิสิทธิ์ในสายการบินแห่งนี้ บอร์ดควรตรวจสอบย้อนหลังดูว่า
มีการใช้อำนาจอย่างไร้หลักเกณฑ์ในการ"อัพเกรด"ที่นั่งและขนสัมภาระเกินน้ำหนักให้แก่ใครบ้าง เพราะล่าสุดทาง
ส.ส.พรรคฝ่ายค้านแถลงว่า มีรัฐมนตรีเศรษฐกิจกระทรวงใหญ่รายหนึ่งสั่งให้ผู้บริหารการบินไทยอัพเกรดที่นั่งให้ลูกเมีย
จากชั้นประหยัดเป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจในการบินไปลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทั้งๆที่ไม่มีสิทธิ์และยังขน
สัมภาาระน้ำหนักเกินอีกด้วย


ได้แต่หวังว่า การออกมาเปิดโปงกันไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย จะไม่ทำให้เกิดการตกลงกัน สอบสวนกันแบบลูกหน้าปะจมูก
แล้วดองเรื่องจนสาธารณชนลืมหรือจบๆกันไปเหมือนกับเรื่องอื่นๆที่ผ่านมา

ตัวอย่างล่าสุดที่มีความพยายามในการทำให้เรื่องจบแบบจับมือใครดมไม่ได้คือ
กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 8 ลำและจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้าให้แก่บริษัท แอร์บัส กว่า 4,000 ล้านบาท
จนกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 (สมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์)
ที่ให้เช่าเครื่องบินเท่านั้น

ขณะเดียวกันเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นฟ้องนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม
ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทยกับพวกรวม 12 คนในข้อหา พนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติ
หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ(ต่อมา ครม.นายสมาชาย วงศ์สวัสดิ์ เปลี่ยนมติเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551
อนุมัติเงื่อนไขพิเศษ สำหรับการจัดหาเงินกู้เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส)

แม้ก่อนหน้านี้บอร์ดชุดนายชัยสวัสดิ์ได้แก้เกี้ยวด้วยการมีมติเมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2551
ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีนายประวัติ วีรกุล อัยการอาวุโสเป็นประธานขึ้นมาสอบข้อเท็จจริง
แต่เรื่องก็เงียบหายไป

ทำให้ พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ช่วงที่ยังเป็นบอร์ดการบินไทยทำหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2552
ถึงประธานบร์อดการบินไทยทวงถามถึงเรื่องนี้โดยระบุว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้เสนอสำนวน
การสอบสวนให้แก่ประธานบอร์ด ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า
ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง และทางอาญาแก่ผู้บริหารระดับสูงหลายคน

แต่ปรากฏว่า บอร์ดไม่ยอมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ทั้งๆที่มีการประชุมบอร์ดไปแล้วถึง 4 ครั้งคือ
ในวันที่ 7 มกราคม 2552 , 1 กุมภาพันธ์ 2552,27 กุมภาพันธ์ 2552 และ 18 มีนาคม 2552

"กรณีเรื่องนี้ ..มีการร้องเรียนไปยัง สตง.(สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน) การที่คณะกรรมการบริษัทฯ
ไม่รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ...น่าจะไม่ถูกต้องเป็นลักษณการประวิงเวลา ถ้าคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่
ไม่มีใครทราบเรื่องนี้มาก่อน หรือไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อาจเป็นปัญหาเกิดขึ้นได้
เพราะสำนวนการตรควจสอบ..จะอยู่ในการดูแลของฝ่ายบริหารบริษัทฯซึ่งหลายคนมีส่วนเกี่ยวข้อง
อาจจะต้องถูกพิจารณาข้อบกพร่องหรือความผิด"


หลังจากที่ พล.ต.อ.วุฑฒิชัยได้ทำบันทึกฉบับดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏข่าวว่า มีการดำเนินการลงโทษผู้ถูกกล่าวหาคนใดเลย

ขนาดเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินซึ่งสร้างความเสียหายให้กับการบินไทยมหาศาลยังถูก"ดอง"นานนับปี

ดังนั้น เรื่องที่บอร์ดใช้อภิสิทธิ์ในการขนสัมภาระเกินน้ำหนักมีโอกาสจะถูกเป่าทิ้งจึงเป็นไปได้สูงมาก
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน Empty Re: การบินไทย ลุยปิด3เส้นทางบิน

ตั้งหัวข้อ  att Sat Dec 26, 2009 12:14 am

เปิดโฉมหน้าแร้งทึ้งขุมทรัพย์แสนล้าน

ภายใต้นโยบายการจัดการด้านพลังงานของชาติ และการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด
ตลอด 7 ปี 4 รัฐบาลที่ผ่านมา ใครคือผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์บนความผิดพลาด ความขัดแย้งฉ้อฉลและอัปยศ
ใคร คือนักการเมืองชั่ว ข้าราชการเลว นักลงทุนหน้าเงิน นักวิชาการขายตัว ชาวบ้านหัวรุนแรง เอ็นจีโอจอมปลอม
และแท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นดังที่ว่าหรือไม่ หาคำตอบได้ ณ บัดนี้

โฉมหน้าก๊วนเทคโนแครต
ทุกปัญหาล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ผูกขาดองค์ความรู้ผูกขาดการวางแผน วางยุทธศาสตร์
และผูกขาดการจัดการด้านพลังงานของชาติจนเป็นปัญหาของชาติที่สังคมไทยควรจะได้รับรู้ ก็คือ ก๊วนเทคโนแครต
ผู้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลมาทุกยุค และกุมชะตาอนาคตกิจการพลังงานเอาไว้ในมือ

สมาชิกสำคัญของก๊วนเทคโนแครต ก็คือ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, เทียนไชย จงพีร์เพียร และ พรายพล คุ้มทรัพย์
พวกเขาซึ่งมีคำนำหน้าด้วยด็อกเตอร์ทั้งนั้น ไม่เพียงร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนเท่านั้น
เพราะพวกเขาถูกตั้งข้อกังขาว่าก้าวล่วงเข้าไปมีผลประโยชน์ร่วมไม่มากก็น้อยอีกด้วย


กรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการผูกขาดองค์ความรู้ ผูกขาดการวางแผนของเขาทั้งสามคือ
การแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการต่างๆ ที่มีส่วนวางแผนและตัดสินในกิจการพลังงานไฟฟ้า
ดังเช่น

1) คณะทำงานยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาพลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์)
ซึ่งแต่งตั้งโดย สาวิตต์ โพธิวิหค
สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อยกร่างพ.ร.บ.
ประกอบกิจการพลังงาน

2) คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์
แต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อกำกับดูแลงานปฏิรูปกิจการไฟฟ้า

3) คณะทำงานเตรียมการด้านกฎหมายและการกำกับดูแล (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์)
แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์)
เพื่อร่างกฎหมายลูกภายใต้ร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน

4) คณะทำงานศึกษาต้นทุนและหนี้ตกค้าง (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการ
ประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เพื่อคำนวณต้นทุนตกค้างฯ

5) คณะกรรมการกองทุนอนุรักษ์พลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์)

6) คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร เป็นประธาน) แต่งตั้งโดยประธาน
คณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อทำ Load Forecast

7) คณะอนุกรรมการศึกษาการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร)
แต่งตั้งโดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
เพื่อประชาสัมพันธ์โครงสร้างค่าไฟใหม่และติดตั้งมิเตอร์ TOU

Cool คณะทำงานพิจารณาร่างกฎตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร) แต่งตั้งโดยประธาน
คณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า

จากกรณีตัวอย่างข้างต้นทำให้เห็นภาพของสามทหารเสือด้านพลังงาน คือ
ปิยสวัสดิ์-พรายพล-เทียนไชย โยนลูกกันไปมาอย่างชัดเจน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลที่ว่า
เมืองไทยขาดแคลนนักวิชาการด้านพลังงาน ดังที่ ปิยสวัสดิ์ เคยอรรถาธิบายเมื่อคราวให้สัมภาษณ์
ผู้จัดการรายเดือน ฉบับที่ 206 เดือนพฤศจิกายน 2543 ที่ว่า
เรื่องนโยบายพลังงานนี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยไหน จริงๆ แล้วการกำหนดนโยบายในหลายๆ เรื่องไม่จำเป็น
ต้องเรียนเฉพาะในด้านนั้น สำคัญก็คือสามารถที่จะวิเคราะห์ได้และคนของ สพช.ก็ไม่ได้จบด้านพลังงานเลย
และคนที่จบหลักสูตรด้านพลังงานโดยเฉพาแทบจะไม่มีในประเทศไทย ท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนว่า
เมืองไทยขาดแคลนผู้รู้ด้านพลังงานอย่างมาก นั้น ดร.เทียนไชย และดร.พรายพล ก็ได้อาศัยคราบนักวิชาการ
ที่มีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดกำหนดนโยบายด้าน พลังงานชุดต่างๆ เข้าประมูลงานโครงการศึกษาจาก สพช.
โดยจัดตั้งบริษัทเบอร์ร่า จำกัด ขึ้นมา บริษัทเบอร์ร่า จำกัด ทะเบียนเลขที่ 1964/2535 ตั้งขึ้น
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 มีชื่อกรรมการ 2 คน คือ นายเทียนไชย จงพีร์เพียร และ นายพรายพล คุ้มทรัพย์
มีผลงานที่เข้าประมูลและได้งานจากสำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ที่มีดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
เป็นเลขาธิการ อาทิเช่น

โครงการศึกษาผลกระทบอัตราค่าไฟฟ้าต่อผู้ใช้ไฟ (2543) โดยทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัดโครงการศึกษาการนำเข้าน้ำมันเถื่อนในประเทศไทย (ประมาณ 2542-2543)
โครงการวิจัยภาระการใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้านครหลวง (ทำให้กับ กฟผ.ในปี 2543)
โครงการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ปี 2538) และการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOD (ปี 2534)
โครงการศึกษาและประชาสัมพันธ์อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (ปี 2544) ทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัด
โครงการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า (ปี 2544)
โครงการศึกษาการวิจัยภาระไฟฟ้าของ กฟผ. (ปี 2544)

พันธมิตรที่เข้ารับงานศึกษาโครงการร่วมกับบริษัทเบอร์ร่า คือ บริษัททริปเปิ้ล เจ นั้น อาจบอกได้ว่าเป็นบริษัท
ที่มีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นเป็นพิเศษกับท่าน เลขาธิการสพช.และเป็นบริษัทที่เข้ามารับทำงานประชาสัมพันธ์
ให้โรงไฟฟ้าบ่อนอก
วงการ บริษัทธุรกิจที่ปรึกษาต่างค่อนขอดและตั้งข้อกล่าวหาว่า
บริษัทดังกล่าวมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับปิยสวัสดิ์ จึงทำให้ได้งานเป็นผู้รับงานประชาสัมพันธ์ในโครงการใหญ่ๆ ทั้งๆ ที่
เป็นบริษัทหน้าใหม่มากในแวดวงประชาสัมพันธ์ ชื่อบริษัทกับการได้งานจะผูกติดกับตำแหน่งของปิยะสวัสดิ์
เมื่อ ปิยสวัสดิ์ เป็นเลขา สพช. ก็จะได้งานใน สพช. ดังนั้นเมื่อ ปิยสวัสดิ์ ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ก็จะไปได้งานในกรมประชาสัมพันธ์

จริงเท็จอย่างไรมีแต่ดร.ปิยสวัสดิ์ และผู้จัดการบริษัททริปเปิ้ล เจ เท่านั้นที่รู้สำหรับผู้จัดการบริษัท
คือ นางสาวสวินยา นุ่มพันธุ์ หรือ แจง เป็นอดีตผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์คุณภาพแถวประชาชื่น

นักการเมืองร่วมสังฆกรรม
สำหรับ กลุ่มนักการเมืองที่เข้าไปมีเอี่ยวและเกี่ยวข้อง
ที่ต้องเผยให้เห็นหน้าค่าตากันก็คือ รัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายและกำกับดูแลด้านพลังงานในช่วงสำคัญๆ
อาทิเช่น สาวิตต์ โพธิวิหค
ใน ยุครัฐบาลชวน 1 สาวิตต์ นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ
มีการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP และรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP รอบแรก 3,800 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537
จากนั้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2538 มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ซื้อไฟฟ้าเพิ่มจาก IPP อีก 10%
รวมเป็น 4,180 เมกะวัตต์
กระทั่ง ถึงยุครัฐบาลชวน 2 สาวิตต์ ก็ยังนั่งกำกับดูแลให้มีการลงนามในสัญญา
ซื้อไฟฟ้าจาก IPP ทั้ง 7 ราย เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 40 และ 22 ธ.ค. 40 หลังจากที่มีบันทึกความเข้าใจระหว่างกฟผ.กับ IPP
ทั้ง 7 ราย รวมถึงการปรับฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้คำนวณสูตรปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่ 27 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติมากขึ้นในยุคของรัฐมนตรี บุญพันธ์ แขวัฒนะ ขณะที่ความเคลื่อนไหวในพื้นที่
นักการเมืองและญาติมิตรต่างดาหน้าเข้ากว้านซื้อที่ดินเพื่อขายต่อให้กับ นายทุนโรงไฟฟ้า ทั้งนี้โดยมีนายหน้าค้าที่ดิน
ในพื้นที่เข้าไปมีเอี่ยวด้วย
เอกสาร ที่ชาวบ้านบ่อนอก มอบให้แก่ทีมงานของจาตุรนต์ ฉายแสง
ที่เดินทางลงไปดูข้อเท็จจริงของปัญหาในพื้นที่เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 44 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงขบวนการค้าที่ดินซึ่งเป็นหนึ่ง
ในกลุ่มผลประโยชน์ชุดแรกๆ ในโครงการบ่อนอก ดังนี้ การซื้อขายที่ดินครั้งแรก เริ่มประมาณ พ.ศ. 2532 - 2533
โดยกลุ่มนายหน้าเริ่มกว้านซื้อที่ดินรวบรวมขายให้แก่นายทุน พ.ศ. 2533 มีการซื้อขายที่ดินระหว่างกลุ่มนายหน้า
ที่รวบรวมที่ดินไว้กับนายทุนและโอนเงินจากนายทุนคนหนึ่งชื่อเสี่ยปรั้ง อมาตยกุล โดยชื่อผู้ซื้อที่ดินชื่อว่า
นางวนิดา อมาตยกุล เป็นภรรยาของเสี่ยปรั้ง และนางวนิดา เป็นน้องสาวของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ปลายปี พ.ศ. 2533 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ได้มาทำการทอดกฐินที่วัดบ่อนอก ตำบลบ่อนอก
(พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก) โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นพาหนะเดินทางและมาพร้อมกับ
นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง ส.ส.จังหวัดประจวบฯ ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นำเงินมาทอดกฐินในฐานะเจ้าภาพใหญ่ จำนวน 50,000 บาท และได้ปราศรัยกับชาวบ้านที่มาร่วมงานว่า
"ตนเป็นเขยบ่อนอกแล้ว เพราะได้ซื้อที่ดินไว้ 700- 800 ไร่" ซึ่งนายหน้าค้าที่ดินครั้งนั้นมีหลายคน แต่ที่เป็นตัวหลัก
และรวบรวมได้มากกว่าใคร ๆ คือ

1. นายเจือ หินแก้ว กำนันตำบลบ่อนอก ในขณะนั้น
2. ลูกสาวนายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง ที่ดินแปลงนี้ ปัจจุบัน เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด
การซื้อขายที่ดินครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2536 - 2537 มีการกว้านซื้อที่ดินอีก โดยระยะแรกอ้างว่า
จะนำไปทำนากุ้งกุลาดำ แต่ในระยะหลังบอกว่าจะซื้อที่ดินไปสร้างรีสอร์ตและสนามกอล์ฟ การจัดฉากสร้างภาพว่า
จะทำเช่นนั้นจริง ๆ คือติดตั้งป้ายทางลงชายหาดหลายป้ายในบริเวณที่มีการก้วานซื้อที่ดินและทำหมวกแก๊ป
สกรีนคำว่า บ่อนอกกอล์ฟคลับ แจกให้แก่ชาวบ้าน จนเชื่อว่าจะมีรีสอร์ตและสนามกอล์ฟจริง ๆ
การขายที่ดินมีเพิ่มขึ้นและโอนเงินกันในปี พ.ศ. 2537 โดยนายหน้าชุดนี้ได้ขายให้แก่บริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด
จำนวนประมาณ 700 ไร่
นายหน้าชุดที่ 2 นี้ ประกอบด้วยคนหลายคน แต่ที่เป็นทีมงานหลัก ได้แก่
1. นายเจือ หินแก้ว กำนันตำบลบ่อนอก ในขณะนั้น

2. นายสงคราม สังข์ด้วง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อนอก
3. นายอาจินต์ พวงใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลบ่อนอก
4. นายสำราญ ฟุ้งเฟื่อง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบ่อนอก
5. นายสุนทร ริดกว้าง ชาวบ้านบ่อนอก การซื้อขายที่ดินครั้งที่สาม ปี พ.ศ. 2539 - 2540
มีการซื้อขายที่ดินแปลงใหญ่ คือนากุ้งกุลาดำ (จุดตั้งโรงไฟฟ้าในปัจจุบันที่อ้างว่าเป็นนากุ้งร้าง) ประมาณ 200 ไร่
และซื้อขายที่ดินบริเวณบ้านยุบพริกหลายรายประมาณ 400 ไร่ รวมชุดที่ 3 ประมาณ 600 ไร่ และขายให้แก่
บริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด นายหน้าขายที่ดินครั้งนี้ คือ นายพีระพล ประจวบเหมาะ ลูกชายนายสำเภา
ประจวบเหมาะ สส.จังหวัดประจวบฯ (ขณะนั้น) ปัจจุบัน กลุ่มนักค้าที่ดินในพื้นที่บางราย ได้เข้ามาเป็นกรรมการ
กองทุนชดเชยผลกระทบจากโรงไฟฟ้า และมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โรงไฟฟ้าเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกลุ่มของ รักษ์ ตันติสุนทร
และบริษัทลานนาลิกไนต์ กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์ที่สำคัญ รักษ์ ตันติสุนทร อดีตรมช.พาณิชย์
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทกัลฟ์ฯ และถอนหุ้นออกไปเหลือเพียง 1 หุ้น เมื่อลงสมัครส.ส. สมัยที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
ขณะที่บริษัทลานนาลิกไนต์ ซึ่งเป็นบริษัทในตระกูลของรักษ์ ก็มีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่แรกโดยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมผลักดัน
โครงการมา ตั้งแต่ต้น ผลประโยชน์หลักที่ได้นอกเหนือจากกำไรที่จะได้ในฐานะผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทลานนาลิกไนต์
จะเป็นผู้กำหนดแหล่งซื้อถ่านหิน ปัจจุบัน บริษัทลานนาลิกไนต์ได้ไปซื้อเหมืองถ่านหินอดาโรไว้ที่อินโดนีเซีย
เพื่อรอส่งถ่านหินขายให้กับโครงการนี้ และจากการเปิดเผยผลประกอบการล่าสุดรายได้ของบริษัทลานนาลิกไนต์ไม่เข้าเป้า
อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการเลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก ซึ่งตามสัญญาIPP ที่ทำไว้ กฟผ.จะเป็นผู้จ่าย
ค่าถ่านหิน ส่วนบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น จะเป็นผู้รับจ้างผลิตกระแสไฟฟ้า เวลานี้ รักษ์ ตันติสุนทร
ได้ส่งลูกเขยคือ สารัชถ์ รัตนาวะดี มาเป็นตัวแทนและนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สารัชถ์ ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่ม
ที่มีสไตล์การทำงานเชิงรุกและแข็งกร้าวชนิดตาต่อตาฟัน ต่อฟัน ไม่ค่อยประนีประนอม เขาได้รับฉายาจากชาวบ้าน
ฝ่ายค้านโครงการว่า หล่ออำมหิต

สำหรับ ญาติมิตรนามสกุลเดียวกับนักการเมืองที่เข้าเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าบ่อนอก ยังมีชื่อของ จงจิตต์ หลีกภัย
ในฐานะผู้ตรวสอบบัญชีประจำปี 2542 ของบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น อีกด้วย

ผู้บริหาร กฟผ.ที่บ่อนอก ปรีชา จูงวัฒนา อดีตผู้ว่า กฟผ. และ ณรงค์ วงศ์ไพบูลย์ รองผู้ว่า กฟผ.
ทั้งคู่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริหารของบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า
การได้เข้ามาเป็นกรรมการบริหารเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่ ทั้งนี้เพราะ ปรีชา และ ณรงค์ เป็นผู้บริหารของ กฟผ.
ยุคเดียวกันกับที่มีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าแบบ IPP และเป็นช่วงเจรจาเงื่อนไขสัญญา
ซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ.กับเอกชน ซึ่งโดยตำแหน่งแล้ว ผู้ว่าฯกฟผ. จะทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการประเมิน
และคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ศิววงศ์ จังคศิริ มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น
แล้ว
ยื่นใบลาออกไปรับตำแหน่งประธานบอร์ด กฟผ. เมื่อเดือนเมษายน 2542
ในช่วงที่มีการอนุมัติให้จ่ายค่าชดเชยจากการเลื่อนโครงการให้กับโรงไฟฟ้า
บ่อนอก

จนครั้งสุดท้ายที่มีมติทิ้งทวนในการประชุมครั้งสุดท้ายของบอร์ดกฟผ.อนุมัติ ให้เลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก
พร้อมจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
ศิววงศ์ ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับตระกูลตันติสุนทร
และ อานันท์ ปันยารชุน ความสัมพันธ์ระหว่างกฟผ.กับโรงไฟฟ้าบ่อนอก เป็นไปด้วยดี
เพราะเชื่อมด้วยความสัมพันธ์ของตระกูลตันติสุนทร ที่ซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าของกฟผ.มาก่อนด้วย
[
/size]

[size=12]โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ไม่เพียงแต่จะมีอดีตผู้บริหารกฟผ.จะเข้าไปมีเอี่ยวโดยส่วนตัว
บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกโก้ (บริษัทลูกของกฟผ.) ก็เข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วยตามธรรมชาติของธุรกิจพลังงาน
ที่ผูกขาดกันอยู่ไม่กี่ กลุ่มกี่ตระกูล เอ็กโก้ เป็นผู้ถือหุ้นที่เข้ามารายล่าสุด

เป็นที่น่าเป็นห่วงว่า ปัจจุบันผู้บริหารกฟผ. เป็นผู้บริหารในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกโก้ด้วย เช่น สิทธิพร รัตโนภาส
อยู่ในฐานะสวมหมวก 2 ใบ คือเป็นทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตามสัญญา
การสวมหมวกหลายใบ
จะมีผลต่อการตัดสินใจ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จุดยืนของ สิทธิพร จะยึดประโยชน์ของข้างไหนเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมองไปในอนาคตอาจต้องมีการเจรจาผลประโยชน์เกิดขึ้น เช่นยกเลิกโรงไฟฟ้า
หรือการใช้ระบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องเข้าสู่ระบบตลาดกลาง
ซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool)
การถือหุ้นไขว้กันลักษณะเช่นนี้ จะนำไปสู่ปัญหาการฮั้วราคาค่าไฟฟ้าได้ไม่ยากโดยเฉพาะหากเอ็กโก้ ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าต่างๆ
ได้เกิน 5,000 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ก็จะเป็นแกนกลางในการฮั้วราคาได้ไม่ยาก
นอกเหนือจากกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศแล้ว ยังมีทุนต่างชาติร่วมวงในโรงไฟฟ้าบ่อนอกด้วย คือ บริษัทเอดิสันอเมริกา
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอีกรายของบริษัทกัลฟ์ฯ ความเคลื่อนไหวต่อสาธารณะที่เป็นข่าวมีเพียงครั้งเดียวคือ การที่ทูตอเมริกา
เข้าพบรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล เพื่อเร่งให้มีการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกโดยเร็ว

อานันท์ ปันยารชุน ตำนานอมตะ หากพูดถึงโรงไฟฟ้าหินกรูดโดยไม่เอ่ยถึง อานันท์ ปันยารชุน แห่งสหยูเนี่ยน
อดีตนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนหน้าประวัติศาสตร์สำคัญได้ขาดหายไป นโยบาย ขยายธุรกิจมาในด้านพลังงานของสหยูเนี่ยน
เกิดขึ้นหลังจาก อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ รอบสอง ซึ่งในช่วงดำรงตำแหน่งนี้ ได้ริเริ่มการแปรรูปกฟผ.

นโยบายที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าแทนกฟผ. หลังจากนั้น บริษัทสหยูเนี่ยน
ได้ร่วมเข้าประมูลและชนะประมูลโครงการIPP ซึ่งช่วงนั้น ว่ากันว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง เกษม จาติกวณิช
ผู้สถาปนาระบบอุปถัมภ์และเป็นเสาหลักกฟผ. กับ อานันท์ ปันยารชุน มีส่วนช่วยได้มาก หลังจากนั้น
สหยูเนี่ยนได้ขายหุ้นโดยอาศัยเครือข่ายและภาพพจน์ที่ดีของ อานันท์ ในแวดวงต่างประเทศ
และถอยห่างออกมาในภายหลัง สหยูเนี่ยน ขายหุ้นไป 90% ให้กับบริษัทข้ามชาติ
เช่น ฟอร์ตุ้ม จากประเทศฟินแลนด์ (ปัจจุบันถอนหุ้นแล้ว) เซป้า จากอเมริกา (ปัจจุบันถอนหุ้นแล้ว)
และบริษัทโตเมน จากญี่ปุ่น อานันท์ ประธานสภาที่ปรึกษาฯ ผู้ซึ่งพยายามทำความเข้าใจในปัญหาของชาวบ้านผู้ยากไร้
สามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาความขัดแย้งที่บ้านกรูดได้อย่างน่าอัศจรรย์
ซึ่งความจริงอานันท์ ก็น่าจะทำได้ เพราะเวลานี้ ผู้ตัดสินใจหลักไม่ได้อยู่ที่สหยูเนี่ยน
แต่อยู่ที่บริษัทโตเมน แห่งญี่ปุ่น
สหยูเนี่ยน เพียงแต่อาศัยจังหวะหากินกับโครงการนี้ลักษณะเดียวกับ
นายหน้าเข้าประมูลงาน คือประมูลให้ได้สัญญาอยู่ในมือแล้วขายต่อทันทีเพื่อทำกำไร


บริษัท โตเมน เป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด
มีนายโคอิชิ ฮัตสุตะเป็นผู้ดูแลหลัก ผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการคือ นอกจากจะได้แบ่งกำไรในฐานะผู้ถือหุ้นแล้ว
จะได้เป็นผู้กำหนดแหล่งที่จะซื้อ ถ่านหิน โตเมน ได้ไปซื้อกิจการและเป็นเจ้าของเหมืองถ่านหินที่ออสเตรเลียรอไว้
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฉพาะค่าถ่านหินมูลค่าตลอด 25 ปี ไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท
จึงบอกได้ว่าโตเมนเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลักของโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูดในปัจจุบัน โตเมน มีความหวังกับ
โครงการนี้ค่อนข้างมาก ประกอบกับสถานะทางการเงินประสบวิกฤตอย่างหนักจนต้องขายกิจการในเครือทิ้ง
เหลือเพียงธุรกิจด้านสิ่งทอ พลังงานและโทรคมนาคม ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่ยังไม่พ้นวิกฤตทางการเงิน


สไตล์การทำธุรกิจของผู้บริหารญี่ปุ่นจากโตเมน ต่างเชื่อมั่นกับการใช้กระดาษที่สามารถชำระหนี้ได้กฎหมาย
เป็นใบเบิกทางในทุกๆ เรื่อง และไม่ปฏิเสธการใช้กำลัง แต่สำหรับพันธมิตรแล้ว โตเมน รับรองได้ถึงใจขนาดซื้อกิจการ
รีสอร์ทเบย์วิว ไว้เป็นที่รับแขกในระดับผู้บริหารและเครือข่ายพันธมิตร
หลังการถอนตัวของผู้ร่วมหุ้น
จากฟินแลนด์ และ เซป้า จากอเมริกา แล้ว โตเมน สามารถชักชวน ชูบุ อิเล็กทริก เพาเวอร์ คอมปานี
บริษัทผลิตไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ บรรดาหุ้นส่วนธุรกิจที่ร่วมนี้วาดฝันถึง
ผลกำไรอันงามในอนาคตโดยไม่สนเสียงค้าน นอกจากนั้นแล้ว ในการเคลื่อนไหวกดดันเชิงนโยบาย
ตเมน จะใช้เจบิค และทูตญี่ปุ่น รวมทั้งเน้นงานสื่อกับนสพ.ญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเน้นการป้ายสีให้ฝ่ายคัดค้านโครงการ
เป็นสมุนของมาเฟียค้ายาเสพติดและเป็นผู้สูญเสียประโยชน์ด้านการขายที่ดินเป็นเหตุผลหลักในการคัดค้านโครงการ


ส่วนระดับพื้นที่ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจะเน้นการสานสัมพันธ์ที่ดีนักการเมืองในพื้นที่โดยเฉพาะ อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ซึ่งเป็นนักการเมืองในท้องถิ่นที่สนับสนุนโครงการอย่างชัดเจนโดยร้อยรัด เชื่อมโยงกันด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทน
ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะงานร้อนและเครือข่ายในพื้นที่บารมีของ อุดมศักดิ์ สามารถช่วยโรงไฟฟ้าได้มาก
นที สิทธิประศาสน์ VS สหายช่วง แห่งหินกรูด อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ผู้ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นหนังหน้าไฟและไม่กล่าวถึงไม่ได้
ก็คือ นที สิทธิประศาสน์ และ ธงชัย สุวรรณวิหค นที เขาเป็นลูกชายของดร.เอนก สิทธิประศาสน์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นที คือลูกไม้ที่หล่นไม่ไกลต้น เขาร่ำเรียนด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากนั้นบินไปต่อปริญญาโทที่อเมริกาก่อนกลับมารับราชการอยู่พักหนึ่งแล้วผัน ตัวเองมาอยู่ที่สหยูเนี่ยน และได้รับการส่งเสริม
ให้เติบใหญ่ขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและ ประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น นที แห่งหินกรูด
มีบุคลิกที่ดูนุ่มนวลเชือดนิ่มกว่าเมื่อเทียบกับ สารัชถ์ แห่งบ่อนอก ถึงแม้ โตเมน จากญี่ปุ่น จะใหญ่
แต่ยังต้องพึ่งพาอาศัย นที อยู่มาก โดยเฉพาะบทบาทในด้านการประสานกับหน่วยงานราชการต่างๆ
เพราะนามสกุล สิทธิประศาสน์ ของเขาเป็นใบเบิกทางที่นายทุนญี่ปุ่นไม่มี

ส่วน ธงชัย สุวรรณวิหค หรือ สหายช่วง นั้นก็คือ ผู้ที่เป็นทัพหน้ารับศึกมวลชน ขณะที่อีกด้านหนึ่ง
เขาต้องทะเลาะกับผู้บริหาร เพื่อให้นายทุนต้องควักเงินจ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามวลชนและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเวลานี้ ที่หินกรูดอย่างน้อยก็มีกองทุนพัฒนาชุมชน ที่ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท/ปี, กองทุนค้ำประกันอาชีพ 10 ล้านบาท
งบสำหรับงานกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และงบสำหรับสร้างปศุสัตว์ทะเลและปะการังเทียม
อย่าง
ไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความพยายามของสหายช่วง
เป็นเพียงความพยายามที่สูญเปล่าในสายตาของฝ่ายค้านโครงการ มิหนำซ้ำ
ยังถูกกล่าวหาว่า อาศัยคราบของคนที่เคยทำงานกับมวลชนในนามคนเดือนตุลาฯ
มารับใช้นายทุน
พ่วงเข้าไปอีกต่างหาก

นักวิชาการกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเด็นร้อนอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อาจดูไม่เหมาะที่ครูบาอาจารย์
นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาจะเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร และจะศึกษาด้วยจุดประสงค์ใด
ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเสี่ยงต่อชื่อเสียงและเสียมากกว่าได้
ประเด็น ปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อชุมชน คือ
เรื่องถกเถียงกันไม่จบ ต่างฝ่ายต่างโต้แย้งกันไปมา ส่วนหนึ่งเพราะเป็นปัญหาเชิงเทคนิค ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน
จะหยิบประเด็นอะไรขึ้นมา
ประเด็น นักวิชาการและบริษัทที่ปรึษา ทีมข่าวพิเศษ ผู้จัดการรายวัน
เคยตีแผ่ความจริงมาแล้ว ใน ซีรี่ย์ ชำแหละกระทรวงวิทย์ฯ ตอนเปิดหน้ากากบริษัทที่ปรึกษา คนบาปในคราบนักวิชาการ
ที่เผยให้เห็นการทำอีไอเอ หรือรายงานผลการศึกษาโครงการฯ ตามสั่ง ว่าเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นใครในวงการ

หากจะกล่าวสำหรับนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนทั่วไป คือ
ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาโครงการปศุสัตว์ทะเล มูลค่า 62 ล้านบาท ให้กับโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด และเข้าไปศึกษา
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง เช่น สำรวจความอุดมสมบูรณ์บริเวณอ่าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด
ตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม 2541, ทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณชายฝั่ง
ทะเลหินกรูด ร่วมกับนายนิลนาจ ชัยธนาวิสุทธ์ และดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน เมื่อ 24 พค.42 ฯลฯ
สิ่งที่ ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ ยืนยันมาตลอดก็คือ เขาเป็นนักวิชาการและเป็นผู้ศึกษาหาข้อเท็จจริง เวลานี้
เขากำลังค้าความอยู่กับสื่อมวลชนที่กล่าวหาว่าเขาไปแสวงหารายได้จากโรงไฟฟ้า การตอบโต้จากพื้นที่ ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์
เพียงถูกชาวบ้านขับไล่ไม่ให้เรือวิจัยจุฬาภรณ์มาสำรวจทะเลบ้านกรูด แต่สำหรับทีมวิจัยของ นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธ์
นักวิจัยผู้ขำนาญระดับ 8 สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเจอเหตุการณ์รุนแรงกว่า
เพราะเขาเจอ ปลาตีน เต็มหาดประจวบฯ เช่นเดียวกับผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกลุ่มนักศึกษา ที่อยู่ในทีมเดียวกัน ดูเหมือนความขัดแย้งที่คุกรุ่นในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน
จะไม่เหลือพื้นที่ความเป็นกลางไว้ให้ใครประกาศศักดิ์ศรีและความกล้าหาญที่ เล่นกับของร้อนแล้วไม่ลวกมือได้
ผู้ที่แหย่เท้าเข้าไปไม่ว่าจะน้อยหรือมาก จะเท้าข้างซ้ายหรือขวา พึงสังวรระวังไว้ว่า อาจจะเกิดเรื่องตามมาไม่มากก็น้อย
และต้องเตรียมพร้อมที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ชาวบ้าน-เอ็นจีโอบ่างช่างยุ? การเคลื่อนไหวของชาวบ้านที่เกิดขึ้นไม่ว่าที่ไหนมักจะมีสูตรสำเร็จในการกล่าวหา
อยู่ 2-3 เรื่อง คือ มีนายทุนหนุนหลัง มีผลประโยชน์ มีคนนอกพื้นที่โดยเฉพาะพวกเอ็นจีโอมายุยง และนิยมความรุนแรงก้าวร้าว
ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นข้อกล่าวที่ค่อนข้างล้าหลังเอาการ
ในเมื่อบ้านที่เคยอยู่อู่เคยนอนจะถูกคนจรหมอนหมิ่นมาเบียดขับและยึดครองจะมีใครยอม
ให้เรื่องทำนองนั้นเกิดขึ้น ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาต่อกรกับรัฐและนายทุนมันไม่ไช่เพิ่งเกิด
ที่บ่อนอกหรือหินกรูด บทเรียนซ้ำซากทำนองนี้มีมากเกินกว่าที่จะปล่อยให้เกิดขึ้นอีกแม้สักครั้งเดียว
แต่กลับไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ มิหนำซ้ำฝ่ายรัฐฯ ยังนิยมใช้ความรุนแรงสยบปัญหาอีกด้วย
ผู้ที่กลายเป็น ฮีโร่ ในสายตาชาวบ้านที่ไม่รู้จะหันหน้าพึ่งใคร ก็มีเพียงบรรดาเอ็นจีโอที่ยื่นมือเข้ามาให้ความรู้
ให้ข้อมูลและหาทางออกในปัญหาที่เกิดขึ้น
การทำงานต้องมีที่ปรึกษา นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
สส./สว/ แม้แต่โรงไฟฟ้า ก็มีที่ปรึกษา ท่านเรียกที่ปรึกษาของท่านว่าผู้ยุยงหรือเปล่า ที่ปรึกษาของเราเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในการเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอข้อมูลในวงสัมมนาทางวิชาการมากกว่าที่จะเข้ามาบอกให้เราไปนั่งตากแดด
ให้ตำรวจตีหัว ที่ปรึกษาช่วยเหลือเราในงานวิจัย ที่ทำให้รู้ว่า พลังงานไฟฟ้ายังมีสำรองเหลือเฟือ มีพลังงานที่สะอาด
ไม่มีมลพิษมากเหมือนถ่านหิน ทำให้รู้ว่า กฟผ. พยายามปิดโรงไฟฟ้าของตัวเองด้วยข้ออ้างต่าง ๆ นานา
เพื่อทำให้ข้อมูลอัตราสำรองไฟฟ้าเหลือน้อยลง และแนะนำให้เราเก็บรวมรวมข้อมูล
ค้นหาศักยภาพของชุมชนของเราและค้นหาเหตุผลที่จะมาลบล้างความชอบธรรมของโรงไฟฟ้าต่างหาก
ไม่เคยแนะนำให้เราเอาเงินไปจ้างใครมาประท้วงหรือรับเงินของบริษัท นั่นคือเหตุผลที่ชาวบ้านบอกกล่าวต่อสังคม


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2:%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ