Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

แผนปิดประเทศ

4 posters

Go down

แผนปิดประเทศ Empty แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  devil Tue Dec 08, 2009 2:55 pm

แผนปิดประเทศ News_img_79375_1


ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ 11 โครงการจาก 76 โครงการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ดำเนินต่อไปได้ "ศรีสุวรรณ" ประกาศชัยชนะประชาชน เดินหน้าฟ้องศาลต่ออีก 181 โครงการ..

เมื่อวัน ที่ 2 ธ.ค. ศาลปกครองสูงสุด โดยนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ได้ขึ้นอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในคดีมาบตาพุด ตามคำร้องที่ 586/2552 ซึ่งสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวก รวม 43 คน เป็นผู้ฟ้องคดีต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกับพวก 8 คน และบริษัทเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเสตท กับพวกรวม 43 คน ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายและ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

ท้ายที่สุด ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งแก้คำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 สั่งระงับโครงการ หรือกิจการที่ยังเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 65 โครงการ และให้เดินหน้า 11 โครงการ และกิจกรรมที่ไม่น่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงหรือชัดเจน แต่เป็นโครงการที่มุ่งควบคุมหรือบำบัดมลพิษ ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในโครงการเพื่อบำบัดมลพิษและดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการประเภทคมนาคม โดยให้ทั้ง 11 โครงการ สามารถเดินหน้าต่อไปได้

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีที่ศาลมีคำพิพากษากับ 65 โครงการ ว่า กระทรวงฯ เตรียมออกฎหมายรองรับเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง แต่ไม่ทันได้เข้าพิจารณาสมัยการประชุมสภาฯ และมีการประกาศกระทรวงทรัพยกรฯ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ไปแล้ว ซึ่งจะใช้ในการพิจารณากับโครงการที่เหลืออยู่ให้ปฎิบัติตามมาตรา 67

ส่วน กรณีคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุด เสนอให้กระทรวงฯ ปรับรายละเอียดเกี่ยวกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ในประกาศกระทรวงฯ ก็พร้อมรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายรวมทั้งกรรมการ 4 ฝ่าย ที่อาจจะมีข้อเสนอแนะที่ถือว่ามีประโยชน์และสามารถป้องกันแก้ไขได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 เขียนไว้ชัดเจน ก็ปฎิบัติตาม ส่วนกฎหมายที่ประกาศออกไปก่อนหน้านี้ ก็สามารถแก้ไขได้ ไม่มีกฎหมายใดเป็นอมตะ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ขอเพียงแก้แล้วดีขึ้นก็ยินดีทุกเรื่อง

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมสภาวะแวดล้อม ในฐานะโจทย์ที่ร่วมกับชาวบ้านมาบตาพุด 43 รายฟ้องให้มีการระงับ 76 โครงการ กล่าวว่า ค่อนข้างพอใจในคำตัดสินของศาลอย่างมาก และถือว่าประชาชนชนะแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่ต้องออกระเบียบและกฎหมายรองรับ และในส่วนเอกชนที่ต้องเร่งประเมินผลกระทบด้านสุขภาพก็ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อนำมายื่นกับศาลประกอบการพิจารณาต่อไป ขณะที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ก่อนหน้านี้ประเมินว่าจะใช้เวลา 4-5 เดือน ในการประเมินและคัดแยกโครง การในมาบตาพุด ก็คงร่นเวลาทำงานได้เร็วขึ้นเหลือเพียง 1 เดือน ก็อาจเป็นไปได้ เพราะศาลได้ช่วยคัดแยกโครงการออกไปถึง 11 โครงการแล้ว สมาคมฯจะเดินหน้าใน 181 โครงการที่ได้ประเมินไว้ว่าเข้าข่ายที่ต้องปฎิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งได้ส่งหนังสือเตือนไปยังบริษัทเหล่านั้นแล้ว

สำหรับ 11 โครงการที่ศาลไม่ระงับโครงการต่อไป เนื่องจากไม่เข้าข่ายโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพในพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง จ.ระยอง ตามมาตรา 67 วรรคสอง ประกอบด้วย ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ โครงการ 16 โครงการเชื้อเพลิงสะอาดและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด(มหาชน) ,โครงการ 22 โครงการปรับปรุงระบบหมุนเวียนก๊าซกลับคืนของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดโพลี โพรพีลีน ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอร์ส จำกัด , โครงการ 37 โครงการผลิตเชื้อเพลิงสะอาด ติดตั้งหน่วยควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล (ขอ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด

โครงการ 41 โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอ ดีเซล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด(มหาชน) โครงการ 45 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ระบบบำบัดมลพิษทางอากาศโรงงานผลิต Purified Terephthalic Acid (PTA) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย อ.บ้านฉาง ของบริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด ,โครงการ 50 โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 (การเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ) ตั้งอยู่ที่ ต.มาบตาพุด ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โครงการ 55 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโรงงานผลิตคลอ-อัลคาลี และอีพีคลอโรไฮดรินภายใต้โครงการติดตั้ง Chlorine Vaporizer ,Wet Scrubber ของ HCL Section และการปรับเปลี่ยนขนาดถังบรรจุคลอรีนเหลว ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์(ประเทศไทย )จำกัด(คลอ อัลคาลี ดีวิชั่น)

ส่วน ประเภทคมนาคม ได้แก่ โครงการ 2 โครงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและขนาดถังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท มาบตาพุดแท็งค์ เพอร์มินัล จำกัด,โครงการ 3 โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์ (การเพิ่มถังเก็บและอุปกรณ์ขนถ่าย LPG/Butene-1) ตั้งที่ ต.มาบตาพุด ของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) ,โครงการ 4 ราย งานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมี และคลังเก็บวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ (การก่อสร้างถังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ถัง โพรเพน/บิวเทน) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ,โครงการ 6 โครงการติดตั้ง Loading Arm เพิ่มเติมที่ท่าเทียบเรือของโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด
devil
devil

จำนวนข้อความ : 69
Registration date : 29/11/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

แผนปิดประเทศ Empty Re: แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  devil Tue Dec 08, 2009 2:58 pm

ชะลอ 65 โครงการ : บทเรียนให้รัฐบาลตระหนัก
โดย สามารถ มังสัง 7 ธันวาคม 2552 18:04 น.

เมื่อบ่ายวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดโดย นายอักขราทร จุฬารัตน ในฐานะประธานศาลปกครองสูงสุด และคณะตุลาการรวม 7 คน ได้อ่านอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 43 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กับพวกรวม 8 คน บริษัท เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด และผู้มีส่วนได้เสียในการลงทุนโครงการมาบตาพุด จ.ระยอง 36 คน และจากการพิพากษาของศาลปกครองในคดีนี้สรุปได้ดังนี้

1. รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 มีผลบังคับใช้ในทันที ดังนั้นสิทธิของบุคคลที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ที่บัญญัติรองรับไว้ย่อมได้รับการคุ้มครอง การที่ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้สิทธิดังกล่าว มิใช่เหตุที่องค์กรของรัฐจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิ ดังกล่าวได้

2. การที่หน่วยงานของรัฐได้อ้างคำตอบข้อหารือสำนักกฤษฎีกาที่บทบัญญัติในมาตรา 67 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที เพราะมีบทเฉพาะกาลมาตรา 303 (1) กำหนดให้มีผลบังคับใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายกำหนดรายละเอียดเสีย ก่อน ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบที่จะอนุญาต จึงสามารถพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจการที่ได้รับความเห็นชอบ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้น

ในประเด็นนี้ ศาลปกครองเห็นว่าการให้ความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขัด กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องดำเนินการ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ทันที และตามมาตรา 216 วรรค 5 ของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ

3. ตามมติของศาลปกครองสูงสุดให้ 11 โครงการเดินหน้าต่อไป แต่ให้ระงับ 65 โครงการไว้ชั่วคราวก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อพิจารณาเบื้องต้นตามประเภทลักษณะของ 11 โครงการแล้วไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงชัดเจน

ส่วน 65 โครงการให้ระงับไว้ชั่วคราวก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่น่าเชื่อได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพของประชาชน

จากนัยแห่งการวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด จะเห็นได้ว่าได้พิจารณาโดยแยกตามประเภทและลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ อาจก่อให้เกิดและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงออกจากกันแล้ว จึงให้ 11 โครงการที่เชื่อได้ว่าไม่น่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงดำเนินการต่อไปได้ และให้ระงับโครงการที่เชื่อได้ว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง 65 โครงการไว้ก่อนชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 จึงถือได้ว่าศาลปกครองสูงสุดพิพากษาอย่างเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้

1. เมื่อกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ประกาศใช้แล้ว ประชาชนทุกคนควรจะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

2. ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีกฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่หน่วยงานผู้รับ ผิดชอบจะต้องดำเนินการให้ดีเพื่อผลในการปฏิบัติราชการ ก็มิใช่ความผิดหรือข้อบกพร่องที่ส่วนราชการใดๆ จะนำมาอ้างเพื่อไม่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ และถ้าจะว่าไปแล้ว การปล่อยปละละเลยไม่จัดให้มีกฎหมายมารองรับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นความบกพร่องและความผิดพลาดของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล โดยเฉพาะส่วนราชการในระดับกระทรวงโดยตรง จะโยนความผิดที่ว่าให้เอกชนผู้ลงทุนดูเหมือนจะเป็นการลงโทษผิดตัว ไม่ตรงประเด็นเท่าที่ควรจะเป็น

3. เมื่อโครงการถูกศาลสั่งระงับชั่วคราว แน่นอนว่าผู้ประกอบการจะต้องได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของต้นทุนดำเนินการ และผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับล่าช้าออกไป ทำให้การคืนทุนของผู้ประกอบการล่าช้าออกไป ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียของผู้ประกอบการ จึงเป็นการชอบที่เอกชนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐ

ในขณะเดียวกัน รัฐจะออกมาอ้างการที่โครงการถูกระงับว่ามีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ เพื่อเป็นเหตุให้โครงการเดินหน้าได้ โดยที่ไม่มีการแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็หาเป็นเหตุผลที่ควรค่าแก่การรับฟังไม่

ทางเดียวที่รัฐบาลทำได้ดีที่สุดในเวลานี้ก็คือ การยอมรับคำสั่งศาล และรับแก้ไขการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2

อีกนัยหนึ่ง จากคำสั่งศาลปกครองในคดีนี้น่าจะถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้ส่วนราชการ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ควรจะได้ตระหนักในเรื่องนี้ให้ดี เพราะเท่าที่ดูการอนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่ก่อให้เกิดมลพิษ ภายใต้การดูแลของสองกระทรวงนี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วอย่างดาษดื่นว่าไม่สามารถควบคุมมลพิษได้ตามมาตรฐานที่ ควรจะมี และควรจะเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ จะเห็นได้จากการปล่อยมลพิษของบรรดาโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเป็นเหตุให้ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นทุกปี นับจากที่มีการตั้งโรงงานในการนิคมฯ แห่งนี้ รวมไปถึงโรงงานประเภทเดียวกันนี้ในที่อื่นๆ ด้วย

อะไรคือเหตุให้การควบคุมมลพิษจากโรงงานไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อควบคุมในเรื่องนี้?

เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูสภาวะแวดล้อมของประเทศไทยก่อนที่จะ มีแนวนโยบายให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรม ก็พอจะอนุมานได้จากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้

1. โดยสภาพพื้นที่ทางกายภาพ ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมเนื่องจากมีดินฟ้าอากาศอำนวย กล่าวคือ มีที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก และในแต่ละปีมีน้ำฝนเพียงพอ

2. เมื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก การขุดคูคลองเพื่อนำน้ำมาทำการเพาะปลูก และการสัญจรทางน้ำเพื่อขนส่งผลผลิตควบคู่ไปด้วย จึงทำให้มีคูคลองต่อเชื่อมกับแม่น้ำสายหลักๆ อย่างทั่วถึง

3. จากสภาวะแวดล้อมทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้น เมื่อมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และมีการปล่อยของเสียจากโรงงานลงแม่น้ำก็จะไหลบ่าไปตามคูคลอง และส่งผลกระทบถึงชุมชนซึ่งมีที่อยู่อาศัยตามฝั่งคูคลองรวมถึงแม่น้ำสายหลัก ด้วย

4. ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและเรื้อรังมาตลอด แต่ไม่รุนแรงเท่ากับการนำเอาโรงงานหลายโรงมารวมไว้ในที่เดียวกันดังที่เกิด ขึ้นที่การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และที่เป็นเช่นนี้ก็อาจอนุมานได้ในเชิงตรรกะดังนี้

1. การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซใน อ่าวไทย ดังนั้นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานที่อาศัยผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากโรงแยกก๊าซหรือเกี่ยวเนื่องจากโรงแยกก๊าซเป็นวัตถุดิบ จึงอยู่ในข่ายที่เป็นแหล่งปล่อยมลพิษ

2. ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้อยู่บนฝั่งทะเลคืออ่าวไทย ของเสียที่ปล่อยลงทะเลจึงวนอยู่ในอ่าวไทย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย

ด้วย เหตุนี้ ถ้าไม่มีการป้องกันให้ดีพอที่จะรับประกันได้ว่าปลอดภัยแล้ว พูดได้คำเดียวว่า ในระยะยาวสิ่งที่ได้จากโรงงานเหล่านี้เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับจากการ ปล่อยมลพิษแล้วไม่คุ้มกัน
devil
devil

จำนวนข้อความ : 69
Registration date : 29/11/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

แผนปิดประเทศ Empty Re: แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  devil Tue Dec 08, 2009 3:00 pm

สงสัยกำลังเดินเกมในการปิดประเทศ ไม่เช่นนั้นจะสั่งเชือดโครงการให้นักลงทุนต่างชาติกลัวที่จะเข้ามาลงทุนทำไมกัน Question
devil
devil

จำนวนข้อความ : 69
Registration date : 29/11/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

แผนปิดประเทศ Empty Re: แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Dec 12, 2009 7:57 pm

ซ้ำซาก!ก๊าซรั่วมาบตาพุดเขตโรงไฟฟ้าเจ็บ6 (ไทยรัฐ)


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ วันนี้ (12 ธ.ค.) ได้เกิดเหตุ
ก๊าซรั่ว ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ภายในเขตโรงไฟฟ้าโกลด์ เบื้องต้นทราบว่าพนักงาน ได้รับบาดเจ็บ 6 ราย นำตัวส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด เป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยยังไม่ทราบว่าถูกสารเคมีชนิดใด ขณะที่ ต้องอพยพคนงาน ประมาณ 300 คน ออกมา หวั่นซ้ำรอยก๊าซรั่วในหลายครั้งที่ผ่านมา



ด้าน ตำรวจ สภ.มาบตาพุด เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งว่าเกิดจากการตัดต่อท่อก๊าซ
ทำให้ชาวบ้านเกิดความแตกตื่น และอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเป็นสารเคมีชนิดใด



ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยรัฐ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

แผนปิดประเทศ Empty Re: แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  att Sun Dec 13, 2009 7:35 am

http://www.thairath.co.th/content/eco/52579

ถอดรหัส 'มาบตาพุด' คณะกรรมการ 4 ฝ่าย...ตัวแทนประชาชน หรือ คนธุรกิจ
แผนปิดประเทศ 52579
คำถามต่อตัวแทนภาคประชาชน การที่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เห็นว่าอุตสาหกรรมควรขยายตัวต่อไปเช่นนี้
ทำให้เกิดคำถามว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการขยายนั้นอาจไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่บุคคลในพื้นที่ดังที่เป็นข่าว
เมื่อวันที่17 พฤศจิกายน 2552 ว่า ชาวชุมชนมาบตาพุดยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวนตั้งกก.4ฝ่าย จากข้อมูลของ
กรรมการภาคประชาชนในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุด ทั้ง 4 ท่านคือ
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล นายสุทธิ อัชฌาศัยและนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
พบว่าน่าจะมีคุณสมบัติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่าผู้แทนภาคประชาชน โดยในรายละเอียดพบว่า:

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันทำงานอยู่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
ในตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และบ้านอยู่บางบัวทอง นนทบุรี

รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล เป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นายสุทธิ อัชฌาศัย เป็นเจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ (NGO:Non-Governmental Organization)
ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและเป็นกรรมการบริหาร พรรคการเมืองใหม่ เป็นคนจังหวัดระยอง

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดที่ 2 เป็นคนจังหวัดชุมพร
มีบ้านอยู่กรุงเทพมหานครและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอเช่นกัน

ดังนั้น ผู้แทนภาคประชาชน ข้างต้นจึงไม่ใช่ผู้แทนของชาวมาบตาพุดซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เลย
แต่กลับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่คนละข้างกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การแต่งตั้งในลักษณะนี้เป็นการแสดงให้เห็น
ได้ถึงการไม่นำพาต่อความสำคัญและ ไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่เท่าที่ควร

นอกจากนี้ ยังไม่ได้ยึดหลักให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ตัดสินอนาคตของตนเอง
แต่เป็นการถือเอาความเห็นของบุคคลภายนอกเป็นสำคัญ ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ระบุว่าาการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
อย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและ
ประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพของประชาชนในชุมชนและจัดให้มีกระบวนการรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อนรวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ
หรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบ ก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว

แผนปิดประเทศ 52579_20_2
ในกรณีนี้น่าจะมีข้อที่ควรได้รับการแก้ไขบางประการ กล่าวคือ

1. การจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนอาจดำเนินการไปอย่างไม่เป็นกลาง หากมีอคติอาจรับฟัง
แต่กลุ่มกฎหมู่หรืออาจฟังความเพียงข้างเดียวต่อกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์หรือมีอคติต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
กระบวนการที่สมควรจึงควรเป็นการสำรวจความเห็นของประชาชนหรือการทำประชามติของประชาชนส่วนใหญ่
เป็นสำคัญ

2. การมีองค์การอิสระ ในแง่หนึ่งเป็นแนวคิดที่ดีแต่รัฐบาลก็อาจแต่งตั้งเฉพาะผู้ที่ตนคุ้นเคยซึ่งอาจไม่เป็นกลาง
และไม่มีมาตรฐานการแต่งตั้ง การจะมุ่งตั้งกรรมการเฉพาะที่เป็นผู้แทนองค์การเอกชนและผู้แทนสถาบันการศึกษา
เป็นสิ่งที่พึงทบทวนเป็นอย่างยิ่ง องค์การและสถาบันเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์มาตัดสินอนาคตของชุมชนและประชาชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ หรือผลประโยชน์ของชาติ
การตัดสินใจที่ถูกต้องสมควรอยู่บนพื้นฐานการวิจัยอย่างรอบด้าน
ด้วยระบบสหศาสตร์ มีการวิเคราะห์หักล้างกันด้วยข้อมูลที่เป็นจริง ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างจริงจัง โปร่งใส
ไม่ใช่ไปยึดติดกับตัวบุคคลหรือสถาบันใดซึ่งอาจมีอคติต่อการพัฒนา การมีองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญเช่นนี้
กลับแสดงชัดถึงการไม่เคารพเกียรติและศักดิ์ศรีของชุมชนอย่างแท้จริงผิดกับเจตนารมณ์ที่อ้าง


3. สิทธิของชุมชนเป็นสิ่งที่พึงตระหนักแต่ผลประโยชน์ของประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า การพัฒนาโครงการของชาติ
ย่อมต้องใช้ที่ดินขนาดใหญ่ ในขั้นตอนการวางแผนอาจไม่สามารถเล็งเห็นความจำเป็นได้ล่วงหน้าทั้งหมด ชุมชนบางแห่ง
ก็เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงอาจมีความจำเป็นในการซื้อหรือเวนคืนทรัพย์สินเพิ่มเติม
โดยมาตราที42 ของรัฐธรรมนูญได้ระบุให้สามารถเวนคืนได้เพื่อากิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค
การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมืองการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม

แผนปิดประเทศ Icon_arrow ประเทศไทยในระบบประธานาธิบดี

แผนปิดประเทศ 04
แผนปิดประเทศ 22
att
att

จำนวนข้อความ : 1075
Registration date : 08/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

แผนปิดประเทศ Empty Re: แผนปิดประเทศ

ตั้งหัวข้อ  Unknown Thu Dec 17, 2009 9:02 am

กรมโรงงานสั่งเอกชนหยุดโครงการในมาบตาพุดแล้ว

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:20:37 น.
มติชนออนไลน์

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)
เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ว่า ปตท.ได้รับหนังสือจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) แจ้งให้ผู้ประกอบการโครงการ
ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ยกเว้น 11 โครงการหยุดการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมทั้งหมดเป็นการชั่วคราว
อย่างไรก็ตามปตท.และบริษัทในกลุ่ม ปตท. อยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการที่เข้าข่ายต้องหยุดดำเนินกิจกรรมตามคำสั่งศาล
และโครงการหรือกิจกรรมที่สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากเข้าข่ายข้อยกเว้นตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาล
รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้เกิดผลเสียหายหรือผลกระทบน้อยที่สุดต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าหนี้เงินกู้ และความปลอดภัยในตัวโรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ปตท.และบริษัทในกลุ่ม ยังจะได้ ทำการประเมินผลกระทบทางการเงินหลังจากมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวข้างต้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1260955262&grpid=&catid=05
Unknown
Unknown

จำนวนข้อความ : 517
Registration date : 09/09/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ