Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

2 posters

Go down

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Empty รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

ตั้งหัวข้อ  สุมาอี้ Sat Nov 28, 2009 9:07 pm

ต้องยอมรับว่ายุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปพลังอำนาจของรัฐ
ที่ทรงประสิทธิภาพย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

สมัยก่อนรัฐมีกำลังทหารเข้มแข็งย่อมได้เปรียบ
ในยุคต่อมารัฐที่เข้มแข็งต้องมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งด้วย

แต่ในยุคปัจจุบันถ้าหากผู้นำรัฐนั้นเป็นผู้มีปัญญา
แม้จะอ่อนด้อยทั้งพลังอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ
ก็สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือกว่ารัฐที่มีความเข้มแข็งทางทหาร
และเศรษฐกิจได้ไม่ยาก

ยกตัวอย่างเช่นความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับรัฐเขมร
รัฐไทยเข้มแข็งกว่าเขมรทั้งการทหารและเศรษฐกิจ
แต่เขมรเลือกใช้ปัญญาจัดวางยุทธศาสตร์ชาติโดยเน้น
ความได้เปรียบในเรื่องกฏหมายระหว่างประเทศ
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

โดยรัฐเขมรขุดหลุมพลางให้รัฐไทยเลือกหนทางใช้กำลังทางทหาร
และเศรษฐกิจที่เหนือกว่าเข้าแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
(ใช้กำลังไม่ใช่ใช้สมอง) ซึ่งนั่นกลายเป็นรัฐไทยก้าวตก
หลุมพลางจนทำให้รัฐไทยถลำลึกเข้าไปในพื้นที่สังหาร
เพราะรัฐไทยจะถูกทำให้โดดเดี่ยวจากสังคมโลก
เนื่องจากหากเราดูแนวโน้มมหาอำนาจทุกประเทศต่างก็ให้
การสนับสนุนรัฐเขมรเพราะแบ่งปันผลประโยชน์ได้ง่ายกว่าไทย

ดังนั้นมหาอำนาจจึงแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งที่สร้างขึ้น
ด้วยการเข้ามาเสี่ยมให้รัฐไทยกับรัฐเขมรทะเลาะกัน
แล้วมหาอำนาจก็จะมีทางแทรกแซงผ่านองค์กรระหว่างประเทศ
เข้ามาควบคุมมูลค่าของความขัดแย้งที่สร้างให้เกิดขึ้น

ยังสงสัยกรณีที่มีข่าวลือว่าจะมีการใช้เครื่องบินเอฟ ๑๖
ขึ้นสกัดกั้นและยิงทำลายเครื่องบินที่ทักกี้กลางทะเลอ่าวไทย

ถือเป็นบุญของรัฐไทยที่พระสยามเทวาธิราชทรงคุ้มครองไม่ให้
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ไม่เช่นนั้นสงครามไทยเขมรคงต้องเกิดขึ้น
และในสายตาชาวโลกประเทศไทยคงกลายเป็นรัฐอันธพาลรัฐใหม่ของโลก
รัฐไทยคงถึงขั้นต้องปิดประเทศเหมือนพม่า เกาหลีเหนือ ฯลฯ ไปแล้ว


ถ้าไม่ใช่ข่าวลือ การเจรจาระหว่างไทยกับเขมรเพื่อต่อรอง
ให้เขมรยอมปกปิดข่าวนี้
ทางฮุนเซน จะเรียกร้องอะไรไปจากไทยบ้างก็ยังไม่รู้ ?

ปัจจุบันรัฐที่เล็กแต่ใช้ปัญญา มีนักยุทธศาสตร์ที่เก่ง
ก็สามารถได้เปรียบรัฐใหญ่ที่เข้มแข็งทางทหารและเศรษฐกิจได้ไม่ยาก

แล้วรัฐไทยมีนักยุทธศาสตร์ที่เก่งๆ เพื่อจัดวางยุทธศาสตร์ชาติอย่างเขมร
หรือยัง ถ้าหากยังไม่แน่ในโอกาสต่อไปเราอาจต้องเสียแต้มให้กับลาว
รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Icon_twisted ในอนาคตอันใกล้



สุมาอี้

จำนวนข้อความ : 75
Registration date : 24/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Empty Re: รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

ตั้งหัวข้อ  สุมาอี้ Sat Nov 28, 2009 9:15 pm

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ
เรื่อง “มุมมองยุทธศาสตร์โลกผ่านบริบทของ ศบท.ฯ”
ประเด็นตัวอย่าง มุมมองทางยุทธศาสตร์ต่อกรณีปราสาทพระวิหาร

วันอังคารที่ ๑๓ ม.ค.๕๒ ณ ห้องประชุม ยก.ทหาร ชั้น B ๑ อาคาร บก.ทท.
๑. Karl Von Klausewitz นักปราชญ์ด้านการทหารของโลก ได้กล่าวถึงว่า “คำถามแรกสุด สำคัญที่สุด และ ตอบได้ยากที่สุด สำหรับผู้นำ ทั้งทางการเมือง และการทหาร คือ ต้องบอกให้ได้ว่า สงครามที่กำลังต่อสู้อยู่นี้ คือ สงครามอะไร โดยต้องไม่พยายามบอกให้มันผิด หรือพยายามเปลี่ยนมันให้เป็นอะไรสักอย่าง ซึ่งไม่ใช่ตามที่มันเป็นจริง นี่แหละ คือ สิ่งแรกสุดของบรรดาคำถามทางยุทธศาสตร์ทั้งหลาย และครอบคลุมเรื่องราวทั้งสิ้นที่ต้องรู้เกี่ยวกับสงคราม”
สงครามที่เรากำลังต่อสู้อยู่นี้ เป็นสงครามทางกฎหมายระหว่างประเทศ ประเด็นทางกฎหมายระหว่างประเทศมีความสำคัญที่สุด รองลงมาคือมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากเราไม่รู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้อย่างแจ้งชัด จะทำให้เราหลงไปต่อสู้ในสงครามในลักษณะที่เราไม่อาจเอาชนะได้
๒. ลำดับเหตุการณ์
- พ.ศ. ๒๔๔๒ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. ๒๔๔๗ ประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีน ได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้ไทย มีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้อง
- พ.ศ. ๒๔๗๙ ไทยขอปรับปรุงเขตแดน แต่ฝรั่งเศสผัดผ่อน
- พ.ศ. ๒๔๘๒ ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้
- พ.ศ. ๒๔๘๔ อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ดินแดนที่เสียไปเมื่อ ร.ศ. ๑๒๓ และ ร.ศ. ๑๒๖ บางส่วน รวมถึงปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทย
- พ.ศ. ๒๔๘๙ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีการยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวโดยสนธิสัญญาประนีประนอม โดยมีสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และเปรูเข้ามาไกล่เกลี่ย
- พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร โดยใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน
- พ.ศ. ๒๔๙๓ กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
- พ.ศ. ๒๕๐๑ กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ. ๒๕๐๒ กัมพูชาฟ้องร้องต่อศาลโลก
- พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓
- พ.ศ. ๒๕๕๐ กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
- ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นยุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
- ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกเฉพาะแต่เพียงตัวปราสาท
- ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้มติคณะรัฐมนตรีขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ วรรค ๒
- ในที่สุด ได้นำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาในปัจจุบัน โดยกัมพูชาได้ขยายข้อขัดแย้งไปสู่การเรียกร้องดินแดนในส่วนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
๓. ข้อเท็จจริง ประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ
๓.๑ บรรทัดฐานจากการพิพากษาของศาลโลก
ศาลโลก ได้วินิจฉัยในประเด็นอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร โดยพิจารณาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาบริเวณที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร ประเทศไทยอ้างว่าตามหลักฐานเอกสารแสดงว่า ต้องกำหนดเขตแดนตามธรรมชาติที่เห็นได้ชัดเจนและไม่ผิดพลาด เช่น แม่น้ำ ภูเขา สันเขา ชะง่อนผา ศาลเห็นว่าเส้นเขตแดนยึดถือเส้นทางชัดเจน เช่น สันปันน้ำ ซึ่งคู่ความได้ตกลงกันใน พ.ศ.๒๔๔๗ ฉะนั้น คู่ความจะตั้งใจถือเอาชะง่อนผาเป็นเส้นเขตแดนเสมอไปไม่ได้ ศาลจึงไม่จำเป็นต้องฟังข้อโต้แย้งอื่นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ศาลได้พิจารณาแผนที่ (มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชาใช้อ้างประกอบคดีว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส) ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน จึงไม่มีผลผูกพันในขณะที่ทำขึ้น แต่ประเทศไทยก็มิได้คัดค้านภายในเวลาอันควร จึงถือว่าเห็นชอบด้วย คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้านว่าแผนที่นั้นไม่ถูกต้อง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ยังต้องขอบใจราชทูตฝรั่งเศสเมื่อได้รับแผนที่นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ประท้วง ต่อมาเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการปักปันเขตแดนที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ เพื่อทำแผนที่ใหญ่โดยใช้แผนที่ฉบับนี้เป็นหลักก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน แผนที่ที่กรมแผนที่ของประเทศไทยทำขึ้นเองเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า


กรณีปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ศาลจึงตัดสินไปตามคำขอเท่านั้น แต่นัยสำคัญของคำพิพากษาคือ ศาลพิพากษาตามเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายจัดทำตามแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชาใช้อ้างประกอบคดีว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่าง ไทย-ฝรั่งเศส ทั้ง ๆ ที่ไทยไม่เคยรับรองความถูกต้องของแผนที่ฉบับนี้มาก่อน
๓.๒ ประเด็นกฎหมายของความตกลงระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา
รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามใน MOU เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อให้มีการสำรวจและปักปันเขตแดนร่วมกัน มีประเด็นสำคัญทางกฎหมาย คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๗ สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๐ กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
สาระของ MOU เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ แสดงให้เห็นว่า แผนที่แสดงเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสได้จัดทำขึ้นและมีผลทำให้ศาลโลกตัดสินให้เราแพ้คดีในปี พ.ศ.๒๕๐๕ นั้น ไทยได้ให้การยอมรับว่าเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนตาม MOU นี้
ผู้แทนฝ่ายไทยที่ลงนามใน MOU ฉบับนี้ คือ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยที่มีนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนฝ่ายกัมพูชา ลงนามโดยนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนของกัมพูชา
๓.๓ สรุปประเด็นด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
๓.๓.๑ กรณีปราสาทพระวิหารนั้น ไทยเสียเปรียบกัมพูชาตามบรรทัดฐานคำพิพากษาของศาลโลก ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยพิจารณาจากการที่กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ จากหลักฐานเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชาใช้อ้างประกอบคดี และกัมพูชาอ้างว่าเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ไทยอาจยังมีข้อต่อสู้บ้าง จากข้ออ้างว่าไทยอยู่ในสภาวะจำยอมต่ออำนาจบังคับของฝรั่งเศส จึงไม่อาจคัดค้านความไม่ถูกต้องดังกล่าวได้ แต่ไทยก็ไม่เคยรับรองแผนที่ฉบับนั้นเลย
๓.๓.๒ ไทยเสียเปรียบกัมพูชามากขึ้น ตาม MOU ระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ.๒๕๔๓ ที่รัฐบาลไทยได้ให้การยอมรับต่อแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนซึ่งจัดทำขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี พ.ศ.๒๔๔๗ และสนธิสัญญาฉบับปี พ.ศ.๒๔๕๐ ซึ่งแผนที่ฉบับนี้เอง ที่ทำให้ไทยแพ้คดีในศาลโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ต้องสูญเสียประสาทพระวิหารให้กับกัมพูชา ทั้ง ๆ ที่ไทยไม่เคยรับรองความถูกต้องของแผนที่มาก่อน แต่ตาม MOU ฉบับนี้ ถือได้ว่าไทยได้ให้การยอมรับแผนที่ฉบับนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้ไทยไม่อาจกล่าวอ้างการไม่ยอมรับแผนที่ฉบับนี้ได้อีกต่อไป
๓.๓.๓ ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ MOU พ.ศ.๒๕๔๓ ทำให้ไทยเสียเปรียบในการปักปันเส้นเขตแดนไทยกัมพูชาในส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกรณีของปราสาทตาเมือนธม ที่จังหวัดสุรินทร์ หรือปราสาทสต๊กก๊อกธมที่จังหวัดสระแก้ว และอาจจะรวมไปถึงอาณาเขตทางทะเลซึ่งถือเอาเส้นเขตแดนทางบกเป็นแนวลากแบ่งลงไปในทะเล










๓.๓.๔ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ การลงนามรับรองแผนที่ตาม MOU นั้น ผู้แทนฝ่ายไทยซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่กว่า ต้องใช้ถึงระดับรัฐมนตรี ในขณะที่ประเทศเล็กอย่างกัมพูชากลับใช้เพียงผู้แทนในระดับที่ปรึกษาของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งมีผลทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้นไปอีก
๓.๓.๕ สรุปได้ว่า ด้านกฎหมายระหว่างประเทศนั้น กัมพูชาน่าจะได้เปรียบไทย แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่จำเป็นจริง ๆ แล้ว คาดว่ากัมพูชาไม่น่าจะนำข้อพิพาทเข้าสู่ศาลโลก เพราะศาลโลกอาจพิพากษาให้ไทยเป็นฝ่ายชนะคดีก็ได้ รวมทั้งการพิจารณาคดีอาจใช้เวลานานมาก ซึ่งในอดีตได้เคยใช้เวลาในการพิจารณาถึง ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๐๒ – พ.ศ.๒๕๐๕) ระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าว อาจส่งผลเสียหายต่อกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านอื่น ๆ ก็ได้ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจซึ่งกัมพูชาต้องพึ่งพาอาศัยไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ความเคลื่อนไหวในเวทีระหว่างประเทศของกัมพูชาที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นการใช้ความได้เปรียบด้านกฎหมายในการต่อรองผลประโยชน์กับประเทศไทยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ไทยต้องขัดขวางทุกวิถีทางที่จะไม่ให้กรณีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก ไม่ควรนำอธิปไตยของชาติเข้าไปเสี่ยงต่อสู้ในสงครามทางกฎหมายที่ไทยเสียเปรียบอย่างยิ่งเช่นนี้
๔. สถานการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔.๑ เวทีระหว่างประเทศ
ข้อสังเกตการประกาศเป็นมรดกโลก
- ขัดต่อหลักการได้รับการรับรองจากคู่กรณีที่ขัดแย้ง (วัตถุประสงค์ของมรดกโลก ต้องมุ่งสู่การเสริมสร้างสันติภาพ) แต่ทำไมจึงได้รับการรับรองจาก UNESCO?
- ขัดต่อหลักความสมบูรณ์ของสิ่งที่ได้รับการประกาศ (ในกรณีนี้ ประกาศเฉพาะตัวปราสาท ไม่รวมถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ของปราสาทด้วย) แต่ทำไมจึงได้รับการรับรองจาก UNESCO?
คำตอบคือ กัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา อย่างแข็งขัน ทั้ง ๆ ที่ขัดต่อหลักการข้างต้น การที่สหรัฐฯเป็นผู้ดำเนินการหลักในการให้กัมพูชาได้รับการสนับสนุนเป็นมรดกโลกนั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสหรัฐฯและยุโรปไม่พอใจไทยจากกรณีการทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และผลสืบเนื่องมาจากการทำรัฐประหารดังกล่าวที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ทั้งเรื่องเครื่องบินกริพเพนของกองทัพอากาศ และกรณีซีแอลยารักษาโรคเอดส์ของกระทรวงสาธารณสุข สหรัฐฯอาจใช้กรณีดังกล่าวนี้บีบบังคับไทย โดยก่อนที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารต่อกัมพูชาโดยเมื่อ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ สหรัฐฯ ได้ส่งมอบ


จำนวน ๑๐ คันและกองพลน้อยนาวิกที่ ๓๑ จำนวน ๕ คัน
ฝรั่งเศส เป็นพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนกัมพูชาอย่างแข็งขันที่สุด ทำให้กัมพูชาชนะในศาลโลกในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้อย่างแข็งขัน รวมถึงให้การสนับสนุนกัมพูชาเพื่อนำประเด็นขัดแย้งในปัจจุบันเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย
ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ให้การสนับสนุนกัมพูชามากกว่าไทย เช่น อังกฤษ รัสเซีย เวียดนาม จีน สิงคโปร์ เป็นต้น ซึ่งไทยจำเป็นต้องหาทางแก้ไขประเด็นของเวทีระหว่างประเทศโดยเร่งด่วนให้ได้
๔.๒ กัมพูชา
กัมพูชามีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นเป็นการเดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์ ๔ เหลี่ยมเศรษฐกิจของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ประกอบไปด้วย ๑.เรื่อง การเติบโตทางเศรษฐกิจ ๒.การสร้างงาน ๓.ความเสมอภาค และ ๔.เสรีภาพ นี่คือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของกัมพูชา (Cambodia Millennium Development Goal) ภายใต้การสนับสนุน UNDP ตัวอย่างจากนครวัดซึ่งขึ้นทะเบียนไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ เฉพาะค่าเข้าชมอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าล้านบาทไม่รวมค่าที่พัก ใช้จ่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้จ่ายต่อหัวนักท่องเที่ยวคือ ๖๐๐ - ๗๐๐ เหรียญต่อวัน รายได้เหล่านี้มากขึ้นเป็นสองเท่าของรายได้ก่อนได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ดังนั้น มรดกโลกคือเขาพระวิหารนั้นคือเครื่องจักรที่จะขับเคลื่อนการเติบทางเศรษฐกิจของกัมพูชา
นอกจากนั้นแล้ว ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศเล็กที่อยู่ระหว่างประเทศใหญ่ ๒ ประเทศ คือไทยและเวียดนาม ดังนั้น เศรษฐกิจของกัมพูชาจึงต้องผูกพันกับทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก และจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ โดยเฉพาะผลประโยชน์จากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี เจ้าพระยา และแม่โขง หรือ ACMECS ที่ประกอบด้วยไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีไทยเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายคมนาคมตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ นอกจากนี้ ยังมียุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ The Greater Mekong ซึ่งประกอบไปด้วยไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน โครงการเหล่านี้ จะส่งเสริมเศรษฐกิจกัมพูชาในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก ในปีที่ผ่านมา ความร่วมมือเหล่านี้ทำให้การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชาเติบโตอย่างมาก มูลค่าการค้าไทย-กัมพูชาประมาณ ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท โดยที่ไทยได้ดุลการค้าประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์
ผลประโยชน์เฉพาะหน้าของรัฐบาลกัมพูชาก่อนการเลือกตั้งเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ นั้น ผลงานจากการให้องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก จึงเป็นการหาเสียงที่ได้ผลมาก รัฐบาลกัมพูชาจึงดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และประสบความสำเร็จเมื่อ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนการเลือกตั้ง ๒๐ วัน ต่อมาฝ่ายไทยประท้วงและส่งทหารเข้าไปในเขตพื้นที่ทับซ้อน รัฐบาลกัมพูชาจึงต้องแสดงออกอย่างเต็มที่ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว ทั้งเวทีในระดับภูมิภาคคืออาเซียนและเวทีระดับโลกคือองค์การสหประชาชาติ มีการนำเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างกัมพูชาและไทยที่บริเวณปราสาทพระวิหารแจ้งเวียนต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ตามเวลาในนครนิวยอร์ก หรือวันที่ ๑๙ กรกฎาคมตามเวลาในไทย ผู้แทนกัมพูชาประจำยูเอ็นได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาตามแผนที่ในสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ที่เก็บไว้ ณ ศาลโลก พร้อมกับระบุว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นในสังคมไทย ทำให้ทหารไทยบุกขึ้นไปยึดพื้นที่ของกัมพูชาในเวลาต่อมา จากความเคลื่อนไหวเหล่านี้ ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาก็ได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงท่วมท้น
ผลประโยชน์ระยะสั้นของรัฐบาลกัมพูชาภายหลังการเลือกตั้ง คือผลงานของรัฐบาล ที่สำคัญที่สุดคือผลงานด้านเศรษฐกิจ ความขัดแย้งกับประเทศไทย จึงไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่หากไม่มีทางเลือก รัฐบาลกัมพูชาอาจต้องขยายความขัดแย้งในเรื่องดินแดนกับไทยขึ้นไปอีก เพื่อนำกรณีที่เกิดขึ้นเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศและศาลโลก ซึ่งกัมพูชาได้เปรียบไทยเป็นอย่างมาก และเป็นผลประโยชน์ระยะยาวของกัมพูชา
๔.๒.๑ จุดแข็ง
๔.๒.๑.๑ ความได้เปรียบด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
เกิดจากบรรทัดฐานจากผลการตัดสินของศาลโลกที่ใช้หลักฐานจากแผนที่มาตราส่วน ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเป็นหลักฐานชี้ขาด รวมทั้งการยอมรับในแผนที่ดังกล่าวของไทยตาม MOU ปี ๒๕๔๓ อาจทำให้กัมพูชาเรียกร้องดินแดนส่วนอื่น ๆ ตามแผนที่ดังกล่าวอีก สังเกตได้จากการสร้างความขัดแย้งในส่วนอื่น ๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง
๔.๒.๑.๒ ความได้เปรียบในเวทีระหว่างประเทศ
ความได้เปรียบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่งเศสสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติและเป็นผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าวขึ้น และการได้รับการสนับสนุนในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ
๔.๒.๒ จุดอ่อนที่สำคัญคือ ความต้องการด้านเศรษฐกิจ
๔.๒.๓ สิ่งที่คาดว่ารัฐบาลกัมพูชาจะกระทำมากที่สุด ได้แก่
๔.๒.๓.๑ อาจใช้ความได้เปรียบที่มีอยู่ต่อรองผลประโยชน์กับไทย
๔.๒.๓.๒ อาจขยายข้อขัดแย้งดินแดนตลอดแนวชายแดน เพื่อนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของเวทีระหว่างประเทศและศาลโลกต่อไป
๔.๓ ประเทศไทย
๔.๓.๑ จุดอ่อน
๔.๓.๑.๑ ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องอำนาจบริหารงานต่างประเทศ
อำนาจบริหารได้ถูกแทรกแซงจากอำนาจตุลาการอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการตัดสินคดีของศาลปกครองกลางในซึ่งนักกฎหมายมหาชนออกมาวิจารณ์ ทั้ง ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และอ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กับคณะ ได้ชี้ประเด็นว่า ศาลปกครองไม่น่าจะมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ เพราะกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านระหว่างประเทศ ทางกฎหมายมหาชนถือว่าเป็นการกระทำทางรัฐบาล ไม่ใช่ทางปกครอง ดังนั้นศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์ที่ออกมาแสดงความเห็นชี้ประเด็นว่า ศาลปกครองสูงสุด ได้เคยวินิจฉัยแล้วในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไปลงนาม JTEPA และมีผู้ไปฟ้องให้ศาลปกครองออกคำสั่งชั่วคราว ห้ามไม่ให้ไปลงนาม และศาลปกครองก็วินิจฉัยว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่กรณีปราสาทพระวิหาร ศาลปกครองกลับรับพิจารณาและมีคำสั่งคุ้มครอง อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “...ในทางกฎหมาย ในความเห็นของผมเอง นี่ไม่ใช่ลักษณะการแปลความหรือตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่มีลักษณะถึงขั้นแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป หรืออาจเรียกว่า เติมความรัฐธรรมนูญมากกว่า เพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า หนังสือสัญญานั้นมีบทเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ เมื่อกฎหมายเขียนอย่างนี้ แต่ศาลตีความว่า ถ้าหากว่าเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดมีการเปลี่ยนแปลง ก็ถือว่าขัดแล้ว เท่ากับว่าเป็นการเติมความที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่ได้เป็นการตีความ ... จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจการในทางต่างประเทศ หรือกิจการต่างประเทศของรัฐบาลคงถูกตรวจสอบโดยอำนาจของศาลอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่โดยศาลปกครองด้วย โดยเฉพาะกรณีของศาลปกครอง ผมคิดว่าทำให้ศาลมีอำนาจครอบคลุมที่จะเข้าไปตรวจสอบการกระทำใดๆ ของรัฐบาลก็ได้ทั้งสิ้น...”
ดร.สุรชาติ บำรุงสุขกล่าวว่า “...เป็นมิติที่นักเรียนรัฐศาสตร์ที่เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องตั้งหลักใหม่ทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนี้ อนาคตประชาธิปไตยไทยไม่ใช่ตรวจสอบและถ่วงดุล แต่ผมคิดว่า เรากำลังเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและเกินดุล คือไม่มีดุลพินิจแล้ว ยกเว้นแต่ในอนาคตเราจะเอากระทรวงต่างประเทศไปไว้อยู่ใต้สถาบันตุลาการ และให้สถาบันตุลาการเป็นคนปกครองแทน...”
แม้จะดำเนินงานด้วยความยากลำบาก แต่ผู้บริหารทุกฝ่ายก็ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ รวมทั้งต้องแก้ไขด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง และต้องคำนึงด้วยว่า ศาลโลกนั้น เขาไม่สนใจศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองของไทย
๔.๓.๑.๒ เกิดความแตกแยกภายในประเทศ
มีการปลุกระดมในเรื่องชาตินิยมจากกรณีปราสาทพระวิหารในลักษณะให้มีการเผชิญหน้ากันทางทหารอย่างรุนแรง เรื่องดังกล่าว อาจสุ่มเสี่ยงต่อการนำมหันตภัยอย่างร้ายแรงมาสู่ประเทศได้ ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการปลุกระดมเรื่องชาตินิยมอย่างบ้าคลั่งมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีส่วนทำให้ประเทศชนะคดีในศาลโลกได้เลยแม้แต่น้อย ในปัจจุบันก็เช่นกัน ศาลโลกเขาไม่สนใจในเรื่องชาตินิยม แผนดาวกระจายของกลุ่มพันธมิตรก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาของศาลโลก แต่อาจทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศอันธพาล (Rogue Country) ในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องใช้สติดำเนินงานด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
๔.๓.๑.๓ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แม้ในปัจจุบันจะกลับมาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม แต่ไทยมีรากฐานมาจากการทำรัฐประหาร ยังเป็นระบอบประชาธิปไตยไม่เต็มใบ และยังมีความขัดแย้งกับสหรัฐฯด้านผลประโยชน์ทางการค้า ในเรื่องซีแอลยารักษาโรคเอดส์ของกระทรวงสาธารณสุข และการซื้อเครื่องบินกริพเพนของกองทัพอากาศ
๔.๓.๑.๔ ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์ชาติที่ชัดเจน
ประเทศไทยไม่มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ จึงทำให้ไม่มียุทธศาสตร์ชาติที่ชัดเจน ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์ในประเด็นย่อยต่าง ๆ รวมถึงกรณีปราสาทพระวิหารด้วย
๔.๓.๒ จุดแข็ง
๔.๓.๒.๑ รากฐานที่แข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ
ประเทศไทยมีรากฐานด้านเศรษฐกิจที่ดีกว่ากัมพูชา ควรใช้ประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องต่อรองหลักในการสร้างความร่วมมือกับกัมพูชา เช่น ไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวของกัมพูชา หรือความเป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจต่าง ๆ ของภูมิภาคที่จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชาในระยะยาว
๔.๓.๒.๒ การเป็นประธานอาเซียน
ในขณะนี้ ประเทศไทยกำลังจะได้เป็นประธานอาเซียน ทำให้ได้รับเครดิตทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ควรใช้เวทีระหว่างประเทศสร้างความเข้าใจกับมิตรประเทศเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความร่วมมือกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๕. ข้อเสนอแนะ
เพื่อไม่ให้ไทยต้องเสียดินแดน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด ๆ และเพื่อเป็นการเสริมสร้างสันติสุขและความเจริญมั่งคั่งให้กับชาติและภูมิภาคนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๕.๑ การแก้ไขปัญหาในเวทีระหว่างประเทศ
๕.๑.๑ ต้องไม่ยอมให้นำกรณีที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบริเวณใด ๆ เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก
๕.๑.๒ อย่านำเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศ
๕.๑.๓ ต้องรีบแก้ไขความขัดแย้งกับประเทศสหรัฐอเมริกา (ซีแอลยา, กริพเพน) ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาซีแอลยาแล้วแต่ไม่สำเร็จ โดยนายไชยา สะสมทรัพย์ พยายามเสนอเลิกซีแอลยาและปรับย้ายนายแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ออกจากหน้าที่ แต่ถูกศาลพิพากษาให้ย้ายกลับคืนในตำแหน่งเดิม และนายไชยาฯ ได้ถูกพิพากษาให้พ้นหน้าที่ หากจะแก้ไขประเด็นนี้โดยไม่ให้ได้รับผลกระทบ ควรย้ายนายแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับตำแหน่งสูงขึ้นและให้พ้นจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับซีแอลยา จากนั้นจึงประกาศยกเลิกซีแอลยา แต่รัฐก็ควรให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ โดยออกค่าใช้จ่ายยาให้ทั้งหมด
๕.๑.๔ สร้างพันธมิตรที่ดีกับประเทศที่เกี่ยวข้อง (มหาอำนาจอื่น ๆ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฯลฯ) โดยอาศัยความได้เปรียบจากการเป็นประธานอาเซียน
๕.๒ วิธีการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี
๕.๒.๑ ยืนยันแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน (ค้างปัญหาเอาไว้)
๕.๒.๒ เร่งสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
๕.๓ การแก้ปัญหาภายในประเทศ
๕.๓.๑ ต้องระวังอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้ใช้กระแสชาตินิยมรุนแรงต่อกรณีที่เกิดขึ้น
๕.๓.๒ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อำนาจบริหารมีอิสระจากอำนาจตุลาการมากกว่านี้ และ สว. ควรมาจากการเลือกตั้ง
๕.๓.๓ สร้างความสามัคคีภายในชาติด้วยกระแสชาตินิยมที่ประกอบด้วยปัญญาและคุณธรรม
๕.๓.๔ ควรมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เฉพาะในแต่ละประเด็น รวมถึงกรณีปราสาทพระวิหาร และพื้นที่อื่น ๆ ด้วย

……………………………………






หมายเหตุ ปัญหาพิพาทเขตแดน เขมร-ไทย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เมื่อรัฐบาลกัมพูชาของนายกฯฮุน เซน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปถึงยูเอ็นว่าถูกประเทศไทยบุกรุกคุกคามอธิปไตย ล่าสุด คณะมนตรีความมั่นคงซึ่งมี 5 ชาติพี่เบิ้ม อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นหัวขบวน ก็เตรียมประชุมฉุกเฉินเพื่อสอบสวนเรื่องนี้โดยเร็ว!! นี่คือลีลาการทูตของกัมพูชาที่ต้องการ ดึงองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยกดดันประเทศไทย สร้างภาพให้กัมพูชาเป็นฝ่ายถูกข่มเหงรังแก ป้ายขี้ให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ร้ายในเวทีโลก
แค่นี้ยังไม่พอ ยังเตรียมยื่นฟ้องศาล โลกให้ตัดสินปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อนรอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม. ว่าอยู่ในเขต แดนกัมพูชา? หรือเป็นดินแดนของไทย? โดยใช้คำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่ตัดสินให้เขมรชนะคดีปราสาทพระวิหารเป็นหลักฐานสำคัญ ถามว่า ไทยมีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ ต่อศาลโลกว่าพื้นที่รอบเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม.อยู่ในเขตแดนของไทย?? หลักฐานสำคัญก็คือ แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ “นพดล ปัทมะ” อดีต รมว. ต่างประเทศ ไปลงนามที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 5 แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีข้อความระบุชัดเจนว่า กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก “เฉพาะตัวปราสาทอย่างเดียว” โดยไม่ ล่วงล้ำดินแดนไทย และไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนอย่างเป็นทางการ นี่คือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เป็นของเขมรแน่นอน!! เพราะถ้าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. อยู่ใน เขตกัมพูชาจริง กัมพูชาคงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะแค่ตัวปราสาทอย่างเดียว แต่ต้องรวมพื้นที่รอบตัวปราสาททั้งกระบิขึ้นเป็นมรดกโลกพร้อมกัน!! น่าเสียดาย ที่แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนี้ ต้องเป็น “โมฆะ” ไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ก็เท่ากับไทยสูญเสียหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สู้คดี และถ้าหากประวัติศาสตร์ซํ้ารอย ไทยต้องเสียดินแดนแถมให้เขมรอีก 4.6 ตร.กม.ฟรีๆ
ความจริงปัญหาเขาพระวิหารอาจไม่ บานปลาย ถ้าไม่ถูกเอาไปขยายผลเป็นประเด็นการเมือง แต่เมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารกลาย เป็นปัญหาระดับอินเตอร์ ไทยกับกัมพูชาในฐานะคู่กรณีก็ต้องสู้กันยิบตา ล่าสุด กัมพูชาพลิกลิ้นไม่ยอมรับว่าบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร4.6 ตร.กม.เป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย แต่กล่าวว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นของเขมรฝ่ายเดียว!! เป็นห่วงว่าเมื่อต้องสู้กันเรื่องเขตแดนทีไร ไทยมักเสียเหลี่ยมเขมรทุกที เพราะเขมรอ้างแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม แต่ไทยอ้างแผนที่แอล 7017 ของ อเมริกา ในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ. 2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่าการจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทาง แต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง ก็เท่ากับเราไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสของเขมรฝ่ายเดียวถ้าเป็นอย่างนี้ ไทยก็เสียเปรียบเขมรตามเคย.

สุมาอี้

จำนวนข้อความ : 75
Registration date : 24/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Empty Re: รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

ตั้งหัวข้อ  พีพี Tue Dec 08, 2009 2:00 pm

พี่อี้ น่าจะกด Enter บ่อยๆ หน่อย... รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Suspect







ตอนพี่กลด บอกให้พี่อี้ ทำลง youtube ฮามากเลย...
แกเป็นคนดีจริงๆ เกรงใจเพื่อน จะบอกว่า กุอ่านแล้วมึน ก็ไม่อยากพูดตรงๆ 555+ รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Icon_lol
พีพี
พีพี

จำนวนข้อความ : 124
Registration date : 06/12/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Empty Re: รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

ตั้งหัวข้อ  สุมาอี้ Tue Dec 08, 2009 11:49 pm

คงเป็นไปตามความเคยชินในการพิมย์ของผมเอง

แค่บ่นๆ ไป ไม่ได้ง้อให้ใครอ่าน

สุมาอี้

จำนวนข้อความ : 75
Registration date : 24/10/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? .. Empty Re: รัฐเล็กแต่ใช้ปัญญาย่อมเอาชนะรัฐที่ใหญ่กว่าได้ไม่ยาก ? ..

ตั้งหัวข้อ  พีพี Wed Dec 09, 2009 1:16 am

ตามนั้น ขอโทษที่แซวค่ะ
พีพี
พีพี

จำนวนข้อความ : 124
Registration date : 06/12/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ