Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

::: นักรบนิรนาม :::

2 posters

Go down

::: นักรบนิรนาม ::: Empty ::: นักรบนิรนาม :::

ตั้งหัวข้อ  333Unit Fri Aug 06, 2010 12:08 pm

::: นักรบนิรนาม ::: 333unit1

::: นักรบนิรนาม ::: 333unit2
333Unit
333Unit

จำนวนข้อความ : 129
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

::: นักรบนิรนาม ::: Empty Re: ::: นักรบนิรนาม :::

ตั้งหัวข้อ  333Unit Fri Aug 06, 2010 12:48 pm

ปฏิบัติการนักรบนิรนาม 333 (2504-2517)สังเขป



ในปี 2504 ขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ กำลังแผ่ขยายอิทธิพลคุกคามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุนขอรัสเซีย และจีนคอมมิวนิสต์ โดยมีกองกำลังเวียตมินห์ เป็นหัวหอกในการรุกเข้าประเทศลาว ร่วมกับกองกำลังประเทศลาวที่มีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นหัวหน้า โดยมีเป้าหมายมายังประเทศไทยเป็นด่านแรก และต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย

ภายใต้การร้องขอจากประเทศลาว โดยนายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา ไทยได้ส่ง ตำรวจพลร่ม ตำรวจตะเวนชายแดนค่ายนเรศวร โดยการสนับสนุนของมิตรประเทศอเมริกา ออกค่าใช้จ่าย เบี้ยเลี้ยง อาวุธ กระสุน เสบียงต่างๆ โดยมีเจมส์วิลเลี่ยมแลร์ (บิลแลร์) หัวหน้าสกายเป็นผู้ดำเนินการ และประสานงานกับทางฝ่ายไทย มีหัวหน้าลีวัง (หัวหน้านน) หรือ พล.ต.อ.ประเนตร ฤทธิฤาชัย เป็นตัวแทน ประสานกับ นายพลวังเปา ก่อตั้งค่ายฝึกให้กับทหารชาวม้ง (แม้ว) โดยเรียกว่า พารู กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ (POLICE AERIAL REINFORCEMENT UNIT) โดยเริ่มจาก 1,000 คนแรกที่ผาขาว

พารูเป็นครูฝึก เป็นที่ปรึกษา และร่วมในการสู้รบกับกองกำลังเวียตมินห์ และประสบชัยชนะบ่อยครั้ง จึงขยายพื้นที่และขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปเป็นทีมหาข่าวร่วมกับทหารในทุกภาค และพื้นที่ของประเทศลาว รวมทั้งทีมเฝ้าถนนที่จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินการก่อสร้างมุ่งตรงสู่ประเทศไทยทางเหนือ (จังหวัดน่าน)

ทีมของพารู ประกอบไปด้วยหัวหน้า 1 คน เจ้าหน้าที่สื่อสาร เจ้าหน้าที่พยาบาล พลปืนเล็ก 2 คน ร่วมกับทหารไทย และทหารม้ง หรือทหารชาติลาว ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสถานการณ์ เครือข่ายการสื่อสารที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ พารู ได้รับคำชมเชยจากหน่วยงานของอเมริกันและไทย ว่ายอดเยี่ยม สามารถติดต่อกันได้ทุกพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง

การสู้รบเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ อเมริกันเริ่มส่งที่ปรึกษาเข้าเวียตนามใต้มากขึ้นเป็นลำดับในปี 2506 เพิ่มที่ปรึกษาขึ้นเป็น 15,000 คน ทางเวียตนามเหนือก็เพิ่มการส่งทหารเข้ารุกเวียตนามใต้ พร้อมส่งเสบียงอาหารในเขตประเทศลาว ผ่านเส้นทางโฮจิมินห์เทรล และกำลังส่วนหนึ่งรุกเข้าประเทศลาว อเมริกาเริ่มทิ้งระเบิดถล่มเส้นทางโฮจิมินห์ โดยทางไทยได้ส่งหน่วยบิน ฟรายเออร์ฟลาย (FIRE FLY)เครื่อง ที-28 เครื่องบินอเมริกันและนักบินเป็นทหารอากาศไทย ส่งครามทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทางอเมริกันตั้งฐานเรดาร์ เป็นเครื่องนำร่องเครื่องบินและเพิ่มประสิทธิภาพในการทิ้งระเบิดโจมตีเส้นทางโฮจิมินห์ และเมืองฮานอยของเวียตนามเหนือ และเพื่อให้เครื่องบินสามารถทิ้งระเบิดได้อย่างแม่นยำ และได้ผลแน่นอนในขณะที่อากาศปิด ทัศนะไม่ดี ที่ภูผาทีมีชื่อว่า ทาค่อน"(TACTICAL AIR CONTROL AND NAVIGATION) เครื่องนำร่องและควบคุมยุทธวิธีทางอากาศ โดยมีทหารไทยจากหน่วย เอสอาร์ ร่วมเป็นหน่วยป้องกันพื้นที่กับทหารแม้ว และทหารชาติลาว ในการโจมตีทางอากาศของหน่วยบินฟรายเออร์ฟลาย และเครื่องบินรบอเมริกันได้ผลเป็นอย่างมาก เวียตนามเหนือได้ส่งเครื่องบินปีก 2 ชั้น 4 ลำ เข้าโจมตี ภูผาที ในวันที่ 12 มกราคม 2511 แต่ถูกยิงตกทั้งหมด

ทางด้านภาคเหนือที่น้ำแบ่ง ทหารชาติลาวเข้าโจมตียึดน้ำแบ่งได้ ในวันที่ 14 มกราคม 2511 สงครามทวีความรุนแรง เพราะต่างรบเพิ่มจำนวนทหารมากขึ้นเป็นหลายกองพัน

ในวันที่ 10 มีนาคม 2511 ทหารเวียตนามเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วย แซปเปอร์ กองทหารราบ 4 กองพัน พร้อมปืนใหญ่ ใช้อำนาจการยิงเหนือกว่า เข้าตีถล่มภูผาที เจ้าหน้าที่อเมริกัน ที่เป็นนายช่างเทคนิคประจำสถานีเรดาร์ ถูกฆ่าตายเกือบหมดพร้อมทหาร นายพลวังเปา ทหารไทยที่เป็นหน่วยระวังป้องกันปลอดภัย และทั้งหมดถอนกำลังไปตั้งรับที่นาคัง ต่อมานายพลวังเปาส่งกองกำลังทหารเข้าตียึดคืน แต่ไม่สำเร็จและประสบความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทหาร 1,400 คน เหลือกับมา 400 คน นอกนั้นสูญหาย ตาย และบาดเจ็บ

เวียตนามเหนือเคลื่อนกำลังเจ้ามาในลาวมากถึง 4-5 หมื่นคน สร้างถนนและเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอดการเดินทางที่ผ่าน ในขณะที่กองกำลังของอเมริกาในเวียตนามก็เพิ่มขึ้นเป็น 540,000 คน และเพิ่มการดจมตีเส้นทางโฮจิมินห์เทรลหนักหน่วงขึ้นด้วยเครื่องบินหลายชนิด รวมทั้ง บี-52

วันที่ 1 มีนาคม 2512 ฝ่ายกำลังของคอมมิวนิสต์ ส่งกำลังเข้ายึด นาคัง (ลิม่าไซด์ 36) ด้วยกำลังพลที่เหนือกว่าอำนาจการยิงจากปืนใหญ่ และรถถัง จากนั้นก็บุกเข้ายึดเมืองเชียงขวาง และกดดันถึงล่องแจ้ง แต่ถูกตีโต้กลับจากกองกำลังของ นายพลวังเปาและสามารถจึดเชียงขวางคืนได้ในเดือนกันยายน และรุกคืบหน้ายึดเมืองสุยคืน ทางรัฐบาลลาวและอเมริกาได้ร้องขอให้ไทยส่งกำลังเข้าช่วยเหลือและได้รับการตอบสนอง โดยส่งหน่วยทหารปืนใหญ่ในนาม เอส.อาร์. (ซันไร้ส์) ไปที่เมืองสุย และสนับสนุนการยิงให้ทหารลาวและแม้วของนายพลวังเปาในการเข้าตีภูกูด แต่ไม่สามารถยึดได้ ข้าศึกต่อสู้อย่างเหนียวแน่น

มกราคม 2513 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ เพิ่มความกดดัน โดยเข้าตีเมืองสุย และยึดได้ในที่สุด พร้อมที่รุกเข้าตีเมืองเชียงขวางอีกครั้ง จากนั้นก็มุ่งตรงเข้าตีเมืองชำทอง แต่ถูกต้านอย่างหนักพร้อมการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ จึงต้องถอยทัพไปอยู่เหนือทุ่งไหหิน ในขณะที่ทางไทยของเราได้ส่งหน่วย บี. ไอ. (กองพันทหารราบ) และ บี. เอ. (กองพันทหารปืนใหญ่) เข้าสู่เนินสกายลายน์ที่ล่องแจ้งและชำทอง จากนั้นรุกคืบหน้าสู่บ้านนา และได้ทำการรบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นับศพของข้าศึกแล้วได้กว่า 100 ศพ อันเป็นวีรกรรมห้าวหาญของทหารไทย

ในเดือน ตุลาคม 2514 กองพันทหารเสือพรานได้เข้ามาทดแทน บี. ไอ. และ บี. เอ. ทำการรุกคืบหน้าจากบ้านนา เข้าสู่ทุ่งไหหิน โดยมีกองทหารชาติลาว และทหารของ นายพลวังเปา เข้าตีนำหน้าด้วยการสนับสนุนทางอากาศจากเครื่องบินสหรัฐทั้ง F-5E และ F4 แฟนท่อม ตามด้วย B-52 แล้วแต่สถานการณ์ และการร้องขอ แต่ก็ไม่สามารถรุกคืบหน้าไปได้มากกว่านั้น มีแรงต้านจากฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเหนียวแน่น

ทางด้านภาคเหนือของลาวก็ได้ส่งทหารเสือพราน 4 กองพัน ภายใต้การดูแลของ ฉ.ก.ราทิกุล และสามารถถ่วงข้าศึกมิให้รุกล้ำเกินเขตเชียงลมได้ จนจบภารกิจ
ทางด้านใต้ปากเซ ฉ.ก.ผาสุก มีกองกำลังเสือพราน 4 กองพัน ต่อสู้ กองกำลังเสือพรานสามารถตีโต้และทำความเสียหายให้ข้าศึกเป็นอย่างมาก นับศพของข้าศึกได้ถึง 115 ศพ และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก

เดือน ธันวาคม ข้าศึกเริ่มยิงรบกวนกองพันทหารเสือพราน และทหารปืนใหญ่ในทุ่งไหหิน ด้วย ค.และปืนใหญ่ เพื่อหาจุดตกของกระสุน กองกำลังข้าศึกประกอบไปด้วย กองพล 312 กองพลที่ 316 พร้อมกรมทหารปืนใหญ่ รถถัง และ ป.ต.อ. ขนาด 12.7, 37.5 และ 57 มม. ขณะเดียวกันก็กดดันทหารชาติลาวและม้งของนายพลวังเปาอย่างหนัก จนต้องถอนตัวเมื่อ 19 ธันวาคม 2514 บี.ซี. 606, 608 และฐานปืนคิงคอง ต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกโดยตรง และโดนอำนาจปืนใหญ่ 130 มม. จรวด 122 มม. ค.120 และรถถังที่มีปืนขนาด 85 มม. และ 76 มม. ยิงกระหน่ำจนในที่สุดก็ต้องถอนตัวในวันที่ 20 ธันวาคม 2514 พร้อมกับการสูญเสียเป็นอย่างมากทั้งบาดเจ็บ ตาย และสูญหาย

ในขณะเดียวกันทางด้านภูเทิง บี.ซี.609, 605 และฐานปืนไลอ้อน ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ต่อสู้กันตั้งแต่ วันที่ 18 ธันวาคม 2514 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2514 ก็ต้องขอให้ยิงปืนใหญ่แตกอากาศกลางฐาน โดย ฝ.อ.3 บี.ซี.609 และแฟ็กประจำกองพัน ซึ่งเสียชีวิตทั้งหมดพร้อมกับข้าศึกเป็นจำนวนมาก อันเป็นวีรกรรมที่เยี่ยมยอดของอินทนิล ฝ.อ.3 และแฟ๊กปิงโห้ จากรายงานของนักบินที่บินผ่านฐาน เห็นศพนอนเกลื่อนฐาน

ทางด้านกองพัน บี.ซี.603, 607 และฐานปืนมัสแตงที่บ้านโตน อยู่ในสภาพเดียวกันกับกองพันอื่นๆ เพราะข้าศึกเข้าตีพร้อมกัน และใช้อำนาจการยิง รถถัง และกำลังพลที่เหนือกว่าโดยที่ฝ่ายเราไม่สามารถจะใช้กำลังทางอากาศได้ เนื่องจากอากาศปิด หมอกลงจัด การทิ้งระเบิดสนับสนุนจึงทำไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องถอนตัว ในวันที่ 19 ธันวาคม 2514

ทางด้านภูห่วง ข้าศึกก็เริ่มกดดันเช่นเดียวกัน เพื่อลดการสูญเสีย จึงสั่งถอนตัวในวันที่ 20 ธันวาคม 2514

ทางฝ่ายเราสูญเสียเป็นอย่างมาก ในการยุทธที่ทุ่งไหหิน ข้าศึกจึงฉวยโอกาสทำการขณะที่อากาศปิด เครื่องบินไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และใช้อำนาจการยิงกำลังพลที่เหนือกว่าทุ่มเข้าโจมตี จนต้องถอนตัวพร้อมกับความสูญเสียในที่สุด

จากชัยชนะในครั้งนั้น ข้าศึกเคลื่อนกำลังเข้าประชิด เมืองชำทอง และล่องแจ้ง อันเป็นกองบัญชาการใหญ่ของ นาพลวังเปา และกองกำลังเสือพราน ข้าศึกทำการโจมตีล่องแจ้ง ด้วยปืนใหญ่ 130 มม. จรวด 122 มม. วันที่ 31 ธันวาคม 2514 จนถึง 2 มกราคม 2515 มากกว่า 300 นัด กระสุน 130 และจรวด ตกถูกกองกระสุนของฝ่ายเราที่สนามบิน ระเบิดกึกก้องติดต่อกันถึง 3 วัน เครื่องบินไม่สามารถลงที่สนามบินได้ การส่งกำลังบำรุงทั้งอาหาร และกระสุนต้องใช้การทิ้งร่มลงตามฐานต่างๆ รวมทั้งล่องแจ้งด้วย

ข้าศึกยังคงยิงรบกวนทั้งซำทอง และล่องแจ้ง ด้วยปืนใหญ่ 130 มม. และจรวด 122 มม. จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2515 ข้าศึกโถมกำลังอาวุธเข้าโจมตี บี.ซี.606,608 ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสนามบินซำทอง เข้าตีพร้อมกันตั้งแต่ 5 โมงเย็น โดยตีเป็นระลอกจนถึงวันที่ 11 มีนาคม เครื่องบินก็ไม่สามารถจะเข้ามาทำการช่วยทิ้งระเบิดให้ได้ อากาศปิดหมอกลงจัด ในที่สุดก็ต้องถอนกำลัง เพราะข้าศึกใช้อำนาจการยิง ด้วยปืนใหญ่และปืนรถถัง กำลังพลก็บุกเข้าประชิด เกิดความสูญเสียขึ้นเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการถอนตัว ข้าศึกได้ซุ่มยิงเป็นจุดๆ ทั่วทั้งหุบเขาที่เป็นเส้นทางถอนตัว บี.ซี.607 ถอนตัวเข้าล่องแจ้ง เหลือแต่ บี.ซี.610 ปักหลักสู้อยู่กองพันเดียวจนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2515 รถถัง 2 คัน ก็วิ่งขึ้นไปบนฐานกองพัน บี.ซี.610 และอีก 3 คันวิ่งผ่านสนามบินตามมา กองพัน บี.ซี.610 จึงต้องถอนตัวไปทางตะวันตกเข้าทางลำน้ำงึม

เมื่อยึดซำทองได้หมด ข้าศึกก็เข้าโจมตี เนินสกายลายน์ต่อ ทั้งปืนใหญ่และจรวดยิ่งถล่ม ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน บี.ซี.616 ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสันสกายลายน์ ถูกกดดันด้วยอำนาจการยิง และกำลังพลที่เหนือกว่า ต้องถอนตัวเข้าล่องแจ้ง ข้าศึกเข้าตีรุกไล่ไปตลอดแนว สกายลายน์อันมี บี.ซี.603, 604, 617 และ 618 ตั้งรับอยู่

วันที่ 28 มีนาคม 2515 รถถัง ที-34 จำนวน 3 คัน วิ่งขึ้นบนสันสกายลายน์ พุ่งตรงเข้าหา บี.ซี.604 เครื่องบิน สเปคเตอร์ ติดปืน 105 มม. และเครื่องบิน สตริงเกอร์ติดปืน 40 มม. ช่วยกันยิงกระหน่ำ จนรถถัง 2 คันจอดพัง หนีไปได้ 1 คัน ในวันรุ่งขึ้น บ-52 ทิ้งระเบิดปูพรม ได้รับความเสียหายละลายทั้งกรม ปฏิบัติงานไม่ได้ ข้าศึกจึงเริ่มถอนตัวออก เพราะทางฝ่ายเราทิ้งระเบิดใส่อย่างหนักจึงสามารถรักษาล่องแจ้งอันเป็น บ.ก.ใหญ่ และฐานสุดท้าย หากรักษาไม่ได้ก็คงถูกข้าศึกรุกไล่ถึงเวียงจันทน์แน่นอน

จากนั้นฝ่ายเราก็เริ่มเป็นฝ่ายเข้าตีโต้กลับ ยึดซำทองคืน และตีขึ้นด้านเหนือ ยึดภูล่องมาค บ้านนา ภูแท่น ชายทุ่งไหหิน ไปทางตะวันออกทางซำทอง เนินซีบร้า บ้านหินตั้ง ภูเซอ และป่าดงคืนได้ทั้งหมด

ธันวาคม 2516 ปรับกำลังใหม่ แบ่งเป็นกรมทหารราบ 3 กรม กรม.201 เข้าตีเมืองสุย กรม.202 เข้าตีภูล่องมาค บ้านนา และรักษาพื้นที่ กรม.203 เข้าตีเมืองกาสีและศาลาภูคูณ ทางแยกสาย 13 ติดกับสาย 4/7 ซึ่งทางตะวันตกไปหลวงพระบางทางตะวันออกไป เมืองสุย ทุ่งไหหิน ทางใต้ลงเวียงจันทน์ จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

กรมทหารราบที่ 201 ทำภารกิจไม่สำเร็จ เมื่อยกกำลังพลไปถึงเมืองสุย ข้าศึกรอตั้งรับอยู่จึงถูกโจมตีอย่างหนัก ตั้งตัวไม่ทันจึงต้องถอนกำลังกลับ

กรมทรารราบที่ 203 เข้าตีเมืองการสี ยึดรถถังได้ 2 คัน และปืนใหญ่ 122 มม. 7 กระบอก เข้าตีต่อเพื่อยึดศาลาภูคูณ และสนามบิน 260 ได้ ขับไล่ข้าศึกออกไปทางตะวันออกของทางแยกศาลาภูคูณได้ 9 ก.ม. ถูกต้านอยู่กับที่จนถึงวันสงบศึก วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และรักษาไว้ได้จนจบภารกิจส่งมอบให้ทหารชาติลาว ถอนตัวกลับล่องแจ้ง และอยู่เป็นกรมสุดท้ายจึงถอนตัวกลับเมื่อเดือน ธันวาคม 2516

กองกำลัง วี.พี.ที่ล่องแจ้ง ได้รับคำสั่งให้ลดจำนวนกำลังพล และส่งมอบพื้นที่ให้ทหารชาติลาว และทหารแม้วของนายพลวังเปา บ.ก.ผสม 333 (วี.พี.) แปรสภาพเป็น จึ.เอ็ม.2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2517 มีกำลัง บี.ซี.603, ร้อย อ.ว.น.203, บี.ซี.604Aและ บี.ซี.619A อยู่รักษาล่องแจ้ง กำลังส่วนอื่นส่งกลับน้ำพอง และลพบุรี ดำเนินกรรมวิธีปลดพ้นสภาพ

จี.เอ็ม.2 ปฏิบัติหน้าที่ และส่งมอบพื้นที่ให้ทางนายพลวังเปา และทหารชาติลาว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 ฝ่ายอำนวยการ บก.จี.เอ็ม.2 และกำลังทหารเสือพรานเดินทางกลับสู่น้ำพองเพื่อดำเนินกรรมวิธีปลดพ้นสภาพ


นักรบนิรนาม 333 ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จสมบูรณ์แบบ โดยสามารถตรึงข้าศึกและลัทธิ คอมมิวนิสต์ให้หยุดอยู่ในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน และการยึดครอง กระทำเมื่อกองกำลัง นักรบนิรนาม ถอนตัวกลับสู่ประเทศไทยแล้ว จากการสนับสนุนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยคำให้การของ เหล่านักรบนิรนามที่ตกเป็นเชลยศึก และกลับสู่ประเทศไทยโดยการแลกเปลี่ยนเชลยศึกที่เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง

รุ่นแรก ครั้งที่ 1 เมื่อ 19 กันยายน 2517 จำนวน 150 นาย
รุ่นสอง ครั้งที่ 2 เมื่อ 29 กันยสยน 2517 จำนวน 64 นาย

เราได้รับนักรบนิรนามที่ตกเป็นเชลยศึก รวม 214 นาย ในจำนวนนี้ไม่มีนายทหารกลับมาเลย) มียอดสูญหาย 17 นาย) และจากการสรุปคำให้การของเชลยศึก นักรบนิรนาม พวกข้าศึกและคอมมิวนิสต์มีแผนยึดครองประเทศไทยให้ได้ในปี 2520 ซึ่งก็ไม่สามารถกระทำได้ นับเป็นการสรุปได้ว่า ภารกิจของนักรบนิรนามทั้ง 30 กองพัน รวมทั้งอาสาสมัครพลเรือน เจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานตั้งแต่ ปี 2504 จนถึงปี 2517 ได้ทำการปกป้องประเทศชาติให้พ้นจากภัยการรุกรานขอฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จสมบูรณ์ตามความตั้งใจและมุ่งหมายของเหล่านักรบนิรนาม พวกเราขอคารวะแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนนักรบที่พลีชีพเพื่อชาติในสมรภูมิลับครั้งนี้
333Unit
333Unit

จำนวนข้อความ : 129
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

::: นักรบนิรนาม ::: Empty Re: ::: นักรบนิรนาม :::

ตั้งหัวข้อ  sunny Fri Aug 06, 2010 11:42 pm

"พวกเราขอคารวะแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนนักรบที่พลีชีพเพื่อชาติในสมรภูมิลับครั้งนี้"

เช่นกันค่ะ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ