Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร

2 posters

Go down

ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร Empty ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat Jul 17, 2010 3:45 pm

ขณะนี้ได้มีการปลุกปั่นกระแสในประเทศไทยโดยใช้อำนาจแสงที่อยู่เหนือรัฐบาล

ในการที่รัฐบาลต้องทำทุกวิถีทางในการที่จะกระทำการให้คนไทยในประเทศ

เกิดการเรียกร้องและลุกฮือในการเอาพื้นที่คืนเกี่ยวกับพื้นที่ที่เสียไป

ทั้งนี้หากรัฐบาลทำการนี้ไม่สำเร็จ รัฐบาลก็ไม่สามารถอยู่รอดได้

ซึ่งได้มีการกำหนดเวลาไว้ให้เสร็จสิ้นภายในอาทิตย์หน้า

แต่แท้จริงแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่สร้างขึ้น

ให้ดูเหมือนสมจริงกับการที่ประเทศไทยจะรบกับเขมร

เพราะเป้าหมายหลักของสถานการณ์ที่ถูกสร้างขึ้น

เป็นการเบี่ยงเบนเป้าหมายที่แท้จริงนั่นก็คือ ประเทศพม่า

แผนการณ์นี้ ตามหลักของซุนวู เรียกว่า "บังบูรพา ปิดปัจฉิม"
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร Empty Re: ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Mon Aug 02, 2010 11:54 pm

ประกาศสถานการณ์เกี่ยวกับไทย-เขมร 8a5i66k9g5eh99bck6fea


คมชัดลึก > การเมือง > รายงานการเมือง

ถ้าเป็นมวยก็ต้องบอกว่า กัมพูชาทำแต้มทิ้งห่างไทยมาตลอดในการล็อบบี้ 21 ชาติกรรมการมรดกโลก แต่มาพลาดท่าถูก "หมัดน็อก" ของไทยโป้งเดียวจอดเอาในนาทีสุดท้าย!!!

ว่ากันว่า จุดชี้ขาดจริงๆ ที่ทำให้สถานการณ์พลิกกลับเป็น "หลักฐาน" ที่คณะนายทหาร "3 ทหารเสือ" ซึ่งร่วมทีมไปกับ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทย

พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพน้อยที่ 2 และพล.ต.นพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านแผนที่ การปักปันเขตแดน เป็นผู้กำ "ภาพเด็ด" ที่มัดกัมพูชาจนดิ้นไม่หลุด

หลักฐานชิ้นสำคัญมีอยู่ 2 ส่วน คือ


1.แผนที่จากกรมแผนที่ทหารซึ่งแสดงให้คณะกรรมการมรดกโลกและชาติสมาชิกเห็นอย่างชัดเจนว่า แผนการบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาล่วงล้ำอธิปไตยของไทยอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง

2.หลักฐานภาพถ่ายการจัดวางกำลังและอาวุธหนักของทหารกัมพูชา ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นมรดกโลก

หนึ่งในสามขุนพลฝ่ายไทย เปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จนี้ว่า จริงๆ แล้ว ไทยไม่ได้ตั้งใจจะใช้หลักฐานชิ้นสำคัญนี้หากไม่จำเป็น เพราะผลกระทบค่อนข้างรุนแรง แต่เนื่องจากกัมพูชาผิดสัญญากับไทยก่อน จึงตัดสินใจนำหลักฐานไปมอบให้แก่คณะกรรมการมรดกโลก

"เขมรเบี้ยวเราก่อนจริงๆ เพราะทำแผนที่เป็นเท็จมาเสนอคณะกรรมการมรดกโลก เป็นแผนที่ล้ำเข้ามาในเขตไทย เราขอดูก็ไม่ยอมให้ดู แต่ที่ผ่านมาคณะกรรมการจำนวนหนึ่งเข้าข้างเขมร เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมีผลประโยชน์ในกัมพูชา แต่ทั้งหมดต้องจำนนกับข้อมูลที่เราเอามาเปิดเผยในตอนท้าย และผลก็ออกมาตามที่เราต้องการ คือเลื่อนออกไป นั่นหมายความว่าเขมรจะไม่สามารถทำอะไรได้ และจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการมรดกโลกจนกว่าจะถึงปีหน้า" นายทหารผู้นี้กล่าว

การโชว์ "ใบเสร็จ" ที่ชัดเจนของฝ่ายไทยทำให้กรรมการมรดกโลกยอมรับว่า พื้นที่ดังกล่าวยังมีความขัดแย้งกันอยู่ จึงไม่ต้องการให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกเป็นต้นเหตุให้ความขัดแย้งรุนแรงจนนำไปสู่ "สงคราม" มากกว่า "สันติภาพ" อันเป็นหลักการสำคัญของยูเนสโก

เมื่อพิจารณาว่า การรับรองแผนพัฒนาพื้นที่ของกัมพูชาที่สุ่มเสี่ยงต่อการรุกล้ำอธิปไตยของไทย และอาจนำมาสู่สงคราม กรรมการมรดกโลกจึงไม่ต้องการรับเผือกร้อน และตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปี 2554 โดยไม่ลังเล

สำหรับจุดยืนของฝ่ายความมั่นคงในช่วงเวลาที่เหลือจากนี้ 1 ปี ยังคงเหมือนเดิม คือ ต้องมีการ "ปักปันเขตแดน" ให้เรียบร้อยก่อนจะเดินหน้าแผนพัฒนาพื้นที่รอบตัวปราสาท โดยยึดหลักการของบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เมื่อปี 2543 ระหว่างไทย-กัมพูชา

สาระสำคัญ คือ ไทยไม่ยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสมาตราส่วน 1:200000 เพราะไทยยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1:50000 หากยึดตามแผนที่ฝรั่งเศสของกัมพูชาแล้วอาจทำให้ไทยเสียพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบตัวปราสาทด้วย

ขณะที่ในมุมของวงในกระทรวงการต่างประเทศ กลับเห็นแย้งว่า การเล่นบทแข็งกร้าวของไทยก่อนหน้านี้ทำให้ตอนแรกไทยถูกมองเป็น "ผู้ร้าย" ในเวทีโลกอยู่พอสมควร และทำให้การทำงานของผู้แทนไทยในการไปล็อบบี้กรรมการมรดกโลกทำได้ยากขึ้นด้วย

ท่าทีที่แข็งกร้าวของไทย ผิดจากฟอร์มเดิมไปมากทำให้ไม่ค่อยได้รับความเห็นอกเห็นใจจากกรรมการมรดกโลกเท่าที่ควร ซึ่งต่างกับทางกัมพูชาที่มีการเดินสายล็อบบี้ชาติสมาชิกอย่างต่อเนื่องตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ กัมพูชายังเดินสายเสนอแผนการดูแลและอนุรักษ์ปราสาทให้ต่างชาติได้ทราบ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่ เช่น การสร้างถนนขึ้นปราสาท การสร้างพิพิธภัณฑ์สมเด็จฮุน เซน เพื่อให้นานาชาติประจักษ์ถึงอารยธรรมขอม ซึ่งเป็นมรดกของมนุษยชาติ

ที่สำคัญคือ การเดินสายล็อบบี้ "ประเทศยักษ์ใหญ่" ในกรรมการมรดกโลก เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ในช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก และได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกกลับมา

"แม้ปีนี้คณะกรรมการมรดกโลกจะเลื่อนการรับรองแผนดังกล่าว แต่เป็นการเลื่อนเพื่อแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์เท่านั้น ในอนาคตแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทย่อมจะต้องผ่านการพิจารณาของกรรมการมรดกโลกแน่นอน" เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงต่างประเทศ ให้ทัศนะ

อย่างไรก็ดี ผลประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิลครั้งนี้ แม้ กัมพูชาจะพ่ายไทยถึง 2 ครั้งซ้อน หลังจากยูเนสโกอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวเมื่อปี 2551 โดยที่ไทยได้คัดค้านจนกรรมการมรดกโลกต้องเลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่ออกไป เมื่อปี 2552 และปีนี้

แต่ไทยก็ยังไม่อาจประกาศได้ว่า นี่เป็นชัยชนะที่เด็ดขาดเสียทีเดียว เป็นเพียงแค่การ "พักยก" เท่านั้น

ประเด็นสำคัญ ที่ต้องจับตามองแบบไม่กะพริบตาจากนี้คือ สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะจากการประเมินของหน่วยงานความมั่นคง ที่ได้กลิ่นอายของการข่าวที่มีความเป็นไปได้สูงว่า เขมร ต้อง "ระบายแค้น" ในเร็ววันนี้แน่ !

ทีมข่าวความมั่นคง/นันทิดา พวงทอง
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ