Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน

2 posters

Go down

ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน Empty ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน

ตั้งหัวข้อ  นางฟ้า Sat Jul 03, 2010 7:25 pm

ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ส่งจดหมายเรียกร้องนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ’ (UNHRC) คนปัจจุบัน ให้ออกคำสั่งแก่รัฐบาลไทยยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2553 นายเบซิล เฟอร์นานโด ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ส่งจดหมายถึงนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้แทนถาวรไทยแห่งสหประชาชาติ ประจำกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ’ (UNHRC) คนปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่านายสีหศักดิ์จะต้องออกคำสั่งแก่รัฐบาลไทยให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา

นายเฟอร์นานโดระบุว่ารัฐบาลไทยจะต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัดทั่วประเทศไทย รวมถึงพิจารณายกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานกว่า 5 ปี และกำลังจะสิ้นสุดวาระลงในวันที่ 7 ก.ค.2553 โดยระบุว่าถึงแม้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำรัฐบาลไทย จะยังมิได้มีคำสั่งให้ต่ออายุการใช้กฎอัยการศึกในภาคใต้ต่อไป แต่ก็ยังไม่มีคำสั่งยกเลิกการบังคับใช้เช่นกัน

เนื้อหาในจดหมายได้อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายสีหศักดิ์ ซึ่งถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มิ.ย.2553 ระบุว่า “สถานการณ์ (ในกรุงเทพฯ) สงบลงแล้ว” นายเฟอร์นานโดจึงเรียกร้องว่าหากนายสีหศักดิ์กล่าวกับสื่อมวลชนเช่นนั้นจริง ย่อมแสดงว่าไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่รัฐบาลไทยจะต้องคงอำนาจ พรก.ฉุกเฉินเอาไว้ เนื่องจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินต่อไป จะเป็นการกระทำผิด กติกาสากล ซึ่งประเทศไทยมีพันธะผูกพันและต้องปฏิบัติตามในฐานะประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคี

ทั้งนี้ นายเฟอร์นานโดได้กล่าวถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ในข้อ 4 ซึ่งระบุว่า “มาตรการในการบริหารจัดการสถานการณ์ต่างๆ ภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึกควรมีขอบเขต” และ “การต่อเวลาบังคับใช้ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละสถานการณ์” ซึ่งถ้าหากความจำเป็นเร่งด่วนที่ทำให้ต้องประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว ก็สมควรที่จะประกาศยกเลิกไปในคราวเดียวกัน

นอกจากนี้ยังได้มีการหยิบยกข้อความในรายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งแสดงความวิตกกังวลต่อการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินของไทยเอาไว้ในปี 2548 ซึ่งมีใจความว่า:

“คณะมนตรีฯ มีความกังวลต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ของรัฐบาลไทย) ซึ่งมิได้กำหนดนิยามคำว่าสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือขอบเขตการบังคับใช้ พรก.ที่ชัดเจน ทั้งยังมิได้กำหนดเงื่อนไขการบังคับใช้มิให้ละเมิดหรือขัดแย้งต่อพันธะอื่นๆ ของประเทศที่มีต่อกติกาสากล ซึ่งรวมถึงกติกาข้อ 4 ของกติกา ICCPR”

“สิ่งที่น่ากังวลใจเป็นอย่างยิ่งคือ พรก.ดังกล่าวระบุว่าเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินจะได้รับการยกเว้นจากการดำเนินคดีตามกฎหมายและการลงโทษทางระเบียบวินัย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาผู้กระทำผิดลอยนวลจากโทษที่สมควรได้รับตามกฎหมาย และการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลใดๆ เป็นเวลานานกว่า 48 ช.ม.โดยไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ถือเป็นเรื่องต้องห้ามซึ่งรัฐบาลประเทศภาคีจะต้องหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้น ทั้งยังต้องรับรองว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่ละเมิดเนื้อหาในข้อ 4 ของกติกา ICCPR อีกด้วย” (CCPR/CO/84/THA, 2005, para. 13)

รัฐบาลไทยยังมิได้แก้ไขเนื้อหาหรือข้อบังคับใดๆ ใน พรก.ฉุกเฉิน นับตั้งแต่วันที่คณะมนตรีฯ ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ในรายงาน ฉะนั้น การบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน ตามเนื้อหาและรูปแบบเดิมเอาไว้จึงเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อพันธะที่ประเทศไทยต้องยึดถือและปฏิบัติตามหลักกติกาสากล


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียแสดงความคาดหวังว่านายสีหศักดิ์จะแสดงบทบาทที่เหมาะสมในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้วยการดำเนินมาตรการให้สาธารณชนประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงหรือเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน

นอกจากนี้ AHRC ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมภายใต้อำนาจของ พรก.ฉุกเฉินทุกคนซึ่งมิได้ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาข้อใด และจะต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกควบคุมตัว รวมถึงจัดหาทนายมาให้และเปิดโอกาสให้ครอบครัวหรือญาติเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้

ประเด็นสำคัญที่สุดคือการดำเนินคดีหรือตั้งข้อหาผู้ถูกจับกุมจะต้องดำเนินไปอย่างเปิดเผยในกระบวนการชั้นศาล และต้องอนุญาติให้สามารถประกันตัวได้ในระหว่างรอการดำเนินคดี หรือศาลจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอประกอบการตัดสินให้ควบคุมตัวต่อไป โดยจะต้องคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ราชการและต้องไม่มีการซ้อมทรมานหรือทำร้ายร่างกายผู้ถูกคุมตัวเกิดขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอิสระระหว่างประเทศ อาทิ กาชาดสากล เข้าไปสำรวจและสังเกตการร์ในสถานที่คุมขังด้วย
นางฟ้า
นางฟ้า

จำนวนข้อความ : 119
Registration date : 22/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน Empty Re: ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Mon Jul 05, 2010 11:48 am

ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน 5k9cdda5k9fj6dih79f96

NGOนอกจี้'มาร์ค'ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน

คมชัดลึก :กลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศเสนอไทยยกเลิก พรก.ฉุกเฉินทันที และเลือกตั้งใหม่เร็วสุด

(5ก.ค.) กลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ (The International Crisis Group)หรือ ICG ซึ่งเป็นกลุ่ม NGO ที่ไม่แสวงผลกำไร และมีที่ตั้งอย่ที่กรุงบรัสเซลของเบลเยี่ยม เสนอแนะในวันนี้ ให้รัฐบาลไทยยกเลิกในทันทีซึ่งพรก.ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่ทหารและตำรวจ กับให้จัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วที่สุดเพื่อสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ

มีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ ระหว่างการประท้วงในกรุงเทพฯของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ทำให้เกิดการปะทะ จนมีผู้เสียชีวิต 90 คน และยุติด้วยการปราบปรามโดยทหารเมื่อ 19 พฤษภาคม ตามมาด้วยพฤติกรรมรุนแรงของบรรดาผู้ประท้วง

ICGระบุว่าพรก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าหน้าที่กดดันแนวร่วมต่อต้านรัฐบาลจึงสมควรยกเลิกโดยเร็ว เพราะกลุ่มเสื้อแดงไม่มีโอกาสแสดงความรู้สึกอย่างสันติและเปิดเผยเพราะความเข้มงวดของกฏหมาย ก็อาจทำให้เกิดความคับข้องใจโดยชอบธรรม ซึ่งกำลังถูกกดดันให้ลงสู่ใต้ดินและอาจนำไปสู่พฤติกรรมรุนแรงและผิดกฎหมายได้"(their legitimate frustrations are being forced underground and possibly towards illegal and violent actions)

รายงานฉบับใหม่ของกลุ่ม ชื่อ"เชื่อมความขัดแย้งร้าวลึก" (Bridging Thailand's Deep Divide) ระบุว่า ไทยสมควรยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน หรือ เสี่ยงจะสร้างความเสียหายมากขึ้นต่อประชาธิปไตยของประเทศ ขัดขวางการสร้างสมานฉันท์ที่จำเป็น และหว่านเมล็ดพันธ์ของความขัดแย้งจนถึงแก่ชีวิตในอนาคต

แต่เดิม พรก.ฉุกเฉินมีกำหนดจะหมดอายุใน 7 กรกฎาคม แต่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแถลงเมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่าอาจจะต่ออายุออกไปทั้งในกรุงเทพฯและที่อื่น ซึ่งจะต่ออายุออกไปนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ นายกฯอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า ไม่มีแผนจะจัดการเลือกตั้งในปีนี้ เพราะจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าในการสร้างความสมานฉันท์

นายโรเบิร์ต เทมเพลอร์ ผู้อำนาจการโครงการเอเชียของ ICG กล่าวว่า แม้นายกฯอภิสิทธิ์จะยังไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งจนถึงปลายปีหน้า แต่เขาเห็นสมควรให้จัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ เพื่อเริ่มกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองอย่างกว้างขวาง

เขาสรุปว่ามีแต่รัฐบาลใหม่ ที่ได้รับความชอบธรรมจากการมอบอำนาจให้อย่างสดใหม่( a fresh mandate) และต้องเป็นการมอบอำนาจที่ทุกฝ่ายยอมรับด้วยเท่านั้น จึงจะสามารถเดินหน้าทำแผนการปฏิรูปอันซับซ้อนเช่นนั้นได้
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ