Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

โรคพาร์กินสัน Parkinson

Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:27 pm

โรคพาร์กินสันเป็นที่รู้จักกันมานานระยะหลังคนดังระดับโลกก็เป็นโรคนี้กันหลายคน เช่นประธานาธิบดีเรแกนมูอะมัดอาลี และดารา โรคนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ Jame Parkinson ในปี ค.ศ.. 1817ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวน้อย ต่อมาปี ค.ศ..1960ได้มีการค้นพบว่าเซลล์ของสมองไม่สามารถสร้างสาร dopamine ได้อย่างเพียงพองานของสมองสมองของคนประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้

โรคพาร์กินสัน Parkinson Brain

1.forebrain หรือสมองส่วนควบคุมการเดิน
2.brain stemหรือก้านสมอง ,cerebellum หรือสมองน้อย
3.caudate nucleus
4.putamen
5.amygdaloid body
6.substantia nigra

การทำงานของสมอง

•สมองส่วนหน้าหรือ forebrain ส่วนนี้จะทำหน้าที่คิด จำ การควบคุมการเดิน อารมณ์ ความรู้สึก ทั้งหมดจะอยู่ที่สมองส่วนหน้า
•สมองน้อยหรือ cerebellum จะทำหน้าที่ประสานงานให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
•เนื้อสมองส่วน 3,4 เป็นส่วนที่ทำกล้ามเนื้อทำงานประสานกัน เช่นเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว กลุ่มตรงข้ามก็จะคลายตัว
โรคพาร์กินสันจะมีปัญหาการเสื่อมของสมองส่วนนี้ทำให้การสร้างสาร dopamine น้อยลง

พาร์กินสันคืออะไร?
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty Re: โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:29 pm

โรคพาร์กินสันเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย

•อาการสั่นTremor โดยมากสั่นที่มือ แขน ขา กราม หน้า
•อาการเกร็ง Rigidity จะมีอาการเกร็งของแขนและลำตัว
•การเคลื่อนไหวช้าหรือที่เรียกว่า Bradykinesia ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง
•การทรงตัวเสีย Postural instability
•ผู้ป่วยมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ เช่นการยิ้ม การกระพริบตา การแกว่งแขน
•พูดลำบาก พูดช้าพูดลำบาก เสียงเบาไม่มีเสียงสูงหรือต่ำ
•กลืนลำบาก
โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเดินลำบาก พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยตัวเองได้

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

เซลล์สมอง[ neurone ]ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า dopamine สารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้อย่างดี หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอการทำงานของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด สำสาเหตุที่ทำให้เซลล์เหล่านี้ตายก่อนวัยอันควรยังไม่ทราบ แต่เท่าที่สันนิฐานได้คือ

•พันธุ์กรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า หกมีสองคนความเสี่ยงเพิ่มเป็น 10 เท่า
•อนุมูลอิสระ Free radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้
•มีสารพิษหรือ Toxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง ทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ carbon monoxide, alcohol, and mercury
•พันธุกรรมโดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ15-20 มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการกลายพันธ์( mutation )ของโครโมโซมคู่ที่ 4 และ6ก็ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
•เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
นักวิจัยเชื่อการเกิดโรคนี้ต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน

เริ่มแรกของโรคพาร์กินสันเป็นอย่างไร?

เนื่องจากโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบ บางคนอาจจะมีอาการปวดตามตัว เพลีย สั่นหรือลุกยาก ส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยได้จากการสังเกตของคนใกล้ชิดว่ามีอาการผิดปกติเช่น ใบหน้าไม่ยิ้ม มือสั่น เคลื่อนไหวของมือหรือแขนน้อย
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty Re: โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:32 pm

อาการของโรคพาร์กินสัน

เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยก็จะเกิดอาการชัดเจนขึ้น อาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันอาการที่สำคัญได้แก่

•อาการสั่น Tremor อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะมีการสั่นไปมาไของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นประมาณ 3 ครั้งต่อวินาที คนที่ช่างสังเกตบอกอาการสั่นเหมือนกับคนกำลังปั้นเม็ดยา pill rolling โดยมากอาการสันมักจะเกิดที่มือ แต่ก็มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดที่เท้า หรือกราม อาการสั่นจะเป็นขณะพัก จะเป็นมากเมื่อเกิดอาการเครียด อาการสั่นจะหายไปเมื่อเวลานอนหลับ หรือเมื่อเรากำลังใช้งาน อาการสั่นจะเป็นข้างหนึ่งก่อน เมื่อโรคเป็นมากจึงจะเป็นทั้งตัว
•อาการเกร็ง Rigidity คนปกติเมื่อเวลาเคลื่อนไหวจะมีกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะมีการคลายตัวโรคพาร์กินสันกล้ามเนื้อไม่มีการคลายตัวจึงทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยความลำบากหากเราจับมือผู้ป่วยเคลื่อนไหวจะมีแรงต้านเป็นระยะเหมือนกับมีดสปริง cogwheel rigidity
•อาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวช้าและลำบาก งานประจำที่สามารถทำเองได้แต่ต้องใช้เวลามาก
•สูญเสียการทรงตัว Postural instability ผู้ป่วยจะเดินหน้าถอยหลัง เวลาเดินจะเดินก้าวเล็กซอยถี่ๆ ทำให้หกล้มได้ง่าย

อาการอื่นของโรคพาร์กินสัน

•ซึมเศร้า Depression
•อารมณ์แปรปรวนเนื่องจาก
•เคียวอาหารและกลืนอาหารลำบาก เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนทำงานไม่ประสานงานกัน
•มีปัญหาในการพูด พูดเสียงจะเบาไม่ค่อยมีเสียงสูงหรือต่ำ พูดติดอ่าง บางที่ก็พูดเร็ว
•มีปัญหาเรื่องท้องผูก
•กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
•เนื่องจากผู้ป่วยไม่ค่อยได้ล้างหน้า ผิวหน้าจะมันและมีรังแค
•มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หลับยาก ฝันร้าย

โรคพาร์กินสันชนิดอื่นๆ

•โรคพาร์กินสันที่เกิดจากยาเช่นยารักษาทางจิตเวช Chlorpromazine,haloperidol,metoclopamide ,reserpine เมื่อหยุดยาอาการจะกลับปกติ
•โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสารพิษ เช่น manganese dust, carbon disulfide, carbon monoxide
•โรคพาร์กินสันที่เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยจะมีความจำเสื่อม ไม่ค่อยมีมือสั่น ใช้ยามักจะไม่ได้ผล
•โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสมองอักเสบ ัยเสี่ยงของการเกิดโรค
•อายุ หากมีอายุมากก็เสี่ยงที่จะเกิดโรค
•กรรมพันธุ์ หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ 2 คนคุณมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่ม 10 เท่า
•ผู้ที่ต้องสัมผัสยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืช โดยพบโรคนี้มากในชาวนาชาวไร่ที่ดื่มน้ำจากบ่อ
•ผู้ที่มีระดับ estrogen ต่ำ เช่นผู้ที่ตัดรังไข่และมดลูก ผู้ที่วัยทองก่อนกำหนด จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง หากได้รับฮอร์โมนจะช่วยลดการเกิดโรคนี้
•มีรายงานว่าการขาดกรดโฟลิกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้

วินิจฉัย

ในระยะเริ่มแรกทำได้ยาก การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายเท่านั้น การเจาะเลือดหรือการx-ray ไม่ช่วยในการวินิจฉัยนอกจากนั้นอาการเดินลำบาก อาการสั่นมักจะเกิดในผู้สูงอายุ ที่สำคัญอย่าแจ้งชื่อยาที่รับประทานให้แพทย์ทราบ
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty Re: โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:34 pm

การรักษาทำได้โดยการรักษาอาการเท่านั้น ยังไม่มียาใดหรือการรักษาอื่นใดที่ทำให้หายขาด ผู้ป่วยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน ยาที่ใช้รักษาได้แก่

สารเคมีนี้พบในพืชและสัตว์ ยานี้จะออกฤทธิ์ในเซลล์ประสาททำให้สร้าง dopamineเพิ่ม แต่เราไม่สามารถให้ dopamine ได้โดยตรงเนื่องจาก dopamine ไม่สามารถซึมเข้าสมองได้ ยาตัวนี้เป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย เมื่อผสมกับยา carbidopa จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้นเนื่องจากลดอัตราการถูกทำลาย ยานี้สามารถลดอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ โดยเฉพาะอาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia และอาการเกร็ง rigidity แต่อาการสั่นลดลงเพียงเล็กน้อย สำหรับเรื่องการทรงตัวและอาการอื่นๆยานี้ไม่สามารถลดอาการได้ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารโปรตีนเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่

ผลข้างเคียงของยา ยานี้เมื่อใช้อาจจะต้องเพิ่มยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาได้เช่น คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คือมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก สั่นๆทางการแพทย์เรียก Dyskinesia สับสน หลังจากที่ใช้ยาระยะยาวและมีขนาดสูงจะเกิดอาการที่เรียกว่า on-off phenomenon คือก่อนกินยาจะมีอาการเกร็งมาก เมื่อรับประทานยาอาการจะดีขึ้น ระยะเวลาที่ดีขึ้นจะสั้นลง สั้นลง การแก้ไขภาวะนี้ให้รับประทานยาถี่ขึ้นแต่มีขนาดยาน้อยลง

ยาอื่นๆที่นำมาใช้ได้ได้แก่

•Bromocriptine, pergolide, pramipexole and ropinirole ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์เหมือน dopamine ในสมอง อาจจะใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับ levodopa หากใช้ในระยะเริ่มต้นของโรค ยานี้ลดอาการเกร็งหรือเคลื่อนไหวช้าได้น้อย ผลข้างเคียงของยาได้แก่ วิตกกังวล paranoid จิตหลอน hallucination สับสน confusion ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ Dyskinesia ผันร้าย คลื่นไส้อาเจียน
•Selegiline ยาตัวนี้เมื่อให้ร่วมกับ levodopa จะช่วยลดผลข้างเคียงของยาได้ยานี้จะลดการทำลายของ levodopa ในสมอง
•Anticholinergics เช่น artane ,congentin ยานี้จะลดอาการสั่นและเกร็งได้ดี ยานี้จะใช้ได้ผลดีหากเป็นโรคพาร์กินสันที่เกิดจากยา ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะไม่ออก ความจำเสื่อม
•Amantadime ยานี้จะเร่งให้เซลล์ประสาทหลั่ง dopamine ออกมาเพิ่มขึ้น ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นโรค โดยการผ่าตัด นิยมน้อย จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำลายสมองที่เรียกว่า thalamus เรียก thallamotomy การผ่าตัดนี้จะลดอาการสั่นเท่านั้นผลเสียของการผ่าตัดจะทำให้พูดช้า และอาจจะทำให้การทำงานของร่างกายไม่ประสานงาน ดังนั้นจึงไม่นิยมในการรักษา ส่วนการผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Pallidotomy โดยการใช้ไฟฟ้าเข้าไปทำลายสมองส่วนที่เรียกว่า globus pallidus ซึ่งจะลดอาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า

การรักษาอีกวิธีหนึ่งเรียก Deep brain stimulation โดยการใส่ลวดเล็กๆเข้าไปยังสมองส่วน subthallamic nucleus แล้วปล่อยไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้น

การรักษาโดยใช้อาหาร เท่าที่ทราบยังไม่มีอาหารหรือวิตามินที่จะช่วยในการรักษาคนไข้แต่มีหลักการดังนี้

•รับประทานอาหารสุขภาพ ให้ครบทุกกลุ่มโดยแบ่งเป็นสามมื้อ
•ชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งเพื่อตรวจสอบว่าไม่ขาดสารอาหาร
•ให้รับประทานผักหรืออาหารที่มีใยมากๆ และให้ดื่มน้ำมากๆ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันท้องผูก
•หลีกเลี่ยงอาหารมันๆหรืออาหารที่มี cholesterolสูง
•รับประทาน Levodopa ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
•อย่ารับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

การรักษาโดยการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อารมณ์ดีขึ้น การเดินดีขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยไก้แก่

•ซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนทั่วไป
•Dementia คือสมองเสื่อม ประมาณหนึ่งในสามจะมีความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยน การตัดสินใจเสียไป
•ภาวะแทรกซ้อนจากยา เช่น Dyskinesia ความดันต่ำ
•มีปัญหาเกี่ยงกับการกลืน การเคี้ยว อาการนี้จะเกิดในระยะของโรค
•ท้องผูกเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวน้อย
•ปัสสาวะคั่งอันเป็นผลข้างเคียงของยา
•ปัญหาเกี่ยวกับการนอนเนื่องจากซึมเศร้า
•ความต้องการทางเพศลดลง
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty Re: โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:39 pm

การรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก และยังมีใยอาหารมากป้องกันอาการท้องผูก บางคนไปซื้อสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ท่านต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10แก้วเพราะหากดื่มน้ำน้อยอาจจะทำให้อาการท้องผูกแย่ลง

ต้องหลีกเลียง ชา กาแฟ อาหารมันๆโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวเช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ ไอศกรีม

การเคี้ยวและการกลืน

เนื่องจากผู้ป่วยในระยะท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีการที่จะลดปัญหาได้แก่

•ตักอาหารพอคำแล้วเคี้ยวให้ละเอียด
•กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป
•ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น
•ควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยอย่างมากเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน การว่ายน้ำ การทำสวน การเต้นรำ การยกน้ำหนัก แต่ก่อนกำลังกายทุกครั้งต้องมีการยืดเส้นก่อนทุกครั้ง อย่าลืมการออกกำลังใบหน้า กราม และฝึกพูดบ่อยๆ และอาจจะต้องฝึกหายใจโดยการหายใจเข้าออกแรงๆหลายๆครั้ง

การเดิน

เนื่องผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน ผู้ป่วยต้องเรียนรู้การเดิน

•เมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8-10 นิ้ว
•ให้ใส่รองเท้าสำหรับการเดิน
•การเดินที่ถูกต้องให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขน

การป้องกันการหกล้ม

เนื่องจากในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยมักจะเสียการทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย การป้องกันทำได้โดย

•ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านว่าสามารถไปรำมวยไทเก็กได้หรือไม่ เพราะการรำมวยไทเก็กจะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อ การทรงตัว
•เลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยางเพราะไม่ลื่น
•ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ
•ติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน บันได
•เก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ให้พ้นทางเดิน
•โทรศัพท์ให้ใช้แบบไร้สายและวางไว้บนหัวเตียง

การแก้ไขเรื่องตะคริว

กล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะมีอาการเกร็งอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อของเท้า ท้อง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด การดูแลจะช่วยลดอาการเหล่านี้

•หากเป็นตะคริวที่เท้าให้ใช้วิธีนวด
•หากมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อให้ใช้น้ำอุ่น หรือขวดบรรจุน้ำอุ่นประคบ
•กำลูกบอลเพื่อป้องกันมือสั่น

การเลือกเสื้อผ้า

เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำงานที่มีความละเอียดต้องใช้การประสานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด การเลือกเสื้อผ้าต้องสะดวกในการใส่

•ให้ใจเย็นเพราะผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการใส่เสื้อผ้า
•วางเรียงเสื้อผ้าให้ใกล้มือ
•เลือกเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย เช่นชุดที่สวมคลุม ไม่ควรจะมีกระดุม
•เลือกซื้อรองเท้าหรือเสื้อที่ไม่มีกระดุม ควรเป็นแบบยางยืด
•เวลาจะสวมเสื้อผ้า หรือรองเท้าให้นั่งบนเก้าอี้ทุกครั้ง

การนอนหลับ

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับประมาณร้อยละ70ของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องการนอนจะส่งผลเสียทั้งทางด้านอารมณ์ คุณภาพชิตทั้งของผู้ป่วยและคนที่ดูแลปัญหาเรื่องการนอนหลับพบได้หลายรูปแบบดังนี้

•ผู้เข้าหลับง่ายแต่จะมีปัญหาเรื่องตื่นตอนเช้ามืด จะรู้สึกนอนไม่หลับ ขยับตัวยาก บางรายอาจจะเกิดอาการสั่น หรือบางรายหลังจากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วจะเกิดอาการนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากขนาดของยาไม่สามารถคุมอาการในตอนกลางคืน แพทย์ต้องปรับยาเพื่อให้ยาคุมอาการตอนกลางคืน
•ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะหลับในตอนกลางวันมาก บางคนอาจจะหลับขณะรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือาจจะเกิดฝันร้าย สาเหตุมักจะเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมีขนาดมากไป แพทย์ต้องปรับขนาดของยาหรืออาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของยา
•ชนิดที่สามอาการนอนผิดปกติจากตัวโรคเอง ปกติเมื่อคนธรรมดาฝันมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันกล้ามเนื้อมีการเกร็งออยู่ตลอดเวลา เมื่อเวลาฝันอาจจะมีอาการเตะหรือถีบ ซึ่งอาจจะทำให้คนดูแลตกใจหรือได้รับบาดเจ็บกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน ที่สำคัญต้องระวังมิให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ
•ประสาทหลอน อาจจะหลอนเห็นผี เห็นสัตว์ทั้งใหญ่และเล็กเป็นต้น สาเหตุเกิดจากยาที่ใช้รักษาพาร์กินสัน การรักษาให้ปรับขนาดของยา
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

โรคพาร์กินสัน Parkinson Empty Re: โรคพาร์กินสัน Parkinson

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Fri Jun 11, 2010 5:42 pm

Severe Parkinson's Disease 100% (Stage V): โรคปากินสันอย่างขั้นรุนแรงระยะสุดท้ายก่อนตาย
Towardsthe end of the disease there is frequently a slow decrease in thevolume of speech, accompanied by increasing dysarthria.
Unfortunately, there is very little improvement with therapy.

อาการผู้ป่วยขึ้นสุดท้ายคือติดเชื้อนิวโมเนีย สำลัก จิตซึมเซา และตายในที่สุด
However, the end-stage of the disease can lead to pneumonia, choking, severe depression, and death.
น่าเศร้าที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายบนเก้าอี้เอียงหลังได้ สภาพที่ไม่ต่างไปจากทารก
Sadly,many PD patients spend their last years confined to a Geri-Chair (amedical version of a recliner) with functions similar to an infant.

การเสียความสามารถในการเดินหรือดูแลตัวเองเช่น การปัสสาวะ อุจจาระ ขับถ่าย หรือการขยับตัวนอนบนเตียง
Theylose the ability to walk, to talk, to care for themselves, urinary& bowel control and even to turn themselves over in bed.

End Stage may include one, or a combination of the following: อาการผู้ป่วยช่วงสุดท้ายคือ
Progressive decline despite medical therapies การเยียวยาบำบัดอย่างไรก็ไม่ทำให้อาการดีขึ้น
Multiple hospitalizations/frequent ER visits (often due to falls)เข้าห้องฉุกเฉินบ่อย เพราะล้ม
Agitation that is more difficult to control ยากในการควบคุมอารมณ์
Diminished functional status
Decreased appetite กินอาหารน้อยลง
Progressive weight loss น้ำหนักลด
Increasing dyspnea (trouble breathing) หายใจลำบาก
Dysphagia (trouble swallowing) กลืนไม่ลง
Recurrent infections ติดเชื้อซ้ำเก่าอีก
Severe decline in mental status , สภาพจิดเสื่อมลงเรื่อยๆ

อาการผู้ป่วยคือ Symptoms include:

Automatic movements (such as blinking) slow or stop
Constipation ถ่ายไม่ออก
Difficulty swallowing กลืนไม่ได้
Drooling น้ำลายไหล
Impaired balance and walking ไม่สมดุลย์ในการเดิน
Lack of expression in the face (mask-like appearance)การแสดงออกหน้าตาไม่ปรกติ เหมือนใส่หน้ากาก
Muscle aches and pains (myalgia) ปวดตามกล้ามเนื้อ
Problems with movement ปัญหาในการเคลื่อนไหว
Difficulty starting or continuing movement, such as starting to walk or getting out of a chair เดิน หรือ นั่งเก้าอี้ลำบาก
Lossof small or fine hand movements (writing may become small and difficultto read, and eating becomes harder)เขียนหนังสือตัวเล็กลง กินอาหารลำบาก
Shuffling gait
Slowed movements
Rigid or stiff muscles (often beginning in the legs)
Shaking, tremors สั่น
Tremors usually occur in the limbs at rest, or when the arm or leg is held out
Tremors go away during movement
Over time, tremor can be seen in the head, lips, tongue, and feet
May be worse when tired, excited, or stressed
Finger-thumb rubbing (pill-rolling tremor) may be present
Slowed, quieter speech and monotone voice
Stooped position

อาการอื่นๆ
Other symptoms:

Anxiety, stress, and tension เครียด
Confusion งง สับสน
Dementia คิดอะไรไม่ออก
Depression เซื่องซึม
Fainting หน้ามืด
Hallucinations ประสาทหลอน
Memory loss ความจำเลอะเลือน
Oily skin (seborrhea)
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ