Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Amnesty International

2 posters

Go down

Amnesty International Empty Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu May 27, 2010 10:35 pm

Amnesty International (commonly known as Amnesty and AI) is an international non-governmental organisation. Its stated mission is "to conduct research and generate action to prevent and end grave abuses of human rights and to demand justice for those whose rights have been violated."

Amnesty International หรือภาษาไทยเราเรียกว่า องค์การนิรโทษกรรมสากล

ทำความรู้จ้กและคุ้นเคยกันไว้ เพราะเป็นอีกหนึ่งที่กำลังจะเดินทางเข้ามาตรวจสอบ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu May 27, 2010 10:38 pm

Thailand: Military must halt reckless use of lethal force
18 May 2010, 10:44AM

Thai soldiers must immediately stop firing live ammunition into several large areas in Bangkok where anti-government protesters are gathered, Amnesty International said today.

“Eye-witness accounts and video recordings show clearly that the military is firing live rounds at unarmed people who pose no threat whatsoever to the soldiers or to others,” said Benjamin Zawacki, Amnesty International’s Thailand specialist. “This is a gross violation of a key human right—the right to life”.

“Deliberately firing live ammunition at unarmed people, whether they be protesters or otherwise and who pose no credible threat to anyone else, is unlawful”, said Benjamin Zawacki.

Since 13 May, when the government began “Operation Rachaprasong”, soldiers have fired rubber and live rounds in and around protest sites in several parts of Bangkok. The government claims that there are around 500 “terrorists” hiding among the protesters.

At least 35 unarmed protesters have been killed. The dead include two medics who were wearing white medical uniforms with visible red crosses, shot on 15 and 16 May; and a 17 year-old boy, shot on 15 May. Maj. Gen. Khattiya Sawatdiphon (known as “Seh Daeng”), a military advisor for the protesters, was struck by a sniper’s bullet on 14 May and died on 17 May. In addition another soldier has been killed.

Over 200 people have been injured, including several Thai and foreign journalists, and a 10 year-old boy.

“The government cannot allow soldiers to essentially shoot at anyone within an area it wishes to control”, said Benjamin Zawacki.

The government’s Rules of Engagement, as articulated by its Center for Resolution of Emergency Situation (CRES) on 14 May, state that live rounds may only be used as warning shots fired into the air, in self-defense, or when forces can clearly see those the security forces consider as “terrorists”. On 16 May, CRES declared several areas just adjacent to the protest site as “live fire zones”.

Several eye-witnesses told Amnesty International that they witnessed soldiers shooting into the area using long-range rifles—at a distance from which the victims were not likely to present any danger.

CRES Spokesperson Col. Sansern Kaewkamnerd said on 14 May that troops would keep a distance from the protesters, and would use live ammunition to stop people from coming closer. When shooting to stop protesters, troops would aim below the knee and fire only one bullet at a time.

“This is unacceptable under international law and standards, which provide that firearms may be used only as a last resort, when a suspected offender offers armed resistance or otherwise jeopardises the lives of others, and less extreme measures are not sufficient to restrain or apprehend the suspected offender. Outside of clear situations of self-defence, riot control should be performed by trained police using non-lethal equipment, not by soldiers using live ammunition,” said Benjamin Zawacki.

Background

The United Front for Democracy against Dictatorship (UDD), commonly known as "Red Shirts" for the colour of their clothing, began their protests in Bangkok on 12 March.

Many of them are allied with former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra, deposed in a 2006 coup d’état and currently in voluntary exile. They are calling for greater democracy and have consistently demanded the dissolution of Parliament, followed by new elections. They have also at times demanded the resignation and exile of Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who on 3 May proposed a five-point Reconciliation Plan, which included the dissolution of Parliament and new elections on 14 November 2010. The protesters initially accepted the plan in principle, but then countered with a "Red Plan" and refused to vacate their protest site, which they have occupied since 3 April.
The Internal Security Act has been in force since the protests began and an Emergency Decree was declared on 7 April; both confer enormous powers on the military, while the latter has been extended to cover nearly half of Thailand.

Thailand has acceded to the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), which provides that the right to life cannot be restricted even “in time of public emergency which threatens the life of the nation (Art. 4).”

Using lethal force recklessly violates international law on the use of force. The United Nations Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials (1990) and the United Nations Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-Legal, Arbitrary and Summary Executions (1989), while not legally binding per se, represent global agreement by states on how to best implement international human rights provisions during law enforcement operations without violating the right to life. Both are clear that intentional lethal force can only be used when strictly unavoidable to protect life.
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu May 27, 2010 10:50 pm

ประเทศไทย: ทหารต้องหยุดการใช้กำลังอาวุธปราบปรามอย่างเกินขอบเขต
[18/05/2010]

ทหารไทยจะต้องยุติการยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลซึ่งรวมตัวในหลายพื้นที่เป็นวงกว้างในกรุงเทพฯ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าวในวันนี้

“จากปากคำของพยานผู้เห็นเหตุการณ์และวิดีโอปรากฏชัดเจนว่าทหารใช้กระสุนปืนจริงยิงเข้าใส่ประชาชนซึ่งไม่มีอาวุธและไม่เป็นภัยคุกคามอย่างใดต่อทหารหรือผู้อื่น” Benjamin Zawacki ผู้เชี่ยวชาญด้านประเทศไทยของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าว “สิ่งนี้เป็นการละเมิดอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนซึ่งสำคัญสุด นั่นคือสิทธิที่จะมีชีวิต”

“การจงใจใช้กระสุนปืนจริงยิงเข้าใส่ประชาชนผู้ไม่มีอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประท้วงหรือบุคคลใด ๆ ก็ตาม ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้แสดงท่าทีเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใด เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” Benjamin Zawacki กล่าว

นับแต่วันที่ 13 พฤษภาคม เมื่อรัฐบาลเริ่มปฏิบัติการปิดล้อมราชประสงค์ ทหารใช้กระสุนยางและกระสุนจริงยิงภายในและโดยรอบพื้นที่ประท้วงหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ รัฐบาลอ้างว่ามี “ผู้ก่อการร้าย” ประมาณ 500 คนแฝงตัวอยู่ในบรรดาผู้ประท้วง

มีผู้ประท้วงซึ่งไม่มีอาวุธถูกสังหารอย่างน้อย 35 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยและพยาบาลสองคนซึ่งสวมชุดของแพทย์ฉุกเฉินสีขาวติดตรากาชาดสีแดงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถูกยิงในวันที่ 15 และ 16 พฤษภาคม และมีเด็กชายอายุ 17 ปีถูกยิงในวันที่ 15 พฤษภาคม พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (หรือเสธฯแดง) ทหารซึ่งเป็นที่ปรึกษาของผู้ชุมนุมประท้วงถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม เป็นนายทหารอีกคนหนึ่งที่ถูกสังหาร

มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 คน รวมทั้งผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศ และเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบ

“รัฐบาลไม่อาจปล่อยให้ทหารไล่ยิงใครก็ตามในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ต้องการเข้าควบคุม” Benjamin Zawacki กล่าว

ตามกฎการใช้กำลังที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเป็นของรัฐบาลอธิบายเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ระบุว่า การใช้กระสุนจริงอาจกระทำได้กรณีที่เป็นการยิงเตือนขึ้นไปบนฟ้า เพื่อป้องกันตัว และเมื่อเจ้าหน้าที่เห็นได้ชัดเจนว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นบุคคลที่ถือได้ว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ในวันที่ 16 พฤษภาคม ศอฉ.มีคำสั่งประกาศหลายพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ประท้วงให้เป็น “พื้นที่ใช้กระสุนจริง”

พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนบอกกับแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลว่า พวกเขาเห็นทหารยิงเข้าไปในพื้นที่โดยใช้ปืนยิงระยะไกล ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายไม่น่าจะสามารถก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ได้

พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.กล่าวในวันที่ 14 พฤษภาคม ว่า ทหารพยายามรักษาระยะห่างจากผู้ประท้วง และจะใช้กระสุนจริงเพื่อหยุดยั้งไม่ให้ใครเข้ามาใกล้ และเมื่อมีการยิงผู้หยุดผู้ประท้วง ทหารจะเล็งยิงบริเวณใต้หัวเข่า และจะยิงทีละนัด

“การปฏิบัติเช่นนี้ไม่อาจยอมรับได้ตามกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ใช้อาวุธปืนได้เป็นวิถีทางสุดท้าย ในกรณีที่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดตอบโต้ด้วยอาวุธ หรือพยายามทำร้ายชีวิตผู้อื่น และในกรณีที่มาตรการรุนแรงอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะควบคุมหรือสยบตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิด นอกเหนือจากสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตัวอย่างชัดเจนแล้ว การควบคุมจลาจลควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้รับการฝึกฝนให้ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของทหารซึ่งใช้กระสุนจริง” Benjamin Zawacki กล่าว

ข้อมูลพื้นฐาน

กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เสื้อแดง” เนื่องจากสีของเสื้อที่สวมใส่ เริ่มการประท้วงที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม

สมาชิกจำนวนหนึ่งเป็นพันธมิตรกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งถูกขับออกจากตำแหน่งเนื่องจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 และอยู่ระหว่างการลี้ภัยโดยสมัครใจ พวกเขาเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยที่ดีขึ้น และที่ผ่านมาได้กดดันให้มีการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ในหลายครั้งยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะลาออกและลี้ภัยไปต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอแผนปรองดองห้าข้อเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งรวมถึงการยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 ในเบื้องต้นผู้ประท้วงเห็นชอบในหลักการกับแผนดังกล่าว แต่ต่อมาได้เสนอ “แผนแดง” กลับไปที่รัฐบาลและปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่ชุมนุม ซึ่งได้ยึดครองมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้ถูกประกาศใช้นับแต่มีการประท้วง และมีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน กฎหมายทั้งสองฉบับให้อำนาจมากมายต่อทหาร และในภายหลังยังมีการประกาศพรก.ครอบคลุมเกือบครึ่งประเทศไทย

รัฐบาลไทยลงนามในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งกำหนดไว้ว่า ไม่อาจมีการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตได้ แม้ “ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ” (ข้อ 4)

การใช้อาวุธร้ายแรงปราบปรามอย่างเกินขอบเขตเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้กำลัง หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายขององค์การสหประชาชาติ (2533) (United Nations Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials (1990)) และหลักการพื้นฐานว่าด้วยการป้องกันและการสอบสวนการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและการสังหารโดยพลการให้เป็นผล (2532) (United Nations Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-Legal, Arbitrary and Summary Executions (1989)) แม้จะไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายในกรณีทั่วไป แต่ก็ถือเป็นความตกลงระดับโลกระหว่างรัฐต่าง ๆ ถึงวิธีการดีสุดที่จะนำข้อบัญญัติด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาใช้ ระหว่างที่มีปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิที่จะมีชีวิต กฎหมายทั้งสองฉบับเป็นข้อบัญญัติชัดเจนว่า การใช้กำลังอาวุธที่มุ่งหมายชีวิตอาจใช้ได้เฉพาะในกรณีเพื่อคุ้มครองชีวิตและไม่มีหนทางอื่นหลีกเลี่ยง
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  sunny Thu May 27, 2010 10:53 pm

ประเทศไทย: ท่ามกลางวิกฤตการเมือง ความรับผิดต้องสำคัญเหนือเรื่องอื่นใด
[19/04/2010]

ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองที่ขยายวงกว้างในไทย ควรแสดงเจตจำนงที่จะยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทันที แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลยินดีที่รัฐบาลไทยจะให้มีการสอบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่ชักช้า อย่างเป็นผล และเป็นกลาง และเรียกร้องให้เกิดความรับผิดต่อการละเมิดใด ๆ ทั้งที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และการละเมิดของผู้ประท้วงที่รุนแรง

เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 10 เมษายน ทหารไทยพยายามสลายผู้ประท้วงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่จุดชุมนุมเดิมที่กรุงเทพฯ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน (ผู้ประท้วง 18 คน ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหนึ่งคน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสี่นาย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 840 คน ทหารใช้อาวุธที่มีอำนาจสังหารในระหว่างปฏิบัติการ ในขณะที่บุคคลบางคนในกลุ่มผู้ประท้วงก็ใช้อาวุธปืนและระเบิด รวมทั้งอาวุธที่ดัดแปลงจากสิ่งของต่าง ๆ ยังมีผู้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล 134 คน หกรายอยู่ในห้องไอซียู ทั้งนี้เป็นผลมาจากความรุนแรง

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลตระหนักถึงพันธกรณีของรัฐบาลไทยที่จะคุ้มครองชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชนทุกคน และใช้วินิจฉัยอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีของฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐ

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลยังชี้ให้เห็นว่าสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมให้การคุ้มครองเฉพาะการชุมนุมที่สันติ และผู้มีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเอง ผู้นำพรรคฝ่ายค้านรวมทั้งตัวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งสนับสนุนกลุ่มนปช. ควรแสดงเจตจำนงอย่างเปิดเผยที่จะยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน และขอให้ผู้สนับสนุนงดเว้นจากการใช้ความรุนแรงโจมตีทำร้ายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยต้องยึดมั่นกับหลักการสากลในการสลายการชุมนุมและการใช้กำลัง หลักการข้อ 14 ของหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธ (Basic Principles on the Use of Force and Firearms) ระบุไว้ว่า “ในการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่รุนแรง เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายอาจใช้อาวุธได้ เฉพาะเมื่อวิธีการที่อันตรายน้อยกว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ และให้ใช้ได้น้อยสุดและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องไม่ใช้อาวุธไม่ว่าในสถานการณ์ใด เว้นแต่เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักการข้อ 9”

หลักการข้อ 9 ได้ระบุว่า “เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะไม่ใช้อาวุธต่อบุคคล เว้นแต่เป็นการป้องกันตนเอง หรือป้องกันบุคคลอื่นจากอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส เพื่อป้องกันไม่ให้มีการก่ออาชญากรรมร้ายแรงอันมีผลคุกคามถึงชีวิต เพื่อจับกุมบุคคลผู้ก่อให้เกิดอันตรายหรือขัดขืนอำนาจหน้าที่ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลหลบหนี และเฉพาะในกรณีที่วิธีการที่รุนแรงน้อยกว่าไม่เพียงพอต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว แต่ไม่ว่าในสถานการณ์ใด การใช้อาวุธปืนเพื่อสังหารอย่างจงใจอาจเกิดขึ้นได้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปเพื่อคุ้มครองชีวิตและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น”

ข้อมูลพื้นฐาน

สมาชิกและกลุ่มต่าง ๆ ในนปช. หรือที่รู้จักกันในนามกลุ่ม “คนเสื้อแดง” เนื่องจากสีเสื้อที่พวกเขาสวมใส่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งถูกขับออกจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหารในปี 2549 ปัจจุบัน เขาอยู่ระหว่างการพำนักในต่างประเทศ และต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงมากมาย

ผู้ชุมนุมกลุ่มนปช.ประท้วงที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม เรียกร้องให้มีการยุบสภา ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ และตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกและ เดินทางออกนอกประเทศ

เมื่อวันที่ 18 เมษายน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นตรงข้ามกับนปช. ให้เวลารัฐบาลเจ็ดวัน “เพื่อบังคับใช้กฎหมาย” ซึ่งอาจตีความได้ว่าเป็นข้อเรียกร้องให้สลายกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่เช่นนั้นกลุ่มพธม.ก็จะเริ่มเดินขบวนประท้วง หากกลุ่มพธม.ออกมาประท้วง ก็จะต้องไม่เข้าร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มพธม.หรือที่รู้จักกันในนามกลุ่ม “คนเสื้อเหลือง” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 เพื่อต่อต้านทักษิณ และมีการจัดประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 รวมทั้งการยึดสนามบินสองแห่งที่กรุงเทพฯ และการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณสองรัฐบาล
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  sunny Fri May 28, 2010 1:09 am

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:01 น. ข่าวสดออนไลน์

นิรโทษกรรมสากลจี้ไทยเปิดทางทีมต่างชาติสอบสวนเหตุสลายผู้ชุมนุม

เอเอฟพีรายงานเมื่อ 27 พ.ค. องค์การนิรโทษกรรมสากล ในกรุงลอนดอน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดทางให้ทีมสอบสวนนานาชาติเเข้าไปช่วยสอบสวนพิสูจน์ความจริงกรณีที่ทหารใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย

เคลาดิโอ คอร์ดัน รักษาการเลขาธิการองค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า ทางองค์การฯ วิตกถึงสถานการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และก่อนหน้านั้นทหารเผชิญกับผู้ชุมนุมที่ใช้อาวุธ แต่การตอบโต้ที่เราเห็นก็คือ กองทัพยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบไม่เลือกหน้าในกลุ่มผู้ชุมนุม และมีบางกรณีที่เล็งเป้าหมายใส่ผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ นอกจากนี้ ยังไม่ทราบว่า มีผู้ชมนุมจำนวนเท่าใดที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเสี่ยงต่อให้เกิดสภาพที่การละเมิดสิทธิ์ไม่ถูกลงโทษ ดังนั้นขั้นแรก รัฐบาลต้องเปิดเผยว่า มีจำนวนคนเท่าใดกันแน่ที่ถูกควบคุมตัวอยุ่ และจำเป็นต้องมีการสอบสวนอย่างเหมาะสม รัฐบาลไทยอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ช่วยนานาชาติเพื่อให้การสอบสวนเป็นอิสระและน่าเชื่อถือ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  Neo Mon May 31, 2010 7:11 am

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7123 ข่าวสดรายวัน

นิรโทษกรรมสากล

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน

ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากล วิตกกังวลกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย เพราะเห็นภาพทหารใช้ปืน ได้ข่าวการจับกุมคุมขังผู้มีแนวคิดแตกต่างทางการเมืองอย่างไม่เปิดเผย

ไม่มีการตั้งข้อหา ไม่มีพยานหลักฐาน อ้างเพียงอำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

*จนทำให้อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ต้องอดข้าวเพื่อประจานการละเมิดเสรีภาพ*

แต่ดูเหมือนผู้มีอำนาจในบ้านเราจะไม่เข้าใจในสิ่งเหล่านี้

ยกตัวอย่าง การควบคุมแกนนำนปช. ซึ่งเป็นเรื่องเกรียวกราวเมื่อสัปดาห์ก่อน

มีการโจมตีว่า ตำรวจผ่อนปรนในการควบคุมตัวแกนนำนปช.มากเกินไป อยู่ในบ้านพักแบบผ่อนคลาย

ฝ่ายสีเหลืองและหลากสีก็ไม่พอใจ ตีโพยตีพาย กล่าวหาตำรวจว่าเป็นพวกมะเขือเทศ

ฝ่ายรัฐบาลเองก็สั่งเปรี้ยงลงไปที่รักษาการผบ.ตร.ให้จัดการควบคุมแกนนำนปช.ให้เข้มงวด ไปจนถึงสั่งสอบสวนตำรวจที่มีหน้าที่ด้านนี้

ฟังแล้วให้รู้สึกอเนจอนาถสิ้นดี แทนที่จะฉลาดเฉลียว และแสดงความเป็นมนุษย์ที่เคารพสิทธิความเป็นคนซึ่งกันและกัน

*ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้ละเมิดสิทธิของแกนนำนปช. ควบคุมในสถานที่ที่เหมาะสม และอยู่ในสภาพที่พอเหมาะพอควร*

เพราะคนเหล่านี้คือนักโทษการเมือง

แทนที่จะนำภาพมาแสดงให้ชาวโลกเห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ให้เกียรติกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ไปจนถึงเคารพหลักสิทธิมนุษยชน มาแสดงให้องค์กรสากลรู้สึกดี**

กลับไม่ทำเช่นนั้น พอกองเชียร์กระหายเลือดทั้งหลายไม่พอใจ รัฐบาลก็เต้นตาม สั่งเข้มงวด ไปจนถึงจะเอาเรื่องกับตำรวจอีกด้วย

ถ้าเช่นนั้น เอาไปตีตรวน จับมัด เอาแส้ฟาด ให้สะใจกองเชียร์ซาดิสต์โรคจิตไปเลยดีไหม

นี่แหละสังคมไทยในเวลานี้ ผิดวิปริตไปหมด!!

กลายเป็นการส่งเสริมให้รัฐบาลบ้าอำนาจในทางที่ผิด ส่งผลให้เกิดการทำลายชีวิตผู้คนมากมาย ตายถึงกว่า 80 ศพ

คนระดับนักวิชาการถูกคุมขังอย่างไม่ปรากฏพยานหลักฐาน แล้วยังไปละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ด้วยการห้ามอ่านหนังสือตำรับตำราอีก

เขาเลยต้องอดข้าวประท้วงและประจาน

*เป็นเรื่องน่าแปลกที่นายกฯ ดูเป็นคนหนุ่มคิดใหม่ทันสมัย แต่ในทางปฏิบัติ กลับล้าหลังย้อนยุคสิ้นดี!?*

เพราะความไม่เป็นตัวของตัวเอง ถูกครอบงำ ถูกชี้นำตลอดเวลาจนเลอะหมด จนองค์กรสากลต้องตัดสินใจเข้าแทรกแซง

อันเป็นเรื่องน่าอับอายขายหน้าสำหรับรัฐบาลนี้จริงๆ
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

Amnesty International Empty Re: Amnesty International

ตั้งหัวข้อ  Neo Mon May 31, 2010 7:25 am

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7123 ข่าวสดรายวัน

เปิดรายงานสิทธิฯ ปี"53 "การปราบปราม"คุกคามโลก

สกู๊ปพิเศษ


Amnesty International For30310553p1

เหตุสลายม็อบวันที่ 19 พ.ค. พบ6ศพในวัดปทุมวนาราม


องค์การนิรโทษกรรมสากล Amnesty International หรือ AI สำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2504 เปิดรายงานสรุปสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ในฉบับประจำปี 2553

ในการแถลงข่าวเปิดตัวรายงานฉบับนี้ เมื่อ 27 พ.ค. เคลาดิโอ คอร์ดอน รักษาการณ์เลขาธิการองค์การฯ เอ่ยถึงสถานการณ์ในไทยเป็นพิเศษ เนื่องจากเพิ่งเกิดเหตุการณ์ระอุในกรุงเทพฯ ไปไม่นาน จากวันสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง วันที่ 19 พ.ค.

ด้วยตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตที่น่าตกใจมาก เกิน 80 ศพ

นายคอร์ดอน กล่าวว่า แม้ก่อนการสลายชุมนุม ทหารไทยเผชิญกับผู้ชุมนุมบางส่วนที่ใช้อาวุธ แต่การตอบโต้ที่เราเห็นก็คือ กองทัพยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบไม่เลือกหน้าในกลุ่มผู้ชุมนุม และมีบางกรณีที่เล็งเป้าหมายใส่ผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ

นอกจากนี้ ยังไม่ทราบว่า มีผู้ชมนุมจำนวนเท่าใดที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเสี่ยงต่อให้เกิดสภาพที่การละเมิดสิทธิ์ไม่ถูกลงโทษ

Amnesty International For30310553p2

บน-เหตุทหารเผชิญหน้าผู้ชุมนุมในไทย
ล่าง-นักโทษคดีก่อการร้ายที่กวนตานาโม

ดังนั้น รัฐบาลไทยต้องเปิดเผยว่า มีจำนวนคนเท่าใดกันแน่ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ และจำเป็นต้องมีการสอบสวนอย่างเหมาะสม

รัฐบาลไทยอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ช่วยนานาชาติเพื่อให้การสอบสวนเป็นอิสระและน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่า "ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย"

สำหรับเนื้อหาของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก รายงานสรุปว่า ผู้คนทั่วโลกถูกกักตัวอยู่ในสภาพที่มีการล่วงละเมิดที่เลวร้ายที่สุด

แม้เราจะได้กำลังใจอย่างมากจากกระแสที่เกิดขึ้นในละตินอเมริกา เมื่ออดีตผู้นำของประเทศ 3 ราย จากเปรู อุรุกวัย และอาร์เจนตินาถูกนำตัวเข้ากระบวนการยุติธรรม ในกรณีละเมิดสิทธิมนุษย์

แต่ความก้าวหน้านี้มีจำกัด เพราะมีหลายประเทศที่เดินหน้าในเรื่องนี้ ด้วย "ผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น"

"เราเห็นหลายๆ รัฐบาลพยายามทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย อย่างการไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในจำนวนนี้ รวมถึงประเทศที่เป็นสมาชิกจี 20 ถึง 7 ประเทศ" คอร์ดอนกล่าว

Amnesty International For30310553p3

เคลาดิโอ คอร์ดอน

องค์การนิรโทษกรรมระบุว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นกลไกที่จำเป็นมากสำหรับการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เพราะศาลนี้จะทำหน้าที่แทนประชาชน เมื่อรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ยอมนำความเป็นธรรมคืนสู่สังคม

แต่มหาอำนาจอย่างจีน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา กลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ในรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล ยังวิจารณ์สหรัฐกรณีกักขังผู้ที่ต้องสงสัยเป็นบุคคลก่อการร้ายในสถานกักกันที่อ่าวกวนตานาโม แม้ว่า ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ให้คำมั่นจะปิดคุกดังกล่าวต้นปี 2553

รายงานระบุด้วยว่า "การปราบปราม" ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในด้านสิทธิมนุษยชน

อิหร่านเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ที่กระทำการเยี่ยงนี้ หลังเกิดศึกพิพาทจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว

"ประชาชนถูกกวาดจับไม่เลือกหน้า รวมทั้งทรมาน และแม้รัฐบาลจะรู้อยู่แก่ใจว่านักโทษหญิงจะต้องถูกข่มขืนในที่คุมขัง แต่ก็ยังปล่อยให้เกิดขึ้น"

ในด้านสตรี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ยากจน ยังคงตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนมาเสมอ

"ผู้หญิงในอัฟกานิสถานถูกล่วงละเมิดจากทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน และทั้งภายใต้การควบคุมของกลุ่มตาลิบัน"

นางวาซห์มา ฟรอจ ผู้เป็นนักต่อสู้ที่ทำงานเพื่อสิทธิสตรีอัฟกันมานานถึง 13 ปี กล่าวว่า ผู้หญิงที่อยู่ในเมืองใหญ่มีเสรีภาพมากขึ้น แต่ก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง

"การข่มขู่ด้วยระเบิดพลีชีพ และวิธีอื่นๆ เหล่านักรบกองโจรที่ต่อต้านรัฐบาลและกองกำลังนานาชาติ มักเหลือเป้าหมายที่เป็นตัวแทนของความหวังในสังม เพื่อจะสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัว"

รายงานแนะนำว่า รัฐบาลต่างชาติๆ ต้องส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศต่อสตรี เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชน

หน้า 7
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ