Any Doc!!!!
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

+3
Neo
satan_baby
sunny
7 posters

Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed May 05, 2010 7:01 pm

ศาลอาญาระหว่างประเทศ 673px-International_Criminal_Court_logo.svg



ตามธรรมนูญของ ICC จะฟ้องได้ 4 กรณีคือ
1. การล้างชาติ(ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์)
2. อาชญากรสงคราม
3. ความผิดต่อมนุษยชาติ
4. การรุกรานอธิปไตย

"อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (อังกฤษ: crime against humanity) ว่ากันตามนิติศาสตร์ฝ่ายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองแล้ว ได้แก่ การกระทำอันเป็นการบีฑาหรือโดยความป่าเถื่อนซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายของมวลชน กับทั้งยังเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฎ์ในบรรดาความผิดอาญาทั้งปวงด้วย[1]

บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ชี้แจงว่า "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นอาชญากรรมน่าสมเพชยิ่ง ด้วยว่าสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้แก่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้เกิดความรู้สึกอัปยศอดสูอย่าง ร้ายกาจ หรือทำให้ความเป็นมนุษย์ของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนต้องเสื่อมถอยลง อาชญากรรมนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะตัวหรืออย่างกระจัดกระจาย แต่เป็นผลหนึ่งจากนโยบายของรัฐ (ซึ่งถึงแม้ว่าผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องระบุว่าตนเกี่ยวข้องกับนโยบาย นั้นอย่างไร) หรือการกระทำอันป่าเถื่อนซึ่งรัฐผู้มีอำนาจในทางพฤตินัยยอมรับหรือไม่เอาโทษ อย่างไรก็ดี การฆ่าคน การกำจัด การทรมาน การข่มขืน การบีฑาทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือศาสนา ตลอดจนการกระทำอย่างอื่นอันมีลักษณะเยี่ยงเดรัจฉาน จะเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติได้เมื่อการเช่นว่านั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง การกระทำเช่นว่าแม้จะเกิดขึ้นเฉพาะตัวแต่ก็อาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์"[2]"
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed May 05, 2010 7:04 pm

สมัชชาสหประชาชาติจึงจัดการประชุมทางการทูตเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (อังกฤษ: United Nations Diplomatic Conference of Plenipotentiaries on the Establishment of an International Criminal Court)

ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ขึ้นที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ซึ่งในวันสุดท้ายของการประชุม ที่ประชุมได้ให้การรับรอง "ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ด้วยมติหนึ่งร้อยยี่สิบเสียงต่อเจ็ดเสียง

ทั้งนี้ มียี่สิบเอ็ดประเทศงดออกเสียง ประเทศเจ็ดประเทศที่ไม่เห็นชอบกับธรรมนูญกรุงโรมฯ ได้แก่ อิรัก อิสราเอล
ลิเบีย จีน กาตาร์ สหรัฐอเมริกา และเยเมน

สำหรับประเทศไทยเองนั้น เป็นประเทศหนึ่งที่ลงมติสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมฯ ในการประชุมดังกล่าว และได้ร่วมลงนามธรรมนูญกรุงโรมฯ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันจนถึงขณะนี้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายในประเทศกำหนดไว้ก่อน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2542 แต่งตั้ง"คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้นตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ มีหน้าที่พิจารณาผลดีและผลเสียของการเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญฯ ตลอดจนพิจารณาว่าต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ หรือไม่อย่างไร รวมทั้งดำเนินการต่างๆที่จำเป็น เช่น เผยแพร่เนื้อหาสาระของธรรมนูญฯ ให้แก่สาธารณชน
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed May 05, 2010 7:11 pm

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ มีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการแปลธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้น ประกอบด้วยกรรมการสิบนาย เป็นผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ คือ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่แปลธรรมนูญกรุงโรมฯเป็นภาษาไทย ใช้เวลาสองปีจึงแปลเสร็จในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันสำหรับธรรมนูญกรุงโรมฯ

**************************************************

http://prachachonthai.com/www/index.php?option=com_content&task=view&id=...

สมัยเมื่อพันธมิตรชุมนุมและถูกสลาย เจ็กลิ้มจะนำเรื่องนี้ไปฟ้องICC
แต่มีข่าวว่าอดีตผู้พิพากษาศาลโลกICC ชี้เหตุสลายม็อบในไทยไม่เข้าข่ายก่ออาชญากรรม
เขียนโดย ทีมข่าว
อาทิตย์, 12 ตุลาคม 2008

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ตามเวลาในประเทศไทย
โดยอ้างคำเปิดเผยของ นายคาร์ล เทอร์เรนซ์ ฮัดสัน-ฟิลลิปส์
อดีตผู้พิพากษาประจำศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ
International Criminal Court : ICC)
(ในระหว่างปี 2003 - 2007 วัย 75 ปี ชาวทรินิแดด แอนด์ โทเบโก)

ที่ออกมาแสดงทัศนะ โดยระบุว่า เหตุการณ์สลายการชุมนุมของรัฐบาลไทย ที่ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมานี้ ถือเป็น " เรื่องภายใน"ของประเทศไทย ที่นานาชาติไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ และการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นเรื่องปกติทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศต่างๆทั่วโลก และไม่เข้าข่ายว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์ ( Crime against humanity) แต่อย่างใด

นาย ฮัดสัน-ฟิลลิปส์ ระบุต่อว่า การที่รัฐบาลไทยเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ปรากฏ เป็นข่าวไปทั่วโลกนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เข้าข่ายว่าเป็น Crime against humanity เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็น ความพยายามของฝ่ายรัฐที่ต้องการควบคุมความสงบเรียบร้อยของประเทศ และการสลายการชุมนุมของรัฐบาลไทยไม่ได้เกิดขึ้นแบบเป็นประจำ และไม่ได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้างและถือเป็นเรื่องธรรมดาที่การสลายการชุมนุมทางการเมือง จะต้องมีความสูญเสียเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมในประเทศนั้นๆ จะต้องทำหน้าที่ตัดสิน ไม่ใช่เรื่องที่ศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศต้องเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

อดีต ผู้พิพากษา ICC รายนี้ ยังระบุว่า นับตั้งแต่ที่ ICC เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2002 เป็นต้นมา ได้เคยมีผู้ร้องเรียนต่อ ICC ในกรณีที่ได้รับความสูญเสียจากการเข้าสลายการชุมนุมของรัฐบาลเช่นเดียวกันนี้มาแล้วหลายครั้งจากหลายประเทศแต่ ICC ก็ไม่เคยนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีแต่อย่างใด เพราะการสลายการชุมนุมทางการเมืองในลักษณะเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ถือว่าไม่เข้าข่ายการพิจารณาของ ICC อย่างแน่นอน
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Wed May 05, 2010 7:39 pm

The International Criminal Court (French: Cour Pénale Internationale; commonly referred to as the ICC or ICCt) is a permanent tribunal to prosecute individuals for genocide, crimes against humanity, war crimes, and the crime of aggression (although it cannot currently exercise jurisdiction over the crime of aggression).

The court came into being on 1 July 2002 — the date its founding treaty, the Rome Statute of the International Criminal Court, entered into force — and it can only prosecute crimes committed on or after that date. The official seat of the court is in The Hague, Netherlands, but its proceedings may take place anywhere.

As of March 2010, 111 states are members of the Court, and a further 38 countries have signed but not ratified the Rome Statute. However, a number of states, including China, India, Russia and the United States, are critical of the court and have not joined. The ICC can generally exercise jurisdiction only in cases where the accused is a national of a state party, the alleged crime took place on the territory of a state party, or a situation is referred to the court by the United Nations Security Council. The court is designed to complement existing national judicial systems: it can exercise its jurisdiction only when national courts are unwilling or unable to investigate or prosecute such crimes. Primary responsibility to investigate and punish crimes is therefore left to individual states.

To date, the court has opened investigations into five situations: Northern Uganda, the Democratic Republic of the Congo, the Central African Republic, Darfur (Sudan), and the Republic of Kenya. The court has indicted fourteen people; seven of whom remain fugitives, two have died (or are believed to have died), four are in custody, and one is appearing voluntarily before the court.

The ICC's first trial, of Congolese militia leader Thomas Lubanga, began on 26 January 2009. On 24 November 2009 the second trial started, against Congolese militia leaders Germain Katanga and Mathieu Ngudjolo Chui.

อ่านต่อได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/International_Criminal_Court
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Fri May 07, 2010 5:52 pm

การส่งเรื่องให้ ICC ดำเนินคดีนั้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ต้องเป็นกรณีหรือคดีที่ผู้ได้รับเคราะห์ถือสัญชาติและเหตุการณ์นั้นเกิดในประเทศที่ให้สัตยาบัน
ต่อธรรมนูญกรุงโรงของ ICC แล้วเท่านั้น ประเทศที่ให้สัตยาบันเรียกว่า State Party
(The ICC can generally exercise jurisdiction only in cases where
(1) the accused is a national of a state party,
(2) the alleged crime took place on the territory of a state party,

2. หรือเป็นคดีที่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นผู้ยื่นเรื่องฟ้องต่อ ICC เอง
(or a situation is referred to the court by the United Nations Security Council.

3. ศาล ICC จะต้องดำเนินคดีควบคู่กันกับศาลยุติธรรมในประเทศที่เกิดเหตุหรือเกิดคดี
(The court : ICC is designed to complement existing national judicial systems:)
ICC จะดำเนินการเองได้ต่อเมื่อศาลในประเทศนั้นๆ ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะ
ตรวจสอบหรือดำเนินคดีนั้นๆเอง (ICC can exercise its jurisdiction only when
national courts are unwilling or unable to investigate or prosecute such crimes.
ดังนั้น ความรับผิดชอบเบื้องต้นในการพิจารณาและลงโทษ(จำเลยในคดี) จึงเป็นหน้าที่
ของศาลในประเทศนั้นๆ (Primary responsibility to investigate and punish crimes
is therefore left to individual states.)

อนึ่ง ปัจจุบันมีคดีขึ้นสู่ศาล ICC 5 กรณี คืออูกันดาเหนือ คองโก อฟริกากลาง
ดาร์ฟู(ซูดาน) และเคนยา (To date, the court has opened investigations
into five situations : Northern Uganda, the Democratic Republic of the
Congo, the Central African Republic, Darfur (Sudan),
and the Republic of Kenya.)

สำนักงานใหญ่ของ ICC อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
แต่การดำเนินคดีจะทำที่ไหนก็ได้ (The official seat of the court is in
The Hague, Netherlands, but its proceedings may take place anywhere.)
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat May 08, 2010 10:36 pm

ปัจจุบันได้เกิดมีกรณีการยื่นฟ้องโดยสภาความมั่นคงฯ แล้ว 1 กรณี คือกรณีดาร์ฟูร์ของประเทศซูดานซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกของ ICC (จึงไม่สามารถฟ้องได้โดยตรง)

กรณีของซูดานนั้นเกิดเหตุเมื่อปี ก.ค.2545 และมาดำเนินการฟ้องในเดือน มี.ค. 2548

(The UN Security Council : Responsibility to Protect Security Council Resolution 1674, adopted on 28 April 2006,"reaffirms the provisions of paragraphs 138 and 139 of the 2005 World Summit Outcome Document regarding the responsibility to protect populations from genocide, war crimes, ethnic cleansing and crimes against humanity". The resolution commits the Council to action to protect civilians in armed conflict.

The UN Security Council exercised this power for the first time in March 2005, when it referred to the ICC “the situation prevailing in Darfur since 1 July 2002”; since Sudan is not a party to the Rome Statute, the ICC could not otherwise have exercised jurisdiction.)
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  satan_baby Thu May 13, 2010 7:05 pm

นายพลชุน ดูฮวาน ประกาศใช้กฎอัยการศึกวันที่ 17 พฤษภาคม 2523 และส่งกำลังทหารกว่า 100,000 นาย เข้าปิดล้อมกวางจู แต่ชาวเมืองรวมทั้งตำรวจ ร่วมกันต่อต้าน ทั้งสองฝ่ายเริ่มยิงต่อสู้กันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม จนฝ่ายทหารเข้ายึดกวางจูได้เมื่อเวลา 4.00 น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523

จากรายงานของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต ระบุว่าประชาชนอย่างน้อย 165 คนเสียชีวิตระหว่างวันที่ 18 ถึง 27 พฤษภาคม สูญหาย 65 คน สันนิษฐานว่าเสียชีวิตแล้ว จนกระทั่ง ปธน พลเรือนคิม ยังซัม ได้ประกาศนโยบายปฏิรูปการเมือง และปราบปรามการคอรัปชัน และนำคดียึดอำนาจการปกครอง และคดีสังหารประชาชนที่กวางจู ขึ้นสู่ศาลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

ศาลอาญาประจำกรุงโซล มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ให้ลงโทษประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโรห์ แตวู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน
satan_baby
satan_baby

จำนวนข้อความ : 192
Registration date : 08/02/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  Neo Fri May 14, 2010 8:31 am

14 พฤษภาคม 2553

องค์การสิทธิ์มนุษยชนแห่งเชีย Asian Centre for Human Rights หรือ เอซีเอชอาร์ ออกจม.เปิดผนึก หลังการยิงเสธ.แดง และมีการใช้อาวุธทำให้ประชาชนจำนวนมากบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้

นายพลชาวไทยถูกยิง, หลายคนบาดเจ็บในเหตุการณ์การยิงคนเสื้อแดงโดยกองทัพไทย
นายกรัฐมนตรีไทยถูกเตือนว่าต้องขึ้นศาลอาชญากระหว่างประเทศ

นิวเดลี: องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย ในจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนแจ้งว่า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 59 ปี หรือที่รู้จักในนามว่า เสธ.แดง ถูกยิงและได้รับบาดเจ็บสาหัส พร้อมๆกับผู้บาดเจ็บอีกจำนวน 2 คน ในเหตุการณ์การยิงปืนโดยทหารต่อกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงเมื่อตอนเย็นวันนี้ (13 พ.ค.) หน่วยทหารราบ 11 ของกองทัพไทยได้ออก "ปฏิบัติการราชประสงค์" เมื่อเวลา 6 โมงเย็นตามเวลาท้องถิ่นในกรุงเทพฯเพื่อที่จะสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อ แดงซึ่งได้ปักหลักที่ราชประสงค์ กรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553

พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกยิงระหว่างการให้สัมภาณณ์กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอินเตอร์เนชั่นแนลเฮอ รัลทริบูล

"เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553, ผมได้เยือนเป็นการส่วนตัวต่อพื้นที่การชุมนุม เป็นความชัดเจนที่มีการใช้กำลังซึ่งรวมไปถึงอาวุธปืน จะนำไปสู่การสังหารปราชนชนจำนวนมาก" - มร. Suhas Chakma, ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าว

"เป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งยวดที่การพูดคุยระหว่างรัฐบาลและนปช.ต้องพังลงใน หัวข้อที่เกี่ยวกับข้อกฏหมาย อาทิเช่น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฆ่าจากเหตุการยิงของกองกำลังเจ้าหน้าที่เมื่อ วันที่ 10 เมษายน" มร. Chakma กล่าวเพิ่ม

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553, เอซีเอชอาร์ได้แนะนำว่า การจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนร่วมซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกฝ่ายค้านและพรรคฝ่าย ร่วมรัฐบาลจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะบรรเทาความรู้สึกสูญเสียของเหยื่อและ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม
เอซีเอชอาร์ได้เตือนว่านายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้มาตราข้อที่ 25(3) ของสนธิสัญญาศาลอาชญากรระหว่างประเทศแห่งกรุงโรม ในข้อหาจงใจบงการการโจมตีต่อประชาชนผู้ประท้วงซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การโจมตี ตามมาตรา 8(2)(e)(i) ของสนธิสัญญากรุงโรมดังกล่าว

องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีถอนกองกำลังทหารใน ทันที และกลับไปสู่การเจรจากับกลุ่มนปช.และรวมไปถึงการแสดงออกถึงประเด็นความ ยุติธรรมจากการฆ่าเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553
Neo
Neo

จำนวนข้อความ : 213
Registration date : 02/03/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  นางฟ้า Fri May 14, 2010 8:27 pm

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Q2601
นางฟ้า
นางฟ้า

จำนวนข้อความ : 119
Registration date : 22/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  hacksecrets Sun May 16, 2010 9:26 am

เล็งฟ้องศาลระหว่างประเทศ

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์หมดความชอบธรรมในการบริหารรัฐบาลแล้ว พรรคจะรวบรวมหลักฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดฟ้องทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ทุกคนจะต้องขึ้นศาลอาชญากรระหว่างประเทศ จะไม่ยอมให้ประชาชนตายฟรี ในวันที่ 17 พ.ค.จะเดินทางไปยื่นหนังสือร้องต่อสหประชา ชาติ ขอให้ส่งกำลังเข้ามาดูแลประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทหารทำร้ายประชาชนอีก

นายพร้อมพงศ์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีคนเสียชีวิตรวมแล้วมากกว่าอายุของนายอภิสิทธิ์ ขอตั้งข้อสังเกตว่าหากมีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่จริงจะต้องมีเจ้าหน้าที่ทหารเจ็บและเสียชีวิตมากกว่านี้ แต่พบว่ามีการยิงเอ็ม 79 จากตึกสูง ซึ่งจะเป็นฝีมือของรัฐบาลหรือมือที่สามที่แฝงมากับปฏิบัติการของรัฐบาล อยากให้รัฐบาลเปิดการเจรจาด้วย เพื่อเป็นทางออกยุติความรุนแรง

"อยากเรียกร้องให้พล.อ.อนุพงษ์เลิกปฏิบัติตามคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ และสั่งให้ทหารหยุดทำร้ายประชาชน ถอนกำลังกลับที่มั่น อยากถามพรรคร่วมรัฐบาลว่ายังสบายดีบนกองเลือดหรือไม่ และอยากตั้งคำถามว่าการขอคืนพื้นที่ราชประสงค์สำคัญกว่าการสูญเสียชีวิตของประชาชนหรืออย่างไร" โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว
hacksecrets
hacksecrets

จำนวนข้อความ : 765
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  Jotaro Sun May 16, 2010 12:28 pm

http://thaienews.blogspot.com/2010/05/blog-post_14.html


วันศุกร์, พฤษภาคม 14, 2010
สิทธิมนุษยชนเอเชียออกจม.เตือนอภิสิทธิ์ ขึ้นศาลอาชญากรระหว่างประเทศ


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 พฤษภาคม 2553


องค์การสิทธิ์มนุษยชนแห่งเชีย Asian Centre for Human Rights หรือ เอซีเอชอาร์ ออกจม.เปิดผนึก หลังการยิงเสธ.แดง และมีการใช้อาวุธทำให้ประชาชนจำนวนมากบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้





นายพลชาวไทยถูกยิง, หลายคนบาดเจ็บในเหตุการณ์การยิงคนเสื้อแดงโดยกองทัพไทย
นายกรัฐมนตรีไทยถูกเตือนว่าต้องขึ้นศาลอาชญากระหว่างประเทศ


นิ วเดลี: องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซีย ในจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชนแจ้งว่า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 59 ปี หรือที่รู้จักในนามว่า เสธ.แดง ถูกยิงและได้รับบาดเจ็บสาหัส พร้อมๆกับผู้บาดเจ็บอีกจำนวน 2 คน ในเหตุการณ์การยิงปืนโดยทหารต่อกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงเมื่อตอนเย็นวันนี้ (13 พ.ค.) หน่วยทหารราบ 11 ของกองทัพไทยได้ออก "ปฏิบัติการราชประสงค์" เมื่อเวลา 6 โมงเย็นตามเวลาท้องถิ่นในกรุงเทพฯเพื่อที่จะสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อ แดงซึ่งได้ปักหลักที่ราชประสงค์ กรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2553


พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกยิงระหว่างการให้สัมภาณณ์กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอินเตอร์เนชั่นแนลเฮอรัลทริบูล


"เมื่อ วันที่ 30 เมษายน 2553, ผมได้เยือนเป็นการส่วนตัวต่อพื้นที่การชุมนุม เป็นความชัดเจนที่มีการใช้กำลังซึ่งรวมไปถึงอาวุธปืน จะนำไปสู่การสังหารปราชนชนจำนวนมาก" - มร. Suhas Chakma, ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าว


"เป็นความโชค ร้ายอย่างยิ่งยวดที่การพูดคุยระหว่างรัฐบาลและนปช.ต้องพังลงในหัวข้อที่ เกี่ยวกับข้อกฏหมาย อาทิเช่น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการฆ่าจากเหตุการยิงของกองกำลังเจ้าหน้าที่เมื่อ วันที่ 10 เมษายน" มร. Chakma กล่าวเพิ่ม


เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553, เอซีเอชอาร์ได้แนะนำว่า การจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนร่วมซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกฝ่ายค้านและพรรคฝ่าย ร่วมรัฐบาลจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะบรรเทาความรู้สึกสูญเสียของเหยื่อและ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม


เอซีเอชอาร์ได้เตือนว่านายกรัฐมนตรีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้มาตราข้อที่ 25(3) ของสนธิสัญญาศาลอาชญากรระหว่างประเทศแห่งกรุงโรม ในข้อหาจงใจบงการการโจมตีต่อประชาชนผู้ประท้วงซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การโจมตี ตามมาตรา 8(2)(e)(i) ของสนธิสัญญากรุงโรมดังกล่าว


องค์กร สิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีถอนกองกำลังทหารในทันที และกลับไปสู่การเจรจากับกลุ่มนปช.และรวมไปถึงการแสดงออกถึงประเด็นความ ยุติธรรมจากการฆ่าเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553


อนึ่ง ก่อนหน้านี้องค์กรดังกล่าวได้ออกจม.ถึง นายอภิสิทธิ์ให้หยุดการปราบปรามประชาชนในทันที โดยกล่าวว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ9 ในการห้ามใช้อาวุธและกระสุนจริงในการปราบปรามประชาชน


ศาลอาญาระหว่างประเทศ 32109_394485660722_344197095722_4671417_5873868_n


ศาลอาญาระหว่างประเทศ 32109_394485675722_344197095722_4671418_6016257_n
Jotaro
Jotaro

จำนวนข้อความ : 4
Registration date : 23/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sun May 16, 2010 1:09 pm

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:43:03 น. มติชนออนไลน์

ฮิวแมน ไรท์ วอช"ชี้"เขตใช้กระสุนจริง"ส่อ"ละเมิดสิทธิมนุษยชน"จี้รบ.ไทยเลิก

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ว่า แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการแห่งหน่วยงาน"ฮิวแมน ไรท์ วอช"ประจำกรุงนิวยอร์ก ชี้ว่า การประกาศใช้เขตใช้กระสุนจริงของรัฐบาลไทย เพื่อใช้ต่อสู้กับกลุ่มผู้ประท้วงคนเสื้อแดง เป็นสิ่งที่ล่อแหลมอันตราย โดยการประกาศเขตดังกล่าว ทำให้รัฐบาลไทยเสี่ยงที่จะเขยิบเข้าสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของพลเรือน ซึ่งจะทำให้ทหารคิดอย่างตื่น ๆ ว่า เขตใช้อาวุธจริงก็คือเขตยิงกระสุนได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงขยายตัว ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตชุมชนชาวบ้าน และรัฐบาลไทยจะต้องตระหนักว่า มีประชาชนคนธรรมดาอาศัอยู่ที่นี่ ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ประท้วง

นายแบรด ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ยกเลิก"เขตใช้กระสุนจริง"ที่เสี่ยงต่อการถูกพิจารณาว่าเป็นการใช้กำลังที่อันตรายและผิดกฎหมายด้วย โดยภายใต้กฎของสหประชาชาติ การใช้กำลังอย่างผิดกฎหมายจะต้องใช้ในกรณีที่มีบุคคลเป็นภัยต่อชีวิตของผู้คนอื่น ๆ เท่านั้น

เมื่อวันเสาร์ ผู้เห็นเหตุการณ์ชาวต่างชาติเปิดเผยว่า ได้เห็นทหารยิงกลุ่มคนเสื้อแดงที่เดินถือธงชาติไทยเข้ามา และมีร่างไร้ชีวิตของผู้คน 3 รายนอนอยู่ในบริเวณเขตใช้กระสุนจริง ขณะที่เอเอฟพีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศว่ามีกลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดง

อย่างไรก็ตาม ฮิวแมน ไรท์ วอช ยังได้แสดงความวิตกต่อกรณีกลุ่มคนเสื้อแดงกำลังใช้อาวุธทำเองและอาวุธอื่น ๆ ซึ่งเป็นขัดกับคำอ้างของกลุ่มว่าประท้วงอย่างสันติ
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Mon May 17, 2010 6:23 pm

sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  sunny Sat May 22, 2010 6:08 pm

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 16:04 น. ข่าวสดออนไลน์

เด็จพี่ยื่นปปช.เอาผิดนายกฯ เทือก ศอฉ. จันทร์นี้

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 พ.ค. ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ทหารเข้าสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. ทั้งที่แยกผ่านฟ้า หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง รวมถึงสี่แยกราชประสงค์ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและ บาดเจ็บ จำนวนมากเป็นที่แน่ชัดว่า การใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมดังกล่าว เป็นการกระทำภายใต้การสั่งการของ นายอภิสิทธิ์ นายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ถือว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และไม่เป็นไปตามขั้นตอน วิธีปฏิบัติตามหลักสากล รวมถึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จึงขอเรียกร้องไปยัง นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ กองทัพ และคณะกรรมการ ศอฉ. ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ของประชาชน ซึ่งตนและฝ่ายกฎหมายจะยื่นเรื่องต่อ ปปช. ให้เอาผิดกับ นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และคณะกรรมการ ศอฉ. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ในวันที่ 24 พ.ค.เวลา 10.00 น. ในข้อหาการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 รวมถึงทางญาติของผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย รวบรวมพยานหลักฐาน และตั้งคณะทำงานเพื่อฟ้องร้อง นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ ศอฉ. และ ผู้บังคับบัญชาของกองทัพที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในคดีอาญา และคดีแพ่ง

นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า กรณีมีผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม จากการที่ตนไปส่งผู้ชุมนุมกลับบ้าน เมื่อวันที่ 20 พ.ค.พยานผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ ต่างให้การตรงกันว่า ทหารอยู่บนรางรถไฟฟ้า แล้วยิงไปที่วัด ในคืนวันที่ 19 พ.ค. เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม เพื่อให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ซึ่งข้อเท็จจริงมีผู้เสียชิวิตถึง 9 ศพ อีก 3 ศพไม่รู้ไปไหน คาดว่ามีอีกหลาย 10 ราย แต่ที่เห็นตาย 6 ศพแล้วอยู่ที่วัด เป็นเพราะ ผู้ชุมนุมแย่งศพมาได้ ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์ และคณะกรรมการ ศอฉ. รวมทั้ง กองทัพ ต้องไปแก้ตัวที่ศาลอาญา และศาลโลก ข้อหาฆ่าคนตาย เรื่องนี้ ตนยังมีคลิปที่ได้จากผู้ชุมนุม เป็น ภาพทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้า ยิงใส่ประชาชนในวัด แต่ตนจะเปิดคลิปนี้ก็ต่อเมื่อขึ้นศาลเท่านั้น
sunny
sunny

จำนวนข้อความ : 3511
Registration date : 28/06/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ศาลอาญาระหว่างประเทศ Empty Re: ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ตั้งหัวข้อ  ฅนไท Mon May 24, 2010 9:09 am

sunny พิมพ์ว่า:3. ความผิดต่อมนุษยชาติ

Article 7 Crimes against humanity

1. For the purpose of this Statute, ‘crime against humanity’ means any of the
following acts when committed as part of a widespread or systematic attack
directed against any civilian population, with knowledge of the attack:

(a) Murder;
(b) Extermination;
(c) Enslavement;
(d) Deportation or forcible transfer of population;
(e) Imprisonment or other severe deprivation of physical liberty in violation of
fundamental rules of international law;
(f) Torture;
(g) Rape, sexual slavery, enforced prostitution, forced pregnancy, enforced
sterilization, or any other form of sexual violence of comparable gravity;
(h) Persecution against any identifiable group or collectivity on political,
racial, national, ethnic, cultural, religious, gender as defined in paragraph
3, or other grounds that are universally recognized as impermissible under
international law, in connection with any act referred to in this paragraph
or any crime within the jurisdiction of the Court;
(i) Enforced disappearance of persons;
(j) The crime of apartheid;
(k) Other inhumane acts of a similar character intentionally causing great
suffering, or serious injury to body or to mental or physical health.

2. For the purpose of paragraph 1:
(a) ‘Attack directed against any civilian population’ means a course of conduct
involving the multiple commission of acts referred to in paragraph 1
against any civilian population, pursuant to or in furtherance of a State or
organizational policy to commit such attack;
(b) ‘Extermination’ includes the intentional infliction of conditions of life,
inter alia the deprivation of access to food and medicine, calculated to
bring about the destruction of part of a population;
ฅนไท
ฅนไท

จำนวนข้อความ : 193
Registration date : 04/11/2008

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ